Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 กุมภาพันธ์ 2556 TRUE ลุยหนักผู้นำ 3G 4G (เชื่อยอด3Gจะมีลูกค้ารวม6ล้านเบอร์) รวมดูแลลูกค้า26ล้านเบอร์!! ( แต่ล่าสุดกลุ่มมือถือยังขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 176%)


ประเด็นหลัก


** คลื่นความถี่ ตัวแปรสำคัญ
    หากวิเคราะห์ลงลึกลงไปจะเห็นว่ากลุ่มทรู แม้จะเปิดตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2 จี ภายใต้แบรนด์ "ทรูมูฟ" เป็นรายสุดท้าย ที่สำคัญสัญญาสัมปทานที่ได้รับจาก แคท หรือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะสิ้นสุดเป็นรายแรก คือ หมดอายุภายในวันที่ 15 กันยายน 2556
    แต่กลุ่มทรู สามารถต่อยอดธุรกิจด้วยการเข้าไปซื้อกิจการจาก ฮัทช์ หรือ บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอทีไวร์เลส โฮลดิ้ง จำกัด ได้สำเร็จเมื่อปลายปี 2553 ด้วยจำนวนเงิน 6.3 พันล้านบาท เพื่อเข้าไปบริหารธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซีดีเอ็มเอ ที่ได้รับสิทธิ์ทำการตลาดต่อจาก แคท
    ไม่เพียงเท่านี้กลุ่มทรู ยังได้รับสิทธิ์จาก  แคท ทำการตลาดในลักษณะการขายส่งและขายต่อ บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์เป็นระยะเวลา 15 ปีอีกด้วย (หมายเหตุ: อยู่ระหว่างการตรวจสอบจาก กสทช. เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กรณีการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 850 MHz กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
    อย่างไรก็ตามภายหลังจากเปิดให้บริการระบบ 3 จี บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ปรากฏว่ากลุ่มลูกค้าของ ทรูมูฟ ย้ายเข้าสู่ระบบ 3 จีภายใต้แบนด์ ทรูมูฟ เอช จำนวน 3 ล้านรายแล้ว
    ในขณะที่ เอไอเอส แม้จะมีส่วนแบ่งการตลาดระบบ 2 จีเป็นอันดับที่หนึ่ง แต่ข้อจำกัดของ เอไอเอส คือย่านความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่สามารถให้บริการระบบ 3 จี ปัญหาเดียว คือ คลื่นความถี่ที่มีจำกัดอยู่ในช่วงเวลานั้น

    แต่ทว่ากลุ่มทรู ขณะนี้มีคลื่นความถี่ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการทั้งหมด 3 คลื่น คือ 850 เมกะเฮิรตซ์ , 2.1 กิกะเฮิรตซ์ และ 1800 เมกะเฮิรตซ์

** ทุ่ม 1.5 หมื่นล้าน ขยาย 3 จี และ 4 จี

 
    ส่วนกลุ่มทรู ทิ้งห่างคู่แข่งไปอีกขั้นหนึ่งโดยประกาศติดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี โดยแบ่งคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์มาให้บริการ เปิดให้บริการในพื้นที่สยามสแควร์ สีลม สาทร ด้วยสถานีฐานราว 300 สถานีในช่วงแรก และคาดว่าภายในสิ้นปีเมื่อติดตั้งสถานีฐาน 4 G ได้ครบ 2,100 สถานีตามที่ตั้งเป้าไว้ และ ครอบคลุม 15 หัวเมืองทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุราษฎร์ธานี สมุย ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สงขลา และตามเมืองท่องเที่ยวอย่างเขาใหญ่ ชะอำ หัวหิน พัทยา
    ขณะที่การติดตั้งสถานีฐาน 3 G  ย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ในปัจจุบันมีอยู่ราว 11,000 สถานี ซึ่งจะเพิ่มเป็น 13,000 สถานี ในช่วงเดือนมีนาคม ส่วน 3 G  ย่านความถี่  2.1  กิกะเฮิรตซ์ กลุ่มทรู เตรียมแผนติดตั้งจำนวน  5,000 สถานีฐานภายในสิ้นปีนี้ โดยจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 1.5 หมื่นล้านบาท และ ได้ขอหมายเลขเพื่อให้บริการบนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ อีกจำนวน 14 ล้านเลขหมาย
    นอกจากนี้ ศุภชัย ยังออกมาประกาศเป้าหมายในปีนี้ด้วยว่า จะเพิ่มฐานลูกค้าขึ้นอีก 6 ล้านราย จากการให้บริการ 3 G บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ และบนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์  และโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ  4 G  ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ทำให้เมื่อรวมกับลูกค้าเดิมในปี 2555 ที่ใช้งานทรูมูฟ 17 ล้านราย และทรูมูฟ เอช 3 ล้านราย รวมเป็น 26 ล้านรายในปีนี้
    แม้ "ศุภชัย เจียรวนนท์" จะออกมาประกาศว่าจะขอขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจมือถือ  แต่ผู้นำตลาดอย่าง "เอไอเอส" คงจะไม่ยอมเสียแชมป์ได้ง่ายๆ



