Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 เมษายน 2555 เปิด สาระสำคัญ!! ร่างระเบียบไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาทโทรคมฯ เปิดช่องทางผู้บริโภค++

เปิด สาระสำคัญ!! ร่างระเบียบไกล่เกลี่ย ระงับข้อพิพาทโทรคมฯ เปิดช่องทางผู้บริโภค++


ประเด็นหลัก

สำหรับ สาระสำคัญของร่างระเบียบไกล่เกลี่ยฉบับนี้ คือ กรอบการบังคับใช้จะใช้เฉพาะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียนตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และประกาศ กทช.เรื่องกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้ บริการ โดยสำนักงาน กสทช.จะเป็นผู้ดำเนินงานธุรการที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยดังกล่าว โดยจะจัดให้มีทะบียนรายชื่อผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นผู้ชำนาญเฉพาะด้านจากภายนอก และอาจเป็นพนักงานของสำนักงานก็ได้ ร่างระเบียบฯ ยังกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ไกล่เกลี่ยรวมถึงลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ ทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ยจะมีอายุ 2 ปี และอาจขอขึ้นทะเบียนได้อีก ในการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นให้สำนักงานแต่งตั้ง จากผู้ที่ขึ้นทะเบียนรายชื่อไว้ โดยคำนึงถึงลักษณะของข้อร้องเรียนและความเหมาะสมของผู้ไกล่เกลี่ย เว้นแต่คู่กรณีประสงค์ร่วมกันที่จะเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ขึ้นทะเบียน เป็นผู้ไกล่เกลี่ย

"การจัดทำร่างระเบียบการไกล่เกลี่ยดังกล่าวจึง เป็นทางเลือกของคู่กรณีที่จะมีส่วนร่วมกันในการยุติข้อพิพาทบนพื้นฐานความ สมัครใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย ในขณะเดียวกันร่างระเบียบฯนี้หากนำมาใช้ก็เปรียบเสมือนการเพิ่มท่อระบายขึ้น มาอีกหนึ่งท่อเพื่อระบายเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคมที่เข้ามาสู่การ พิจารณาในลักษณะคอขวดให้ได้รับการระบายออกไปจากสารบบได้อย่างรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมต่อคู่กรณี"

________________________________________________________

เร่งร่างระเบียบไกล่เกลี่ย 'กสทช.' หวังระงับข้อพิพาทโทรคมฯ

กสทช. ร่างระเบียบฯ ไกล่เกลี่ยฉลุย มั่นใจเพิ่มประสิทธิภาพระงับข้อพิพาทโทรคมนาคม หลังประกาศราชกิจจานุเบกษา...

เมื่อ วันที่ 2 เม.ย. นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านกฎหมาย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการและปรับปรุงกฎหมาย และระเบียบด้านโทรคมนาคม กล่าวว่า ตามที่แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ หรือ บอร์ด กสทช. ไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยแผนแม่บทดังกล่าวได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทร คมนาคม และได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในด้านนี้ให้พัฒนา และปรับปรุงระบบจัดการเรื่องร้องเรียน และการระงับข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ย รวมถึง กสทช. โดย กทค.ได้กำหนดกรอบภารกิจในปี 2555 ให้ปรับปรุงและพัฒนากลไกระงับข้อพิพาทด้านกิจการโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการวางระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วย

ดั้งนั้น เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และกรอบภารกิจของ กทค.ข้างต้น จึงมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างสำนักงาน กสทช. กับ สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งหนึ่งในสาระสำคัญของบันทึกข้อตกลง ก็คือ ให้สำนักงานศาลยุติธรรมช่วยสนับสนุนการวางระบบการระงับข้อพิพาทโดยการไกล่ เกลี่ยจึงเป็นผลให้คณะผู้บริหารของสำนักงาน กสทช.ไปศึกษาดูงาน ณ สำนักระงับข้อพิพาทของสำนักงานศาลยุติธรรม และศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาลแพ่ง รวมทั้ง แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการในเรื่องไกล่เกลี่ยมาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในด้านนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจึง ได้มีการยกร่างระเบียบ กสทช. ว่า ด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและ ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม พ.ศ..... โดยได้พิจารณาในชั้นของคณะอนุกรรมการบูรณาการ และปรับปรุงกฎหมายและระเบียบด้านโทรคมนาคมในการประชุมหลายครั้ง ก่อนที่จะนำเสนอให้ที่ประชุม กทค.พิจารณาต่อไป ตามที่ได้มีการนำเสนอการดำเนินการในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดนั้น

