Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 พฤศจิกายน 2555 (บอร์ดสือสาร) เตรียม MOU ใช้ช่อง5 9 และ 11 ทดลองออกอากาศดิจิตอล // อนุมัติไลเซ่นส์2ช่องรายการCTHและGMMz 4 ช่อง

ประเด็นหลัก

สำหรับผู้ได้รับอนุมัติ ประกอบด้วย บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ CTH จำนวน 2 ช่องรายการ ได้แก่ ช่อง ซี ซีรี่ย์ (C Series) เพื่อนำเสนอรายการบันเทิงเกี่ยวกับภาพยนตร์ซี่รี่ย์จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย โดยซื้อลิขสิทธิ์มาจากผู้ออกอากาศ ในสัดส่วนมากกว่า 90% ของเวลาทั้งหมด และ ช่อง ซี สปอร์ต (C SPORT) นำเสนอรายการกีฬา เช่น การแข่งขันกอล์ฟ มวยปล้ำ เทนนิส โดยการจัดซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ และรายการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาในประเทศ เช่น ฟุตบอลดิวิชั่น 1 เป็นต้น และรายการข่าวสารสาระความรู้อื่นๆ โดยเน้นรายการประเภทกีฬา ในสัดส่วนมากกว่า 90.5%ของเวลาทั้งหมด



กิจกรรมที่จะส่งผลต่อการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์อย่างแท้จริง ประกอบด้วย 1. รวมกลุ่มของผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ ที่เข้าร่วมเวทีระดับภูมิภาคที่จัดขึ้นแล้วจำนวน 9 ครั้ง เพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ และยื่นต่อ กสทช. ในวันที่ 30 พ.ย. 2555 ในช่วงเช้า 2. เวทีไตรภาคีของหน่วยงานกำกับดูแลอย่าง กสทช. และภาคีภาครัฐ เช่น อย. สคบ. ปคบ. องค์กรภาคีภาคเอกชน เช่น สสย. มีเดียมอนิเตอร์พร้อมด้วย ผู้ประกอบกิจการ และผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ กลุ่มต่างๆ ซึ่งจะคุยเรื่องละคร/โฆษณา รวมไปถึงเรื่องการให้บริการ 3. งานมหกรรมที่เปิดให้ผู้บริโภคสื่อฯ และประชาชนทั่วไปที่สนได้เข้าชมนิทรรศการทั้งของ กสทช. ภาคีร่วม สมาคมวิชาชีพ และสื่อทางเลือก รวมทั้ง กิจกรรมต่างๆ เช่น การเสวนาในหัวข้อ “ทำอย่างไรผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบ” “การเข้าถึงสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ของคนทุกกลุ่ม” “ทีวีดิจิตอล : กสทช.ควรคำนึงถึงผู้บริโภคสื่ออย่างไร” แหล่เรื่องผู้บริโภคสื่อ จากศิลปินแห่งชาติ ชินกร ไกรลาส พูดพร่ำฮัมเพลง โดยศิลปิน (จุ้ย) ศุ บุญเลี้ยง เวิร์กช้อป การรู้เท่าทันรายการโทรทัศน์ โดย นายชนัฐ วุฒิวิกัยการ จากรายการกบนอกกะลา การแสดงของผู้บริโภคสื่อฯ จากเวทีภูมิภาค และการแสดงดนตรี ของคัทรียา มารศรี และวงวัชราวลี และอื่นๆ อีกมากมาย ระหว่างวันที่  30 พ.ย. 2555 ณ อาคารหอประชุม สำนักงาน กสทช.และ 1-2 ธ.ค.2555 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย.



จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 4 ช่องรายการ ประกอบด้วย 1.จีเอ็มเอ็ม สปอร์ต ทู เอสดี (GMM SPORT TWO SD) 2.จีเอ็มเอ็ม สปอร์ต ทู เอชดี (GMM SPORT TWO HD) 3.ยูโร สปอร์ต เอสดี (EU SPORT SD) และ 4.จีเอ็มเอ็ม สปอร์ต ทู เอชดี (EU SPORT SD) โดยเผยแพร่การแข่งขันกีฬาระดับโลก ซึ่งระบบเอสดีเป็นระบบภาพปกติ ส่วนระบบเอชดี เป็นระบบภาพคมชัดสูง (ไฮเดฟินิชั่น) ส่วน บริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด จำนวน 10 ช่องรายการ ซึ่งเป็นรายการประเภท กีฬา ความบันเทิง สารคดี และสาระความรู้







______________________________________

บอดร์ด กสท.ให้ไลเซ่นส์เคเบิลทีวีแก่ CTH - GRAMMY

บอดร์ด กสท.ให้ไลเซ่นส์เคเบิลทีวีแก่ CTH  2 ช่อง  GRAMMY 4 ช่อง มีผล 3 ธ.ค.นี้

พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า คณะกรรมการกสท. มีมติพิจารณาใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ แบบบอกรับสมาชิก โดยใช้ระบบและวิธีการให้บริการผ่านดาวเทียมแบบบอกรับสมาชิก ตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียง หรือ โทรทัศน์ พ.ศ. 2555 จำนวน 16 ช่องรายการ
       