ข่าวที่เกี่ยวข้อง

27 กุมภาพันธ์ 2556 TRUE ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 176% หลังปี 55 เหตุเพราะ การซื้อ HUTCH และ BFKT ผู้ติดเสาให้ CAT


ประเด็นหลัก


บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE รายงานผลการดำเนินงานปี 55 ขาดทุนสุทธิ 7,427.77 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิ 0.51 บาทต่อหุ้น ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น 176% จากปี 54 ที่ขาดทุนสุทธิ 2,693.69 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิ 0.23 บาทต่อหุ้น


http://somagawn.blogspot.com/2013/02/27-2556-true-176-55-hutch-bfkt-cat.html




_______________________




ทรูมูฟรุกหนัก ชิงแท่นผู้นำ3 จี และ 4 จี



การออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่ง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือกสทช.

ที่ออกใบอนุญาตเป็นระยะเวลา 15 ปีให้กับบรรดาผู้ชนะการประมูลทั้ง 3 ราย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายเดิม ไล่เลียงตั้งแต่เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), ดีแทค หรือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัทในกลุ่มทรู
    ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย ได้ประกาศออกมาชัดเจนแล้วว่าภายในไตรมาสที่ 2 ของปี 2556 จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ นั้นหมายความว่าเกมการแข่งขันทางธุรกิจมือถือจะเริ่มต้นขึ้นมาอีกระลอกหนึ่ง  นั่นหมายความว่าดีกรีการแข่งขันธุรกิจมือถือจะเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ และ ที่สำคัญบรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ราย คือ เอไอเอส มีฐานลูกค้า 30 กว่าล้านเลขหมาย, ดีแทค จำนวน 22 ล้านเลขหมาย และ กลุ่มทรู ที่มีฐานลูกค้าอีก 20 ล้านเลขหมาย จำเป็นที่ต้องรักษาฐานกลุ่มลูกค้าเอาไว้อย่างเหนียวแน่น
    แต่จุดที่น่าสนใจอยู่ที่ว่า "ศุภชัย เจียรวนนท์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานคณะผู้บริหารประกาศชัดเจนว่าจะขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ แซงเจ้าตลาดอย่าง เอไอเอส แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ยากนักหากกลยุทธ์ทางการตลาดครบเครื่องเพราะอะไรกลุ่มทรู ถึงต้องการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมมือถือ?
** คลื่นความถี่ ตัวแปรสำคัญ
    หากวิเคราะห์ลงลึกลงไปจะเห็นว่ากลุ่มทรู แม้จะเปิดตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2 จี ภายใต้แบรนด์ "ทรูมูฟ" เป็นรายสุดท้าย ที่สำคัญสัญญาสัมปทานที่ได้รับจาก แคท หรือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะสิ้นสุดเป็นรายแรก คือ หมดอายุภายในวันที่ 15 กันยายน 2556
    แต่กลุ่มทรู สามารถต่อยอดธุรกิจด้วยการเข้าไปซื้อกิจการจาก ฮัทช์ หรือ บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอทีไวร์เลส โฮลดิ้ง จำกัด ได้สำเร็จเมื่อปลายปี 2553 ด้วยจำนวนเงิน 6.3 พันล้านบาท เพื่อเข้าไปบริหารธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซีดีเอ็มเอ ที่ได้รับสิทธิ์ทำการตลาดต่อจาก แคท
    ไม่เพียงเท่านี้กลุ่มทรู ยังได้รับสิทธิ์จาก  แคท ทำการตลาดในลักษณะการขายส่งและขายต่อ บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์เป็นระยะเวลา 15 ปีอีกด้วย (หมายเหตุ: อยู่ระหว่างการตรวจสอบจาก กสทช. เกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด กรณีการทำสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่บนคลื่นความถี่ 850 MHz กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
    อย่างไรก็ตามภายหลังจากเปิดให้บริการระบบ 3 จี บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ปรากฏว่ากลุ่มลูกค้าของ ทรูมูฟ ย้ายเข้าสู่ระบบ 3 จีภายใต้แบนด์ ทรูมูฟ เอช จำนวน 3 ล้านรายแล้ว
    ในขณะที่ เอไอเอส แม้จะมีส่วนแบ่งการตลาดระบบ 2 จีเป็นอันดับที่หนึ่ง แต่ข้อจำกัดของ เอไอเอส คือย่านความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่สามารถให้บริการระบบ 3 จี ปัญหาเดียว คือ คลื่นความถี่ที่มีจำกัดอยู่ในช่วงเวลานั้น
