Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 มิถุนายน 2555 กรรมาธิการวุฒิสภาฯ จี้ กสทช. เร่งเคลียร์ดีล CAT TRUE หวั่น TOT เอาแบบอย่าง

กรรมาธิการวุฒิสภาฯ จี้ กสทช. เร่งเคลียร์ดีล CAT TRUE หวั่น TOT เอาแบบอย่าง


ประเด็นหลัก

โดย กมธ. ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าสัญญาดังกล่าวควรที่จะมีความชัดเจนโดยเร็ว ซึ่ง กสทช.จะมีความเห็นว่าถูกหรือผิดนั้น ควรที่จะเร่งตัดสิน และมีคำอธิบายให้กับประชาชนอย่างชัดเจน โดย กมธ.ระบุว่าหากไม่มีความชัดเจนจะมีผลต่อการประมูล 3G เนื่องจากผู้ประกอบการจะได้มีแนวทางที่ชัดเจนในการร่วมประมูล 3G อีกทั้งยังจะไม่ก่อให้เกิดเป็นแบบอย่างกับ ทีโอที และบริษัทอื่นที่ไม่ต้องเข้าร่วมการประมูล ก็สามารถดำเนินธุรกิจ 3G ในรูปแบบเดียวกันได้


ทั้งนี้ บอร์ด กทค.ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าสัญญาดังกล่าวเข้าข่ายขัดต่อมาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช. ซึ่ง กสท จะต้องแก้ไขสัญญาโดยจะต้องมีสิทธิในโครงข่าย และกำหนดให้ MVNO รายอื่นมีสิทธิในการเช่าใช้สถานีฐานในโครงข่ายที่มีคาร์ปาซิตี้ระหว่าง 80-100% โดยไม่ใช่ให้ กลุ่มทรู สามารถมีสิทธิ์ในโครงข่ายถึง 80% เพราะถือว่าเป็นการผูกขาดตลาด โดยไม่เปิดให้รายอื่นสามารถเข้ามาใช้คลื่นได้

“กมธ.ให้ กสทช.ถามความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องนี้ และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งหลายฝ่ายก็ให้ความเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าสัญญาดังกล่าวขัดต่อ มาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช. ซึ่ง กสท ก็รับทราบแล้ว และมีแนวทางที่จะยกเลิก แต่ทางทรูไม่ยอม ซึ่ง กสท และกลุ่มทรู ต้องตกลงกัน แต่ถ้ามีการแก้ไขก็จะต้องแก้ไขสัญญานั้นจะต้องแก้ไขเยอะ” แหล่งข่าวกล่าว





__________________________________________

กมธ. จี้ กสทช. เร่งเคลียร์ดีล กสท+ทรู หวั่น ทีโอที เอาแบบอย่าง

กรรมาธิการ วุฒิสภา พัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (กมธ.) เดินทางเข้าพบ กสทช. ทั้ง 11 คน ภายใต้ประเด็นของ ดีล กสท+ทรู เนื่องจากถือเป็นปัญหาใหญ่สุด ที่มีการเกี่ยวโยงไปถึงการที่ กสทช.จะเปิดประมูล 3G บนคลื่นความถี่ 2.1GHz ใน Q3


โดย กมธ. ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าสัญญาดังกล่าวควรที่จะมีความชัดเจนโดยเร็ว ซึ่ง กสทช.จะมีความเห็นว่าถูกหรือผิดนั้น ควรที่จะเร่งตัดสิน และมีคำอธิบายให้กับประชาชนอย่างชัดเจน โดย กมธ.ระบุว่าหากไม่มีความชัดเจนจะมีผลต่อการประมูล 3G เนื่องจากผู้ประกอบการจะได้มีแนวทางที่ชัดเจนในการร่วมประมูล 3G อีกทั้งยังจะไม่ก่อให้เกิดเป็นแบบอย่างกับ ทีโอที และบริษัทอื่นที่ไม่ต้องเข้าร่วมการประมูล ก็สามารถดำเนินธุรกิจ 3G ในรูปแบบเดียวกันได้



ทั้งนี้ หากตรวจสอบแล้ว พบว่าสัญญาดังกล่าวขัดต่อกฎหมายแล้ว กสทช.จะมีวิธีเยียวยาผู้บริโภคอย่างไรบ้าง เป็นต้น

ขณะ ที่แหล่งข่าวจาก กสทช. กล่าวว่า อนุกรรมการตรวจสอบสัญญา 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) จะต้องสรุปผลการตรวจสอบเข้าบอร์ดผลสอบให้แล้วเสร็จก่อนนำเสนอบอร์ด กทค.ในการประชุมสัปดาห์หน้า จากนั้นบอร์ด กทค.จะต้องสรุปผลสอบสัญญาดังกล่าวให้แล้วเสร็จเพื่อให้นำเข้าที่ประชุมบอร์ด ใหญ่ กสทช.ก่อนวันที่ 13 มิ.ย.55

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการตรวจสอบของสัญญาต้องแบ่งอนุฯ ออกมา 2 ชุด คือ ชุดที่ตรวจในกรณีขัดกับมาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช.และชุดการเซ็นสัญญาของ กสท กับ ทรู

ทั้งนี้ บอร์ด กทค.ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าสัญญาดังกล่าวเข้าข่ายขัดต่อมาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช. ซึ่ง กสท จะต้องแก้ไขสัญญาโดยจะต้องมีสิทธิในโครงข่าย และกำหนดให้ MVNO รายอื่นมีสิทธิในการเช่าใช้สถานีฐานในโครงข่ายที่มีคาร์ปาซิตี้ระหว่าง 80-100% โดยไม่ใช่ให้ กลุ่มทรู สามารถมีสิทธิ์ในโครงข่ายถึง 80% เพราะถือว่าเป็นการผูกขาดตลาด โดยไม่เปิดให้รายอื่นสามารถเข้ามาใช้คลื่นได้

“กมธ.ให้ กสทช.ถามความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องนี้ และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งหลายฝ่ายก็ให้ความเห็นที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าสัญญาดังกล่าวขัดต่อ มาตรา 46 พ.ร.บ.กสทช. ซึ่ง กสท ก็รับทราบแล้ว และมีแนวทางที่จะยกเลิก แต่ทางทรูไม่ยอม ซึ่ง กสท และกลุ่มทรู ต้องตกลงกัน แต่ถ้ามีการแก้ไขก็จะต้องแก้ไขสัญญานั้นจะต้องแก้ไขเยอะ” แหล่งข่าวกล่าว

พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. กล่าวว่า การมาพบของ กมธ.วันนี้มีการพูดถึงการดำเนินงานของ กสทช.ทั้งหมดว่ามีความคืบหน้าเป็นอย่างไรบ้าง อาทิ การตรวจสอบสัญญา 3G ระหว่าง กสท กับ กลุ่มทรู ซึ่งขณะนี้บอร์ด กทค. ใกล้สรุปผลสอบแล้ว โดยคาดว่าจะได้ความชัดเจนในช่วงเดือนนี้ ส่วนการเปิดประมูล 3G ของ กสทช. ใน Q3/55 นี้ กมธ.ระบุว่ายังคงมั่นใจที่จะมีการประมูลใบอนุญาตตามกรอบเวลาเดิม

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องประสิทธิภาพในการให้บริการโทรศัพท์มือถือที่มีผู้ร้องเรียนมาก ขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ตัวของ กมธ.เองก็ยังประสบปัญหาดังกล่าวด้วยเช่นกัน

ด้าน พ.อ.รศ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. กล่าวว่า สาเหตุหลักที่ทำให้การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ โอเปอเรเตอร์ขณะนี้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพของโอเปอร์เรเตอร์ นั้น เนื่องจาก เอไอเอส อยู่ระหว่างการเพิ่มสถานีฐานที่มีกว่า 10,000 สถานี ส่วน ดีแทค ที่มีการร้องเรียนในเรื่องของระบบที่ล่ม เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนระบบจาก 2G เป็น 3G ขณะที่ ทรู อยู่ระหว่างการขยายโครงข่ายเช่นกัน


ทั้งนี้ การให้บริการมือถือที่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากจำนวนการใช้งานที่เพิ่มขึ้น แต่แบนด์วิทรองรับไม่เพียงพอ วิธีแก้ไขคือการเปิดประมูล 3G เพื่อเพิ่มแบนด์วิทในการใช้งานทั้ง Voice และ Data

telecomjournal
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=16&id=1901

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.