Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 กุมภาพันธ์ 2555 กสทช.คาดคนไทยดูTVบนมือถือพุ่ง70ล้านเครื่อง(( ส่วนเรื่องคลื่นความถี่นั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีมากอย่างที่หลายคนคิด ))

กสทช.คาดคนไทยดูTVบนมือถือพุ่ง70ล้านเครื่อง(( ส่วนเรื่องคลื่นความถี่นั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีมากอย่างที่หลายคนคิด ))



ประเด็นหลัก


พ.อ.นที กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องคลื่นความถี่นั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีมากอย่างที่หลายคนคิด จึงต้องมีหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความพอดี โดยการทำทีวีดาวเทียมต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการ แต่ไม่ต้องขอใบใช้คลื่นความถี่ก็เป็นอย่างนี้ไปก่อน จนกว่าจะมีการตีความ หรือฟ้องร้อง ซึ่งกระบวนการออกใบอนุญาตใบแรกให้ทีวีดาวเทียม อาจเป็นระยะสั้น 1 ปี และต่อใบอนุญาตครั้งที่ 2 อาจเป็น 5 ปี หรือ 10 ปี ซึ่งหลังมี กสทช. ก็ต้องทำหน้าที่ดูแลและกำกับเนื้อหา โฆษณา การใช้คลื่นความถี่ และอุปกรณ์ทีวีดาวเทียม โดยต้องสร้างกระบวนการกำกับดูแลที่เข้มแข็ง ซึ่งทีวีดาวเทียม และทีวีดิจิตอลจะเป็นภาคเสริมกัน อนาคตทีวีดิจิตอลจะพัฒนาสู่ทีวีบนมือถือจาก 20 ล้านเครื่อง ไปสู่มือถือ 70 ล้านเครื่อง ทั้งนี้ ภายในงานประกอบด้วยการปาฐกถาพิเศษ การนำเสนอผลการศึกษาวิจัย และเวทีอภิปรายด้วย

________________________________________________________

กสทช. คาดคนไทยดูทีวีบนมือถือ พุ่ง 70 ล้านเครื่อง


เปิด เวทีสัมมนา ทีวีดาวเทียมพันช่อง : ตลาด จริยธรรมและการกำกับดูแล กสทช. เผยอนาคตทีวีดิจิตอลจะพัฒนาสู่ทีวีบนมือถือ กระโดดจาก 20 ล้านเครื่อง พุ่งเป็น 70 ล้านเครื่อง...

เมื่อเร็วๆ นี้ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) กล่าวในงานสัมมนา ทีวีดาวเทียมพันช่อง : ตลาด จริยธรรมและการกำกับดูแล จัดโดยสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในช่วงปาฐกถา นโยบาย กสทช. ต่อธุรกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ทีวีดาวเทียม และ เคเบิลทีวี ว่า หลังมี กสทช. ก็จะเข้ามาดูแลและวางกลไกกำกับเนื้อหา โฆษณา การใช้คลื่นความถี่ ใช้เครื่องอุปกรณ์ ซึ่งต้องสร้างกระบวนการกำกับดูแลที่เข้มแข็ง ส่งเสริมกระบวนการทางวิชาชีพที่ดูแลกันเอง ขณะที่แค่ได้ยินชื่อทีวีดาวเทียมพันช่องก็ตกใจแล้ว

ทั้งนี้ กสทช.เกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมที่ 2554 แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างเดินหน้าแผนแม่บท ที่พูดถึงทรัพยากรทั้งหมดในประเทศ ขณะเดียวกัน บอร์ด กสท สามารถกำกับดูแลได้พอสมควร ที่ผ่านมากว่า 10 ปี การดำเนินงานเกิดสูญญากาศมานาน จึงทำให้ยังไม่มีใครกำกับ แต่อีกมุมก็อาจทำให้เกิดทีวีดาวเทียมพันช่องวันนี้ก็ได้ ช่วงสูญญากาศ กสทช. มีวิทยุชุมชน 6,604 เคเบิล 995 ทีวีดาวเทียม 200 เถื่อน

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า กรอบแผนแม่บททั้งหลายมีข้อจำกัด การออกกติกาต่างๆ ต้องขอความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและรอบด้านมากที่สุด ซึ่งสื่อในประเทศไทยไม่มีทางจะลดลงโดยเฉพาะสื่อใหม่ ที่ผ่านมาจะเห็นว่าทีวีเป็นสื่อที่ประชาชนให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง การมีทีวีหลายแพลตฟอร์มเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งการทำให้สังคมรับรู้ได้หลากหลายจะทำให้มีกระบวนการคิดและมีวิจารณญาณ ซึ่งการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ให้เกิดประโยชน์ที่สุดก็จะเกิดความคุ้มค่า

พ.อ.นที กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องคลื่นความถี่นั้น แท้จริงแล้วไม่ได้มีมากอย่างที่หลายคนคิด จึงต้องมีหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความพอดี โดยการทำทีวีดาวเทียมต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการ แต่ไม่ต้องขอใบใช้คลื่นความถี่ก็เป็นอย่างนี้ไปก่อน จนกว่าจะมีการตีความ หรือฟ้องร้อง ซึ่งกระบวนการออกใบอนุญาตใบแรกให้ทีวีดาวเทียม อาจเป็นระยะสั้น 1 ปี และต่อใบอนุญาตครั้งที่ 2 อาจเป็น 5 ปี หรือ 10 ปี ซึ่งหลังมี กสทช. ก็ต้องทำหน้าที่ดูแลและกำกับเนื้อหา โฆษณา การใช้คลื่นความถี่ และอุปกรณ์ทีวีดาวเทียม โดยต้องสร้างกระบวนการกำกับดูแลที่เข้มแข็ง ซึ่งทีวีดาวเทียม และทีวีดิจิตอลจะเป็นภาคเสริมกัน อนาคตทีวีดิจิตอลจะพัฒนาสู่ทีวีบนมือถือจาก 20 ล้านเครื่อง ไปสู่มือถือ 70 ล้านเครื่อง ทั้งนี้ ภายในงานประกอบด้วยการปาฐกถาพิเศษ การนำเสนอผลการศึกษาวิจัย และเวทีอภิปรายด้วย

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/241286

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.