สำหรับผู้ได้รับอนุมัติ ประกอบด้วย บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ CTH จำนวน 2 ช่องรายการ ได้แก่ ช่อง ซี ซีรี่ย์ (C Series) เพื่อนำเสนอรายการบันเทิงเกี่ยวกับภาพยนตร์ซี่รี่ย์จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย โดยซื้อลิขสิทธิ์มาจากผู้ออกอากาศ ในสัดส่วนมากกว่า 90% ของเวลาทั้งหมด และ ช่อง ซี สปอร์ต (C SPORT) นำเสนอรายการกีฬา เช่น การแข่งขันกอล์ฟ มวยปล้ำ เทนนิส โดยการจัดซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ และรายการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาในประเทศ เช่น ฟุตบอลดิวิชั่น 1 เป็นต้น และรายการข่าวสารสาระความรู้อื่นๆ โดยเน้นรายการประเภทกีฬา ในสัดส่วนมากกว่า 90.5%ของเวลาทั้งหมด

moneychannel        
http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/7124-silent.html


_____________________________________


กสทช. ระดมทัพด้านคุ้มครองผู้บริโภคสื่อวิทยุ–ทีวี 30 พ.ย.

กสทช. กำหนดจัดงานมหกรรมรวมพลังผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ วันที่ 30 พ.ย. ณ สำนักงาน กสทช. และ 1-2 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ หวังส่งเสริมให้ผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ ตระหนัก ตื่นตัวในสิทธิ์ รู้เท่าทันอย่างแท้จริง พร้อมทั้งรวมตัวเป็นเครือข่าย และเชื่อมโยงกับกลไกของ กสทช....

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และ กรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. กล่าวว่า ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา คณะกรรมการ หรือ บอร์ด กสท. ในบอร์ด กสทช. ได้จัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2555-2559 เพื่อกำหนดนโยบายและจัดทำหลักเกณฑ์ กติกา ขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและสภาพแวดล้อมด้านการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านการออกใบอนุญาต การกำกับดูแล การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการประกอบกิจการ รวมทั้ง งานด้านการคุ้มครองสิทธิ์ของผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพการสื่อสารของประชาชนทุกกลุ่มการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคสื่อวิทยุ –โทรทัศน์นี้มีแนวทางในการสร้างเครือข่ายผู้บริโภคและสร้างความเข้มแข็ง รู้เท่าทันสื่อกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยกำหนดให้มีการส่งเสริมและพัฒนาประชาชนแลผู้บริโภคให้ตระหนัก ตื่นตัว รวมกลุ่มในการเฝ้าระวังสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ ในทุกภูมิภาค ประชาชนทุกกลุ่มได้รับการคุ้มครองสิทธิ์และเข้าถึงสื่อที่เหมาะสม สำนักงาน กสทช. จึงได้จัดงานมหกรรมรวมพลังผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ ขึ้น โดยคาดว่า งานนี้จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดความตระหนัก ตื่นตัวในสิทธิ์ รู้เท่าทัน รวมตัวเป็นเครือข่าย และเชื่อมโยงกับกลไกของ กสทช. เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคอย่างแท้จริง




ทั้งนี้ กิจกรรมที่จะส่งผลต่อการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์อย่างแท้จริง ประกอบด้วย 1. รวมกลุ่มของผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ ที่เข้าร่วมเวทีระดับภูมิภาคที่จัดขึ้นแล้วจำนวน 9 ครั้ง เพื่อจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคฯ และยื่นต่อ กสทช. ในวันที่ 30 พ.ย. 2555 ในช่วงเช้า 2. เวทีไตรภาคีของหน่วยงานกำกับดูแลอย่าง กสทช. และภาคีภาครัฐ เช่น อย. สคบ. ปคบ. องค์กรภาคีภาคเอกชน เช่น สสย. มีเดียมอนิเตอร์พร้อมด้วย ผู้ประกอบกิจการ และผู้บริโภคสื่อวิทยุ – โทรทัศน์ กลุ่มต่างๆ ซึ่งจะคุยเรื่องละคร/โฆษณา รวมไปถึงเรื่องการให้บริการ 3. งานมหกรรมที่เปิดให้ผู้บริโภคสื่อฯ และประชาชนทั่วไปที่สนได้เข้าชมนิทรรศการทั้งของ กสทช. ภาคีร่วม สมาคมวิชาชีพ และสื่อทางเลือก รวมทั้ง กิจกรรมต่างๆ เช่น การเสวนาในหัวข้อ “ทำอย่างไรผู้บริโภคไม่ถูกเอาเปรียบ” “การเข้าถึงสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ของคนทุกกลุ่ม” “ทีวีดิจิตอล : กสทช.ควรคำนึงถึงผู้บริโภคสื่ออย่างไร” แหล่เรื่องผู้บริโภคสื่อ จากศิลปินแห่งชาติ ชินกร ไกรลาส พูดพร่ำฮัมเพลง โดยศิลปิน (จุ้ย) ศุ บุญเลี้ยง เวิร์กช้อป การรู้เท่าทันรายการโทรทัศน์ โดย นายชนัฐ วุฒิวิกัยการ จากรายการกบนอกกะลา การแสดงของผู้บริโภคสื่อฯ จากเวทีภูมิภาค และการแสดงดนตรี ของคัทรียา มารศรี และวงวัชราวลี และอื่นๆ อีกมากมาย ระหว่างวันที่  30 พ.ย. 2555 ณ อาคารหอประชุม สำนักงาน กสทช.และ 1-2 ธ.ค.2555 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย.


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/308991

_____________________________


กสทช. อนุมัติไลเซ่นส์ให้ 2 ช่องรายการ CTH

บอร์ด กสท. อนุมัติไลเซ่นส์ 2 ช่องรายการ CTH จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ 4 ช่อง และจีเอ็มเอ็ม บี 10 ช่อง มีผล 7 วันนับจากนี้ นับเป็น 16 ไลเซ่นส์ลอตแรกของประเทศ ขณะที่เตรียมเอ็มโอยู ช่อง 5 9 และ 11 ทดลองทดสอบออกอากาศระบบดิจิตอลทีวี วันที่ 3 ธ.ค.55...

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า คณะกรรมการ หรือบอร์ด กสท. มีมติพิจารณาใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์เพื่อให้บริการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ แบบบอกรับสมาชิก โดยใช้ระบบและวิธีการให้บริการผ่านดาวเทียมแบบบอกรับสมาชิก ตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตการให้บริการกระจายเสียง หรือโทรทัศน์ พ.ศ.2555 จำนวน 16 ช่องรายการ ประกอบด้วย บริษัท เคเบิล ไทย โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ CTH จำนวน 2 ช่องรายการ ได้แก่ ช่อง ซี ซีรีส์ (C Series) เพื่อนำเสนอรายการบันเทิงเกี่ยวกับภาพยนตร์ซีรีส์จีน เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย โดยซื้อลิขสิทธิ์มาจากผู้ออกอากาศ ในสัดส่วนมากกว่า 90% ของเวลาทั้งหมด และช่อง ซี สปอร์ต (C SPORT) เพื่อนำเสนอรายการกีฬา เช่น การแข่งขันกอล์ฟ มวยปล้ำ เทนนิส โดยการจัดซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ และรายการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาในประเทศ เช่น ฟุตบอลดิวิชั่น 1 เป็นต้น และรายการข่าวสารสาระความรู้อื่นๆ โดยเน้นรายการประเภทกีฬาในสัดส่วนมากกว่า 90.5% ของเวลาทั้งหมด

ขณะที่ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) จำนวน 4 ช่องรายการ ประกอบด้วย 1.จีเอ็มเอ็ม สปอร์ต ทู เอสดี (GMM SPORT TWO SD) 2.จีเอ็มเอ็ม สปอร์ต ทู เอชดี (GMM SPORT TWO HD) 3.ยูโร สปอร์ต เอสดี (EU SPORT SD) และ 4.จีเอ็มเอ็ม สปอร์ต ทู เอชดี (EU SPORT SD) โดยเผยแพร่การแข่งขันกีฬาระดับโลก ซึ่งระบบเอสดีเป็นระบบภาพปกติ ส่วนระบบเอชดี เป็นระบบภาพคมชัดสูง (ไฮเดฟินิชั่น) ส่วน บริษัท จีเอ็มเอ็ม บี จำกัด จำนวน 10 ช่องรายการ ซึ่งเป็นรายการประเภท กีฬา ความบันเทิง สารคดี และสาระความรู้

ประธาน กสท. กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าพิจารณาคำขอใบอนุญาต 5 พันบาท ต่อ 1 ช่องรายการ และต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 2% และค่าธรรมเนียม กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ USO อีก 2% ต่อปี ขณะที่ใบอนุญาตช่องรายการทั้ง 16 ใบนี้ นับเป็นการออกใบอนุญาตรอบแรกของประเทศไทย และจะมีผลบังคับใช้ วันที่ 3 ธ.ค.2555 หรือหลังจากให้วันนี้ (26 พ.ย.) 7 วัน นอกจากนี้ ในวันที่ 3 ธ.ค.2555 กสทช. ยังเตรียมทำบันทึกความเข้าใจ เรื่องความร่วมมือในการทดลองระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล กับช่อง 5 9 และ 11 เพื่อการทดลองทดสอบระบบดิจิตอลทีวี ก่อนเปลี่ยนจากอะนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล โดยนำร่องทดลองออกอากาศใน 2 พื้นที่ คือ กรุงเทพฯ และเชียงใหม่


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/308964

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.