Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 พฤษภาคม 2555 กทค.เห็นชอบร่างประกาศครอบงำกิจการฯ เตรียมเปิดรับฟังความเห็นหลังชี้แจงข้อสงสัย

กทค.เห็นชอบร่างประกาศครอบงำกิจการฯ เตรียมเปิดรับฟังความเห็นหลังชี้แจงข้อสงสัย


ประเด็นหลัก

1.การกำหนดนิยามคำว่า“การครอบงำ กิจการ"ให้หมายถึงการมีอำนาจควบคุมหรือมีอิทธิพลไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม โดยคนต่างด้าวในการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ การดำเนินงาน การแต่งตั้งกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูง อันอาจมีผลต่อการบริหารกิจการของผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ โดยการถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้ง หมด การมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือการแต่งตั้งหรือการถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด

เมื่อ พิจารณาจากนิยามดังกล่าวแล้วจะเห็นว่า การครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวต้องเข้าลักษณะตามนิยามก่อน ซึ่งเกิดขึ้นได้ 3 กรณี คือ กรณีแรก การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่ง กรณีที่สอง การมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น และกรณีที่สาม การแต่งตั้งหรือการถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด

กสทช.จะ ต้องพิจารณาว่าการกระทำ พฤติการณ์ หรือข้อเท็จจริงใดตามบัญชีท้ายประกาศฯ เข้าลักษณะ “ข้อห้าม" ตามร่างประกาศฯ ก่อนว่า เกิดการที่คนต่างด้าวเข้าไปครอบงำกิจการตามนิยามหรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฎิบัติตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.สถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ทั้งยังอาจตรวจสอบได้จากรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น

ตามบัญชีท้าย ประกาศฯ ได้กำหนดการกระทำ พฤติการณ์ หรือข้อเท็จจริงรวมทั้งสิ้น 8 กรณี ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาลักษณะของข้อห้ามการ กระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ดังนั้น ข้อกำหนดการครอบงำกิจการจึงมีหลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณาที่ชัดเจน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจอย่างเลื่อนลอย และมีมาตรฐานเดียวกัน




__________________________________________________________



กทค.เห็นชอบร่างประกาศครอบงำกิจการฯ เตรียมเปิดรับฟังความเห็นหลังชี้แจงข้อสงสัย

นาย สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกฎหมาย ในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมกทค.มีมติเห็นชอบร่างประกาศ กสทช.เรื่องการกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคน ต่างด้าว ซึ่งคณะอนุกรรมการบูรณาการและปรับปรุงกฎหมายและระเบียบด้านโทรคมนาคมได้ ดำเนินการปรับปรุงแล้ว



ทั้งนี้ กทค.มีมติให้สำนักงาน กสทช.รีบส่งร่างประกาศฯดังกล่าวไปขอความเห็นชอบจากที่ประชุมกสทช.เพื่อจัด ให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป

กรรมการก สทช.ยังได้ชี้แจงความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการแก้ไขปรับปรุงประกาศฯ ดังนี้ 1.การกำหนดนิยามคำว่า“การครอบงำกิจการ"ให้หมายถึงการมีอำนาจควบคุมหรือมี อิทธิพลไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมโดยคนต่างด้าวในการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ การดำเนินงาน การแต่งตั้งกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูง อันอาจมีผลต่อการบริหารกิจการของผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ โดยการถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่งของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้ง หมด การมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น หรือการแต่งตั้งหรือการถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด

เมื่อ พิจารณาจากนิยามดังกล่าวแล้วจะเห็นว่า การครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวต้องเข้าลักษณะตามนิยามก่อน ซึ่งเกิดขึ้นได้ 3 กรณี คือ กรณีแรก การถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่กึ่งหนึ่ง กรณีที่สอง การมีอำนาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น และกรณีที่สาม การแต่งตั้งหรือการถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด

กสทช.จะ ต้องพิจารณาว่าการกระทำ พฤติการณ์ หรือข้อเท็จจริงใดตามบัญชีท้ายประกาศฯ เข้าลักษณะ “ข้อห้าม" ตามร่างประกาศฯ ก่อนว่า เกิดการที่คนต่างด้าวเข้าไปครอบงำกิจการตามนิยามหรือไม่ ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฎิบัติตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ.สถาบันการเงิน พ.ศ.2551 ทั้งยังอาจตรวจสอบได้จากรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น

ตามบัญชีท้าย ประกาศฯ ได้กำหนดการกระทำ พฤติการณ์ หรือข้อเท็จจริงรวมทั้งสิ้น 8 กรณี ซึ่งเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาลักษณะของข้อห้ามการ กระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ดังนั้น ข้อกำหนดการครอบงำกิจการจึงมีหลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณาที่ชัดเจน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลพินิจอย่างเลื่อนลอย และมีมาตรฐานเดียวกัน

2. ความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีบัญชีท้ายประกาศฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการและ เป็นกรอบในการพิจารณาของ กสทช.อย่างไรก็ดี ตัวอย่างตามบัญชีท้าย มิใช่ข้อห้ามเด็ดขาดในตัวเอง (per se rule) กล่าวคือ มิใช่ว่ามีพฤติการณ์หรือข้อเท็จจริงตามบัญชีท้ายแล้วจะเข้าลักษณะครอบงำ ทันที หากแต่ต้องผ่านลักษณะครอบงำตามนิยาม มาก่อน

3. กรณีประเด็นเหตุผลรองรับในการออกประกาศอันเป็นผลให้จำเป็นต้องคงประกาศฉบับ นี้ไว้ แต่ให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ชัดเจน ก็เนื่องจาก มาตรา 8 วรรคสาม (1) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2549 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ขอรับใบอนุญาตแบบที่สองและผู้ขอรับใบอนุญาตแบบที่สามต้องมิใช่เป็นคน ต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ในการนี้คณะกรรมการอาจกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการบาง ลักษณะหรือบางประเภทที่เป็นนิติบุคคลจะต้องกำหนดข้อห้ามการกระทำที่มีลักษณะ เป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวด้วยก็ได้" ซึ่งกสทช.มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามที่ กฎหมายบัญญัติไว้ จึงได้ออกประกาศฯ ดังกล่าว

ตามพระราชบัญญัติการ ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้เป็นการทั่วไปในการกำหนดขอบเขตและสัดส่วนการลงทุนของคน ต่างด้าว ขณะที่ตามร่างประกาศฯ เป็นการเสริมหรืออุดช่องว่างเรื่องการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าวในกิจการโทร คมนาคมเป็นการเฉพาะอันเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการกำกับดูแลของ กสทช. อีกทั้ง สาระสำคัญของร่างประกาศฯ มีขึ้นเพื่อมุ่งให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสในการประกอบกิจการโทร คมนาคมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็น ธรรม

การลงทุนในกิจการโทรคมนาคมเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง (capital intensive industry) เพื่อป้องกันมิให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้ได้เปรียบทางการเงินสูงเข้ามาครอบงำ กิจการโทรคมนาคมอันใช้คลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรสาธารณะของชาติที่มีอยู่ อย่างจำกัด และมีผลกระทบต่อผู้ใช้บริการในวงกว้าง ดังนั้นการกำกับดูแลการลงทุนจากต่างชาติซึ่งมีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการโดย คนต่างด้าว ตามร่างประกาศฯ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

นอกจากนี้จากการ รับฟังความคิดเห็น เสียงส่วนใหญ่มองเห็นประโยชน์ในการคงประกาศนี้ไว้ แต่เห็นควรให้ปรับปรุงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและให้การบังคับใช้เกิด ประสิทธิภาพ

