Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 พฤษภาคม 2555 กสทช.เตือนผู้ใช้โรมมิ่งศึกษาข้อมูล//โดน?? TRUE เฉลี่ยรายละ 22,572บ_DTACเฉลี่ยรายละ54,928บ_AISเฉลี่ยรายละ36,967บ

กสทช.เตือนผู้ใช้โรมมิ่งศึกษาข้อมูล//โดน?? TRUE เฉลี่ยรายละ 22,572บ_DTACเฉลี่ยรายละ54,928บ_AISเฉลี่ยรายละ36,967บ


ประเด็นหลัก


นอกจากนี้ มีรายงาน กสทช. ถึงจำนวนสถิติของผู้ประกอบการทั้ง 3 รายที่โดนร้องเรียนเข้ามา ได้แก่ บริษัท ทรูมูฟ จำกัดพบว่า เป็นกรณีร้องเรียน 28 กรณี รวมมูลค่าการโต้แย้งค่าบริการ 632,037.68 บาทเฉลี่ยรายละ 22,572.77 บาทต่อราย มูลค่าการโต้แย้งค่าบริการสูงสุดที่พบ คือ 294,946.10 บาทและยังไม่ยุติ

ขณะที่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) พบว่า เป็นกรณีร้องเรียน 34 กรณี รวมมูลค่าการโต้แย้งค่าบริการ 1,867,581.38 บาท เฉลี่ยรายละ 54,928.86 บาท มูลค่าการโต้แย้งค่าบริการสูงสุดที่พบคือ 120,000 บาท ส่วนบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) พบ 55 กรณี รวมมูลค่าการโต้แย้งค่าบริการ 1,996,255.30 บาท เฉลี่ยรายละ 36,967.69 บาท มูลค่าการโต้แย้งค่าบริการสูงสุดที่พบคือ 270,000 บาท ทั้งคู่รอการไกล่เกลี่ย

________________________________________________________

กสทช.เตือนผู้ใช้โรมมิ่งศึกษาข้อมูล

นาย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า จากแนวโน้มคนไทยที่นิยมนำโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะสมาร์ทโฟนไปใช้ต่างประเทศ ส่งผลให้ปัจจุบันอัตราผู้บริโภคที่ร้องเรียนเข้ายัง กสทช. ถึงปัญหาการใช้บริการข้ามแดนอัตโนมัติ (โรมมิ่ง) ถูกเรียกอัตราค่าบริการที่สูงเกินความเป็นจริงหรือที่เรียก "บิล ช็อค" เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว


ทั้งนี้ ตัวเลขของผู้บริโภคที่ร้องเรียนเข้ามาปี 2552 มี 6 กรณี เฉลี่ยมีเรื่องร้องเรียนทุกๆ 2 เดือน ปี 2553 มี 28 กรณี เฉลี่ยมีเรื่องร้องเรียนเดือนละ 2 กรณี ปี 2554 มี 67 กรณี เฉลี่ยเดือนละ 5 กรณี ปี 2555 ตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.พ. มี 17 กรณี รวมเป็นเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 118 กรณี รวมมูลค่าค่าบริการที่ถูกโต้แย้งทั้งหมด 4,495,874.36 บาท อย่างไรก็ดี ปีนี้ กสทช.คาดการณ์ว่าจะมีผู้ร้องเรียนสูงถึง 100 ราย ดูได้จากตัวเลข 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.)ที่ผ่านมามีแล้ว 20 กว่าราย

นอกจากนี้ มีรายงาน กสทช. ถึงจำนวนสถิติของผู้ประกอบการทั้ง 3 รายที่โดนร้องเรียนเข้ามา ได้แก่ บริษัท ทรูมูฟ จำกัดพบว่า เป็นกรณีร้องเรียน 28 กรณี รวมมูลค่าการโต้แย้งค่าบริการ 632,037.68 บาทเฉลี่ยรายละ 22,572.77 บาทต่อราย มูลค่าการโต้แย้งค่าบริการสูงสุดที่พบ คือ 294,946.10 บาทและยังไม่ยุติ

