Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 มีนาคม 2555 ล้อมคอก SMS เจ้าปัญหา "กสทช." ชงขึ้นทะเบียน "ผู้ผลิตคอนเทนต์"

ล้อมคอก SMS เจ้าปัญหา "กสทช." ชงขึ้นทะเบียน "ผู้ผลิตคอนเทนต์"


ประเด็นหลัก

"น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กรรมการ กสทช.กล่าวว่า ปัจจุบันมีการละเมิดสิทธิผู้บริโภคผ่าน SMS เป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งเข้ามาเชิญชวนให้เข้าไปดูข่าวสาร, รายงานผลกีฬา, ทำนายดวง และดาวน์โหลดเสียงรอสาย ซึ่งกว่า 90% ของผู้บริโภคไม่ต้องการ อีกทั้ง 77% มองว่าการที่ผู้ผลิตคอนเทนต์ส่งข้อความโฆษณาเป็นการละเมิดสิทธิ อีกทั้งการใช้ SMS เพื่อดาวน์โหลดคอนเทนต์
________________________________________________________

ล้อมคอก SMS เจ้าปัญหา "กสทช." ชงขึ้นทะเบียน "ผู้ผลิตคอนเทนต์"


กลาย เป็นปัญหากวนใจคนใช้บริการโทรศัพท์มือถือไม่รู้จบ หลายกรณีกระทบผู้บริโภค คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเปิดเวทีเสวนาในหัวข้อ "ธุรกิจผ่าน SMS...แค่ไหนที่ไม่เอาเปรียบ ?" โดยเชิญผู้เกี่ยวข้องมาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

"น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา" กรรมการ กสทช.กล่าวว่า ปัจจุบันมีการละเมิดสิทธิผู้บริโภคผ่าน SMS เป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งเข้ามาเชิญชวนให้เข้าไปดูข่าวสาร, รายงานผลกีฬา, ทำนายดวง และดาวน์โหลดเสียงรอสาย ซึ่งกว่า 90% ของผู้บริโภคไม่ต้องการ อีกทั้ง 77% มองว่าการที่ผู้ผลิตคอนเทนต์ส่งข้อความโฆษณาเป็นการละเมิดสิทธิ อีกทั้งการใช้ SMS เพื่อดาวน์โหลดคอนเทนต์

ต่าง ๆ ยังมีราคาสูงกว่าปกติ คือ 3-6 บาท แต่การให้บริการในทุกโอเปอเรเตอร์มีค่าใช้จ่าย 1-3 บาท จึงเป็นการเอากำไรเกินควรเมื่อเทียบกับราคาปกติ เมื่อมองไปที่ต้นทุนของแต่ละผู้ให้บริการจะพบว่ามีต้นทุนเพียง 0.37 บาทเท่านั้น

ปัจจุบันกลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียน และคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมสำรวจระหว่างปี 2552-2554 พบว่ามีคนเรียนเกี่ยวกับเรื่อง SMS รบกวน 272 ครั้ง และร้องเรียนเกี่ยวกับการไม่สามารถยกเลิกบริการได้ 378 ครั้ง

"จะมี การพูดคุยกับผู้ประกอบการ เพื่อกำหนดมาตรการในการส่ง SMS เพื่อความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค เนื่องจากบางครั้งการส่ง SMS ร่วมสนุกหรือผ่านรายการอาจไม่ได้เผยแพร่ทั้งหมดทำให้ผู้บริโภคสูญเงินเปล่า จึงอาจต้องมีการกำหนดขอบเขตและปริมาณในการส่ง SMS รวมถึงอัตราค่าบริการด้วย"

แนะกำหนดเพดานราคา SMS

ด้านผู้ ผลิตรายการชื่อดัง "สรยุทธ สุทัศนะจินดา" เจ้าของบริษัท ไร่ส้ม จำกัด และผู้ดำเนินรายการเรื่องเล่าเช้านี้ เรื่องเด่นเย็นนี้ และเรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ กล่าวว่า ตนเป็นเจ้าของรายการเพียงรายการเดียวคือ "เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์ จึงมีรายได้จาก SMS เพียงรายการเดียว ผ่านอัตราค่าบริการส่ง 3 บาทต่อครั้ง โดยเริ่มนำ SMS มาร่วมรายการเป็นรายการแรก ๆ ในขณะนั้น

