Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 พฤษภาคม 2558 ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงจาก RS ยกเครื่องช่องทีวีดาวเทียม "ซัน ชาแนล" พร้อมเปลี่ยนชื่อช่องใหม่ โดยจะเน้นคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ เพลงลูกทุ่ง-ลูกกรุงที่หาฟังยาก

ประเด็นหลัก



ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า อาร์เอสเตรียมยกเครื่องช่องทีวีดาวเทียม "ซัน ชาแนล" พร้อมเปลี่ยนชื่อช่องใหม่ คาดว่าจะทดลองออกอากาศเดือนมิถุนายนนี้ และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือนกรกฎาคมนี้ โดยจะเน้นคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ เพลงลูกทุ่ง-ลูกกรุงที่หาฟังยาก เจาะกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ซึ่งไม่มีคู่แข่งขัน รวมถึงจะปรับผังรายการช่อง 2 ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันอาร์เอสมีช่องทีวีดาวเทียม 4 ช่อง ได้แก่ สบายดีทีวี ยูชาแนล อยู่ภายใต้บริหารของ "ศุภชัย นิลวรรณ" กรรมการผู้อำนวยการธุรกิจเพลง ส่วนช่อง 2 และช่องใหม่ (ซัน ชาแนล) อยู่ภายใต้การดูแล "ภัทธิรา ปาลวัฒน์วิไชย" กรรมการผู้อำนวยการสายงานสถานีโทรทัศน์อาร์เอส

สอดรับกับนายศุภชัย นิลวรรณ กรรมการผู้อำนวยการ ธุรกิจเพลง บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่องสบายดีทีวีและยูชาแนล ยอมรับว่า บริษัทเตรียมเปิดช่องทีวีดาวเทียมอีก 1 ช่องเร็ว ๆ นี้ จะเจาะกลุ่มนิชมาร์เก็ต แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้

"การเกิดขึ้นทีวีดิจิทัลประกอบกับเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้สินค้าตัดลดงบฯโฆษณา โยกงบฯส่วนหนึ่งไปหาทีวีดิจิทัล ส่งผลให้งบฯโฆษณาผ่านช่องทีวีดาวเทียมไตรมาส 1 ปีนี้ลดลง ช่องสบายดีทีวีและยูชาแนลก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ปัจจุบันทุกอย่างเข้าที่เข้าทางมากขึ้น โดยสินค้ากลับมาใช้งบฯตามปกติ เนื่องจากช่องดาวเทียมพิสูจน์แล้วว่า มีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีเช่นเดียวกับทีวีดิจิทัล และบางช่องก็มีเรตติ้งที่ดีและสร้างความคุ้มค่าให้แก่งบฯโฆษณา"








___________________________________






ทีวีดาวเทียมดิ้น! อาร์เอส-เอ็มชาแนลยกเครื่องสู้



ดิ้นรอบใหม่ ทีวีดาวเทียมเปิดเกมสู้ เร่งรักษาส่วนแบ่งตลาด สร้างการเติบโต อาร์เอสเล็งยกเครื่อง เปลี่ยนชื่อช่อง "ซัน ชาแนล" พร้อมขยับผังช่อง 2 ฟาก "เอ็ม ชาแนล" เพิ่มงบฯซื้อคอนเทนต์ 2 เท่าตัว ชนทีวีดิจิทัล ด้าน "เจ๊ติ๋ม" ติดหล่ม 2 ช่องทีวีดิจิทัล เตรียมดึงช่องดาวเทียมกู้รายได้

กลบความแรงของช่องทีวีดาวเทียมทันที เมื่อทีวีดิจิทัลเริ่มออกตัวเมื่อกลางปี 2557 ขณะที่ความไม่พร้อมจากหลาย ๆ ปัจจัย ทั้งโครงข่าย ระบบวัดความนิยมผู้ชม (เรตติ้ง) ก็ทำให้ทีวีดิจิทัลไปไม่ถึงฝั่งฝันเหมือนที่ผู้ชนะประมูลวางเป้าหมายไว้ ขณะที่ช่องทีวีดาวเทียมเองก็พิสูจน์แล้วว่าครอบคลุม เข้าถึงกลุ่มผู้ชมได้ดีไม่แพ้ทีวีดิจิทัล วันนี้ผู้ชมรับชมทีวีผ่านดาวเทียมประมาณ 70-80% จาก 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ล้วนเป็นโอกาสของช่องทีวีดาวเทียมอีกครั้ง

นายสยามรัศมิ์ เลาหสุขเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง จำกัด ผู้บริหารช่องทีวีดาวเทียมเอ็มชาแนล บูมเมอแรง และทูนามิ ให้มุมมองว่า ภาพรวมของตลาดทีวีดาวเทียมในปัจจุบัน เจ้าของช่องต่าง ๆ ส่วนใหญ่เลือกที่จะปรับกลยุทธ์ด้วยการพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดและพื้นที่ของตัวเองเอาไว้ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อ กระทบต่องบโฆษณา และช่องทีวีดิจิทัลที่เข้ามาแบ่งงบฯโฆษณาส่วนนี้ไป ในแง่ของการเปิดช่องใหม่ปีนี้คงมีไม่มาก



"ผลกระทบจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว งบฯโฆษณาลดลง แม้จะทำให้ช่องทีวีดาวเทียมที่เจาะกลุ่มแมสได้รับผลกระทบจากรายได้ของโฆษณาที่ลดลง แต่ทีวีดาวเทียมช่องต่าง ๆ ก็ยังสามารถเดินหน้าต่อไป เพราะมีต้นทุนไม่สูง และราคาโฆษณาถูก และคุ้มค่ากว่าช่องทีวีดิจิทัล"

