14 มกราคม 2556 ลุ้น 15-16 มกราคมนี้!! ให้ค่า IC กลางเป็น50 สตางค์ เหตุ CAT ใช้อัตรานี้ได้อยู่ค่าบริการCATจึงถูก!! (เชื่อย้ายโครงค่ายมากกว่า20ล้านเบอร์ใช้เวลา2-3ปี)
ประเด็นหลัก
ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช.เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ถ้าบอร์ด กทค.เห็นชอบกับอัตราค่าไอซีใหม่ ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทั้งระบบ 2G และ 3G จะใช้อัตราเดียวกันหมดทั้งหมด และเหตุผลที่ต้องออกประกาศฉบับใหม่ เนื่องจากประกาศ กสทช.เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์แล้ว และหมดระยะเวลาผ่อนผันไปตั้งแต่สิ้นปีที่ผ่านมา ดังนั้นผู้ให้บริการทุกรายต้องกำหนดอัตราค่าโทร.ไม่เกินนาทีละ 99 สตางค์ ขณะที่ค่าไอซีในขณะนี้มีความแตกต่างกัน เพราะก่อนหน้านี้บางรายเจรจาและทำสัญญาค่าไอซีไว้ที่นาทีละ 1 บาท แต่บางรายใช้อัตราอ้างอิงของสำนักงาน กทช. คือที่ 50 สตางค์
"ปัญหาสำคัญที่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติคือ ตัวเลขคาดการณ์ผู้ใช้บริการ MNP เนื่องจากแต่ละค่ายคาดการณ์ความต้องการของตลาดต่างกัน บางรายมองว่าปีนี้จะมีการโอนย้ายมากหลายสิบล้านเบอร์ภายใน 1 ปี บางรายมองว่าจะมีการทยอยโอนภายใน 2-3 ปี ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากกับการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพให้เหมาะสม และคุ้มค่ากับการลงทุนของเอกชนด้วย เพราะนอกจากเคลียริ่งเฮาส์ต้องลงทุนฮาร์ดแวร์เพิ่มแล้ว ค่ายมือถือเองก็ต้องเพิ่มหน่วยความจำในการบันทึกข้อมูลการโอนย้ายของลูกค้าด้วย จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่าแต่ละรายต้องใช้งบฯลงทุนเพิ่มเท่าใด"
ส่วนเลขหมายที่จะใช้ในระบบ 3G ในการประชุม กทค.ครั้งหน้า จะมีการพิจารณาเรื่องจำนวนเลขหมายที่บริษัทผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นขอรับจัดสรรไว้ตั้งแต่ตอนยื่นเอกสารเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ว่าแต่ละรายจะได้รับการจัดสรรเลขหมายเท่าใด โดยทั้ง 3 บริษัทได้ยื่นขอเลขหมายไว้ราว 20 ล้านเลขหมาย
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ขณะนี้กลุ่มงานโครงข่ายพื้นฐานการใช้และเชื่อมต่อโครงข่าย สำนักงาน กสทช. อยู่ระหว่างเตรียมเสนอรายงานผลการศึกษาค่าไอซีที่เหมาะสมให้ที่ประชุม กทค.พิจารณาในการประชุมบอร์ด กสทช.ครั้งหน้า ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดว่าจะเป็นวันที่ 15 หรือ 16 ม.ค. 2556 นี้
___________________________
ลุ้นอัตราใหม่"ไอซี"ต่ำกว่า50สตางค์ ชง"กทค."เคาะราคาหวังบีบค่ายมือถือลดค่าโทร.
รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กทค. สัปดาห์หน้าจะมีการพิจารณาเรื่องการกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (ค่าไอซี) หลังมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอัตราค่าไอซีที่เหมาะสมแล้ว โดยค่าไอซีอัตราใหม่นี้ กทค.จะออกประกาศบังคับใช้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย จากที่ผ่านมาเกิดปัญหาในการบังคับใช้ เนื่องจากประกาศค่าไอซีฉบับเดิมกำหนดให้เอกชนเจรจาค่าไอซีกันเองทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และบางกรณีไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งค่าไอซีใหม่ที่จะบังคับใช้จะมีอัตราต่ำกว่านาทีละ 50 สตางค์
ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช.เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ถ้าบอร์ด กทค.เห็นชอบกับอัตราค่าไอซีใหม่ ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทั้งระบบ 2G และ 3G จะใช้อัตราเดียวกันหมดทั้งหมด และเหตุผลที่ต้องออกประกาศฉบับใหม่ เนื่องจากประกาศ กสทช.เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์แล้ว และหมดระยะเวลาผ่อนผันไปตั้งแต่สิ้นปีที่ผ่านมา ดังนั้นผู้ให้บริการทุกรายต้องกำหนดอัตราค่าโทร.ไม่เกินนาทีละ 99 สตางค์ ขณะที่ค่าไอซีในขณะนี้มีความแตกต่างกัน เพราะก่อนหน้านี้บางรายเจรจาและทำสัญญาค่าไอซีไว้ที่นาทีละ 1 บาท แต่บางรายใช้อัตราอ้างอิงของสำนักงาน กทช. คือที่ 50 สตางค์
"ถ้ายังปล่อยให้เอกชนกำหนดค่าไอซีนาทีละ 1 บาท ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะลดค่าโทร.ให้ไม่เกิน 99 สตางค์ตามประกาศของ กสทช. ขณะที่อัตราค่าไอซี 50 สตางค์ ก็เป็นอัตราที่ไม่ถูกต้อง เพราะค่าไอซีต้องเรียกเก็บทั้งต้นทางและปลายทาง เมื่อรวมทั้ง 2 ขาแล้วก็จะใกล้เคียงกับค่าบริการ ซึ่งเป็นราคาขายปลีกที่ผู้บริโภคต้องจ่าย ทั้ง ๆ ที่การกำหนดค่าไอซีต้องเป็นการกำหนดราคาสำหรับการขายส่งให้ผู้ประกอบการด้วยกัน ฉะนั้นค่าไอซีจึงต้องต่ำกว่า 50 สตางค์ การกำหนดค่าไอซีในต่างประเทศจะลดจากราคาขายปลีก 20-30%"
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ขณะนี้กลุ่มงานโครงข่ายพื้นฐานการใช้และเชื่อมต่อโครงข่าย สำนักงาน กสทช. อยู่ระหว่างเตรียมเสนอรายงานผลการศึกษาค่าไอซีที่เหมาะสมให้ที่ประชุม กทค.พิจารณาในการประชุมบอร์ด กสทช.ครั้งหน้า ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้กำหนดว่าจะเป็นวันที่ 15 หรือ 16 ม.ค. 2556 นี้
ขณะเดียวกัน ยังได้เตรียมปรับปรุงประสิทธิภาพของบริการคงสิทธิเลขหมาย (Mobile Number Portability : MNP) เพื่อให้ประชาชนสามารถโอนย้ายเลขหมายโทรศัพท์ไปใช้งานกับผู้ให้บริการรายอื่นได้อย่างสะดวก และรวดเร็วขึ้น จากปัจจุบันบริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด หรือเคลียริ่งเฮาส์ สามารถโอนย้ายได้เพียง 13,000 เลขหมายต่อวันเท่านั้น
"กทค.และโอเปอเรเตอร์เห็นตรงกันว่า ต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพของเคลียริ่งเฮาส์ เพื่อรองรับการโอนย้ายของประชาชนที่จะมีมากขึ้นโดยธรรมชาติ ทั้งจากการสิ้นสุดลงของสัมปทานทรูมูฟและดีพีซี ภายในเดือน ก.ย.ที่จะถึงนี้ รวมถึงการเปิดให้บริการ 3G ที่จะเกิดขึ้นราว ๆ เดือน เม.ย.นี้ ขณะที่ศักยภาพของระบบเคลียริ่งเฮาส์เดิมไม่สามารถรองรับได้แน่นอน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปรับปรุงทั้งฮาร์ดแวร์ รวมถึงขั้นตอนระเบียบวิธีการต่าง ๆ โดยสำนักงาน กสทช.มีจุดยืนที่ชัดเจนว่าต้องเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้ทุกรายโอนย้ายได้เท่าเทียมกัน ไม่ใช่โอนย้ายสะดวกเฉพาะกรณีย้ายจากบริษัทแม่ในระบบสัมปทาน 2G ไปบริษัทลูกที่ได้รับใบอนุญาต 3G เท่านั้น"
แต่เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาหารือระหว่าง กสทช.กับผู้ประกอบการอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณามาก มีปัญหาทางด้านเทคนิคที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และแต่ละฝ่ายมีข้อมูลต่างกัน อาทิ วิธีการแจ้งความจำนงผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทางกฎหมายรับรองให้ดำเนินการได้ แต่ต้องออกแบบระบบการรักษาความปลอดภัยให้รัดกุมพร้อม ๆ กับการอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานด้วย โดยเฉพาะวิธีการยืนยันตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของเบอร์
"ปัญหาสำคัญที่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติคือ ตัวเลขคาดการณ์ผู้ใช้บริการ MNP เนื่องจากแต่ละค่ายคาดการณ์ความต้องการของตลาดต่างกัน บางรายมองว่าปีนี้จะมีการโอนย้ายมากหลายสิบล้านเบอร์ภายใน 1 ปี บางรายมองว่าจะมีการทยอยโอนภายใน 2-3 ปี ซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมากกับการลงทุนเพิ่มประสิทธิภาพให้เหมาะสม และคุ้มค่ากับการลงทุนของเอกชนด้วย เพราะนอกจากเคลียริ่งเฮาส์ต้องลงทุนฮาร์ดแวร์เพิ่มแล้ว ค่ายมือถือเองก็ต้องเพิ่มหน่วยความจำในการบันทึกข้อมูลการโอนย้ายของลูกค้าด้วย จึงยังไม่สามารถบอกได้ว่าแต่ละรายต้องใช้งบฯลงทุนเพิ่มเท่าใด"
ส่วนเลขหมายที่จะใช้ในระบบ 3G ในการประชุม กทค.ครั้งหน้า จะมีการพิจารณาเรื่องจำนวนเลขหมายที่บริษัทผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นขอรับจัดสรรไว้ตั้งแต่ตอนยื่นเอกสารเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ว่าแต่ละรายจะได้รับการจัดสรรเลขหมายเท่าใด โดยทั้ง 3 บริษัทได้ยื่นขอเลขหมายไว้ราว 20 ล้านเลขหมาย
สำหรับการประชุมบอร์ด กทค. ล่าสุด (9 ม.ค. 2556) พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช. และ กทค.กล่าวว่า ได้มีการพิจารณาอนุมัติแผนการสรุปร่างหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) ใน 2 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ หนองคาย และพิษณุโลก กำหนดงบประมาณจังหวัดละ 250 ล้านบาท โดยจะเสนอให้ที่ประชุม กสทช.พิจารณาในวันที่ 16 ม.ค.นี้ เพื่อนำเข้าสู่การประชาพิจารณ์ต่อไป คาดว่าจะจัดให้ผู้ที่สนใจจะให้บริการ USO ใน 2 จังหวัดดังกล่าว เข้ามาเสนอราคาเพื่อรับการจัดสรรงบประมาณได้ราว ส.ค.-ก.ย.นี้
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1358138221&grpid=&catid=06&subcatid=0603
ไม่มีความคิดเห็น: