1 มีนาคม 2556 TOT บุกตลาดINTERNETความเร็วสูง FTTx !!! ( เจาะตลาดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น กรุงเทพฯ )
ประเด็นหลัก
นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า วันนี้ ทีโอที ยกระดับไปอีกขั้นกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมหลักของประเทศที่มีขนาดใหญ่ ทั้งโครงข่ายใต้น้ำ โครงข่ายตามรางรถไฟ และโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายซึ่งครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย โดยมีบริการที่ทันสมัย 4 กลุ่มบริการหลัก คือ Fixed line Broadband Mobile และ Content & Application และพร้อมที่จะรองรับนวัตกรรมใหม่ของ 4GLTE / Digital TV รวมถึงเทคโนโลยีระบบโครงข่ายในอนาคต และพร้อมมากที่สุดที่จะก้าวเป็นศูนย์กลางด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมของอาเซียนในอีก 2 ปี ข้างหน้า
สำหรับพื้นที่ทางการตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง FTTx ประกอบด้วย บริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และนครราชสีมา บริษัท เวลดัน ไอที เซอร์วิส จำกัด ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัด ขอนแก่น บริษัท เค.พี. อีสเทิร์นเวิร์ค จำกัด ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และบริษัท ฟิต เทเลคอม จำกัด ดำเนินการตลาดในพื้นที่กรุงเทพฯ (นครหลวง)
____________________________
ทีโอทีมุ่งเป็น'ฮับ'โทรคมฯอาเซียน ผนึก4พันธมิตรบุกตลาด FTTx
ทีโอที รับนโยบายไอซีที เดินหน้ายุทธศาสตร์มุ่งสู่ศูนย์กลางโทรคมนาคมเป็น HUB ของอาเซียน ผนึก 4 พันธมิตร ลงนามความร่วมมือทางการตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง FTTx ครบรอบ 59 ปี...
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ประเทศไทยได้กำหนดทิศทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอซีที 2020 ปี 2555 -2563 โดยกำหนดเป็นนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ด้วยการใช้ไอซีที เป็นพลังขับเคลื่อนประเทศใน 3 ด้าน คือให้สังคมไทยมีความเสมอภาค เป็นสังคมอุดมปัญญา และมีเศรษฐกิจที่เติบโต รวมถึงการเตรียมพร้อมด้านไอซีทีของประเทศไทยในการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) 2015
ทั้งนี้ กระทรวงไอซีที ได้นำเทคโนโลยีไอซีทีมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสู่การเป็นสมาร์ทเน็ตเวิร์ก เข้าถึงทุกพื้นที่ของประเทศ โดยภายในปี 2558 คนไทยต้องเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไม่น้อยกว่า 80 % และ 94% ภายในปี 2563 สมาร์ทกัฟเวิร์นเมนต์ ที่ทุกส่วนของภาครัฐนำเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมมาใช้ เชื่อมโยงผ่านระบบโครงข่ายความเร็วสูง เพื่อให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรมแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง สมาร์ทบิสซิเนส เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนนำไอซีทีมาใช้ในการประกอบธุรกิจ รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการทำธุรกรรมเชิงธุรกิจ และสมาร์ทพีเพิล
นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวว่า วันนี้ ทีโอที ยกระดับไปอีกขั้นกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการเป็นโครงข่ายโทรคมนาคมหลักของประเทศที่มีขนาดใหญ่ ทั้งโครงข่ายใต้น้ำ โครงข่ายตามรางรถไฟ และโครงข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายซึ่งครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย โดยมีบริการที่ทันสมัย 4 กลุ่มบริการหลัก คือ Fixed line Broadband Mobile และ Content & Application และพร้อมที่จะรองรับนวัตกรรมใหม่ของ 4GLTE / Digital TV รวมถึงเทคโนโลยีระบบโครงข่ายในอนาคต และพร้อมมากที่สุดที่จะก้าวเป็นศูนย์กลางด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมของอาเซียนในอีก 2 ปี ข้างหน้า
นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทีโอที นำนโยบายสมาร์ทไทยแลนด์ของกระทรวงไอซีทีมาเป็นโจทย์ใหญ่ในการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กรทั้งในด้านการพัฒนาโครงข่าย การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบโจทย์ของประเทศ และตอบโจทย์ของลูกค้าผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์และแผนงานโครงการปี 2556-2559 ของทีโอที มีเป้าหมายในการขับเคลื่อนสู่การเป็นผู้ให้บริการ Quad Play ประกอบด้วย กลุ่มฟิกซ์ไลน์ ให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ TOT 007 และ TOT 008 กลุ่มโมบายให้บริการ TOT 3จี โมบายบรอดแบนด์ และเอ็มวีเอ็นโอพาร์ตเนอร์ กลุ่มบรอดแบนด์ ให้บริการทีโอทีไฮสปีด และกลุ่มคอนเทนต์ และแอพพลิเคชั่น
นอกจากนี้ ทีโอที ยังร่วมลงนาม พร้อม 4 พันธมิตร บริหาร บริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) บริษัท ฟิต เทเลคอม จำกัด บริษัท เวลดัน ไอที เซอร์วิส จำกัด และ บริษัท เค.พี. อีสเทิร์นเวิร์ค จำกัด ร่วมลงนาม พร้อมเดินหน้าปรับกลยุทธ์รุกตลาดใช้ความแข็งแกร่งของพันธมิตรขยายฐานลูกค้า ตั้งเป้าเป็นผู้นำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านเครือข่ายใยแก้วนำแสง
ทั้งนี้ ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งโมเดลธุรกิจใหม่ของการขยายตลาดบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง Fiber to the x FTTx โดย ทีโอที ใช้ความเชี่ยวชาญด้านการตลาดของพันธมิตรในการขยายสร้างฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ ทีโอที มีความแข็งแกร่งด้านโครงข่ายโทรคมนาคม (Core network) ที่ครอบคลุมมากที่สุดมาบูรณาการพัฒนารูปแบบธุรกิจบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง FTTx ซึ่ง ทีโอที ได้ขยายครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสำคัญ ได้แก่ กรุงเทพฯ ปริมณฑล เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่มีคุณภาพแก่ผู้ใช้บริการในราคาที่เหมาะสม รวมถึงสนับสนุนการให้บริการดิจิตอลคอนเทนต์คุณภาพสูงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ทั้งนี้เป้าหมายลูกค้าของแต่ละพันธมิตรจะแตกต่างกันตามลักษณะของพื้นที่ที่ร่วมให้บริการ หรือตามกลุ่มลูกค้า ซึ่งในแต่ละรายจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขการรับประกันจำนวนลูกค้าขั้นต่ำต่อปีเหมือนกัน และต่างกันที่จำนวนการรับประกันเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การให้บริการสำหรับความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นลักษณะ Co-brand โดยพันธมิตรที่ร่วมให้บริการจะสามารถใช้ Co-brand ในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ โดย บริษัทฯ พันธมิตรจะรับผิดชอบลงทุนในแอคเซ็ส เน็ตเวิร์ก การบำรุงรักษาการตรวจแก้ การให้บริการติดตั้ง การออกบิลตามหนี้ และคอลเซ็นเตอร์ โดยความร่วมมือครั้งนี้มีระยะเวลา 5 ปี และมีการประกันยอดขั้นต่ำตั้งแต่ปีที่ 1 เป็นต้นไป
สำหรับพื้นที่ทางการตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง FTTx ประกอบด้วย บริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และนครราชสีมา บริษัท เวลดัน ไอที เซอร์วิส จำกัด ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัด ขอนแก่น บริษัท เค.พี. อีสเทิร์นเวิร์ค จำกัด ดำเนินการตลาดในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และบริษัท ฟิต เทเลคอม จำกัด ดำเนินการตลาดในพื้นที่กรุงเทพฯ (นครหลวง)
http://www.thairath.co.th/content/tech/329484
ไม่มีความคิดเห็น: