Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 พฤศจิกายน 2554 สุภิญญา ฟัน++พุธหน้าคลอดแผนแม่บทฯ(ใช้แผนเดิมกทช.ที่ทำแล้วกว่า90%)//บอร์ดเล็กเปิดช่องให้เอกชนทำต่อ6ด.ไม่เกิน 1ปี

สุภิญญา ฟัน++พุธหน้าคลอดแผนแม่บทฯ(ใช้แผนเดิมกทช.ที่ทำแล้วกว่า90%)//บอร์ดเล็กเปิดช่องให้เอกชนทำต่อ6ด.ไม่เกิน 1ปี



ประเด็นหลัก

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยถึงวาระการประชุมบอร์ดวันนี้ (16 พ.ย.) ว่าที่ประชุมมีวาระหลักในเรื่องการดำเนินจัดทำแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ โดยยึดหลักร่างแผนเดิมบอร์ดเก่าที่กทช.ร่างไว้ก่อนหน้า ซึ่งในตอนนี้แผนแม่บทดังกล่าวแล้วเสร็จไปกว่า 90%

อย่างไรก็ดีในที่ประชุมยังมีประเด็นที่ตกลงกันไม่ได้ โดยจะยกเรื่องไปคุยกันใหม่อีกครั้งในพุธหน้า ส่วนในเรื่องระยะเวลาการคืนคลื่นความถี่ ที่หน่วยงานรัฐครอบครองอยู่ว่ากี่ปีต้องคืนคลื่น นอกจากคลื่นที่ได้สัมปทาน หรือไม่ได้กำหนดระยะเวลาคืนคลื่นไว้ ก็เลยมีการถกกันว่าควรกำหนดให้คืนภายในกี่ปี ทั้งวิทยุโทรทัศน์และโทรคม จะต้องให้เวลากี่ปี โดยจะแบ่งเป็น 3 ประเภทคือคลื่นที่ได้รับสัมปทาน คลื่นที่ได้รับอนุญาตให้ใช้จากรัฐ และคลื่นที่ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐใช้งานอยู่และต้องแจ้งความจำเป็นในการถือครองต่อ ตามมาตรา 82 พ.ร.บ. กสทช. ซึ่งระบุให้ กสทช. ต้องกำหนดระยะเวลาในการคืนคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่ทั้งหมด

นอกจาก นี้บอร์ดยังมีมติไปยังสำนักงาน กสทช. ซึ่งเป็นคู่สัญญากับเอกชน มติดังกล่าวจึงไม่ผูกพันกับเอกชน แต่ผูกพันสำนักงานที่อยู่ใต้บังคับของ กสทช. ซึ่งสำนักงานมีหน้าที่จะไปแจ้งกับเอกชนคู่สัญญาเอง จากเดิมสัญญาหมดปลายปี 2553 แต่ได้มีการทำข้อตกลงท้ายสัญญาเพิ่มเพื่อไม่ให้ผูกมัดกับ กสทช. กระบวนการหลังจากนี้ สำนักงาน กสทช. จะต้องไปแจ้งกับเอกชนในฐานะคู่สัญญา และหากเอกชนไม่พอใจในเงื่อนไข จะต้องเจรจากับสำนักงาน ไม่ใช่หน้าที่ของบอร์ดในการเจรจาธุรกิจกับเอกชน ทั้งนี้ถ้ามีคนที่ไม่พอใจในมติ กสทช. ก็มีสิทธิจะฟ้องต่อศาลปกครองได้ แต่การเจรจาจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งทางสำนักงานก็ยืนยันว่าได้มีการแจ้งให้เอกชนทราบอยู่เป็นระยะๆ แล้วถึงความไม่แน่นอนของสัญญา


โดยภายหลังจากนี้บอร์ดเล็กจะต้อง ไปคิดแผนเกี่ยวกับการจัดการคลื่นความถี่ของรัฐอย่างไรระหว่างนี้ทั้งหมด ไม่ใช่แค่ 1 ปณ. โดยเมื่อวันจันทร์บอร์ดเล็กมีแนวคิดจะให้เอกชนทำต่อไปอีก 6 เดือน เพื่อให้เป็นแบบอย่างกับหน่วยงานอื่น และมีประเด็นเรื่องความทับซ้อนของหน้าที่ จึงไม่ควรจะให้ระยะเวลา 1 ปี เท่ากับที่อาจจะเปิดให้เอกชนดำเนินการไปก่อนในระหว่างที่หน่วยงานรัฐดำเนิน การตามมาตรา 82 ซึ่งมีข้อสรุปแล้วแต่ยังไม่ได้มีการนำเข้าที่ประชุมบอร์ดใหญ่ ดังนั้นจึงอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆอีก ดังนั้นเวลานี้จึงต้องยืนมติบอร์ด กสทช. เมื่อครั้งที่แล้ว


__________________________________________________________

“สุภิญญา” ฟันธง พุธหน้าคลอดแผนแม่บทฯ


โฆษก กสทช.เผยบอร์ดใหญ่เตรียมคลอด แผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ สัปดาห์หน้า แม้มีข้อถกเถียงในที่ประชุมบางประเด็น ส่วนกรณีวิทยุ 1 ปณ.รอเข้าวาระในวันเดียวกัน

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยถึงวาระการประชุมบอร์ดวันนี้ (16 พ.ย.) ว่าที่ประชุมมีวาระหลักในเรื่องการดำเนินจัดทำแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ โดยยึดหลักร่างแผนเดิมบอร์ดเก่าที่กทช.ร่างไว้ก่อนหน้า ซึ่งในตอนนี้แผนแม่บทดังกล่าวแล้วเสร็จไปกว่า 90%

อย่างไรก็ดีในที่ประชุมยังมีประเด็นที่ตกลงกันไม่ได้ โดยจะยกเรื่องไปคุยกันใหม่อีกครั้งในพุธหน้า ส่วนในเรื่องระยะเวลาการคืนคลื่นความถี่ ที่หน่วยงานรัฐครอบครองอยู่ว่ากี่ปีต้องคืนคลื่น นอกจากคลื่นที่ได้สัมปทาน หรือไม่ได้กำหนดระยะเวลาคืนคลื่นไว้ ก็เลยมีการถกกันว่าควรกำหนดให้คืนภายในกี่ปี ทั้งวิทยุโทรทัศน์และโทรคม จะต้องให้เวลากี่ปี โดยจะแบ่งเป็น 3 ประเภทคือคลื่นที่ได้รับสัมปทาน คลื่นที่ได้รับอนุญาตให้ใช้จากรัฐ และคลื่นที่ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐใช้งานอยู่และต้องแจ้งความจำเป็นในการถือครองต่อ ตามมาตรา 82 พ.ร.บ. กสทช. ซึ่งระบุให้ กสทช. ต้องกำหนดระยะเวลาในการคืนคลื่นความถี่มาจัดสรรใหม่ทั้งหมด

อีกประเด็นคือจำเป็นต้องมีการระบุไว้ในข้อต่อท้ายหรือไม่ หากมีเหตุฉุกเฉินว่าจะต้องนำคลื่นมาใช้ก่อนเวลาที่ กสทช. สิ้นสุด จำเป็นต้องมีการระบุไว้หรือไม่

“บอร์ดยังเชื่อว่าจะได้ข้อยุติที่จะทำให้แผนแม่บทบริหารคลื่นคลอดออกมาได้ เพื่อนำมาประชาพิจารณ์ต่อไป และทำให้เดินหน้าทำร่างแผนแม่บทอีก 2 แผนคือการประกอบกิจการโทรคมและการประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์”

ขณะที่ประเด็นคลื่นวิทยุ 1 ปณ.จะเข้าวาระการประชุมบอร์ด กสทช.ในสัปดาห์หน้า โดยในที่ประชุมบอร์ดในวันนี้ ยังไม่ได้มีการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการของสถานีวิทยุ 1 ปณ. แต่ขอชี้แจงความสับสนเรื่อง 1 ปณ. โดยยืนยันว่าไม่ใช่การยึดคลื่น เพราะ คลื่น 1 ปณ. เป็นของ กสทช. อยู่แล้ว และ กสทช. ไปทำสัญญาร่วมผลิตรายการกับบริษัทเอกชนอย่างจีเอ็มเอ็ม ซึ่งมติบอร์ด กสทช. รอบที่แล้วได้มีมติให้ระงับการดำเนินการใดๆ ในการจัดทำหรือขยายสัญญากับเอกชน ไปจนกว่าบอร์ดเล็กจะมีแนวทางดำเนินการใดๆ ซึ่ง กสทช. สามารถยุติสัญญาในสิ้นปีได้ โดยจะต้องแจ้งให้คู่สัญญาทราบล่วงหน้าก่อน 30 วัน วันนี้เมื่อมีการรับรองการประชุมของครั้งก่อน ก็จะให้บอร์ดทำหนังสือแจ้งกับเอกชนต่อไป

“ส่วนกรณี 1 ปณ.เราขอชี้แจ้งว่าไม่ใช่เป็นการยึดคลื่น เพราะคลื่นเป็นของสำนักงาน กสทช.อยู่แล้ว โดยวันนี้บอร์ดได้ทำจดหมายแจ้งให้เอกชนรับทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ กำลังจะเกิดขึ้นกับคลื่นกลุ่ม 1 ปณ.”

นอกจากนี้บอร์ดยังมีมติไปยังสำนักงาน กสทช. ซึ่งเป็นคู่สัญญากับเอกชน มติดังกล่าวจึงไม่ผูกพันกับเอกชน แต่ผูกพันสำนักงานที่อยู่ใต้บังคับของ กสทช. ซึ่งสำนักงานมีหน้าที่จะไปแจ้งกับเอกชนคู่สัญญาเอง จากเดิมสัญญาหมดปลายปี 2553 แต่ได้มีการทำข้อตกลงท้ายสัญญาเพิ่มเพื่อไม่ให้ผูกมัดกับ กสทช. กระบวนการหลังจากนี้ สำนักงาน กสทช. จะต้องไปแจ้งกับเอกชนในฐานะคู่สัญญา และหากเอกชนไม่พอใจในเงื่อนไข จะต้องเจรจากับสำนักงาน ไม่ใช่หน้าที่ของบอร์ดในการเจรจาธุรกิจกับเอกชน ทั้งนี้ถ้ามีคนที่ไม่พอใจในมติ กสทช. ก็มีสิทธิจะฟ้องต่อศาลปกครองได้ แต่การเจรจาจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งทางสำนักงานก็ยืนยันว่าได้มีการแจ้งให้เอกชนทราบอยู่เป็นระยะๆ แล้วถึงความไม่แน่นอนของสัญญา

“ถึงแม้จะมีกระแสว่าเอกชน หรือแกรมมี่จะมีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง นั้น กสทช.มองว่าเป็นสิทธิของแกรมมี่ หรือเอกชนรายอื่นๆที่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็สามารถไปฟ้องศาลปกครองได้เลย”

โดยภายหลังจากนี้บอร์ดเล็กจะต้องไปคิดแผนเกี่ยวกับการจัดการคลื่นความถี่ของ รัฐอย่างไรระหว่างนี้ทั้งหมด ไม่ใช่แค่ 1 ปณ. โดยเมื่อวันจันทร์บอร์ดเล็กมีแนวคิดจะให้เอกชนทำต่อไปอีก 6 เดือน เพื่อให้เป็นแบบอย่างกับหน่วยงานอื่น และมีประเด็นเรื่องความทับซ้อนของหน้าที่ จึงไม่ควรจะให้ระยะเวลา 1 ปี เท่ากับที่อาจจะเปิดให้เอกชนดำเนินการไปก่อนในระหว่างที่หน่วยงานรัฐดำเนิน การตามมาตรา 82 ซึ่งมีข้อสรุปแล้วแต่ยังไม่ได้มีการนำเข้าที่ประชุมบอร์ดใหญ่ ดังนั้นจึงอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆอีก ดังนั้นเวลานี้จึงต้องยืนมติบอร์ด กสทช. เมื่อครั้งที่แล้ว


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000146456

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.