4.ประเด็นที่ว่าร่างประกาศฯขัดต่อพันธกรณีของประเทศไทย ที่ให้ไว้ในองค์การการค้าโลกหรือไม่นั้น จากการมีหนังสือหารือไปยังกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้คำตอบว่าประกาศฯ (เดิม) ได้ระบุเป็นข้อยกเว้นเอาไว้อย่างชัดแจ้งในข้อ 2 วรรคสอง ให้การบังคับใช้ความแห่งประกาศสามารถกระทำได้เพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ ความตกลงหรือสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีหรือมีความผูกพันตามพันธกรณี ดังนั้น โดยหลักการแล้วความไม่สอดคล้องหรือความสุ่มเสี่ยงที่จะขัดต่อพันธกรณีดัง กล่าวจึงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติ

นอกจากนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศยังได้ให้ข้อสังเกตว่าหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ กำกับดูแล โดยเฉพาะการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาของ กสทช.หากมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้ดุลพินิจและการพิจารณาที่ตั้งอยู่บน พื้นฐานความสมเหตุสมผล มีลักษณะชัดเจนเป็นภาวะวิสัยและเสมอภาคไม่ลำเอียง ย่อมก่อให้เกิดความโปร่งใส สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น

5. ประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าประกาศฯนี้เป็นการกีดกันการประมูล 3G นั้น ขอชี้แจงว่ากิจการโทรคมนาคมต้องใช้ทุนเป็นจำนวนมาก และต้องใช้เทคโนโลยีสูง การพึ่งพาทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศยังมีความจำเป็น ดังนั้นจึงได้มีการแก้ไขกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับสัดส่วนการถือหุ้นเพื่อ เป็นการส่งเสริมให้ผู้รับใบอนุญาตทั้งรายเดิมและรายใหม่สามารถพัฒนาโครงข่าย หรือเทคโนโลยีโทรคมนาคมได้ดียิ่งขึ้น

และเพื่อจัดการให้บริการแก่ ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพได้เท่าที่ควร แต่ทั้งนี้ในการเปิดโอกาสให้คนต่างด้าวเข้ามาลงทุนในกิจการโทรคมนาคมตามสัด ส่วนการถือหุ้นต้องไม่เกินร้อยละ 49 ของนิติบุคคลนั้น อีกทั้งคนต่างด้าวที่มาลงทุนในกิจการโทรคมนาคมต้องไม่มีพฤติกรรมในลักษณะ เป็นการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว จึงต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว หรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน

อย่างไรก็ตามร่างประกาศฯ จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและแข่งขันอย่างเป็นธรรมบนพื้นฐานเดียวกัน เพราะ player ทุกรายที่เข้ามาลงทุนจะอยู่ภายใต้กรอบกฎเกณฑ์เดียวกัน ไม่มีการปฏิบัติต่อผู้เล่นรายใดรายหนึ่งอย่างพิเศษเพื่อให้สมเจตนารมณ์ที่ ต้องการให้การแข่งขันเสรี และเป็นธรรมอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมให้เป็นไปอย่างยั่งยืนและมี ประสิทธิภาพ จึงเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการรายเล็กที่จะไม่ถูกเอาเปรียบในแง่ธุรกิจโดยผู้ ประกอบการรายอื่นที่อาศัยการหลบหลีกกฎหมายและให้คนต่างด้าวเข้ามาครอบงำ กิจการ

นายสุทธิพล กล่าวว่า เพื่อจะขับเคลื่อนภารกิจไปสู่การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz จึงจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับกติกาเรื่องการป้องกันการ ครอบงำโดยคนต่างด้าว เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งคงจะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย แต่ขอให้มั่นใจว่าการดำเนินการในครั้งนี้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้มุ่งให้ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะได้เปรียบ หรือกลั่นแกล้งให้เกิดการเสียเปรียบ ทั้งไม่มีการเลือกปฎิบัติ

"ร่าง ประกาศฯนี้ แม้จะมีความชัดเจนในระดับหนึ่งแล้ว แต่เมื่อกสทช.ให้ความเห็นชอบในหลักการแล้วก็จะต้องเข้าสู่ขั้นตอนการรับฟัง ความคิดเห็นจากสาธารณะ ซึ่งจะดำเนินการด้วยความโปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่าง เต็มที่"นายสุทธิพล กล่าว

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1395419

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.