Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 กันยายน 2555 (บทสัมภาษณ์ ) สุภิญญา เปิดเบื้องลึกค้านประมูล กสทช.แฉ 3 จี เอื้อค่ายมือถือ 3 เด้ง // ห่วง CAT TOT ไปไม่รอด

(บทสัมภาษณ์ ) สุภิญญา เปิดเบื้องลึกค้านประมูล กสทช.แฉ 3 จี เอื้อค่ายมือถือ 3 เด้ง // ห่วง CAT TOT ไปไม่รอด


ประเด็นหลัก

แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุที่การลงมติในครั้งนั้นเป็นมติไม่เอกฉันท์ เนื่องจากกรรมการที่คัดค้านมองว่า หลักเกณฑ์ที่กำหนดผู้เข้าประมูลแต่ละรายสามารถถือครองความถี่รายละไม่เกิน 15MHz ซึ่งเป็นการวางไว้ให้กับจำนวนบริษัทที่จะแข่งขัน 3 รายพอดี ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน

น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า ที่ประชุมได้อภิปรายไปว่าหากมีผู้ร่วมประมูลเพียง 3 ราย ก็ควรเพิ่มเงื่อนไขเพื่อผู้บริโภค เช่น ปรับเงื่อนไขเดิมที่กำหนดให้วางโครงข่ายต้องให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 50% ภายใน 2 ปีหลังจากได้รับใบอนุญาต เปลี่ยนเป็น 80% ภายใน 2 ปี เพื่อให้คนไทยประชาชนทั่วประเทศได้ใช้ 3จีด้วย

“หลักเกณฑ์ใหม่ถือว่า ยืดหยุ่นมากไปนิดหนึ่ง เมื่อเทียบกับหลักเกณฑ์ของ กทช.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) กำหนดวางไว้ว่าในปีแรกต้องวาง 50% ปีที่สองเป็น 80%”


น.ส.สุภิญญา กล่าวว่าไม่ได้คัดค้านเพื่อมิให้โทรศัพท์ระบบ 3จี เกิด เพราะที่ผ่านมาล่าช้า จนสังคมรอ 3จีไม่ไหวแล้ว แต่เมื่อมีมติผ่านร่างประกาศดังกล่าวแล้ว ต้องรอดู กสทช.จะมีมาตรการกำกับดูแลผู้ให้บริการอย่างไร

โดยขั้นตอนต่อไป การประมูล น่าจะมีขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคมปีนี้ มั่นใจว่าจะสามารถให้บริการประมาณได้ในปีหน้า โดยในกรุงเทพฯปริมณฑล ในหัวเมืองใหญ่ เช่น ภูเก็ต ฯลฯจะได้ใช้ก่อน ส่วนพื้นที่ห่างออกไปคงได้ใช้ประมาณ 2 ปี ตามเงื่อนไขขยายโครงข่าย 50% ของพื้นที่ทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ น.ส.สุภิญญา จับตาหลังจากเปิดให้บริการแล้วคือ ผู้ให้บริการ 3 รายปัจจุบันคือ ดีแทค,ทรูมูฟ,เอไอเอส อาจจะโอนย้ายลูกค้าเดิม (ในระบบ 2.5จี) ในสัมปทานของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) หรือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไปยังระบบ 3จี ของ กสทช. เพราะระบบ 3จี กสทช.ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทาน ประเด็นนี้เป็นห่วงว่าจะกระทบต่อผลการดำเนินงานของทั้ง ทีโอที กับ กสท ที่ไม่มีรายได้จากค่าสัมปทาน ขณะที่การแข่งขันทางการตลาด ไม่สามารถสู้เอกชนได้ จึงอยากให้มีการปรับตัว และอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ พร้อมกันนี้หลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดแล้วยังเป็นห่วงเรื่องรายได้หายไปและเสา โทรคมนาคม ว่าจะได้รับคืนจากบริษัทคู่สัญญาสัมปทานหรือไม่ หากไม่ได้คืนจะกระทบแน่

ก่อนหน้านี้ ดีแทค อ้างว่า เสาเป็นสิ่งปลูกสร้างมิใช่เสาส่งสัญญาณ จึงไม่ต้องคืนให้กับ กสท ตามสัญญาสัมปทาน











____________________________________________

สุภิญญา เปิดเบื้องลึกค้านประมูล กสทช.แฉ 3 จี เอื้อค่ายมือถือ 3 เด้ง


ผู้ ให้บริการมือถือ 3 ราย รวยเละ รับเปิดประมูล 3จี ชี้เหตุค่าธรรมเนียมใบอนุญาตต่ำ แถมไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐเหมือนปัจจุบัน จับตาการโอนลูกค้าเดิมในระบบ 2.5 จี ไปใช้บริการ 3จี เลี่ยงจ่ายค่าต๋ง “สุภิญญา” หนึ่งในกรรมการ เสียงข้างน้อย เปิดใจสาเหตุต้องคัดค้านเกณฑ์การประมูลก่อนแพ้มติโหวต ห่วง “ทีโอที-กสท” ไปไม่รอด หลังเปิดบริการปีหน้า



แหล่งข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด กสทช. เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการอภิปรายคัดค้านอย่างกว้างขวางในร่างประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อน ที่สากล ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) หรือหลักเกณฑ์การจัดสรรคลื่น 3จี ด้วยวิธีประมูล โดยเฉพาะประมูลราคาเริ่มต้นของการประกวดที่มองว่าต่ำไป โดยบอร์ด 11 ท่านมีมติเห็นด้วย 8 เสียงและไม่เห็นด้วย 2 เสียง ส่วนอีก 1 เสียงคือ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ที่ได้ขอถอนตัวจากการลงมติ

โดยมีสาระ สำคัญของร่างฉบับนี้คือ ให้จัดสรรคลื่นจำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) แบ่งใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) เป็น 9 ใบ หรือ 9 สลอต (1 ใบอนุญาต เท่ากับ 5 MHz) พร้อมกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละรายถือครองคลื่นความถี่ (Spectrum Cap) ได้ไม่เกินรายละ 3 ใบ หรือ 15 MHz

ส่วนราคาเริ่มต้นการประมูล อยู่ที่ 4,500 ล้านบาท ต่อ 5MHz คาดว่า กสทช.จะได้รับค่าธรรมเนียมจากการนำคลื่น 45MHz มาประมูลไม่ต่ำกว่า 40,500 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุที่การลงมติในครั้งนั้นเป็นมติไม่เอกฉันท์ เนื่องจากกรรมการที่คัดค้านมองว่า หลักเกณฑ์ที่กำหนดผู้เข้าประมูลแต่ละรายสามารถถือครองความถี่รายละไม่เกิน 15MHz ซึ่งเป็นการวางไว้ให้กับจำนวนบริษัทที่จะแข่งขัน 3 รายพอดี ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน

ทั้งนี้ผู้ที่เข้าแข่งขัน 3 ราย ประกอบด้วยบริษัทลูกของ 1.บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิสหรือเอไอเอส, 2.บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และ 3.ทรูมูฟ

ประกอบ กับเรื่องนี้เคยมีการถกเถียงในบอร์ด คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ซึ่งเป็นบอร์ดชุดเล็กของ กสทช.โดยกรรมการที่คัดค้าน?1 ท่าน คือ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ที่มองว่า ราคาเริ่มต้นต่ำ โดยราคาที่เหมาะสมคือ 6,440ล้านบาท จนมีมติออกมา 4 ต่อ 1

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ หนึ่งใน กสทช.เสียงข้างน้อยที่คัดค้านมติดังกล่าว เปิดเผยกับ “โลกธุรกิจ” โดยยอมรับว่า ในการประชุมบอร์ดใหญ่ผู้ที่ออกเสียงไม่เห็นด้วยคือนพ.ประวิทย์ ซึ่งคัดค้านในเรื่องราคาประมูลมาตั้งแต่การประชุมกทค.

โดยส่วนตัวก็ คัดค้านเช่นกันเพราะเมื่อมาพิจารณาราคาเริ่มต้นที่ 4,500 ล้านบาท แล้วเชื่อว่าราคาประมูลคงขยับไปมากกว่านี้ไม่มาก อาจเพิ่มขึ้น 100 หรือ 200 ล้านบาท เพราะหลักเกณฑ์ทำให้ไม่มีการแข่งขันกัน โดยเฉพาะการกำหนดให้แต่ละรายสามารถถือครองในสูตร 15-15-15MHz เหมือนกับการวางให้เท่ากับจำนวนผู้แข่งขัน 3 ราย