"3 บาท แบ่งสองส่วน โอเปอเรเตอร์ครึ่งหนึ่ง ที่เหลือแชร์กันระหว่างผู้ทำระบบ SMS กับผู้จัดรายการ เงินที่ได้จากส่วนนี้จึงน้อยมากหลักสตางค์เท่านั้น หากจะให้ SMS เป็นรายได้หลักของรายการคงเจ๊งแน่นอน ข้อความที่ส่งมาต้องผ่านฝ่าย

คัดกรองก่อน จะเลือกข้อความที่มีคำหยาบ มีเนื้อหาใส่ร้าย และส่อให้เกิดการแตกแยกออกก่อน จำนวน SMS ที่อยู่ในเกณฑ์ขึ้นไม่ได้ลดลง เพราะผู้ส่งเริ่มมีวุฒิภาวะว่า ถ้าส่งแล้วไม่ขึ้นก็จะไม่ส่งอีก

ทั้งนี้ ตนต้องการให้ผู้จัดทำคอนเทนต์บน SMS ไปขออนุญาตกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อความปลอดภัยในการดำเนินธุรกิจ ส่วนเรื่องราคาอยากให้ กสทช. กำหนดออกมาให้ชัดเจนว่าต้องมีราคาเท่าไรจึงเหมาะสม ไม่ใช่ให้ตั้งกันเองเหมือนในปัจจุบัน

ด้าน "นันทนี วงศ์อำนิษฐกุล" ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บมจ.ทรู วิชั่นส์ กล่าวว่า เป็นผู้จัดรายการเรียลิตี้ "อะคาเดมี แฟนเทเชีย" หรือ "เอเอฟ" ซึ่งมีจำนวนโหวต 10 กว่าล้านครั้ง เป็นรายการ

แรก ๆ ที่ใช้เรื่องโหวตตัดสินผู้เข้าแข่งขันเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ชมที่โหวตเข้ามาจึงมีราคาการโหวตแสดงอยู่ที่หน้า โทรทัศน์ตลอด รวมถึงมีข้อความตอบกลับทุกครั้งกรณีที่มีการส่งโหวตเข้ามา และแสดงสถิติการโหวตเป็นกราฟแบบเรียลไทม์บนหน้ารายการด้วย

ส่วน SMS เพื่อพูดคุยในรายการมีทีมสกรีนเช่นกัน คัดข้อความที่ใช้คำไม่สุภาพ ต่อว่า และยั่วยุให้เกิดการแตกแยก ข้อความที่ส่งมาส่วนใหญ่จะได้โชว์ในรายการเพราะเป็นรายการสดตลอด 24 ชั่วโมง ถ้าส่งมาแล้วผ่านทีมสกรีนได้โชว์ไม่มีทางหลุด

ทั้งนี้ อัตราการโหวตและแชตคิดราคา 3 บาท แบ่งให้โอเปอเรเตอร์ครึ่งหนึ่ง และที่เหลือแบ่งกันระหว่างรายการกับผู้ทำระบบ SMS โดยในซีซั่น 1-2 เปิดให้ทุกเครือข่ายร่วมโหวตได้ แต่ซีซั่น 3 เป็นต้นไปให้เพียงเครือข่ายทรูมูฟเท่านั้น ซึ่งการโหวตแบบทุ่มทุนไม่สามารถทำได้เพราะในระบบรายเดือนมีเพดานการใช้ งานอยู่ที่ประมาณ 4 พันบาท ส่วนแบบเติมเงินขึ้นอยู่กับการควบคุมตนเองและครอบครัว

สแปมพรึ่บ-ยกเลิกใช้ยาก

"ธนิศร์ คุณีพงษ์" ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริการเสริม กลุ่มธุรกิจคอนเทนต์ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวว่าทุกคอนเทนต์ที่ส่งผ่าน SMS ผู้ให้บริการทุกรายไม่ได้เป็นเจ้าของเอง แต่เป็นท่อเพื่อให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ส่งไปยังผู้บริโภค ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับดูดวง, ข่าวสาร, โหวต, ไลฟ์สไตล์ และกีฬา สำหรับการประชาสัมพันธ์ผู้ผลิตทำเอง

