Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 มกราคม 2555 กสทช. เร่งกระจายระบบสื่อสารลงชนบท ( อันตราย!!! หลังไทยตกอันดับ 47 ลงมาอยู่ 59 เป็นรอง อินโดนีเซียและเวียดนาม )

กสทช. เร่งกระจายระบบสื่อสารลงชนบท ( อันตราย!!! หลังไทยตกอันดับ 47 ลงมาอยู่ 59 เป็นรอง อินโดนีเซียและเวียดนาม )


ประเด็นหลัก

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ USO สำนักงาน กสทช. ระบุว่า สถานการณ์ในการเข้าถึงสารสนเทศของประชาชนว่า จากสถิติจำนวนครัวเรือนที่มีอุปกรณ์ไอซีทีทั่วราชอาณาจักร ปี 2553 พบว่า ยังมีครัวเรือนอีกร้อยละ 78 หรือจำนวน 15,158,000 ครัวเรือน จาก 19,644,00 ครัวเรือนที่ยังไม่มีอุปกรณ์ไอซีที และสถิติจำนวนครัวเรือนที่มีอุปกรณ์ไอซีที ในกรุงเทพฯ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2553 พบว่า ในกรุงเทพฯ จำนวนครัวเรือนที่ยังไม่มีอุปกรณ์ไอซีที อยู่ร้อยละ 55 หรือ 1,109,00 ครัวเรือนจาก 2,020,000 ครัวเรือน ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวนครัวเรือนที่ยังไม่มีอุปกรณ์ไอซีที อยู่ร้อยละ 87

อีกทั้ง จากการเปรียบเทียบดัชนีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี 2009-2010 และปี 2010-2011 ของเวิลด์อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum) พบว่า ประเทศไทยตกอันดับจากอันดับที่ 47 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 59 เป็นรองประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม ส่วนดัชนีชี้วัดความพร้อมในการใช้งานไอซีที ประเทศไทยตกมาอยู่ที่อันดับที่ 75 ตามหลัง เวียดนาม อินโดนีเซีย จีน มาเลเซีย และเวียดนาม

มีรายงาน เพิ่มเติมว่า ในวันที่ 27 ม.ค.นี้ จะจัดประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นต่อแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน โดยทั่วถึงและบริการสังคม ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ถ.วิภาวดีรังสิต ก่อนนำเสนอแผนให้ กสทช. พิจารณาต่อไป


__________________________________________________________


ไทยหล่นฮวบ! อันดับโลกด้านไอที เป็นรองอินโดฯ-เวียดนาม


ตะลึง! ไทย ร่วงอันดับโลกด้านความพร้อมเทคโนโลยีและการใช้งาน รั้งอันดับ 57 จากเดิมอยู่ที่ 49 พบกว่า 15 ล้านครัวเรือนยังขาดแคลนอุปกรณ์ไอที ขณะที่ อนุฯคุ้มครองโทรคมนาคมระบุ USO ต้องเน้นการมีส่วนร่วม...

เมื่อเร็วๆ นี้ มีรายงานว่า ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และกลุ่มภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. จัดการประชุม แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการสังคมกับการมีส่วน ร่วมของกลุ่ม/เครือข่ายชนเผ่า คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม

นายศรีสะเกษ สมาน อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า การจัดประชุมครั้งนี้เพื่อระดมความคิดเห็นจากกลุ่มเครือข่าย เช่น กลุ่มชนเผ่า คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม ได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน เพื่อลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการและเทคโนโลยี

ทั้ง นี้ ในร่างแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ฉบับนี้ ได้เสนอแนวทางในการปรับเปลี่ยนวิธีการในการระดมทุนจากผู้ให้บริการ จากเดิมที่ใช้วิธีให้ผู้ให้บริการเลือกได้ระหว่างการยื่นแผนการดำเนินงานต่อ กสทช. กับการให้ผู้ให้บริการต้องจัดสรรเงินร้อยละ 4 ของรายได้ ซึ่งตามแผนการจัดการฯ เดิมนั้นมีเงินกองทุนฯ ทั้งสิ้น 2,929 ล้านบาท แต่ร่างแผนการจัดการฯ ฉบับนี้เปลี่ยนจากวิธีการ ทำหรือจ่าย เป็นวิธีการประมูล

