7 กุมภาพันธ์ 2556 คาดปีนี้ ราคามือถือจะ ถูกลง10-20% เฮาส์แบรนด์ อันตราย ตามค่าเงินบาท++
ประเด็นหลัก
นายสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวโน้มราคาคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยคงปรับลดลงบ้าง
สำหรับผลกระทบจากสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งตัว มีผลดีกับบริษัท อาจส่งผลให้สินค้าที่นำเข้ามาใหม่ได้ต้นทุนที่ดีขึ้นทำให้ราคาถูกลง คาดว่าราคาสินค้าของบริษัทจะเริ่มลดลงเมื่อสินค้าในสต๊อกเริ่มหมด ซึ่งน่าจะอีก 1-2 เดือนข้างหน้า
แต่ต้องดูว่าค่าเงินบาทแข็งนานแค่ไหน ถ้าขึ้น ๆ ลง ๆ อาจไม่ปรับราคา ซึ่งต้นทุนมาเท่าไรก็จะบวกเพิ่มไปเท่าเดิม ในภาพรวมต้องการเห็นให้ค่าเงินบาทนิ่งมากกว่า เพราะแข็งเกินไปธุรกิจส่งออกจะแย่ลง ทำให้สภาพเศรษฐกิจแย่ตามไปด้วย ไม่เป็นผลดีต่อตลาดแน่ แต่สำหรับผู้บริโภคทำให้ระดับราคาสินค้าใหม่มีแนวโน้มถูกลง
"ค่าเงินบาทแข็งส่งผลให้สินค้าถูกลง ถ้าอีกสัก 1-2 เดือนนิ่งอยู่ที่ 29 บาท/ดอลลาร์ จะค่อย ๆ ลดราคาสินค้าลงมา แต่คงต้องประเมินคู่แข่งควบคู่กันไป ถ้าภาพรวมปรับราคาลงเราก็ต้องปรับลง มีโปรโมชั่นขึ้น ส่วนต่างที่ได้มาจากต้นทุนที่ถูกลงจะนำไปทำโปรโมชั่น เรื่องค่าเงินบาทยังไม่มีผลอะไรชัดเจนกับตลาดคอมพิวเตอร์"
นายถกลรัตน์ แก้วกาญจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด (ดับบลิวดีเอส) ในเครือเอไอเอส เปิดเผยว่า แม้บริษัทจะนำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ในการชำระเงินได้ตกลงกับแบรนด์ต่าง ๆ ไว้ก่อนแล้ว โดยทุกเครื่องที่ซื้อเข้ามาจะคำนวณราคาบนพื้นฐานของเงินบาท ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน ทั้งยังลดความเสี่ยงโดยยกเลิกจำหน่ายโทรศัพท์ยี่ห้อ PhoneOne ตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว เนื่องจากไม่คุ้ม เพราะต้องชำระเงินเป็นดอลลาร์และหยวน
ปัจจุบันแบรนด์ที่ทำยอดขายให้บริษัทเป็นอันดับต้น ๆ คือ ซัมซุง, โนเกีย และแอปเปิล ส่วนยี่ห้ออื่น ๆ เช่น โซนี่ และออปโป้ ทำรายได้รองลงมา ซึ่งฟีเจอร์โฟนของโนเกียยังขายได้ดีในตามต่างจังหวัด ส่วนสมาร์ทโฟนที่รองรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 ทำตลาดได้ดีกว่าที่คาด เพราะมีสินค้าเข้ามาน้อยกว่าความต้องการ ด้านซัมซุงและแอปเปิลมีกลุ่มลูกค้าชัดเจน โดยซัมซุงคล้ายโนเกีย ส่วนแอปเปิลเน้นไปที่หัวเมืองใหญ่
"เรื่องค่าเงินแทบไม่ได้ส่งผลอะไรกับวงการมือถือ เพราะส่วนใหญ่ซื้อตรงกับอินเตอร์แบรนด์ อีกกลุ่มที่น่าจะได้รับผลมากกว่าคือเฮาส์แบรนด์ เพราะนำสินค้าเข้ามาเอง ถ้าไม่ตกลงราคาไว้ก่อนอาจต้องจ่ายเพิ่มในจังหวะที่ค่าเงินบาทอ่อน"
_____________________________
จับตาแนวโน้มราคาสินค้าไอทีมีลุ้น "สมาร์ทดีไวซ์"ถูกลง10-20%สวนทาง"โน้ตบุ๊ก"
นายสมชัย สิทธิชัยศรีชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวโน้มราคาคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยคงปรับลดลงบ้างจากปัจจัยเรื่องเทคโนโลยี ส่วนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนยังบอกไม่ได้ แต่ระยะยาวมองว่าเงินดอลลาร์จะอ่อนตัวลงกว่าปีที่แล้ว ทำให้ราคาสินค้าไอทีปรับลดลงได้บ้าง แต่ราคาโน้ตบุ๊กคงปรับตัวสูงขึ้น 10-15% มีระดับราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000 บาท เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้นจากฟังก์ชั่นหน้าจอสัมผัส รองรับการใช้วินโดวส์ 8 ต่างจากราคาสมาร์ทโฟนและแท็บเลตที่เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม เพราะปีที่ผ่านมาเป็นตลาดใหม่ ทุกแบรนด์เน้นกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ แต่ในปีนี้ขยายมายังตลาดทั่วไปทำให้มีสินค้าราคาปานกลางถึงล่างมากขึ้น ส่งผลให้ราคาเฉลี่ยลดลง 10-20%
"ตลาดไอทีปีนี้คงดีขึ้นเทียบกับปีที่แล้ว เพราะปี 2555 ยังไม่ชัดเจนเรื่องวินโดวส์ 8 ขณะที่ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ยังตามเทรนด์ที่ผู้บริโภคหันไปนิยมสมาร์ทโฟนและแท็บเลตไม่ทัน แต่ปีนี้มีวินโดวส์ 8 แล้วทำให้คนหันมาซื้อสินค้าตัวใหม่ทดแทนมากขึ้น ส่วนผู้ผลิตก็มีแท็บเลตออกมามากขึ้น ในแง่การแข่งขันคงไม่รุนแรงนัก จากการที่ตลาดขยายตัวดีขึ้น ซึ่งเอสไอเอสเองเชื่อว่ากลุ่มธุรกิจไอทีจะเติบโตมากขึ้นในปีนี้"
สำหรับผลกระทบจากสถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งตัว มีผลดีกับบริษัท อาจส่งผลให้สินค้าที่นำเข้ามาใหม่ได้ต้นทุนที่ดีขึ้นทำให้ราคาถูกลง คาดว่าราคาสินค้าของบริษัทจะเริ่มลดลงเมื่อสินค้าในสต๊อกเริ่มหมด ซึ่งน่าจะอีก 1-2 เดือนข้างหน้า
แต่ต้องดูว่าค่าเงินบาทแข็งนานแค่ไหน ถ้าขึ้น ๆ ลง ๆ อาจไม่ปรับราคา ซึ่งต้นทุนมาเท่าไรก็จะบวกเพิ่มไปเท่าเดิม ในภาพรวมต้องการเห็นให้ค่าเงินบาทนิ่งมากกว่า เพราะแข็งเกินไปธุรกิจส่งออกจะแย่ลง ทำให้สภาพเศรษฐกิจแย่ตามไปด้วย ไม่เป็นผลดีต่อตลาดแน่ แต่สำหรับผู้บริโภคทำให้ระดับราคาสินค้าใหม่มีแนวโน้มถูกลง
นายพรเทพ วัชรอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัสซุสเทค คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ระดับราคาโน้ตบุ๊กคงไม่ได้ถูกลง และไม่สูงขึ้น ที่ผ่านมามีราคาเฉลี่ยที่ 17,000 กว่าบาทมาประมาณ 6 เดือนแล้ว ซึ่งปัจจัยที่มีผลกับราคาคือเทคโนโลยีใหม่ รวมถึงดีมานด์และซัพพลายสินค้า ส่วนโปรโมชั่นส่งเสริมการขายคงมีให้เห็นปกติ ขณะที่การแข่งขันอาจสูงขึ้น เพราะปัญหาเศรษฐกิจยุโรปทำให้บริษัทแม่ของหลาย ๆ แบรนด์มีปัญหา สำหรับเอซุสตั้งเป้าผลักดันยอดขายโน้ตบุ๊กปีนี้ให้โต 20%
"ค่าเงินบาทแข็งส่งผลให้สินค้าถูกลง ถ้าอีกสัก 1-2 เดือนนิ่งอยู่ที่ 29 บาท/ดอลลาร์ จะค่อย ๆ ลดราคาสินค้าลงมา แต่คงต้องประเมินคู่แข่งควบคู่กันไป ถ้าภาพรวมปรับราคาลงเราก็ต้องปรับลง มีโปรโมชั่นขึ้น ส่วนต่างที่ได้มาจากต้นทุนที่ถูกลงจะนำไปทำโปรโมชั่น เรื่องค่าเงินบาทยังไม่มีผลอะไรชัดเจนกับตลาดคอมพิวเตอร์"
ด้านนายสุระ คณิตทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอมเซเว่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เจ้าของร้านค้าปลีกสินค้าไอที "บานาน่า ไอที" และ "ไอสตูดิโอ บาย คอมเซเว่น" เปิดเผยว่า สินค้าที่จำหน่ายในเครือเป็นสินค้าที่ซื้อเข้ามาโดยจ่ายเป็นเงินบาทกว่าครึ่ง เช่น โน้ตบุ๊กรุ่นต่าง ๆ ซึ่งมีราคาระดับหมื่นบาทเป็นส่วนใหญ่
ที่เหลือเป็นสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ และชำระเป็นเงินสกุลอื่น ๆ เช่น คอมโพเนนต์ และอุปกรณ์เสริมซึ่งมีราคาจำหน่ายหลักพันบาท ทำให้ความผันผวนของค่าเงินมีผลไม่มากนักกับราคา คือเกิดส่วนต่างเพียง 3-4% เท่านั้น
การบริหารสต๊อกของบริษัทจะคงสินค้าไว้เพียงพอต่อการขายประมาณ 30 วัน เมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้นก็จะนำส่วนต่างที่ได้มาลดราคาในรอบถัดไปที่สั่งสินค้า เพราะที่วางจำหน่ายเป็นคนละลอต ไม่สามารถปรับราคาลงทันทีได้
"จบเดือน ม.ค. เรามีรายได้ถึง 1.2 พันล้านบาท ตามเป้าที่ตั้งไว้ แบ่งเป็นจากโน๊ตบุ๊ก 30% สินค้าแอปเปิล 30% ที่เหลือเป็นคอมโพเนนต์และอุปกรณ์เสริม ส่วนสมาร์ทโฟนและแท็บเลตยังน้อยอยู่ แต่เทียบกับปีที่แล้วจะเติบโตขึ้นกว่าเท่าตัว ซึ่งจะทำให้มีรายได้จบปีนี้ถึง 2 หมื่นล้านบาท โตจากปีที่แล้วเกือบเท่าตัว และในไตรมาส 2 จะขยายบริการเพิ่มเติมโดยเปิดรับชำระค่าบริการมือถือด้วย"
นายถกลรัตน์ แก้วกาญจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไวร์เลส ดีไวซ์ ซัพพลาย จำกัด (ดับบลิวดีเอส) ในเครือเอไอเอส เปิดเผยว่า แม้บริษัทจะนำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศ แต่ในการชำระเงินได้ตกลงกับแบรนด์ต่าง ๆ ไว้ก่อนแล้ว โดยทุกเครื่องที่ซื้อเข้ามาจะคำนวณราคาบนพื้นฐานของเงินบาท ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงิน ทั้งยังลดความเสี่ยงโดยยกเลิกจำหน่ายโทรศัพท์ยี่ห้อ PhoneOne ตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว เนื่องจากไม่คุ้ม เพราะต้องชำระเงินเป็นดอลลาร์และหยวน
ปัจจุบันแบรนด์ที่ทำยอดขายให้บริษัทเป็นอันดับต้น ๆ คือ ซัมซุง, โนเกีย และแอปเปิล ส่วนยี่ห้ออื่น ๆ เช่น โซนี่ และออปโป้ ทำรายได้รองลงมา ซึ่งฟีเจอร์โฟนของโนเกียยังขายได้ดีในตามต่างจังหวัด ส่วนสมาร์ทโฟนที่รองรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 ทำตลาดได้ดีกว่าที่คาด เพราะมีสินค้าเข้ามาน้อยกว่าความต้องการ ด้านซัมซุงและแอปเปิลมีกลุ่มลูกค้าชัดเจน โดยซัมซุงคล้ายโนเกีย ส่วนแอปเปิลเน้นไปที่หัวเมืองใหญ่
"เรื่องค่าเงินแทบไม่ได้ส่งผลอะไรกับวงการมือถือ เพราะส่วนใหญ่ซื้อตรงกับอินเตอร์แบรนด์ อีกกลุ่มที่น่าจะได้รับผลมากกว่าคือเฮาส์แบรนด์ เพราะนำสินค้าเข้ามาเอง ถ้าไม่ตกลงราคาไว้ก่อนอาจต้องจ่ายเพิ่มในจังหวะที่ค่าเงินบาทอ่อน"
สำหรับตลาดรวมโทรศัพท์มือถือในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ 14 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 5%จากปีที่แล้ว แบ่งเป็นสมาร์ทโฟน 40% ที่เหลือเป็นฟีเจอร์โฟนซึ่งแทบไม่มีการเติบโต ขณะที่ระดับราคาสมาร์ทโฟนจะปรับลดลงเล็กน้อย เพราะต่างพยายามแข่งขันกันดึงลูกค้า ดังนั้นผู้บริโภคจึงจะได้ใช้โทรศัพท์ราคาถูกลง แต่ฟีเจอร์มากขึ้น
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1360227322&grpid=&catid=06&subcatid=0603
ไม่มีความคิดเห็น: