Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 พฤษภาคม 2558 แหล่งข่าวระดับสูง ICT ระบุ การปรับลดคณะกรรมการ กสทช.จาก 11 เหลือ 7 คน เพิ่ม ผู้ว่าการแบงก์ชาติ นั่งสรรหา ปรับปรุงคุณสมบัติผู้สมัคร ในส่วนผู้แทนภาคคุ้มครองผู้บริโภคเดิมกำหนดให้มีประสบการณ์ 20 ปี ลดเหลือ 10 เพิ่มคุณสมบัติในภาควิชาการ โดยระบุให้ต้องเป็นรองศาสตราจารย์อย่างน้อย 5 ปี

ประเด็นหลัก






"ผู้ว่าการแบงก์ชาติ" นั่งสรรหา

สำหรับสาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ. กสทช. มีการปรับลดคณะกรรมการ กสทช.จาก 11 เหลือ 7 คน โดยให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านบรอดแคสต์, โทรคมนาคม, วิศวกรรม, กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และคุ้มครองผู้บริโภคแต่ไม่ได้ระบุสัดส่วนผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน

ส่วนกระบวนการสรรหาได้เพิ่มผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นกรรมการสรรหาด้วย นอกจากมีประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธาน ป.ป.ช. ประธานคตง. ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรเสนอชื่อจากผู้สมัคร เพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาด้วยการลงคะแนนลับ

และปรับปรุงคุณสมบัติผู้สมัคร ในส่วนผู้แทนภาคคุ้มครองผู้บริโภคเดิมกำหนดให้มีประสบการณ์ 20 ปี ลดเหลือ 10 เพิ่มคุณสมบัติในภาควิชาการ โดยระบุให้ต้องเป็นรองศาสตราจารย์อย่างน้อย 5 ปี

คลื่นโทรคมฯต้องประมูล

ด้านการจัดสรรคลื่นความถี่ได้ยกงานด้านการประสานงานคลื่นและวงโคจรดาวเทียมออกไปเหลือการจัดสรรคลื่นด้านบรอดแคสต์ที่ระบุให้ใช้วิธีการคัดเลือกตามที่ กสทช. กำหนด ทั้งในระดับชาติถึงระดับท้องถิ่น ยกเว้นการนำไปใช้เพื่อ "ธุรกิจ" จะต้องจัด "ประมูล" ขณะที่กิจการโทรคมนาคมระบุชัดว่าให้ใช้การประมูลยกเว้นเป็น "คลื่นที่มีจำนวนไม่จำกัด" หรือผู้ขอรับใบอนุญาตอาจใช้คลื่นความถี่เดียวกันกับรายอื่นได้ หรือประสงค์จะนำไปใช้ในกิจการบางประเภท ตามลักษณะและประเภทที่ กสทช. ประกาศกำหนดไว้ล่วงหน้าจะใช้วิธีการคัดเลือกโดยวิธีอื่นก็ได้






___________________________________






ลดบทบาท"กสทช."คุมเข้มใช้จ่าย แบ่งเงิน"ค่าประมูลคลื่น-รายได้"เข้ากองทุนดิจิทัล


เคาะแล้วร่าง "พ.ร.บ.กสทช.-บอร์ดดิจิทัล" เตรียมชงเข้า ครม.เร็วที่สุด "ก.ค." นี้ ระบุชัดคลื่นโทรคมนาคมต้องจัดสรรโดยวิธี "ประมูล" ลดกรรมการจาก 11 เหลือ 7 คน เพิ่ม "ผู้ว่าการแบงก์ชาติ" นั่งกรรมการสรรหา-คุมเข้มการใช้เงิน กสทช. ระบุให้แบ่งค่าประมูลคลื่น25%และรายได้กสทช.อีก 25% เข้า "กองทุนดิจิทัล"


แหล่งข่าวระดับสูงในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยกร่างกฎหมายชุดเศรษฐกิจดิจิทัลเสร็จอีก 2 ฉบับ พร้อมเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และส่งต่อเข้ากระบวนการนิติบัญญัติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แก่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) และและร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ก่อนหน้านี้ ครม.ได้ผ่านร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม) และ สนช.เริ่มพิจารณาวาระแรกแล้ว คาดว่าจะประกาศใช้ได้ใน มิ.ย.นี้ ส่วนอีก 2 ฉบับ ข้างต้นจะประกาศใช้ได้ในเดือน ก.ค.นี้

"ผู้ว่าการแบงก์ชาติ" นั่งสรรหา

สำหรับสาระสำคัญในร่าง พ.ร.บ. กสทช. มีการปรับลดคณะกรรมการ กสทช.จาก 11 เหลือ 7 คน โดยให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านบรอดแคสต์, โทรคมนาคม, วิศวกรรม, กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และคุ้มครองผู้บริโภคแต่ไม่ได้ระบุสัดส่วนผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน

ส่วนกระบวนการสรรหาได้เพิ่มผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นกรรมการสรรหาด้วย นอกจากมีประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธาน ป.ป.ช. ประธานคตง. ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรเสนอชื่อจากผู้สมัคร เพื่อให้วุฒิสภาพิจารณาด้วยการลงคะแนนลับ

และปรับปรุงคุณสมบัติผู้สมัคร ในส่วนผู้แทนภาคคุ้มครองผู้บริโภคเดิมกำหนดให้มีประสบการณ์ 20 ปี ลดเหลือ 10 เพิ่มคุณสมบัติในภาควิชาการ โดยระบุให้ต้องเป็นรองศาสตราจารย์อย่างน้อย 5 ปี