สำหรับ ความคืบหน้าล่าสุดที่ประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการและปรับปรุงกฎหมายและ ระเบียบด้านโทรคมนาคม ได้พิจารณาร่างระเบียบดังกล่าวที่มีการแก้ไขปรับปรุงหลายครั้งจนเสร็จ สมบูรณ์แล้ว โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณากันอย่างรอบด้าน อีกทั้ง กำหนดบทบาทและวิธีปฏิบัติในกระบวนการไกล่เกลี่ยไว้อย่างชัดเจน โดยเน้นที่จะสร้างความเป็นธรรมให้กับคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะทำให้การระงับข้อพิพาทเป็นประโยชน์ต่อคู่กรณีและกระบวนการพิจารณาของ กสทช. เพราะการไกล่เกลี่ยนอกจากจะเป็นผลให้ข้อพิพาทเสร็จสิ้นไปได้โดยความรวดเร็ว แล้ว ยังเป็นผลให้ข้อพิพาทระงับลงด้วยความพอใจของคู่กรณีด้วยกันทั้งสองฝ่าย และจะเป็นส่วนสำคัญในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อคู่กรณี

สำหรับ สาระสำคัญของร่างระเบียบไกล่เกลี่ยฉบับนี้ คือ กรอบการบังคับใช้จะใช้เฉพาะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียนตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และประกาศ กทช.เรื่องกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้ บริการ โดยสำนักงาน กสทช.จะเป็นผู้ดำเนินงานธุรการที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยดังกล่าว โดยจะจัดให้มีทะบียนรายชื่อผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นผู้ชำนาญเฉพาะด้านจากภายนอก และอาจเป็นพนักงานของสำนักงานก็ได้ ร่างระเบียบฯ ยังกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ไกล่เกลี่ยรวมถึงลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ ทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ยจะมีอายุ 2 ปี และอาจขอขึ้นทะเบียนได้อีก ในการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นให้สำนักงานแต่งตั้ง จากผู้ที่ขึ้นทะเบียนรายชื่อไว้ โดยคำนึงถึงลักษณะของข้อร้องเรียนและความเหมาะสมของผู้ไกล่เกลี่ย เว้นแต่คู่กรณีประสงค์ร่วมกันที่จะเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ขึ้นทะเบียน เป็นผู้ไกล่เกลี่ย

กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า ร่างระเบียบดังกล่าว ยังเปิดช่องทางให้มีการคัดค้านผู้ไกล่เกลี่ยได้ หากปรากฎข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางของผู้ไกล่เกลี่ย รวมทั้งยังได้กำหนดจริยธรรมสำหรับผู้ไกล่เกลี่ยไว้ด้วย ทั้งนี้ การเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยจะต้องเป็นความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย โดยกำหนดวิธีการไกล่เกลี่ยเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ตลอดจนเหตุแห่งการสิ้นสุดกระบวนการไกล่เกลี่ย นอกจากนื้ ยังมีส่วนที่เกี่ยวกับการรักษาความลับของข้อมูลในการไกล่เกลี่ย ซึ่งเนื้อหาในร่างระเบียบนี้สอดคล้องกับกติกาไกล่เกลี่ยของหน่วยงานต่างๆ และสอดคล้องกับกติกาสากลอีกด้วย

นอกจากนี้ การจัดทำร่างระเบียบการไกล่เกลี่ยดังกล่าวจึงเป็นทางเลือกของคู่กรณีที่จะมี ส่วนร่วมกันในการยุติข้อพิพาทบนพื้นฐานความสมัครใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย ขณะเดียวกันร่างระเบียบฯ นี้หากนำมาใช้ก็เปรียบเสมือนการเพิ่มท่อระบายขึ้นมาอีกหนึ่งท่อเพื่อระบาย เรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคมที่เข้ามาสู่การพิจารณาในลักษณะคอขวดให้ได้รับ การระบายออกไปจากสารบบได้อย่างรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมต่อคู่กรณี นี่คือตัวอย่างหนึ่งของความมุ่งมั่นที่จะพัฒนากลไกระงับข้อพิพาทด้านโทร คมนาคมของ กสทช.ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเริ่มจากการจัดให้มีกลไกไกล่เกลี่ย ซึ่งคงจะต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนากลไกด้านอื่นๆ เช่น พัฒนากระบวนการรับเรื่องร้องเรียน พัฒนากระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ฯลฯ ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น และถึงแม้ว่าในอนาคต เมื่อบริการโทรคมนาคมมีการเติบโตมากขึ้น จนอาจส่งผลให้ปริมาณเรื่องร้องเรียนเข้าสู่การพิจารณาของ กสทช.มากขึ้นก็ตาม แต่เมื่อเราสร้างท่อระบายรองรับไว้อย่างนี้แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ต่อการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนให้เสร็จสิ้นไปตามกรอบ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

