Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 พฤษภาคม 2558 "กันตนา กรุ๊ป" ฝ่าวิกฤต ปรับแผนธุรกิจ เพิ่มน้ำหนักกลุ่มทีวี ขยายเวลารับจ้างผลิตเป็น 1,000 ชั่วโมงต่อปี ล่าสุดเซ็นสัญญากับเมียนมาร์ในการเข้าไปบริหารช่องทีวีรวม 5 สถานี กำลังจะเริ่มดำเนินการ

ประเด็นหลัก




เดินหน้าสู่ทีวีอาเซียน

นายปิยะรัฐกล่าวว่า นอกจากบริษัทจะโฟกัสที่ธุรกิจรับจ้างผลิตรายการในไทยแล้ว ยังต่อยอดขยายธุรกิจไปยังประเทศแถบอาเซียนด้วย ล่าสุดเซ็นสัญญากับเมียนมาร์ในการเข้าไปบริหารช่องทีวีรวม 5 สถานี กำลังจะเริ่มดำเนินการ

"ตลาดทีวีประเทศเพื่อนบ้านโตเร็วมาก ซึ่งเมียนมาร์เป็นอีกประเทศที่น่าสนใจ นอกเหนือจากการเข้าไปบริหารช่องทีวีในเวียดนาม กัมพูชามาแล้วเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันก็มีเรตติ้งเป็นอันดับต้น ๆ ของช่องทีวีประเทศนั้น ๆ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า คอนเทนต์ไทยได้รับความนิยมจากผู้ชมในประเทศแถบนี้ และเชื่อว่าการเข้าไปบริหารช่องทีวีในเมียนมาร์ก็จะประสบความสำเร็จเช่นกัน"







___________________________________






"กันตนา"ลุยป้อนคอนเทนต์24ช่อง ยกเครื่องธุรกิจครั้งใหญ่เร่งโตรอบทิศ-ดันเจน3คุม



"กันตนา กรุ๊ป" ฝ่าวิกฤต ปรับแผนธุรกิจ เพิ่มน้ำหนักกลุ่มทีวี ขยายเวลารับจ้างผลิตเป็น 1,000 ชั่วโมงต่อปี ส่ง "เจเนอเรชั่น 3" เร่งเครื่องหวังโตรอบทิศ เดินหน้าผลิตคอนเทนต์ป้อนทุกช่อง ทุกสถานี พร้อมซื้อลิขสิทธิ์ต่างประเทศเสริมทัพ-ย้ำภาพผู้ผลิตคอนเทนต์ ตั้งเป้าสัดส่วนรายได้จากสายทีวีเพิ่มเป็น 70-80% ของรายได้รวมปีนี้

ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการผลิตภาพยนตร์จากฟิล์มสู่ระบบดิจิทัล ส่งผลให้ยักษ์ใหญ่ "กันตนา กรุ๊ป" ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาต้องปรับตัวเป็นลำดับ

ความเคลื่อนไหวรอบใหม่ชัดเจนขึ้น เมื่อกันตนาฯหันมาโฟกัสธุรกิจโทรทัศน์ วางตัวเองเป็นผู้ผลิตรายการ หรือคอนเทนต์โพรไวเดอร์ที่เปิดกว้างรับผลิตรายการให้แก่ทุกช่อง ไม่ได้ผูกติดอยู่แค่การเป็นผู้ผลิตรายการให้แก่ช่องเก่าหรือเฉพาะช่อง 7 เท่านั้น แต่จากนี้ไปจะขยายธุรกิจและสร้างการเติบโตแบบรอบทิศ ภายใต้การนำทัพของผู้บริหารรุ่นใหม่หรือเจเนอเรชั่น 3



ปิดจุดอ่อน...เสริมจุดแข็ง

นายจาฤก กัลย์จาฤก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทิศทางหลักของกันตนาฯนับจากนี้ไปจะมุ่งสู่ 2 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจภาพยนตร์ ซึ่งต้นปีที่ผ่านมาได้รื้อโปรเจ็กต์ "กันตนา มูฟวี่ มอลล์" ใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าต่อ จากเดิมที่คาดว่าโปรเจ็กต์นี้จะเดินหน้าได้ในปี 2556 แต่ต้องเผชิญกับหลาย ๆ ปัญหา ทำให้ล่าช้า ตั้งเป้าว่าสิ้นปีนี้จะเปิดให้ครบ 300 โรง รวมถึงเตรียมขยายไปยังภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเซ็นสัญญาและเตรียมเปิดที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนามและกัมพูชาแล้ว คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้เร็ว ๆ นี้ ตั้งเป้าหมายจะให้ "กันตนา มูฟวี่ มอลล์" เข้ามาทดแทนรายได้ธุรกิจภาพยนตร์ที่หายไป

