Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 พฤษภาคม 2558 งาน Huawei Global Analyst Summit 2015 ที่เสิ่นเจิ้น ประเทศจีน ระหว่าง 21-23 เม.ย. 2558 ที่ผ่านมา "หัวเว่ย" ได้เปิดเผยแนวคิดและเป้าหมายธุรกิจเพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้านไอซีทีในโลกยุคใหม่ ที่ขับเคลื่อนด้วยสปีดที่เร็วขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ประเด็นหลัก





ในงาน Huawei Global Analyst Summit 2015 ที่เสิ่นเจิ้น ประเทศจีน ระหว่าง 21-23 เม.ย. 2558 ที่ผ่านมา "หัวเว่ย" ได้เปิดเผยแนวคิดและเป้าหมายธุรกิจเพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้านไอซีทีในโลกยุคใหม่ ที่ขับเคลื่อนด้วยสปีดที่เร็วขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

"วิลเลียม ชวี" หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์การตลาด หัวเว่ย เทคโนโลยี กล่าวว่า คนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาพร้อมการพึ่งพาอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์ธุรกิจจากให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากกว่าการบริการ มาให้ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อนำเสนอโซลูชั่นที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ทั้งผู้ให้บริการโครงข่าย, องค์กร และผู้บริโภค

"ในโลกที่การสื่อสารเชื่อมโยงถึงกันได้ดีขึ้นจะมีแอปพลิเคชั่นเฉพาะอุตสาหกรรมเกิดขึ้นใหม่อีกหลายสิบล้านการเปิดกว้างและรับสิ่งใหม่เป็นสิ่งสำคัญเราจะร่วมมือพันธมิตรในอุตสาหกรรมต่าง ๆ พัฒนาโซลูชั่นที่ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน และมีส่วนร่วมจริงจังในการสร้างระบบนิเวศขององค์กรมาตรฐาน และคอมมิวนิตี้โอเพ่นซอร์ซต่าง ๆ"







___________________________________






"หัวเว่ย" เพื่อจีน เพื่อโลกยุค IT แบรนด์จีน พลิกเกมด้วยนวัตกรรม


สิบปีที่แล้วไม่มีใครเชื่อว่า มังกรจีน "หัวเว่ย" จะสามารถผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำของโลก แซงหน้าผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมชาติตะวันตกได้ แต่มาถึงวันนี้ไม่มีใครปฏิเสธความจริงนี้ได้

ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จของยอดขายที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 ที่ผ่านมามียอดขาย 288,200 ล้านหยวน (46,500 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ถึง 20.6% มาจาก 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจเครือข่ายโทรคมนาคม (31,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) ธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ (3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ) และคอนซูเมอร์(12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ)

นั่นทำให้ปีที่แล้ว "หัวเว่ย" ได้รับการจัดอันดับให้เข้ามาอยู่ใน 500 บริษัทใหญ่จากนิตยสารฟอร์จูน (อันดับที่ 285)

ไม่เท่านั้นในแง่ตราสินค้า หรือ "แบรนด์" ปีล่าสุดยังติดอันดับ 1 ใน 100 แบรนด์ที่ดีที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของบริษัทอินเตอร์แบรนด์อีกด้วย

ถือเป็นแบรนด์สินค้าสัญชาติจีนรายแรกที่ก้าวเข้าสู่ท็อป 100 แบรนด์อันทรงคุณค่าของโลกได้สำเร็จ

เรียกว่าลบภาพลักษณ์สินค้าจีนที่เน้น "ถูกแต่คุณภาพไม่ได้" ไปจนหมดสิ้น แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นจะใช้ "ราคา" ที่ต่ำกว่าคู่แข่งมากเป็นกลยุทธ์สำคัญในการหาที่ยืนให้ตนเองในสมรภูมิธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมทั้งของโลกและในประเทศไทยแต่หากไม่พยายามพิสูจน์ตนเองด้วยการพัฒนา"คุณภาพ" คงยากที่จะมาไกลถึงปัจจุบันได้

ความตั้งใจแรกของ "เหริน เจิ้งเฟย" (อดีตนายทหารในกองทัพจีน) ผู้ก่อตั้ง "หัวเว่ย" อาจต้องการทำเพื่อ (ตลาด/คน) จีน ตามความหมายของชื่อ HUAWEI "หัว" (Hua) ที่แปลว่า คนที่มีเชื้อสายจีน เว่ย (Wei) แปลว่า เพื่อ


ปัจจุบันไม่ใช่แค่ในประเทศจีนหรือคนจีนเท่านั้น

วันนี้ "หัวเว่ย" ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านโซลูชั่นเทคโนโลยีไอซีทีที่มีครบทั้งอุปกรณ์และบริการสำหรับผู้ให้บริการโครงข่าย,องค์กรธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไปจากสารพัดสมาร์ทดีไวซ์ จนมียอดขายสมาร์ทโฟนมากเป็นอันดับ 3 ของโลกไปแล้วเรียบร้อย

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา "หัวเว่ย" สยายปีกออกสู่ตลาดโลกได้อย่างน่าจับตายิ่ง ไม่ใช่แค่ "ราคา" ที่เป็นจุดขาย แต่ยังให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยใช้เงินลงทุนไปกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพิ่มขึ้นตลอดเวลา

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มากกว่า 31,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และในจำนวนพนักงานทั้งหมด 1.7 แสนคนทั่วโลก อยู่ในฝ่าย R&D ถึง 76,000 คน นอกจากจะมีศูนย์ R&D 16 แห่งทั่วโลกแล้ว ยังร่วมกับหลายหน่วยงานหลายองค์กรด้าน R&D กระทั่งองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ระบุว่า หัวเว่ยเป็นบริษัทที่มีการจดสิทธิบัตรมากที่สุดในโลก และเคยได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่โดดเด่นที่สุดด้านนวัตกรรมจากนิตยสารฟาสท์ คัมปานี


เรียกว่า สาธยายกันไม่หมด

สิ่งที่แตกต่างไปจากคู่แข่งอีกอย่าง คือ บริษัทยังคงสถานะบริษัทจำกัดไม่เสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป แต่เลือกที่จะกระจายหุ้นให้เฉพาะพนักงานของบริษัท

เมื่อองค์กรขับเคลื่อนด้วย "คน" นี่จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้มาไกลถึงเพียงนี้ได้

ในงาน Huawei Global Analyst Summit 2015 ที่เสิ่นเจิ้น ประเทศจีน ระหว่าง 21-23 เม.ย. 2558 ที่ผ่านมา "หัวเว่ย" ได้เปิดเผยแนวคิดและเป้าหมายธุรกิจเพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้านไอซีทีในโลกยุคใหม่ ที่ขับเคลื่อนด้วยสปีดที่เร็วขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

"วิลเลียม ชวี" หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์การตลาด หัวเว่ย เทคโนโลยี กล่าวว่า คนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาพร้อมการพึ่งพาอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์ธุรกิจจากให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากกว่าการบริการ มาให้ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อนำเสนอโซลูชั่นที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ทั้งผู้ให้บริการโครงข่าย, องค์กร และผู้บริโภค

"ในโลกที่การสื่อสารเชื่อมโยงถึงกันได้ดีขึ้นจะมีแอปพลิเคชั่นเฉพาะอุตสาหกรรมเกิดขึ้นใหม่อีกหลายสิบล้านการเปิดกว้างและรับสิ่งใหม่เป็นสิ่งสำคัญเราจะร่วมมือพันธมิตรในอุตสาหกรรมต่าง ๆ พัฒนาโซลูชั่นที่ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน และมีส่วนร่วมจริงจังในการสร้างระบบนิเวศขององค์กรมาตรฐาน และคอมมิวนิตี้โอเพ่นซอร์ซต่าง ๆ"








"หัวเว่ย" สรุปความต้องการของผู้บริโภครุ่นใหม่ เป็นคำว่า ROADS (R-Real Time O-On Demand A-All Online D-DIY และ S-Social) เพื่อย้ำว่าอะไรบ้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสถาปัตยกรรมโครงข่าย รูปแบบการปฏิบัติการ และวิธีทำธุรกิจอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้

ปริมาณข้อมูลมหาศาลขับเคลื่อนทุกอุตสาหรรมให้เผชิญหน้าบิ๊กดาต้า, คลาวด์คอมพิวติ้ง และอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งหรือ IoT-Internet of Thing ที่ว่ากันว่าเป็นช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุค 4.0 ที่ทุกสิ่งเชื่อมโยงกับดิจิทัลหรืออินเทอร์เน็ต เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์สื่อสาร แม้กระทั่งรถยนต์ที่ไม่ต้องมีคนขับ กระบวนการผลิตต่าง ๆ และอีกมากมาย ทุกสิ่งจะมีสมองกลเล็กจิ๋วฝังอยู่เพื่อสื่อสารกันผ่านอินเทอร์เน็ต