นายสยามรัศมิ์กล่าวด้วยว่า แนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทจากนี้ไป สำหรับช่องเอ็มชาแนลจะมีการเพิ่มงบฯซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์เพื่อนำมาออกอากาศเพิ่มเป็น 2 เท่าจากปีก่อน เป็นซื้อสิทธิ์ผ่านบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำกัด และซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จากทุกค่ายหนัง เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งกลุ่มช่องภาพยนตร์ที่มีมากขึ้น ทั้งทีวีดิจิทัล และช่องทีวีดาวเทียม และตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาได้ลดการออกอากาศซ้ำ หรือรีรันภาพยนตร์ 1 เรื่อง เหลือ 4 รอบ จากเดิมที่ 1 เรื่องรีรัน 8 รอบ เพื่อสร้างความสดใหม่ ซึ่งได้รับการตอบรับดีทั้งจากโฆษณาและเรตติ้ง

ส่วนช่องการ์ตูนบูมเมอแรงและทูนามิก็ได้รับผลตอบรับที่ดีจากโฆษณาเช่นกันโดยช่องบูมเมอแรงมีเรตติ้งติด 1 ใน 5 ของช่องทีวีโดยรวม (ทีวีดิจิทัลและทีวีดาวเทียม) นอกจากนี้ขยายความร่วมมือกับบริษัท เอ็ม เทิร์นเนอร์ จำกัด บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท เทิร์นเนอร์ บรอดแคสติ้ง ซิสเต็มส์ เอเชีย แปซิฟิค อิงค์ จำกัด และบริษัท เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง จำกัด ผลิตรายการเด็ก ในช่วงเวลา 16.00-18.00 น. ออกอากาศจันทร์-ศุกร์ ช่อง 13 แฟมิลี่

"ช่องทูนามิเพิ่งเปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และเพิ่งเริ่มผลิตรายการเด็กให้ช่อง 13 แฟมิลี่ ตอนนี้อยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์ ว่าจะเปิดช่องทีวีดาวเทียมใหม่อีก 1 ช่องหรือไม่ เพราะต้องทำให้ธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นแข็งแรงก่อน"

ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า อาร์เอสเตรียมยกเครื่องช่องทีวีดาวเทียม "ซัน ชาแนล" พร้อมเปลี่ยนชื่อช่องใหม่ คาดว่าจะทดลองออกอากาศเดือนมิถุนายนนี้ และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการเดือนกรกฎาคมนี้ โดยจะเน้นคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับสุขภาพ เพลงลูกทุ่ง-ลูกกรุงที่หาฟังยาก เจาะกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ซึ่งไม่มีคู่แข่งขัน รวมถึงจะปรับผังรายการช่อง 2 ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันอาร์เอสมีช่องทีวีดาวเทียม 4 ช่อง ได้แก่ สบายดีทีวี ยูชาแนล อยู่ภายใต้บริหารของ "ศุภชัย นิลวรรณ" กรรมการผู้อำนวยการธุรกิจเพลง ส่วนช่อง 2 และช่องใหม่ (ซัน ชาแนล) อยู่ภายใต้การดูแล "ภัทธิรา ปาลวัฒน์วิไชย" กรรมการผู้อำนวยการสายงานสถานีโทรทัศน์อาร์เอส

สอดรับกับนายศุภชัย นิลวรรณ กรรมการผู้อำนวยการ ธุรกิจเพลง บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารช่องสบายดีทีวีและยูชาแนล ยอมรับว่า บริษัทเตรียมเปิดช่องทีวีดาวเทียมอีก 1 ช่องเร็ว ๆ นี้ จะเจาะกลุ่มนิชมาร์เก็ต แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้

"การเกิดขึ้นทีวีดิจิทัลประกอบกับเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้สินค้าตัดลดงบฯโฆษณา โยกงบฯส่วนหนึ่งไปหาทีวีดิจิทัล ส่งผลให้งบฯโฆษณาผ่านช่องทีวีดาวเทียมไตรมาส 1 ปีนี้ลดลง ช่องสบายดีทีวีและยูชาแนลก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ปัจจุบันทุกอย่างเข้าที่เข้าทางมากขึ้น โดยสินค้ากลับมาใช้งบฯตามปกติ เนื่องจากช่องดาวเทียมพิสูจน์แล้วว่า มีศักยภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีเช่นเดียวกับทีวีดิจิทัล และบางช่องก็มีเรตติ้งที่ดีและสร้างความคุ้มค่าให้แก่งบฯโฆษณา"

เช่นเดียวกับนางพันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยทีวี จำกัด กล่าวว่า มีแผนจะเปิดช่องทีวีดาวเทียมอีกครั้ง หลังจากปิดช่องทีวีดาวเทียม 2 ช่อง คือทีวีพูล ชาแนล และทีวีพลู มิวสิค เมื่อปี 2557 เพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ช่องทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือโลก้า และช่อง 17 ไทยทีวี แต่ด้วยสถานการณ์ของทีวีดิจิทัลที่ยังไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และมีต้นทุนจากการซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศสูง แต่ยังไม่ได้ออกอากาศในช่องทีวีดิจิทัล จึงเตรียมเปิดช่องทีวีดาวเทียมเพิ่ม เพื่อเป็นช่องทางในการบริหารต้นทุนและที่ออกอากาศของคอนเทนต์ด้วย

จากรายงานการใช้งบฯโฆษณาผ่านสื่อทีวีไตรมาสแรกปี 2558 ของบริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ทีวีแอนะล็อก (ช่อง 3-5-7-9) มีมูลค่า 14,412 ล้านบาท ลดลง 6.38% จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม 1,304 ล้านบาท ลดลง47.03% และทีวีดิจิทัล 8,725 ล้านบาท โตขึ้น100% จากปีก่อน (ออกอากาศเมษายน 2557)


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1431582255

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.