    แต่ทว่ากลุ่มทรู ขณะนี้มีคลื่นความถี่ที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการทั้งหมด 3 คลื่น คือ 850 เมกะเฮิรตซ์ , 2.1 กิกะเฮิรตซ์ และ 1800 เมกะเฮิรตซ์
** ทุ่ม 1.5 หมื่นล้าน ขยาย 3 จี และ 4 จี
    ขณะที่ เอไอเอส ปักธงขยายเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี ย่านความถี่ 2.1กิกะเฮิรตซ์ พร้อมแผนเตรียมเงินจำนวน 7 หมื่นล้านบาท ลงทุนในระยะเวลา 3 ปี และ ตั้งเป้าขยายเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัดภายในสิ้นปีนี้ พร้อมทั้งเซ็นสัญญากับซัพพลายเออร์ จำนวน 5 ราย คือ  บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี   (ประเทศไทย) จำกัด , บริษัท  ZTE (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท Smart Revolutions,  บริษัท โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิร์ค จำกัด และ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย จำกัด  และ อยู่ระหว่างทดสอบการให้บริการ 4 จี กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
    "ในช่วงระหว่างเตรียมเปิดให้บริการ 3G อย่างเป็นทางการ เอไอเอสได้มีการขยายเครือข่าย 3G 900  อีกมากกว่า 200 สถานีฐาน เพื่อรองรับปริมาณความนิยมการใช้งาน Data และ Smart Phone ที่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด  โดยเน้นในพื้นที่ซึ่งมีการใช้งานหนาแน่น เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ" นั่นคือคำบอกเล่าของ นายวิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ เอไอเอส
    เช่นเดียวกับ ดีแทค ที่ลงทุนติดตั้งเครืข่ายแบบคู่ขนานระหว่างคลื่น 850 และ 2.1 กิกะเฮิรตซ์
    โดยคลื่นความถี่ 850 นั้นโครงข่ายครอบคลุมจำนวนประชากรแล้ว 60% และอาจจะเพิ่มเป็น 70% จำนวนถานีฐาน 5,500 แห่ง ส่วนคลื่น 2.1 ที่เพิ่งประมูลได้มานั้น กำลังอยู่ระหว่างการวางโรดแมปการลงเน็ตเวิร์กในพื้นที่ที่มีปริมาณความต้องการใช้ดาต้าจำนวนมาก อาทิ กรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ ซึ่งขณะนี้ในย่าน 2.1 ดีแทคมีสถานีฐานที่พร้อมสำหรับติดตั้งอุปกรณ์แล้ว 1,000 แห่ง
    ส่วนกลุ่มทรู ทิ้งห่างคู่แข่งไปอีกขั้นหนึ่งโดยประกาศติดตั้งเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4 จี โดยแบ่งคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์มาให้บริการ เปิดให้บริการในพื้นที่สยามสแควร์ สีลม สาทร ด้วยสถานีฐานราว 300 สถานีในช่วงแรก และคาดว่าภายในสิ้นปีเมื่อติดตั้งสถานีฐาน 4 G ได้ครบ 2,100 สถานีตามที่ตั้งเป้าไว้ และ ครอบคลุม 15 หัวเมืองทั่วประเทศได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สุราษฎร์ธานี สมุย ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สงขลา และตามเมืองท่องเที่ยวอย่างเขาใหญ่ ชะอำ หัวหิน พัทยา
    ขณะที่การติดตั้งสถานีฐาน 3 G  ย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ในปัจจุบันมีอยู่ราว 11,000 สถานี ซึ่งจะเพิ่มเป็น 13,000 สถานี ในช่วงเดือนมีนาคม ส่วน 3 G  ย่านความถี่  2.1  กิกะเฮิรตซ์ กลุ่มทรู เตรียมแผนติดตั้งจำนวน  5,000 สถานีฐานภายในสิ้นปีนี้ โดยจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 1.5 หมื่นล้านบาท และ ได้ขอหมายเลขเพื่อให้บริการบนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ อีกจำนวน 14 ล้านเลขหมาย
    นอกจากนี้ ศุภชัย ยังออกมาประกาศเป้าหมายในปีนี้ด้วยว่า จะเพิ่มฐานลูกค้าขึ้นอีก 6 ล้านราย จากการให้บริการ 3 G บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ และบนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์  และโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ  4 G  ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ทำให้เมื่อรวมกับลูกค้าเดิมในปี 2555 ที่ใช้งานทรูมูฟ 17 ล้านราย และทรูมูฟ เอช 3 ล้านราย รวมเป็น 26 ล้านรายในปีนี้
    แม้ "ศุภชัย เจียรวนนท์" จะออกมาประกาศว่าจะขอขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจมือถือ  แต่ผู้นำตลาดอย่าง "เอไอเอส" คงจะไม่ยอมเสียแชมป์ได้ง่ายๆ

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=171039:-3---4-&catid=123:2009-02-08-11-
44-33&Itemid=491

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.