นายสุทธิพล กล่าวอีกว่า แม้จะได้ข้อสรุปในชั้นของคณะอนุกรรมการบูรณาการฯ แล้ว แต่กระบวนการจัดทำระเบียบไกล่เกลี่ยยังไม่แล้วเสร็จ เพราะยังมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ จะต้องนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. พิจารณา และเมื่อผ่านการพิจารณาของ กทค.แล้ว ก็ยังจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจและเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อ ไป โดยเรื่องนี้จะดำเนินการด้วยความรอบคอบเพื่อให้ระเบียบไกล่เกลี่ยฉบับนี้ เป็นประโยชน์ต่อการระงับข้อพิพาททางด้านโทรคมนาคมอย่างแท้จริงและเป็นธรรม.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/250160


____________________________________________________


กสทช.ชี้ร่างระเบียบฯไกล่เกลี่ยฉลุย เตรียมเข้าบอร์ด กทค.


กสทช.เผยร่างระเบียบฯไกล่เกลี่ยผ่านแล้ว จากคณะอนุกรรมการบูรณาการฯแต่ต้องรอนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดกทค. เพื่อพิจารณา ก่อนเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกฎหมาย ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการและปรับปรุงกฎหมายและระเบียบด้านโทร คมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการจัดทำร่างระเบียบ กสทช. ว่า ด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมและ ผู้ใช้บริการโทรคมนาคม พ.ศ..... ซึ่งในตอนนีี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการและปรับปรุงกฎหมายและระเบียบ ด้านโทรคมนาคม ได้มีการพิจารณาร่างระเบียบดังกล่าวที่มีการแก้ไขปรับปรุงหลายครั้งจนเสร็จ สมบูรณ์แล้ว โดยคณะอนุกรรมการฯได้มีการพิจารณากันอย่างรอบด้าน

อีกทั้งยังได้กำหนดบทบาทและวิธีปฎิบัติในกระบวนการไกล่เกลี่ยไว้อย่างชัดเจน โดยเน้นที่จะสร้างความเป็นธรรมให้กับคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ซึ่งจะทำให้การระงับข้อพิพาทเป็นประโยชน์ต่อคู่กรณีและกระบวนการพิจารณาของ กสทช. เพราะการไกล่เกลี่ยนอกจากจะเป็นผลให้ข้อพิพาทเสร็จสิ้นไปได้โดยความรวดเร็ว แล้ว ยังเป็นผลให้ข้อพิพาทระงับลงด้วยความพอใจของคู่กรณีด้วยกันทั้งสองฝ่าย และจะเป็นส่วนสำคัญในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อคู่กรณี

อย่างไรก็ดีแม้ร่างระเบียบฯไกลเกลี่ยจะได้ข้อสรุปในชั้นของคณะอนุกรรมการ บูรณาการฯแล้ว แต่กระบวนการจัดทำระเบียบไกล่เกลี่ยยังไม่แล้วเสร็จ เพราะยังมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ จะต้องนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) พิจารณา และเมื่อผ่านการพิจารณาของ กทค.แล้ว ก็ยังจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจ และเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป โดยเรื่องนี้จะดำเนินการด้วยความรอบคอบเพื่อให้ระเบียบไกล่เกลี่ยฉบับนี้ เป็นประโยชน์ต่อการระงับข้อพิพาททางด้านโทรคมนาคมอย่างแท้จริง และเป็นธรรม

