Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 กรกฎาคม 2555 กสทช. (กสท.) เร่งออกประกาศแสดงตัวคืนคลื่นวิทยุ-TV จี้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสากิจเปิดเผยรายละเอียด180 วัน

กสทช. (กสท.) เร่งออกประกาศแสดงตัวคืนคลื่นวิทยุ-TV จี้หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสากิจเปิดเผยรายละเอียด180 วัน


ประเด็นหลัก


โดยร่างฯประกาศดังกล่าวมีข้อกำหนดให้หน่วยงานเจ้าของคลื่นความถี่เดิมต้อง แจ้งรายละเอียดการถือครองคลื่นความถี่ รวมทั้งแจ้งรายละเอียดของผู้ประกอบการที่มีสัญญาสัมปทานอยู่กับหน่วยงานดัง กล่าวด้วย

ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสากิจ ต้องดำเนินการแจ้งเหตุความจำเป็นในการถือครองและใช้คลื่นความถี่ ภายใน 180 วัน นับจากวันที่หลักเกณฑ์นี้ถูกประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา


นอกจากนี้แล้ว กสท.ยังจะเร่งประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาความจำเป็นในการครอบครองและใช้คลื่น ความถี่ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบความถูกต้องของสัญญา สัมปทาน ซึ่งจะดำเนินการเปิดประชาพิจารณ์ตามมาเช่นเดียวกัน

อีกทั้งร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะบังคับให้หน่วยงานที่ครอบครองคลื่นความถี่จะ ต้องแสดงเอกสารการครอบครอง และการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานของรัฐมีคลื่นความถี่ในครอบครองรวมกันกว่า 500 สถานีวิทยุ ทีวีทั้ง 6 ช่อง ที่ต้องแสดงเอกสารสัญญาสัมปทาน รวมถึงสัญญาการเช่าเวลาทั้งหมดต่อ กสทช.

น.ส.สุภิญญา กล่าวต่อว่า แม้แผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์จะกำหนดให้กระบวนการคืนคลื่นมีกำหนดระยะเวลาภายใน 5 ปี แต่ด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ กสทช.จะใช้ในการกำกับดูแลกิจการที่จะทยอยประกาศออกมาหลังจากนี้ โดยเชื่อว่าจะทำให้หน่วยงานเจ้าของคลื่นความถี่ รวมทั้งผู้ประกอบการที่ได้รับสัมปทานไปต้องเตรียมพร้อม และต้องปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภายใน 3 ปีนี้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล


__________________________________________

กสท.เร่งออกประกาศแสดงตัวคืนคลื่นวิทยุ-ทีวี



กสท.เดิน หน้าเปิดประชาพิจารณ์ร่างฯประกาศแสดงตัวคืนคลื่นวิทยุ-ทีวี คาด มีผลบังคับใช้ช้าสุดต้น ก.ย.นี้ พร้อมเชื่อภายใน 3 ปี เข้าสู่การเปลี่ยนแปลง

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสท.) เปิดเผยว่า ในตอนนี้ กสท.กำลังเร่งดำเนินการประชาพิจารณ์ร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์และระยะเวลาการแจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความ ถี่ และเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์

โดยร่างฯประกาศดังกล่าวมีข้อกำหนดให้หน่วยงานเจ้าของคลื่นความถี่เดิมต้อง แจ้งรายละเอียดการถือครองคลื่นความถี่ รวมทั้งแจ้งรายละเอียดของผู้ประกอบการที่มีสัญญาสัมปทานอยู่กับหน่วยงานดัง กล่าวด้วย

ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสากิจ ต้องดำเนินการแจ้งเหตุความจำเป็นในการถือครองและใช้คลื่นความถี่ ภายใน 180 วัน นับจากวันที่หลักเกณฑ์นี้ถูกประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา

“เราคาดว่าจะสามารถประกาศใช้ร่างฯดังกล่าวได้ในช่วงปลายเดือน ส.ค.หรืออย่างช้าต้นเดือนก.ย.นี้”

นอกจากนี้แล้ว กสท.ยังจะเร่งประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาความจำเป็นในการครอบครองและใช้คลื่น ความถี่ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบความถูกต้องของสัญญา สัมปทาน ซึ่งจะดำเนินการเปิดประชาพิจารณ์ตามมาเช่นเดียวกัน

อีกทั้งร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะบังคับให้หน่วยงานที่ครอบครองคลื่นความถี่จะ ต้องแสดงเอกสารการครอบครอง และการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ ซึ่งปัจจุบันหน่วยงานของรัฐมีคลื่นความถี่ในครอบครองรวมกันกว่า 500 สถานีวิทยุ ทีวีทั้ง 6 ช่อง ที่ต้องแสดงเอกสารสัญญาสัมปทาน รวมถึงสัญญาการเช่าเวลาทั้งหมดต่อ กสทช.

น.ส.สุภิญญา กล่าวต่อว่า แม้แผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์จะกำหนดให้กระบวนการคืนคลื่นมีกำหนดระยะเวลาภายใน 5 ปี แต่ด้วยหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ กสทช.จะใช้ในการกำกับดูแลกิจการที่จะทยอยประกาศออกมาหลังจากนี้ โดยเชื่อว่าจะทำให้หน่วยงานเจ้าของคลื่นความถี่ รวมทั้งผู้ประกอบการที่ได้รับสัมปทานไปต้องเตรียมพร้อม และต้องปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภายใน 3 ปีนี้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล

ขณะเดียวกัน ร่างหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเหตุ และความจำเป็นในการครอบครองและใช้คลื่นความถี่ ที่จะนำสู่การประชาพิจารณ์ตามมา ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นอีกหลักเกณฑ์หนึ่งที่ทำให้หน่วยงานของรัฐต้องปรับตัว และคายคลื่นความถี่ออกมา เนื่องจากกรณีที่หน่วยงานที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่ แต่ไม่ได้ประกอบการเอง ถือว่าไม่มีเหตุจำเป็นในการครอบครองคลื่นความถี่นั่นไว้

ดังนั้น กสทช.จึงเตรียมที่จะออกหลักเกณฑ์เหตุแห่งความจำเป็นตามร่างฯประกาศข้างต้น ตามออกมาเพื่อเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสินของหน่วยงานที่ครอบครองคลื่นความ ถี่ต่อไป

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000091252

__________________________________________

กสท.เดินหน้าเรียกคืนคลื่นวิทยุ-ทีวี


น.ส.สุ ภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสท.) กล่าวว่า ในเร็วๆนี้ กสท.จะทำประชาพิจารณ์ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และระยะเวลาการแจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่และ เหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ โดยให้หน่วยงานเจ้าของคลื่นความถี่เดิมต้องแจ้งรายละเอียดการถือครองคลื่น ความถี่ รวมทั้งแจ้งรายละเอียดของผู้ประกอบการที่มีสัญญา สัมปทานอยู่กับหน่วยงานดังกล่าวด้วย



ในส่วนหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสากิจ ต้องดำเนินการแจ้งเหตุความจำเป็นในการถือครองและใช้คลื่นความถี่ ภายใน 180 วัน นับจากวันที่หลักเกณฑ์นี้ถูกประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าอย่างเร็วที่สุดจะประกาศใช้ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม หรืออย่างช้าต้นเดือนกันยายนนี้ รวมทั้งกสท.จะเร่งประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาความจำเป็นในการครอบครอง และใช้คลื่นความถี่ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบความถูกต้องของสัญญา สัมปทาน ซึ่งจะดำเนินการประชาพิจารณ์ตามมา

"ร่างหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะบังคับ ให้หน่วยงานที่ครอบครองคลื่นความถี่จะต้องแสดงเอกสารการครอบครอง และการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ ปัจจุบันนี้หน่วยงานของรัฐมีคลื่นความถี่ในครอบครองรวมกันกว่า? 500 สถานีวิทยุ ทีวีทั้ง 6 ช่อง ต้องแสดงเอกสารสัญญา สัมปทาน รวมทั้งสัญญาการเช่าเวลาทั้งหมด" น.ส.สุภิญญา กล่าว

ทั้งนี้ แม้ว่าแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ จะกำหนดให้กระบวนการคืนคลื่นมีกำหนดระยะเวลาภายใน 5 ปี แต่ผู้ประกอบการต้องไปเตรียมพร้อม และต้องปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นภายใน 3 ปีนี้

แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1452664


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.