"ก่อนหน้านี้สัดส่วนรายได้หลักมาจากสายภาพยนตร์ โดยเฉพาะโพสต์โปรดักชั่น ฟิล์มแล็บที่ให้บริการล้าง-พิมพ์ ฟิล์ม ซึ่งเคยเป็นรายได้ถึง 60-70% ของรายได้รวม แต่ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีภาพยนตร์จากฟิลม์สู่ดิจิทัล ทำให้รายได้ส่วนนี้หายไป และบริษัทต้องเผชิญกับมรสุมทางธุรกิจมาต่อเนื่อง"

อีกธุรกิจคือ ธุรกิจโทรทัศน์ ซึ่งเติบโตต่อเนื่องจากการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัล ประกอบกับบริษัทมีความแข็งแกร่งด้านนี้ ซึ่งมีทั้งช่องทีวีดาวเทียม และรับจ้างผลิตรายการ ละคร โดยวางตัวเองชัดเจนว่าคือผู้ผลิตรายการ (คอนเทนต์โพรไวเดอร์) คาดว่าการปรับโฟกัสธุรกิจครั้งนี้จะทำให้สัดส่วนรายได้ธุรกิจทีวีปีนี้เพิ่มเป็น 70-80% จากเดิม 50% ของรายได้รวม

ปัจจุบันกันตนาฯมีขอบข่ายดำเนินธุรกิจ 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ ธุรกิจโทรทัศน์ ธุรกิจภาพยนตร์ และธุรกิจการศึกษาและการจัดกิจกรรม



ถึงยุค...เจน 3 ปั้นรายได้

นายปิยะรัฐ กัลย์จาฤก กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตนา เอฟโวลูชั่น จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หลังจากเข้ามารับตำแหน่งตั้งแต่ปีก่อน ดูแลธุรกิจโทรทัศน์ทั้งหมด ซึ่งตำแหน่งของกันตนา เอฟโวลูชั่นแตกต่างจากกันตนา กรุ๊ป เพราะเปิดกว้างและผลิตคอนเทนต์ให้แก่ทุกสถานี เนื่องจากการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลทำให้พื้นที่การแข่งขันเปลี่ยนไป

ปัจจุบันรายการส่วนใหญ่จะออกอากาศช่อง 3 เช่น ทีเด็ด...ลูกหนี้, น้องรัก นักร้อง ซึ่งร่วมผลิตกับบริษัท จันทร์ 25 จำกัด และเรียลิตี้ "เดอะเฟซ ไทยแลนด์ ซีซั่น 2" เตรียมออกอากาศเดือนตุลาคมนี้ และยังมีละครอยู่ระหว่างถ่ายทำ ได้แก่ ทายาทอสูร ห้องหุ่น เป็นต้น รวมถึงซีรีส์ ยัยเป็ดขี้เหร่ (Ugly Betty Thailand) ที่ออกอากาศช่องไทยรัฐทีวี เป็นต้น

"เมื่อมีทีวีดิจิทัลทำให้จำนวนการผลิตรายการทีวีปีนี้เพิ่มเป็น 1,000 ชั่วโมง จากเดิมอยู่ที่ 500-600 ชั่วโมงต่อปี ตอนนี้เพิ่มกำลังการผลิตอีก 1 เท่าตัว ซึ่งกำลังคนตอนนี้ยังเพียงพออยู่ แต่อาจต้องเพิ่มกำลังคนอีกเล็กน้อย แต่คงไม่มากไปกว่านี้ เพื่อให้ควบคุมคุณภาพของรายการได้"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา กันตนาฯเริ่มผลักดันให้ทายาทเข้ามาดูแลธุรกิจในส่วนต่าง ๆ มากขึ้น ตั้งแต่ "กัลป์ กัลย์จาฤก" ดูแลงานด้านโปรดักชั่นในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตนา

โมชั่น พิคเจอร์ส จำกัด ต่อด้วย "นรรฐพร กัลย์จาฤก" รับผิดชอบเรื่องโพสต์โปรดักชั่นและโปรดิวซ์ ส่วน "ดิษย์ลดา ดิษยนันทน์" เข้ามารับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท กันตนามูฟวี่ ทาวน์ (2002) จำกัด ดูแลงานละคร

เดินหน้าสู่ทีวีอาเซียน

นายปิยะรัฐกล่าวว่า นอกจากบริษัทจะโฟกัสที่ธุรกิจรับจ้างผลิตรายการในไทยแล้ว ยังต่อยอดขยายธุรกิจไปยังประเทศแถบอาเซียนด้วย ล่าสุดเซ็นสัญญากับเมียนมาร์ในการเข้าไปบริหารช่องทีวีรวม 5 สถานี กำลังจะเริ่มดำเนินการ

"ตลาดทีวีประเทศเพื่อนบ้านโตเร็วมาก ซึ่งเมียนมาร์เป็นอีกประเทศที่น่าสนใจ นอกเหนือจากการเข้าไปบริหารช่องทีวีในเวียดนาม กัมพูชามาแล้วเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันก็มีเรตติ้งเป็นอันดับต้น ๆ ของช่องทีวีประเทศนั้น ๆ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า คอนเทนต์ไทยได้รับความนิยมจากผู้ชมในประเทศแถบนี้ และเชื่อว่าการเข้าไปบริหารช่องทีวีในเมียนมาร์ก็จะประสบความสำเร็จเช่นกัน"

สอดรับกับนายจาฤกกล่าวก่อนหน้านี้ว่า การขยายธุรกิจโทรทัศน์ของบริษัทไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในไทยเท่านั้น แต่วางเป้าหมายจะขยายไปในประเทศอาเซียนด้วย หลังจากที่ผ่านมาได้เข้าไปบริหารสถานีโทรทัศน์ในกัมพูชา เวียดนาม มาระยะหนึ่งแล้ว

"เป้าหมายต่อไปคือ การเป็นทีวีอาเซียน วันนี้ไม่ได้มองโอกาสแค่ในไทย หรือผู้ชมแค่ 60 ล้านคนเท่านั้น แต่มองถึงโอกาสจากผู้ชม 600 ล้านคนจากประเทศกลุ่มอาเซียนด้วย"

พลิกภาพลักษณ์ "กันตนาฯ" ใหม่

นายปิยะรัฐกล่าวว่า อีกสิ่งที่ต้องทำคือ ปรับภาพลักษณ์ของบริษัทให้ทันสมัย เริ่มตั้งแต่ปีก่อน โดยซื้อลิขสิทธิ์รายการจากต่างประเทศเข้ามา และสร้างฟอร์แมตรายการใหม่ เช่น เดอะเฟซ ไทยแลนด์ ที่ออกอากาศปีก่อน รายการ "Family Se-crets ไขความลับทายาทธุรกิจ" เรียลิตี้โชว์รูปแบบสาระความรู้ รวมถึงซื้อลิขสิทธิ์ซีรีส์ต่างประเทศมาทำในเวอร์ชั่นไทย เช่น ยัยเป็ดขี้เหร่ (Ugly Betty Thailand) และกอสซิป เกิร์ล เป็นต้น

"เมื่อก่อนบริษัทขยายงานไปในส่วนอื่น ๆ จำนวนมาก ทำให้ไม่ได้โฟกัสเรื่องผลิตรายการทีวี แต่ปัจจุบันต้องปรับทุกอย่างให้ทันกระแส ปีหน้าภาพลักษณ์ของบริษัทคงชัดเจนขึ้นกว่านี้"

นอกจากนี้ เตรียมเปิดโครงการ "ไทยแลนด์ ฟอร์แมต ชาเลนจ์" ประกวดหารูปแบบรายการใหม่ ๆ โดยเปิดกว้างให้ผู้ที่มีไอเดียมานำเสนอรายการ อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะเริ่มได้ปีนี้ พร้อมต่อยอดนำฟอร์แมตที่ชนะการประกวดไปขายในเทศกาลทีวี เฟสติวัลเมืองคานส์


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431279302

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.