ส่วนเรื่องการร้องเรียนมีค่อน ข้างมากในทุกโอเปอเรเตอร์ เพราะผู้ผลิตคอนเทนต์ตั้งใจทำออกมาเพื่อหลอกลวงและเชื้อชวนมากเกินไป ถ้ารู้ว่ามีการร้องเรียนในคอนเทนต์นั้น ๆ เป็นจำนวนมากจะเข้าไปตรวจสอบ หากพบว่าหลอกลวงจริง โทษหนักสุดคือยกเลิกให้บริการ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผลิตกว่า 300 รายในประเทศไทย คิดเป็นแบบมีรายได้ 160-200 ราย อีก 100 ราย ไม่ได้หารายได้

"ปัญหานี้ค่อนข้างใหญ่ แต่ยังไม่มีการลงมือแก้ชัดเจน ปัญหาส่วนมากคือไม่สามารถยกเลิกการใช้คอนเทนต์เหล่านั้นได้ ซึ่งเป็นคอนเทนต์ SMS แบบคิดเงินรายวันประมาณ 6 บาท ทำให้ผู้บริโภคเสียเงินไปโดยไม่รู้ตัวถ้าเป็นแบบจ่ายรายเดือน"

ฟาก ตัวแทนผู้บริโภค "อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์" ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone กล่าวว่า ผู้ผลิตคอนเทนต์ต้องระบุวิธียกเลิกใช้บริการไว้ด้วย ไม่ว่าจะใน SMS ที่ส่งมาหรือในสื่อต่าง ๆ ที่ได้ทำโฆษณา เพื่อให้ผู้บริโภครู้วิธีปิดบริการที่ถูกต้อง

การส่งคอนเทนต์เข้ามา ยังเครื่องมีสองแบบคือ ส่งโดยผู้ใช้งานเลือกเองว่าจะให้ส่งมา เรื่องนี้มีปัญหาเกิดขึ้นก็เมื่อผู้ใช้ยกเลิกไม่ได้ อีกแบบคือเป็นการส่ง SMS เข้ามายังเครื่องเองเลย เช่น เชิญชวนให้ชิงรางวัลหรือโหลดรูปภาพ ลักษณะนี้จะสร้างความรำคาญให้ผู้ใช้งาน ทั้งเมื่อตกลงทำตามที่ SMS บอกก็จะวนกลับมาที่เรื่องการยกเลิกใช้บริการอีก ดังนั้นจึงอยากให้ทุกฝ่ายช่วยดูแลเรื่องสิทธิในการยกเลิกให้บริการด้วย

ตปท.ใช้โทษหนักดัดหลัง

"ดร.เดือน เด่น นิคมบริรักษ์" อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ในต่างประเทศมีปัญหาเรื่อง SMS รบกวน และหลอกลวงทุกที่ ในทวีปเอเชียมีถึง 30% แต่ในอเมริกามีเพียง 1% เนื่องจากโทษค่อนข้างหนัก เช่น คิดการรบกวนแต่ละครั้งเท่ากับ 1 ดอลลาร์

คอนเทนต์รบกวนทาง SMS แบ่งได้ 2 แบบ คือ SPAM เป็นการส่งข้อความน่ารำคาญ เช่น เชิญชวนร่วมสนุกชิงรางวัล อีกส่วนคือ PremiumRate SMS เป็นการใช้ SMS เพื่อดาวน์โหลดคอนเทนต์ต่าง ๆ ในราคาที่มากกว่าปกติ ซึ่งการควบคุมไม่ให้เกิดกรณีแรกคือ ให้แต่ละโอเปอเรเตอร์ลงมาควบคุมให้การส่ง SPAM น้อยลงผ่านการกรองคอนเทนต์ที่เข้มข้นขึ้น, จำกัดจำนวนครั้งในการส่ง SMS ใน 1 ชั่วโมง และให้ภาครัฐออกกฎหมายที่จริงจังมากกว่าเดิม ส่วนแบบที่สองผู้ผลิตต้องบอกราคาการใช้งานที่ชัดเจน รวมถึงวิธีการยกเลิกส่วนโอเปอเรเตอร์ก็ต้องมีฝ่ายรับร้องเรียน และช่วยเหลือในการยกเลิกบริการ

"ธาม เชื้อสถาปนศิริ" นักวิจัยชำนาญการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เป็นห่วงเรื่องการใช้ SMS ในกรณีโหวตและแชตในรายการเพราะเรื่องการส่งไปไม่ถึงค่อนข้างเยอะ ซึ่งตนประมาณไว้ว่า ถ้าส่งเข้าไปแชตมีโอกาสขึ้นแค่ 1 ใน 1,000 เนื่องจากไม่ผ่านฝ่ายสกรีน หรือเวลาในการขึ้นโชว์ข้อความมีไม่พอ ทำให้เป็นการเสียเงินส่งฟรี

นอกจากนี้ การใช้ SMS ยังค่อนข้างง่ายจึงเป็นห่วงเด็กที่อาจใช้อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ส่งไปโหวตในรายการ หรือเข้าไปโหลดคอนเทนต์ต่าง ๆ เช่น การพนัน หรือรูปภาพ ดังนั้นเพื่อส่งเสริมไม่ให้เด็กเข้าใช้บริการนี้ก่อนวัย รายการเด็กควรไม่มีการให้ส่ง SMS เข้ารายการด้วย

นายธามกล่าวด้วยว่า การเชิญชวนให้เล่นพนันผ่าน SMS มีค่อนข้างเยอะ อ้างอิงจากข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยว่า ในฟุตบอลยูโร 2008 มีการส่ง SMS แสดงความคิดเห็นหรือร่วมสนุกกว่า 5 ล้านข้อความต่อวัน คิดเป็นข้อความละ 3-6 บาทต่อครั้ง เป็นเงินกว่า 620 ล้านบาท

เล็งขึ้นทะเบียนคอนเทนต์

"ดร.ปิยะ บุตร บุญอร่ามเรือง" อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาการทำ SMS ในเชิงเชื้อชวนให้เล่นการพนันมีความผิดต่อเมื่อมีการแบ่งผลประโยชน์ระหว่าง ผู้ส่ง และผู้จัด จะมีความผิดตามกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย ส่วนถ้าเป็นการแจกของหรือมาร่วมพูดคุยในรายการซึ่งไม่มีการแบ่งผลประโยชน์ ไม่ผิด

"กสทช. ควรช่วยตรวจสอบเรื่องคุณภาพในการให้บริการด้วย เพราะผู้ผลิตคอนเทนต์ต่าง ๆ อาจเข้ามาหลอกลวงผู้บริโภคได้ตลอดถ้าไม่มีกฎเกณฑ์ที่จริงจัง"

ด้าน "นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์" กรรมการ กสทช.กล่าวว่า หลังจากรับทราบความคิดเห็นภายในงานแล้ว เห็นว่าควรนำผู้ผลิตคอนเทนต์ทุกรายเข้ามาขึ้นทะเบียนกับ กสทช. เพื่อให้มีการจัดระบบง่ายขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค คาดว่าจะนำเสนอในที่ประชุมเพื่อพิจารณาออกกฎกติกาในการทำธุรกิจประเภทนี้ เหมือนการขึ้นทะเบียนผู้ทำรายการในทีวีดาวเทียม

และเพื่อเตรียมตัว สำหรับการมาถึงของฟุตบอลรายการใหญ่ EURO 2012 ในเดือน มิ.ย.นี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการเล่นพนันบอลเกิดขึ้นเยอะ ทำให้ กสทช.ต้องออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด

การชี้นำให้เล่น พนัน ไม่ว่าจะทางวิทยุ โทรทัศน์ หรือผ่าน SMS ซึ่งจะมีการเข้าไปคุยเรื่องเนื้อหากับองค์กรต่าง ๆ ที่ทำงานด้านนี้ อาทิ ช่องรายการ และโอเปอเรเตอร์มือถือ อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับผู้บริโภค รวมถึงผู้ทำคอนเทนต์ด้วยว่าจะให้ความร่วมมือหรือไม่

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1333104092&grpid=&catid=06&subcatid=


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.