ในรายงาน Global Connectivity Index (GCI) ปี 2558 คาดการณ์ว่าจะมีการเชื่อมต่อ (อินเทอร์เน็ต) หรือ IoT ของทุกสิ่งเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด จากปีนี้ที่ 12,000 ล้านชิ้น เป็น 35,000 ล้านชิ้น และ100,000 ล้านชิ้นในปี 2563 และ 2568 ตามลำดับ

ทุกสิ่งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยอาศัยโครงข่ายโทรคมนาคม ทำให้การพัฒนาโครงข่ายให้มีความเร็วมากขึ้น และยืดหยุ่นขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ในบ้านเราเพิ่งมี 3G (ความเร็วระดับ 3-5 Mbps) ได้ไม่นาน ขณะที่ 4G (ความเร็วสูงสุดตามทฤษฎี 42 Mbps) เพิ่งเริ่มตั้งไข่ แต่ในประเทศอื่น รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีก้าวไปไกลกว่านั้นมาก

"หัวเว่ย" จะลงทุน R&D กับเทคโนโลยี 5G (ความเร็ว 10 Gbps) ถึง 600 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะเปิดบริการในเชิงพาณิชย์ได้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้านี้ แต่ก่อนไปถึง 5G เตรียมเผยโฉมเทคโนโลยี 4.5G (ความเร็ว 450 Mbps) ก่อนในปีหน้า

กลยุทธ์ธุรกิจของมังกรจีน จากนี้ไปจะมุ่งไปยังการตอบสนองแนวโน้มข้างต้นในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อช่วยให้ลูกค้าปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

"อีริคชวี"หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร หมุนเวียนตามวาระบริษัทเดียวกันย้ำว่า จะลงทุนด้านบริการมากขึ้น เพื่อจัดหาโซลูชั่นเชิงพาณิชย์ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในช่วงการพัฒนาระยะต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่าน และเข้าสู่การดำเนินธุรกิจด้วยอินเทอร์เน็ตหรือเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

"30ปีที่แล้วคงไม่มีใครคิดว่าเราจะมาถึงวันนี้ได้ที่คนอยู่กับสมาร์ทโฟนตลอดเวลา ในทุกที่ ดิจิทัลไลฟ์คือชีวิตของคนยุคนี้ แม้แต่ในจีนเอง ประเทศต่าง ๆ มองเห็นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านไอซีที ทุกรัฐบาลตระหนักว่าไอซีทีช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้"

รายงานของ GCI ปี 2558 เพิ่มจำนวนประเทศที่ได้รับการประเมินจาก 25 เป็น 50 ประเทศ และจำนวนดัชนีจาก 16 เป็น 38 ระบุว่า การวางแผนด้านไอซีทีระดับชาติ สหรัฐอเมริกา สวีเดน และสิงคโปร์ได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับสูงสุด และจีนอยู่ในอันดับ 2 ของกลุ่มเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา จากอีคอมเมิร์ซที่เติบโต และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีการลงทุนคลาวด์คอมพิวติ้ง และดาต้าเซ็นเตอร์มากขึ้น

"ยุคแห่งการเชื่อมโยงจำนวนมหาศาลกำลังจะมาถึง และส่งอิทธิพลต่อทุกประเทศ ทุกอุตสาหกรรม ทุกองค์กร และทุก ๆ คน ประเทศต่าง ๆ ลงทุนไอซีทีเพิ่ม 20% เพื่อผลักดันจีดีพีให้เพิ่มขึ้น 1%"

การตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อน หลากหลาย และเฉพาะเจาะจงถือเป็นความท้าทายแต่คุ้มค่าที่จะใช้ความพยายามคว้าโอกาสธุรกิจ ทั้งหมดก็เพื่อผลักดันเป้าหมายการเติบโตในเชิงรายได้ในอีก 2 ปีข้างหน้าที่ 70,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 46,500 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว

และถ้าจะเป็นไปได้ต้องรักษาระดับการเติบโตโดยเฉลี่ยให้ได้มากกว่า 10% ต่อปี

"หัวเว่ย" รู้ดีว่าการก้าวมายืนอยู่ในจุดที่เรียกว่า "ความสำเร็จ" ไม่ง่าย แต่การรักษาความสำเร็จให้ยืนนานยากยิ่งกว่า


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1430972564

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.