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวต่อว่า วิธีการนี้เป็นการระดมทุนมาไว้ที่กองกลางทั้งหมดก่อน คือ สำนักการบริการอย่างทั่วถึง (USO) สำนักงาน กสทช. จากนั้นจึงเปิดให้มีการประมูลในส่วนของการพัฒนาโครงข่าย โดยผู้ที่ประมูลราคาต่ำสุดจะเป็นผู้ได้ทำโครงการเพื่อขยายโครงข่ายการเข้า ถึงบริการตามแผนงานของ USO อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้อาจดีในแง่ของการปรับปรุงพัฒนาโครงข่ายในด้านการเข้าถึง แต่งานของ USO ควรรวมถึงการศึกษาวิจัยด้านเทคโนโลยีและบริการ เพื่อตอบสนองกลุ่มคนด้อยโอกาส เช่น คนพิการทางสายตา และการเคลื่อนไหว หรือผู้สูงอายุก็ตาม

นอกจากนี้ ยังควรรวมถึงการพัฒนาศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมของกลุ่มเครือข่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียมากขึ้น คือความร่วมมือทั้งส่วนผู้ให้บริการ USO และผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ เพื่ออุดช่องว่างและทำให้การทำงานเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง ป้องกันปัญหาเช่นที่ผ่านมา การทำโครงการแจกบัตรโทรศัพท์ แต่ไม่มีเครื่องรองรับจึงไม่เกิดประโยชน์กับคนด้อยโอกาส ควรเปลี่ยนแนวคิดจากการให้อย่างเดียวเป็นการมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพ

นาย จิรศิลป์ จรรยากุล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. กล่าวว่า การเน้นเรื่องการพัฒนาโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เข้าไปในพื้นที่ชนบทมาก เกินไปเท่ากับประชาชนต้องรับภาระในการจ่ายค่าโทรศัพท์มือถือ ขณะที่โทรศัพท์พื้นฐานมีราคาถูกกว่า ดังนั้นจึงควรใช้ระบบไวเลสมาช่วยแทนการลากสายเข้าบ้าน ก็จะทำให้สามารถใช้โทรศัพท์พื้นฐานได้มากขึ้น แทนที่จะต้องขยายโครงข่ายเพียงอย่างเดียว และหากเข้าสู่ระบบ 3G ก็จะยิ่งทำให้ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ USO สำนักงาน กสทช. ระบุว่า สถานการณ์ในการเข้าถึงสารสนเทศของประชาชนว่า จากสถิติจำนวนครัวเรือนที่มีอุปกรณ์ไอซีทีทั่วราชอาณาจักร ปี 2553 พบว่า ยังมีครัวเรือนอีกร้อยละ 78 หรือจำนวน 15,158,000 ครัวเรือน จาก 19,644,00 ครัวเรือนที่ยังไม่มีอุปกรณ์ไอซีที และสถิติจำนวนครัวเรือนที่มีอุปกรณ์ไอซีที ในกรุงเทพฯ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2553 พบว่า ในกรุงเทพฯ จำนวนครัวเรือนที่ยังไม่มีอุปกรณ์ไอซีที อยู่ร้อยละ 55 หรือ 1,109,00 ครัวเรือนจาก 2,020,000 ครัวเรือน ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวนครัวเรือนที่ยังไม่มีอุปกรณ์ไอซีที อยู่ร้อยละ 87

อีกทั้ง จากการเปรียบเทียบดัชนีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี 2009-2010 และปี 2010-2011 ของเวิลด์อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum) พบว่า ประเทศไทยตกอันดับจากอันดับที่ 47 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 59 เป็นรองประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม ส่วนดัชนีชี้วัดความพร้อมในการใช้งานไอซีที ประเทศไทยตกมาอยู่ที่อันดับที่ 75 ตามหลัง เวียดนาม อินโดนีเซีย จีน มาเลเซีย และเวียดนาม

มีรายงาน เพิ่มเติมว่า ในวันที่ 27 ม.ค.นี้ จะจัดประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นต่อแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน โดยทั่วถึงและบริการสังคม ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ถ.วิภาวดีรังสิต ก่อนนำเสนอแผนให้ กสทช. พิจารณาต่อไป

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/233876

__________________________________________________________


เร่งกระจายระบบสื่อสารลงชนบท กสทช.ห่วงดัชนี​ความพร้อมด้าน​ไอที ​ไทยร่วง​แพ้ประ​เทศ​ในกลุ่มอา​เซียน




ที่ สำนักงานคณะกรรม​การกิจ​การกระจาย​เสียง กิจ​การ​โทรทัศน์​และกิจ​การ​โทรคมนาคม​แห่งชาติ ​หรือ กสทช. ​เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมาคณะอนุกรรม​การคุ้มครอง​ผู้บริ​โภค​ในกิจ​การ​โทรคมนาคม ​และกลุ่มภารกิจด้าน​การคุ้มครอง​ผู้บริ​โภค​ในกิจ​การ​โทรคมนาคม สำนักงาน กสทช. ​ได้จัด​การประชุม "​แผน​การจัด​ให้มีบริ​การ​โทรคมนาคมพื้นฐาน​โดยทั่ว​ถึง ​และบริ​การสังคมกับ​การมีส่วนร่วมของกลุ่ม/​เครือข่ายชน​เผ่า คนพิ​การ ​ผู้สูงอายุ ​และ​ผู้ด้อย​โอกาส​ในสังคม"

นายศรีสะ​เกษ สมาน อนุกรรม​การคุ้มครอง​ผู้บริ​โภค​ในกิจ​การ​โทรคมนาคม กล่าวว่า ​การจัดประชุมครั้งนี้​เพื่อระดม​ความคิด​เห็นจากกลุ่ม​เครือข่าย ​เช่น กลุ่มชน​เผ่า คนพิ​การ ​ผู้สูงอายุ ​และ​ผู้ด้อย​โอกาส​ในสังคม ​ได้​แสดง​ความคิด​เห็น​และข้อ​เสนอ​แนะต่อ​การ​เข้า​ถึงบริ​การ​โทรคมนาคม พื้นฐาน ​เพื่อลดช่องว่าง​และ​ความ​เหลื่อมล้ำ​ใน​การ​เข้า​ถึงบริ​การ​และ​เทค​โน​ โลยี ​ทั้งนี้​ในร่าง ​แผน​การจัด​ให้มีบริ​การ​โทรคมนาคมพื้นฐาน​โดยทั่ว​ถึง​และบริ​การ​เพื่อ สังคมฉบับนี้ ​ได้มี​การ​เสนอ​แนวทาง​ใน​การปรับ​เปลี่ยนวิธี​การ​ใน​การระดมทุนจาก​ผู้​ ให้บริ​การ จาก​เดิมที่​ใช้วิธี​ให้​ผู้​ให้บริ​การ​เลือก​ได้ระหว่าง​การยื่น​แผน​การ ดำ​เนินงานต่อ กสทช. กับ​การ​ให้​ผู้​ให้บริ​การต้องจัดสรร​เงินร้อยละ 4 ของราย​ได้ ​ซึ่งตาม​แผน​การจัด​การฯ​เดิมนั้นมี​เงินกองทุนฯ​ทั้งสิ้น 2,929 ล้านบาท ​แต่ร่าง​แผน​การจัด​การฯฉบับนี้​เปลี่ยนจากวิธี​การ ​ทำ​หรือจ่าย ​เป็นวิธี​การประมูล

"วิธี​การนี้​เป็น​การระดมทุนมา​ ไว้ที่กองกลาง​ทั้งหมดก่อน คือสำนัก​การบริ​การอย่างทั่ว​ถึง (USO) สำนักงาน กสทช. จากนั้น​จึง​เปิด​ให้มี​การประมูล​ในส่วนของ​การพัฒนา​โครงข่าย ​โดย​ผู้ที่ประมูลราคาต่ำสุดจะ​เป็น​ผู้​ได้​ทำ​โครง​การ​เพื่อขยาย​โครง ข่าย​การ​เข้า​ถึงบริ​การตาม​แผนงานของ USOอย่าง​ไร​ก็ตาม วิธี​การนี้อาจดี​ใน​แง่ของ​การปรับปรุงพัฒนา​โครงข่าย​ในด้าน​การ​เข้า​ถึง ​แต่งานของ USO ควรรวม​ไป​ถึง​การศึกษาวิจัยด้าน​เทค​โน​โลยี​และบริ​การ ​เพื่อตอบสนองกลุ่มคนด้อย​โอกาส​เช่น คนพิ​การทางสายตา ​และ​การ​เคลื่อน​ไหว ​หรือ​ผู้สูงอายุ ​ก็ตาม นอกจากนี้ ควร​ให้กลุ่ม​เครือข่ายที่มีส่วน​ได้ส่วน​เสีย ​เข้ามามีส่วนร่วม ป้องกันปัญหา​เช่นที่ผ่านมา ​การ​ทำ​โครง​การ​แจกบัตร​โทรศัพท์ ​แต่​ไม่มี​เครื่องรองรับ​จึง​ไม่​เกิดประ​โยชน์กับคนด้อย​โอกาส ควร​เปลี่ยน​แนวคิดจาก​การ​ให้อย่าง​เดียว​เป็น​การมีส่วนร่วม​และพัฒนา ศักยภาพ