ทั้งนี้ถ้าผู้ให้ บริการมือถือ 1 ราย ได้คลื่นไป?15MHz จะต้องเสียค่าธรรมเนียม ประมาณ 13,500 ล้านบาท (อายุใบอนุญาตเท่ากับ 15 ปี) คิดเฉลี่ยแล้วที่ผู้ให้บริการจะต้องจ่ายเพียง 900 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น ถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับปัจจุบันที่แต่ละรายจ่ายค่าสัมปทานให้กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)

น.ส.สุ ภิญญา กล่าวว่า ที่ประชุมได้อภิปรายไปว่าหากมีผู้ร่วมประมูลเพียง 3 ราย ก็ควรเพิ่มเงื่อนไขเพื่อผู้บริโภค เช่น ปรับเงื่อนไขเดิมที่กำหนดให้วางโครงข่ายต้องให้ครอบคลุมทั่วประเทศ 50% ภายใน 2 ปีหลังจากได้รับใบอนุญาต เปลี่ยนเป็น 80% ภายใน 2 ปี เพื่อให้คนไทยประชาชนทั่วประเทศได้ใช้ 3จีด้วย

“หลักเกณฑ์ใหม่ถือว่า ยืดหยุ่นมากไปนิดหนึ่ง เมื่อเทียบกับหลักเกณฑ์ของ กทช.(คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) กำหนดวางไว้ว่าในปีแรกต้องวาง 50% ปีที่สองเป็น 80%”

นอกจากนี้ กสทช.ควรกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงเอาไว้ เพราะปัจจุบันแพ็กเกจบริการอินเตอร์เนตไว้ที่ประมาณ 700 บาท ต่อเดือนถือว่าสูงไป รวมทั้งควรนำเกณฑ์ N-1 ของกทช.มาใช้กล่าวคือหากมีประมูล 3 รายก็ให้คลื่นเพียง 2 ราย ส่วนคลื่นที่เหลือให้นำมาเปิดประมูลอีกครั้ง แต่ประเด็นที่เสนอไม่ผ่านการพิจารณาจากที่ประชุม

น.ส.สุภิญญา กล่าวว่าไม่ได้คัดค้านเพื่อมิให้โทรศัพท์ระบบ 3จี เกิด เพราะที่ผ่านมาล่าช้า จนสังคมรอ 3จีไม่ไหวแล้ว แต่เมื่อมีมติผ่านร่างประกาศดังกล่าวแล้ว ต้องรอดู กสทช.จะมีมาตรการกำกับดูแลผู้ให้บริการอย่างไร

โดยขั้นตอนต่อไป การประมูล น่าจะมีขึ้นในวันที่ 15 ตุลาคมปีนี้ มั่นใจว่าจะสามารถให้บริการประมาณได้ในปีหน้า โดยในกรุงเทพฯปริมณฑล ในหัวเมืองใหญ่ เช่น ภูเก็ต ฯลฯจะได้ใช้ก่อน ส่วนพื้นที่ห่างออกไปคงได้ใช้ประมาณ 2 ปี ตามเงื่อนไขขยายโครงข่าย 50% ของพื้นที่ทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ น.ส.สุภิญญา จับตาหลังจากเปิดให้บริการแล้วคือ ผู้ให้บริการ 3 รายปัจจุบันคือ ดีแทค,ทรูมูฟ,เอไอเอส อาจจะโอนย้ายลูกค้าเดิม (ในระบบ 2.5จี) ในสัมปทานของ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) หรือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ไปยังระบบ 3จี ของ กสทช. เพราะระบบ 3จี กสทช.ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทาน ประเด็นนี้เป็นห่วงว่าจะกระทบต่อผลการดำเนินงานของทั้ง ทีโอที กับ กสท ที่ไม่มีรายได้จากค่าสัมปทาน ขณะที่การแข่งขันทางการตลาด ไม่สามารถสู้เอกชนได้ จึงอยากให้มีการปรับตัว และอยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ พร้อมกันนี้หลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดแล้วยังเป็นห่วงเรื่องรายได้หายไปและเสา โทรคมนาคม ว่าจะได้รับคืนจากบริษัทคู่สัญญาสัมปทานหรือไม่ หากไม่ได้คืนจะกระทบแน่

ก่อนหน้านี้ ดีแทค อ้างว่า เสาเป็นสิ่งปลูกสร้างมิใช่เสาส่งสัญญาณ จึงไม่ต้องคืนให้กับ กสท ตามสัญญาสัมปทาน

แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1480852

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.