Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

22 พฤศจิกายน 2555 (เกาะติดประมูล3G) ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค (( กสทช.ไม่น่าดันทุรังพา 3Gไปสู่ทางตัน ))

ประเด็นหลัก


นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม บริการ 3จี เป็นบริการที่จะเกิดประโยชน์ทั้งกับผู้ใช้บริการทั่วไป ทั้งการแพทย์ในถิ่นห่างไกล และคนพิการ แต่ที่ผ่านมามีปัญหาให้สังคม คลางแคลงใจ เพราะการกำหนดเกณฑ์วิธีการประมูลของ กสทช.เอง ที่สร้างความกังขาให้กับสังคม ทั้งนี้ ยังยืนยันเหมือนเดิมว่า ทุกอย่างที่ดำเนินการ มุ่งเน้นที่ประโยชน์ของประชาชนและอยากใช้บริการ 3 จีโดยเร็ว

แต่ กสทช.ไม่น่าดันทุรังพา 3 จี ไปสู่ทางตัน เพราะการกำหนดเกณฑ์การประมูลของ กสทช. เอง ที่สร้างความกังขาให้สังคม ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องให้มีการตรวจสอบทั้งผ่านวุฒิสภา องค์กรอิสระและศาล และทำให้ 3 จี ต้องถูกแช่แข็งถอยไม่ได้ไปไม่เป็น ประเทศเสียประโยชน์ ทั้งที่ผู้บริโภคเรียกร้องให้จัดประมูลใหม่ บนเกณฑ์ที่ทำให้เกิดการแข่งขัน แต่กสทช.ยังคง ยืนยันว่าได้ดำเนินการถูกต้องแล้วเปนการเอาแพ้ชนะ ทั้งที่หากยอมรับว่า มีความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วแก้ไข ประชาชนก็พร้อมให้กำลังใจกสทช. ทำหน้าที่อย่างสง่างามต่อไป






_______________________________________




ปธ.สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค จี้กทค. ออกมาตรการกำกับราคาค่าบริการ3จี

ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เตือน กทค.อย่าแช่แข็งประเทศ โดยใช้ใบอนุญาตเป็นเครื่องมือบีบบังคับ เสนอควรหันมากำหนดมาตรการการลดค่าบริการ 3จี ด้านเสียงและข้อมูลเป็นแนวทางที่ชัดเจนมากกว่า...

เมื่อวันที่ 22 พ.ย. นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวถึงความคืบหน้าภายหลังจากที่ได้ยื่นหนังสือเพื่อให้กรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบ เรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล เพื่อร้องขอให้ตรวจสอบการฮั้วและธรรมาภิบาลในการประมูลใบอนุญาตใช้คลื่น 2.1 MHz เพื่อให้บริการ 3จี ว่า ขณะนี้กรรมาธิการได้ส่งเรื่องไปให้กับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. และป.ป.ช.ได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาไต่สวน โดยได้นัดผู้บริโภคไปให้ข้อมูลเพิ่มเติม วันที่ 3 ธ.ค.2555 อย่างไรก็ตามบริการ 3จี เป็นบริการที่จะเกิดประโยชน์ทั้งกับผู้ใช้บริการทั่วไป การแพทย์ในถิ่นห่างไกล และคนพิการ แต่ที่ผ่านมามีปัญหาให้สังคมคลางแคลงใจ เพราะการกำหนดเกณฑ์วิธีการประมูลของ กสทช. เอง ที่สร้างความกังขาให้กับสังคม

“ย้ำเหมือนเดิมว่า เราเห็นว่ามีประโยชน์และอยากใช้บริการ แต่ กสทช.ไม่น่าดันทุรังพา 3จี ไปสู่ทางตัน เพราะการกำหนดเกณฑ์การประมูลของ กสทช. เอง ที่สร้างความกังขาให้สังคม ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องให้มีการตรวจสอบ ทั้งผ่านวุฒิสภา องค์กรอิสระและศาล และทำให้ 3จี ต้องถูกแช่แข็ง ถอยไม่ได้ไปไม่เป็น ประเทศเสียประโยชน์ ทั้งที่ผู้บริโภคเรียกร้องให้ กสทช. จัดประมูลใหม่ บนเกณฑ์ที่ทำให้เกิดการแข่งขัน แต่ กสทช.ยังคงยืนยันว่าได้ดำเนินการถูกต้องแล้ว เป็นการเอาแพ้ชนะ ทั้งที่หากยอมรับว่า มีความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วแก้ไข ประชาชนก็พร้อมให้กำลังใจ กสทช. ทำหน้าที่อย่างสง่างามต่อไป ” ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าว

นางสาวบุญยืน กล่าวต่อว่า กรณีที่ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. กำหนดเงื่อนไขในการให้ใบอนุญาต 3จี ว่า ต้องรอคำสั่งศาลปกครอง รอผลการสอบของคณะทำงานสอบฮั้วประมูล และมีแผนลดค่าบริการทั้งเสียงและข้อมูลของผู้ให้บริการก่อนว่า เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งที่สังคมกังขาคือ วิธีการออกแบบการประมูลที่ไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันหรือทำให้เกิดการฮั้วประมูล ซึ่งผู้ที่ต้องถูกตรวจสอบคือ กสทช. ว่าได้กำหนดวิธีการประมูลได้ถูกต้องเหมาะสมและก่อให้เกิดการแข่งขันหรือไม่ แต่ขณะนี้ กสทช.กำลังใช้บริการ 3จี มาเป็นตัวประกันให้กับการถูกตรวจสอบของตัวเอง โดยมีผู้เสียหายคือผู้บริโภคและบริษัท

“ใครกันแน่ที่แช่แข็งประเทศชาติจากบริการนี้ พอ กทค.ถูกตรวจสอบก็สร้างเงื่อนไขว่าจะไม่ให้ใบอนุญาตจนกว่าศาลจะมีการตัดสินทั้งที่เป็นการสอบสวนเพื่อตัดสินเกี่ยวกับการดำเนินการของหน่วยงาน ไม่เกี่ยวกับบริษัท พอถูกกล่าวหาว่ากำหนดราคาการประมูลต่ำเกินไป ก็เอาเรื่องราคาค่าบริการมาเป็นเงื่อนไขซ้ำอีก โดยไปกำหนดให้บริษัททำแผนการลดราคามาเสนอก่อนไม่เช่นนั้นจะไม่ให้ใบอนุญาต ทั้งที่ กทค.เป็นหน่วยงานกำกับดูแล ไม่ใช่หน่วยงานสร้างเงื่อนไขการให้บริการ โดยเฉพาะเรื่องราคาค่าบริการนั้น เมื่อบริษัทสมประโยชน์แล้ว การให้ลดราคาเป็นเรื่องยาก เพราะใครทำธุรกิจสิ่งที่ต้องการชัดเจนก็คือกำไร กทค. จึงต้องกำหนดเป็นมาตรการในการกำกับราคาค่าบริการทั้งเสียงและข้อมูลออกมามากกว่าการมาบังคับให้บริษัททำแผนการลดราคาค่าบริการโดยใช้เรื่องการให้ใบอนุญาตคลื่นความถี่เป็นเครื่องมือ” นางสาวบุญยืน กล่าว

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/308103

_____________________________________


สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคจวก กสทช.พา 3G สู่ทางตันจากเกณฑ์ประมูลที่ตั้งเอง


นางสาวบุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เปดเผยถึงความคืบหน้าภายหลังจากที่ได้ยื่น หนังสือถึงกรรมาธิการศึกษา เพื่อตรวจสอบ เรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล เพื่อร้องขอให้ตรวจสอบ การฮั้วและธรรมาภิบาลในการประมูลใบอนุญาตใช้คลื่น 2.1 GHz ในการให้บริการ 3 จี ของสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ว่าขณะนี้ กรรมาธิการได้ส่ง เรื่องไปให้กับคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และป.ป.ช.ได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นมา ไต่สวน โดยได้นัดผู้บริโภคไปให้ข้อมูลเพิ่มเติม วันที่ 3 ธันวาคมนี้



อย่างไรก็ตาม บริการ 3จี เป็นบริการที่จะเกิดประโยชน์ทั้งกับผู้ใช้บริการทั่วไป ทั้งการแพทย์ในถิ่นห่างไกล และคนพิการ แต่ที่ผ่านมามีปัญหาให้สังคม คลางแคลงใจ เพราะการกำหนดเกณฑ์วิธีการประมูลของ กสทช.เอง ที่สร้างความกังขาให้กับสังคม ทั้งนี้ ยังยืนยันเหมือนเดิมว่า ทุกอย่างที่ดำเนินการ มุ่งเน้นที่ประโยชน์ของประชาชนและอยากใช้บริการ 3 จีโดยเร็ว

แต่ กสทช.ไม่น่าดันทุรังพา 3 จี ไปสู่ทางตัน เพราะการกำหนดเกณฑ์การประมูลของ กสทช. เอง ที่สร้างความกังขาให้สังคม ทำให้เกิดเสียงเรียกร้องให้มีการตรวจสอบทั้งผ่านวุฒิสภา องค์กรอิสระและศาล และทำให้ 3 จี ต้องถูกแช่แข็งถอยไม่ได้ไปไม่เป็น ประเทศเสียประโยชน์ ทั้งที่ผู้บริโภคเรียกร้องให้จัดประมูลใหม่ บนเกณฑ์ที่ทำให้เกิดการแข่งขัน แต่กสทช.ยังคง ยืนยันว่าได้ดำเนินการถูกต้องแล้วเปนการเอาแพ้ชนะ ทั้งที่หากยอมรับว่า มีความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วแก้ไข ประชาชนก็พร้อมให้กำลังใจกสทช. ทำหน้าที่อย่างสง่างามต่อไป

นางสาวบุญยืน กล่าวถึงกรณีที่ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)ได้กำหนดเงื่อนไขในการให้ใบอนุญาต 3 จี ว่า ต้องรอคำสั่งศาลปกครอง รอผลการสอบของคณะทำงานสอบฮั้วประมูล และมีแผนลดค่าบริการทั้งเสียงและ ข้อมูลของผู้ให้บริการก่อนว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะสิ่งที่สังคมกังขาคือ วิธีการออกแบบการประมูลที่ไม่เอื้อให้เกิดการแข่งขันหรือทำให้เกิดการฮั้วประมูล ซึ่งผู้ที่ต้องถูกตรวจสอบคือ กสทช. ว่าได้กำหนดวิธีการประมูลได้ถูก ต้องเหมาะสมและก่อให้เกิดการแข่งขันหรือไม่ แต่ขณะนี้ กสทช.กำลังใช้บริการ 3 จี มาเปนตัวประกันให้กับการ ถูกตรวจสอบของตัวเอง โดยมีผู้เสียหายคือผู้บริโภคและบริษัท

“ใครกันแน่ที่แช่แข็งประเทศชาติจากบริการนี้ พอ กทค.ถูกตรวจสอบก็สร้างเงื่อนไขว่าจะไม่ให้ใบอนุญาตจนกว่า ศาลจะมีการตัดสินทั้งที่เป็นการสอบสวนเพื่อตัดสินเกี่ยวกับการดำเนินการของหน่วยงาน ไม่เกี่ยวกับบริษัท พอถูกกล่าวหาว่ากำหนดราคาการประมูลต่ำเกินไป ก็เอาเรื่องราคาค่าบริการมาเป็นเงื่อนไขซ้ำอีก โดยไปกำหนดให้บริษัททำแผนการลดราคามาเสนอก่อนไม่เช่นนั้นจะไม่ให้ใบอนุญาต ทั้งที่ กทค.เปนหน่วยงานกำกับดูแล ไม่ใช่ หน่วยงานสร้างเงื่อนไขการให้บริการ โดยเฉพาะเรื่องราคาค่าบริการนั้น เมื่อบริษัทสมประโยชน์แล้ว การให้ลดราคาให้เป็นเรื่องยาก เพราะใครทำธุรกิจสิ่งที่ต้องการชัดเจนก็คือ กำไร กทค. จึงต้องกำหนดเป็นมาตรการในการ กำกับราคาค่าบริการทั้งเสียงและข้อมูลออกมามากกว่า การมาบังคับให้บริษัททำแผนการลดราคาค่าบริการโดยใช้ เรื่องการให้ใบอนุญาตคลื่นความถี่เป็นเครื่องมือ " นางสาวบุญยืนกล่าว

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1536019

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.