Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 กรกฎาคม 2555 ( วิธีนี้เสือกระดาษจริงๆ ) กสทช.เตรียมรื้อระบบเรตติ้ง ลดหวือหวา-เน้นจรรยาบรรณ // พร้อมจัดเสวนา ดูแลกันเอง!!!

( วิธีนี้เสือกระดาษจริงๆ ) กสทช.เตรียมรื้อระบบเรตติ้ง ลดหวือหวา-เน้นจรรยาบรรณ // พร้อมจัดเสวนา ดูแลกันเอง!!!


ประเด็นหลัก

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เตรียมทบทวนระบบการจัดระดับความเหมาะสมของผู้ชมทางรายการสถานีโทรทัศน์ใหม่ (เรตติ้ง) ซึ่งเดิมเป็นโครงการริเริ่มของกระทรวงวัฒนธรรม แล้วฟรีทีวีนำไปปฏิบัติและพิจารณากันเอง ซึ่งยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร มีบางรายการที่กำหนดว่าเป็นรายการที่รับชมได้ทั่วไป แต่ยังมีความรุนแรง

นา งอรุณีประภา หอมเศรษฐี ประธานสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ก็อตทาเลนต์ไทยแลนด์ที่เกิดขึ้น แม้จะมีระเบียบและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแล้วก็ตาม แต่ต้องการที่จะให้ กสทช.มอบอำนาจให้สภาวิชาชีพหรือองค์กร ทำหน้าที่กำกับดูแลการทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชน รวมทั้งการเปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ชม เพื่อให้การกำกับดูแลของสื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อไม่เป็นภาระกับกสทช.ในการดูแลทั้งหมด



นอกจากนี้ กสทช.ได้จัดเสวนาความร่วมมือไตรภาคี เพื่อกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ครั้งนี้ เพื่อพิจารณาออกหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติการกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์ (จรรยาบรรณ) ซึ่งทาง กสทช.มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะสนับสนุนให้สมาคมวิชาชีพกำกับดูแลกันเอง แต่ต้องมีแนวปฏิบัติกลางเพื่อให้อยู่ร่วมกันทุกฝ่าย ทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้กำกับดูแล คาดว่าจะร่างเสร็จภายในเดือนนี้ ประชาพิจารณ์ และคาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนสิงหาคม 2555 นี้



__________________________________________


สางขยะจอแก้ว! กสทช.เตรียมรื้อระบบเรตติ้ง ลดหวือหวา-เน้นจรรยาบรรณ และเป็นกลาง


กสทช.เตรียม รื้อระบบจัดเรตติ้งใหม่ ชี้ "ฟรีทีวี" แข่งขันสูง มุ่งหวือหวาดึงผู้ชมแข่งสื่อใหม่โดยไม่เลือกวิธีใช้ พร้อมยกเคสโชว์เต้า "ก็อตทาเลนต์ เป็นกรณีศึกษา เตรียมร่างจรรยาบรรณกลาง ประกาศใช้เดือน ส.ค.นี้

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า เตรียมทบทวนระบบการจัดระดับความเหมาะสมของผู้ชมทางรายการสถานีโทรทัศน์ใหม่ (เรตติ้ง) ซึ่งเดิมเป็นโครงการริเริ่มของกระทรวงวัฒนธรรม แล้วฟรีทีวีนำไปปฏิบัติและพิจารณากันเอง ซึ่งยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร มีบางรายการที่กำหนดว่าเป็นรายการที่รับชมได้ทั่วไป แต่ยังมีความรุนแรง

ทั้งนี้ จะให้นักวิชาการ กระทรวงวัฒนธรรม และตัวแทนสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ มาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบการจัดเรตติ้งอีกครั้ง ก่อนการพิจารณาทบทวนและประกาศใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งอาจอยู่ในการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกำกับรายการที่มี พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กสทช. เป็นประธาน ที่กำลังพิจารณาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับดูแลด้านเนื้อหารายการที่จะ ประกาศใช้ต่อไป

นอกจากนี้ กสทช.ได้จัดเสวนาความร่วมมือไตรภาคี เพื่อกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ครั้งนี้ เพื่อพิจารณาออกหลักเกณฑ์แนวปฏิบัติการกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจายเสียง และโทรทัศน์ (จรรยาบรรณ) ซึ่งทาง กสทช.มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะสนับสนุนให้สมาคมวิชาชีพกำกับดูแลกันเอง แต่ต้องมีแนวปฏิบัติกลางเพื่อให้อยู่ร่วมกันทุกฝ่าย ทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้กำกับดูแล คาดว่าจะร่างเสร็จภายในเดือนนี้ ประชาพิจารณ์ และคาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนสิงหาคม 2555 นี้

“โมเดลการกำกับดูแลกันเองไม่ง่าย และหลายประเทศใช้ไม่ได้ผล จนต้องแก้กฎหมายเพื่อให้องค์กรกลางเข้ามากำกับดูแล มีกรณีตัวอย่างหลายเรื่องที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ เพราะทุกวันนี้การแข่งขันในธุรกิจสื่อมีสูงมาก และโดยเฉพาะการแข่งขันกับสื่อใหม่ เพื่อแย่งชิงคนดู แต่สื่ออย่างทีวีต้องมีกรอบ มาตรฐานเบื้องต้นที่ไม่สามารถทำอย่างสื่อใหม่ได้ โดยมีกรณีไทยแลนด์ ก็อตทาเลนต์ เป็นบททดสอบ”

อย่างไรก็ตาม ผู้แทนสมาคมวิชาชีพในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ต้องการกำกับดูแลกันเอง ขณะเดียวกันต้องการอำนาจในการให้คุณให้โทษแก่สมาชิก ซึ่งนางสาวสุภิญญากล่าวว่า อำนาจหน้าที่นั้นเป็นของ กสทช.ตามกฎหมาย หากจะให้อำนาจผู้ประกอบการในการกำกับดูแลกันเอง คงต้องไปแก้กฎหมายการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์เสียก่อน

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9550000085090&Keyword=%a1%ca%b7


__________________________________________



กสทช. ระดมกึ๋นกำกับดูแลเนื้อหา ยกเปลือยอก TGT กรณีศึกษา

กสทช.ระดม กึ๋นกำกับดูแลเนื้อหาที่เหมาะสม หลังก็อตทาเลนต์เปลือยนมโชว์ ขณะที่มีตัวแทนผู้ประกอบการ ภาควิชาการ ตัวแทนผู้บริโภคเข้าร่วมอภิปราย...

เมื่อ วันที่ 11 ก.ค.สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.ได้จัดเสวนาความร่วมมือไตรภาคีเพื่อกำกับดูแลกันเองในกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ หัวข้อจรรยาบรรณในการผลิตและเผยแพร่รายการเกมโชว์และเรียลลิตี้โชว์ หลังจากที่เกิดเหตุการณ์การนำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในรายการไทยแลนด์ก็ อตทาเลนต์ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยการเสวนาดังกล่าวมีตัวแทนผู้ประกอบการ ภาควิชาการ ตัวแทนผู้บริโภคเข้าร่วมอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนใหญ่ต่างยืนยันว่า ทางสถานีโทรทัศน์และผู้ผลิตรายการต่างก็มีจรรยาบรรณในการผลิตรายการ และคำนึงถึงประชาชนและสังคมทุกครั้ง

นายเศรษฐพร กนิษฐานนท์ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายรายการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ ผู้ผลิตรายการทรูอคาเดมีแฟนเทเชีย กล่าวว่า แม้จะเป็นรายการเรียลลิตี้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ทางรายการได้ปฏิบัติตามวิธีการที่เจ้าของลิขสิทธิ์รายการกำหนด รวมทั้งตามจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชนที่ดี นำเสนอรายการด้วยความเหมาะสม และคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้เข้าร่วมรายการ

นางอรุณีประภา หอมเศรษฐี ประธานสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ก็อตทาเลนต์ไทยแลนด์ที่เกิดขึ้น แม้จะมีระเบียบและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนแล้วก็ตาม แต่ต้องการที่จะให้ กสทช.มอบอำนาจให้สภาวิชาชีพหรือองค์กร ทำหน้าที่กำกับดูแลการทำหน้าที่ของสื่อสารมวลชน รวมทั้งการเปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ชม เพื่อให้การกำกับดูแลของสื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อไม่เป็นภาระกับกสทช.ในการดูแลทั้งหมด

นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า กสทช.เตรียมออกร่างแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกันเองขององค์กรวิชาชีพ ด้านกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการกำกับดูแลกันเองมากกว่าการให้กสทช.กำกับดูแล และออกคำสั่งทางปกครอง โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิทยุชุมชนและผู้ประกอบการรายการโทรทัศน์ที่มีจำนวนมาก หากให้องค์กรวิชาชีพมีอำนาจดำเนินการกับผู้ประกอบการด้วยกันเอง จะต้องแก้ไขกฎหมาย อย่างไรก็ตาม การกำกับดูแลกันเองในต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน จึงต้องพิจารณาว่ามีความเหมาะสมให้อำนาจกับองค์กรวิชาชีพหรือไม่ ซึ่งแม้ กสทช.ไม่สามารถออกคำสั่งทางปกครองกับผู้ประกอบการเนื้อหา หรือ Content Provider ได้ แต่กระแสสังคมจะเป็นแรงเสียดทานและตัวตัดสินที่สำคัญกว่ามากต่อการเผยแพร่ เนื้อหา


ASTV ผู้จัดการ
http://www.thairath.co.th/content/tech/275252

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.