นายจิรศิลป์ จรรยากุล จากมหาวิทยาลัย​เทค​โน​โลยีพระจอม​เกล้าธนบุรี กล่าวว่า ​การ​เน้น​เรื่อง​การพัฒนา​โครงข่าย​โทรศัพท์​เคลื่อนที่​เข้า​ไป​ในพื้นที่ ชนบทมาก​เกิน​ไป​เท่ากับประชาชนต้องรับภาระ​ใน​การจ่ายค่า​โทรศัพท์มือถือ ขณะที่​โทรศัพท์พื้นฐานมีราคาถูกกว่า ดังนั้น​จึงควร​ใช้ระบบ wireless (​ไร้สาย)มาช่วย ​แทน​การลากสาย​เข้าบ้าน ​ก็จะ​ทำ​ให้สามารถ​ใช้​โทรศัพท์พื้นฐาน​ได้มากขึ้น ​แทนที่จะต้องขยาย​โครงข่าย​เพียงอย่าง​เดียว ​และหาก​เข้าสู่ระบบ 3G ​ก็จะยิ่ง​ทำ​ให้ประชาชนต้อง​เสียค่า​ใช้จ่าย

มีรายงานข่าวจาก กสทช.​แจ้งว่า จากข้อมูลของสำนัก​การบริ​การอย่างทั่ว​ถึง (USO) สำนักงาน กสทช. ระบุว่า สถาน​การณ์​ใน​การ​เข้า​ถึงสารสน​เทศของประชาชนว่า จากสถิติจำนวนครัว​เรือนที่มีอุปกรณ์ ICT ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2553 พบว่า ยังมีครัว​เรือนอีกร้อยละ 78 ​หรือจำนวน 15,158,000 ครัว​เรือน จาก 19,644,00 ครัว​เรือนที่ยัง​ไม่มีอุปกรณ์ ICT ​และสถิติจำนวนครัว​เรือนที่มีอุปกรณ์ ICT ​ในกรุง​เทพ​และภาคตะวันออก​เฉียง​เหนือ พ.ศ. 2553 พบว่า ​ในกทม.จำนวนครัว​เรือนที่ยัง​ไม่มีอุปกรณ์ ICT อยู่ร้อยละ 55 ​หรือ 1,109,00 ครัว​เรือนจาก 2,020,000 ครัว​เรือน ขณะที่ภาคตะวันออก​เฉียง​เหนือจำนวนครัว​เรือนที่ยัง​ไม่มีอุปกรณ์ ICT อยู่ร้อยละ 87

นอกจากนี้จาก​การ​เปรียบ​เทียบดัชนี​ความพร้อมด้าน​เท ค​โน​โลยีสารสน​เทศ​และ​การสื่อสาร ปี 2009-2010 ​และปี 2010-2011 ของ World Economic Forum พบว่า ประ​เทศ​ไทยตกอันดับจากอันดับที่ 47 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 59 ​เป็นรองประ​เทศอิน​โดนี​เซีย​และ​เวียดนาม ส่วนดัชนีชี้วัด​ความพร้อม​ใน​การ​ใช้งาน ICT ประ​เทศ​ไทยตกมาอยู่ที่อันดับที่ 75 ตามหลัง ​เวียดนาม อิน​โดนี​เซีย จีน มา​เล​เซีย​และ​เวียดนาม


แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1330678

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.