ดร.สุทธิพล กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างระเบียบไกล่เกลี่ยฉบับนี้ คือ กรอบการบังคับใช้จะใช้เฉพาะการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคมและผู้ร้องเรียนตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และประกาศ กทช.เรื่องกระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้ บริการ โดยสำนักงานกสทช.จะเป็นผู้ดำเนินงานธุรการที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยดัง กล่าว โดยจะจัดให้มีทะบียนรายชื่อผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นผู้ชำนาญเฉพาะด้านจากภายนอก และอาจเป็นพนักงานของสำนักงานก็ได้ ร่างระเบียบฯยังกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ไกล่เกลี่ยรวมถึงลักษณะต้องห้าม ทั้งนี้ทะเบียนผู้ไกล่เกลี่ยจะมีอายุ 2 ปี และอาจขอขึ้นทะเบียนได้อีก ในการแต่งตั้งผู้ไกล่เกลี่ยเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นให้สำนักงานแต่งตั้ง จากผู้ที่ขึ้นทะเบียนรายชื่อไว้ โดยคำนึงถึงลักษณะของข้อร้องเรียนและความเหมาะสมของผู้ไกล่เกลี่ย เว้นแต่คู่กรณีประสงค์ร่วมกันที่จะเลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ขึ้นทะเบียน เป็นผู้ไกล่เกลี่ย

นอกจากนี้ ร่างระเบียบฯดังกล่าว ยังเปิดช่องทางให้มีการคัดค้านผู้ไกล่เกลี่ยได้ หากปรากฎข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางของผู้ไกล่เกลี่ย รวมทั้งยังได้กำหนดจริยธรรมสำหรับผู้ไกล่เกลี่ยไว้ด้วย ทั้งนี้การเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยจะต้องเป็นความสมัครใจของคู่กรณีทั้ง สองฝ่าย โดยมีการกำหนดวิธีการไกล่เกลี่ยเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ตลอดจนเหตุแห่งการสิ้นสุดกระบวนการไกล่เกลี่ย นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เกี่ยวกับการรักษาความลับของข้อมูลในการไกล่เกลี่ย ซึ่งเนื้อหาในร่างระเบียบนี้สอดคล้องกับกติกาไกล่เกลี่ยของหน่วยงานต่างๆ และสอดคล้องกับกติกาสากลอีกด้วย

"การจัดทำร่างระเบียบการไกล่เกลี่ยดังกล่าวจึงเป็นทางเลือกของคู่กรณีที่จะ มีส่วนร่วมกันในการยุติข้อพิพาทบนพื้นฐานความสมัครใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย ในขณะเดียวกันร่างระเบียบฯนี้หากนำมาใช้ก็เปรียบเสมือนการเพิ่มท่อระบายขึ้น มาอีกหนึ่งท่อเพื่อระบายเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคมที่เข้ามาสู่การ พิจารณาในลักษณะคอขวดให้ได้รับการระบายออกไปจากสารบบได้อย่างรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรมต่อคู่กรณี"

สิ่งเหล่านี้คือตัวอย่างหนึ่งของความมุ่งมั่นที่จะพัฒนากลไกระงับข้อพิพาท ด้านโทรคมนาคมของกสทช.ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเริ่มจากการจัดให้มีกลไกไกล่เกลี่ย ซึ่งคงจะต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนากลไกด้านอื่นๆ เช่น พัฒนากระบวนการรับเรื่องร้องเรียน พัฒนากระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียน ฯลฯ ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น และถึงแม้ว่าในอนาคต เมื่อบริการโทรคมนาคมมีการเติบโตมากขึ้น จนอาจส่งผลให้ปริมาณเรื่องร้องเรียนเข้าสู่การพิจารณาของ กสทช.มากขึ้นก็ตาม แต่เมื่อเราสร้างท่อระบายรองรับไว้อย่างนี้แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ต่อการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนให้เสร็จสิ้นไปตามกรอบ ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ตามที่แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และได้ผ่านความเห็นชอบจากบอร์ด กสทช. ไปแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการส่งไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยแผนแม่บทดังกล่าวได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทร คมนาคม และได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในด้านนี้โดยให้มีการพัฒนา และปรับปรุงระบบจัดการเรื่องร้องเรียนและการระงับข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ย รวมถึงกสทช.โดยกทค.ได้กำหนดกรอบภารกิจในปี 2555ให้มีการปรับปรุงและพัฒนากลไกระงับข้อพิพาทด้านกิจการโทรคมนาคมให้มี ประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการวางระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วย

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9550000041690

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.