คลื่นโทรคมฯต้องประมูล

ด้านการจัดสรรคลื่นความถี่ได้ยกงานด้านการประสานงานคลื่นและวงโคจรดาวเทียมออกไปเหลือการจัดสรรคลื่นด้านบรอดแคสต์ที่ระบุให้ใช้วิธีการคัดเลือกตามที่ กสทช. กำหนด ทั้งในระดับชาติถึงระดับท้องถิ่น ยกเว้นการนำไปใช้เพื่อ "ธุรกิจ" จะต้องจัด "ประมูล" ขณะที่กิจการโทรคมนาคมระบุชัดว่าให้ใช้การประมูลยกเว้นเป็น "คลื่นที่มีจำนวนไม่จำกัด" หรือผู้ขอรับใบอนุญาตอาจใช้คลื่นความถี่เดียวกันกับรายอื่นได้ หรือประสงค์จะนำไปใช้ในกิจการบางประเภท ตามลักษณะและประเภทที่ กสทช. ประกาศกำหนดไว้ล่วงหน้าจะใช้วิธีการคัดเลือกโดยวิธีอื่นก็ได้

สำหรับเงินที่ได้จากการจัดสรรคลื่น 25% ต้องส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่เหลือส่งเข้าคลังเป็นรายได้แผ่นดิน เช่นกันกับรายได้ 25% ของ กสทช.ทั้งค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และการดำเนินการอื่น และแม้ พ.ร.บ. กสทช.จะไม่ได้ยุบกองทุนวิจัย และพัฒนา แต่งบประมาณที่ต้องใช้ตามแผนการให้บริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง (USO) ระบุว่า โอนทั้งเงิน และภารกิจให้หน่วยงานอื่นดำเนินการได้ ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม กำหนดที่มาเงินกองทุนว่าจะมาจากการโอนเงินที่ต้องใช้ตามแผน USO (แผนงาน 5 ปีของ กสทช. ปี 2555-2559) วางกรอบไว้ที่ 20,000 ล้านบาท คงไว้เฉพาะ เช่น สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาที่สำนักงาน กสทช.จัดเงินอุดหนุนให้ 50-150 ล้านบาท

คุมการใช้เงิน กสทช.

การตั้งงบประมาณรายจ่ายของ กสทช. ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า ประหยัด และมีประสิทธิภาพ หากโครงการใดตั้งงบประมาณไว้แต่ไม่เริ่มดำเนินงานภายใน 9 เดือนให้ยกเลิก หากสตง. ตรวจพบว่าไม่มีประสิทธิภาพหรือฟุ่มเฟือยต้องปรับปรุงแก้ไขหรือระงับการดำเนินการโดยเร็ว

ส่วนการตรวจสอบการปฏิบัติงานของกสทช.ได้ตั้งคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของ กสทช. แทน คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. (กตป.) ที่จะสิ้นสุดการทำงานทันทีที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ต่างจากบอร์ด กสทช.ที่ทำงานจนครบวาระใน ต.ค. 2560 ได้






เข้มบริหารเงินกองทุนดิจิทัล

สำหรับบอร์ดดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีคณะกรรมการ 18-21 คน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง 13 คน มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ 5-8 คน เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยจะตั้งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นแหล่งเงินทุนในการดำเนินงานตามนโยบายบอร์ดดิจิทัลอาทิการให้เงินอุดหนุน เงินทุนวิจัย เงินเพื่อให้การกู้ยืมโดยมีหรือไม่มีดอกเบี้ย ให้หน่วยงานรัฐและเอกชน โดยมีรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเป็นประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนนี้ มีบุคคลภายนอกที่เป็นอิสระเข้ามาประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน รวมถึงให้ สตง.ทำรายงานผลการสอบบัญชีด้วย

ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (11 พ.ค.) มีมติให้กระทรวงไอซีทีตั้งงบประมาณ 1,710 ล้านบาท ให้ บมจ.ทีโอทีวางโครงข่ายไปยังโรงเรียน 5,000 แห่ง ตามโครงการดิจิทัลเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

"ดาต้าเซ็นเตอร์ไปได้เร็วกว่าแผนได้สำรวจความต้องการใช้งานของหน่วยงานเสร็จไปครึ่งหนึ่งอีก 1 เดือนจะครบ และเปิดประมูลให้เอกชนสร้างในสิ้นปี ส่วนโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติใน 1 เดือน ไอซีทีต้องหาบริษัทที่ปรึกษามาดีไซน์โครงข่ายในจุดที่ยังขาด งบฯ 40 ล้านบาท ใช้เวลาออกแบบ 6 เดือนควบคู่ไปกับการให้บริษัทกลางมาวิเคราะห์และตีมูลค่าทรัพย์สินโครงข่ายของภาครัฐและเอกชนเพื่อแปลงเป็นหุ้นในบริษัทกลาง"

เมื่อดีไซน์โครงข่ายทำให้รู้ว่าต้องสร้างอะไรเท่าไรแล้วให้บริษัทกลางตีมูลค่าทรัพย์สินแปลงเป็นหุ้นให้เสร็จใน8เดือน เมื่อตั้งบริษัทกลางแล้วจึงจะระดมทุนจาก ตลท. ในรูปกองทุน ซึ่งภาครัฐพร้อมนำโครงข่ายเข้าร่วม ส่วนเอกชนค่ายมือถือมาหมดไม่ได้บังคับ และให้ กสทช.กำหนดราคากลางสำหรับบริการเสาโทรคมนาคม รวมถึงให้ใบอนุญาตแก่ผู้ที่รวบเสาเดิมมาเป็นบริการทั่วไปแก่ผู้ประกอบการก่อนประมูล 4G

"การเรียกคืนคลื่น 2600 MHz จะเสร็จใน 2-3 เดือน เรื่องกม.ดิจิทัลฉบับอื่น ๆ คาดว่าจะเสนอ สนช.ประกาศใช้ได้หมดภายในสิ้นปี"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431576554

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.