ขณะที่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) พบว่า เป็นกรณีร้องเรียน 34 กรณี รวมมูลค่าการโต้แย้งค่าบริการ 1,867,581.38 บาท เฉลี่ยรายละ 54,928.86 บาท มูลค่าการโต้แย้งค่าบริการสูงสุดที่พบคือ 120,000 บาท ส่วนบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) พบ 55 กรณี รวมมูลค่าการโต้แย้งค่าบริการ 1,996,255.30 บาท เฉลี่ยรายละ 36,967.69 บาท มูลค่าการโต้แย้งค่าบริการสูงสุดที่พบคือ 270,000 บาท ทั้งคู่รอการไกล่เกลี่ย

ล่าสุด กสทช. ร่วมกับกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บมจ.ท่าอากาศยานไทย และ บมจ.การบินไทย แถลงข่าว “เตือนภัยคนไทยใช้มือถือในต่างแดน” ปลุกกระแสให้สังคมไทยตระหนักถึงปัญหาจากการใช้บริการโรมมิ่ง และส่งเสริมการตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ศึกษาข้อมูล และเตรียมความพร้อมการใช้บริการดังกล่าว พร้อมทั้งเปิดตัวคู่มือการใช้บริการโรมมิ่ง “มือถือไปเมืองนอก”

ความ ร่วมมือครั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคพึงระวังในการสมัครโปรโมชั่น ที่เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเอง ต้องเลือกเครือข่ายผู้ให้บริการในต่างประเทศให้ตรงกับโปรโมชั่นที่สมัครไว้ และปิดระบบการรับสัญญาณอัตโนมัติของเครื่องโทรศัพท์ รวมถึงศึกษาอัตราค่าบริการ และเงื่อนไขการให้บริการให้เข้าใจ

ส่วน ผู้ประกอบเอง กสทช. มีแนวทางให้เช่นกัน โดยมีข้อกำหนดห้ามเปิดบริการโรมมิ่งอัตโนมัติ เนื่องจากมีผู้ประกอบการบ้างรายมีโปรโมชั่นหากใช้บริการเกิน 90 วัน จะเปิดบริการโรมมิ่งให้ฟรี รวมถึงการลดอัตราค่าบริการให้ 40-60% หากผู้บริโภคโดนเรียกเก็บเกินจริง

ปัจจุบันผู้ประกอบการทุกรายในตลาด ต่างให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว เนื่องจากทำให้เสียภาพลักษณ์องค์กร ดังนั้นจึงออกโปรโมชั่นอันลิมิเต็ดขึ้นเพื่อหวังแก้ปัญหาแต่ก็ยังไม่ตอบ โจยท์เพราะไม่ได้ตกลงกันเรื่องเวลาเริ่มใช้งาน และเครือข่ายที่ใช้บริการได้ ล่าสุดมีผู้ประกอบการบางรายออกโปรล็อกเครือข่ายใช้งานเพียงเครือข่ายเดียว แต่สุดท้ายก็ยังเกิดปัญหาอยู่ดี ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือการให้ความรู้กับผู้บริโภคเพื่อให้ตระหนักข้อ ดี-ข้อเสีย และรู้เท่าทันบริการโรมมิ่งนั้นเอง

อย่างไรก็ดี หากผู้บริโภคไม่สามารถตกลงกับผู้ประกอบการได้ในเรื่องค่าบริการก็สามารถไป ฟ้องร้องชั้นศาลได้เอง หรือติดต่อมายัง กสทช. เพื่อให้เป็นคนกลางเจรจาก็ได้

กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20120504/4503
06/%A1%CA%B7%AA.%E0%B5%D7%CD%B9%BC%D9%E9%E3%
AA%E9%E2%C3%C1%C1%D4%E8%A7%C8%D6%A1%C9%D2%
A2%E9%CD%C1%D9%C5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.