Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มีนาคม 2556 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.ติดกม.ทำอะไรไม่ได้ร้องสังคมทุกวันดีกว่า!!! เลื่อนประมูล4Gปีเป็นปีหน้า อ้างเพราะ CAT


ประเด็นหลัก


สำหรับประเทศไทยหากจะนำเอาคลื่นความถี่ของชาติมาใช้งาน หน่วยงานกำกับดูแล กสทช. ต้องนำมาจัดสรรในรูปแบบประมูลซึ่งแตกต่างจากประเทศญี่ปุ่นที่มีการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโดยไม่ต้องประมูล แต่ใช้วิธีเลือกให้แบบศักยภาพและความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน ซึ่งเมื่อเทียบกับไทยที่ยังมีอุปสรรคอย่างมาก โดยกรณีสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ การบริหารจัดการ รวมกระทั่งกฎหมาย

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ระบุ ปัจจุบันเทคโนโลยี 4จี เพียงแค่นำการ์ดเสียบก็ขยับเป็น 4จีได้ เทคโนโลยีในอนาคตจะเปิดกว้างมากขึ้น เช่น ไอโฟน 5 สามารถใช้เทคโนโลยี 4จี บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้ฉุกคิดว่า ผู้ที่กำกับทิศทางเทคโนโลยีไม่ใช่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และหน่วยงานกำกับดูแล แต่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์มือถือ

เทคโนโลยีปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา แต่สิ่งที่ กสทช. ต้องทำให้ดีที่สุดคือ ควบคุมราคาบริการ ดูแลผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ก่อนจะออกให้บริการ 4จี ในอนาคต.



   พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าวในระหว่างพาสื่อมวลชนมาดูงานบริษัท เอ็นทีที โดโคโม ประเทศญี่ปุ่นว่า ที่พามาศึกษาดูงานที่เอ็นทีที โดโคโม เพราะในปีนี้จะมีการนำคลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz มาใช้บน 4G (LTE) เช่นเดียวกับประเทศไทย แต่ญี่ปุ่นจะไม่มีการประมูลคลื่นความถี่เพราะรัฐบาลได้จัดให้มีการให้สิทธิบริการในลักษณะตามความเหมาะสม (บิวตี้ คอนเทสต์)
     
       สำหรับ เอ็นทีที โดโคโม นับเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือชั้นนำของโลกที่กำลังปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นผู้ให้บริการหลากหลายที่ต่อยอดจากบริการโทรศัพท์มือถือหลัก ที่ให้บริการลูกค้าทั่วประเทศบน 3G ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และโครงข่าย 4G LTE ซึ่งเปิดให้บริการในย่านความถี่ 1500 MHZ และ 2.1 GHz โดยปัจจุบัน เอ็นทีที โดโคโม มีลูกค้าใช้บริการรวม 61 ล้านราย คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดราว 48% จากจำนวนประชากรรวมในประเทศ 120 ล้านราย ส่วนบริการ 4G มีลูกค้าใช้งานไม่ต่ำกว่า 10 ล้านรายในตอนนี้

ประธาน กทค.ชี้ “กสท” เป็นตัวการสำคัญทำให้การประมูลความถี่ 1800 MHz ที่สามารถนำมาให้บริการ 4G (LTE) จำเป็นต้องเลื่อนเป็นปลายปี 2557 จากเดิมที่ตั้งใจประมูลในเดือน ต.ค. 2556 หลังอ้างข้อกฎหมายไม่ยอมคืนความถี่



 พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวยอมรับว่าการประมูล 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ต้องเลื่อนไปเป็นปลายปี 2557 เนื่องจากติดปัญหาด้านกฎหมายในการถือครองคลื่นดังกล่าวกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จากเดิมที่เคยวางแผนการประมูล 4G ไว้ในเดือน ต.ค.ปี 2556







______________________________________________







“เศรษฐพงค์” ยอมรับเลื่อนประมูล 4G เพราะ “กสท”



       ประธาน กทค.ชี้ “กสท” เป็นตัวการสำคัญทำให้การประมูลความถี่ 1800 MHz ที่สามารถนำมาให้บริการ 4G (LTE) จำเป็นต้องเลื่อนเป็นปลายปี 2557 จากเดิมที่ตั้งใจประมูลในเดือน ต.ค. 2556 หลังอ้างข้อกฎหมายไม่ยอมคืนความถี่
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวยอมรับว่าการประมูล 4G บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ต้องเลื่อนไปเป็นปลายปี 2557 เนื่องจากติดปัญหาด้านกฎหมายในการถือครองคลื่นดังกล่าวกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จากเดิมที่เคยวางแผนการประมูล 4G ไว้ในเดือน ต.ค.ปี 2556
     
       โดยที่ในการประชุมบอร์ด กทค.ในวันที่ 20 มี.ค.นี้ ที่ประชุมจะมีการเสนอตั้งคณะกรรมการจัดการบริหารคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งมีหน้าที่จัดการประมูลคลื่นความถี่ 4G (LTE) โดยจะมีลักษณะคล้ายกับคณะทำงานจัดการประมูลคลื่นความถี่ 3G 2.1 GHz รวมไปถึงจะดำเนินการจัดทำแผนการประมูล วิธีการประมูล ราคาคลื่นความถี่ทั้ง 20 MHz หรือ 4 ชุดคลื่นความถี่โดยมีจำนวนชุดละ 5 MHz ว่าจะมีราคาเท่าไหร่
     
       “ในการประชุมบอร์ด กทค.20 มี.ค.นี้ หากมีการอนุมัติให้ตั้งคณะทำงานฯ ก็จะเดินหน้าเตรียมการประมูลทันที ซึ่งการเตรียมการประมูลความถี่ 1800 MHz จะทำควบคู่ไปกับการร่างแผนการเยียวยาลูกค้าที่อยู่ในระบบ 2G และการหาข้อสรุปในประเด็นข้อโต้แย้งทางกฎหมายระหว่างกสทกับ กทค.ด้วย”
     
       ขณะเดียวกัน บอร์ด กทค.จะจัดทำแผนการเยียวยาลูกค้า 2G ที่ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ที่จะหมดสัญญาสัมปทานของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ที่ยังค้างอยู่ในระบบราว 18 ล้านรายควบคู่กันไปด้วย
     
       “คาดว่าจะสามารถยกร่างแผนเยียวยาได้เสร็จภายใน 3 เดือนหรือราวเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนทางกสทผู้เป็นเจ้าของสัญญาสัมปทานก็ต้องส่งแผน และมาตรการเยียวลูกค้า และดูแลลูกค้าในระบบ มาให้ กทค.เช่นเดียวกันด้วย”
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าวในระหว่างพาสื่อมวลชนมาดูงานบริษัท เอ็นทีที โดโคโม ประเทศญี่ปุ่นว่า ที่พามาศึกษาดูงานที่เอ็นทีที โดโคโม เพราะในปีนี้จะมีการนำคลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz มาใช้บน 4G (LTE) เช่นเดียวกับประเทศไทย แต่ญี่ปุ่นจะไม่มีการประมูลคลื่นความถี่เพราะรัฐบาลได้จัดให้มีการให้สิทธิบริการในลักษณะตามความเหมาะสม (บิวตี้ คอนเทสต์)
     
       สำหรับ เอ็นทีที โดโคโม นับเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือชั้นนำของโลกที่กำลังปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นผู้ให้บริการหลากหลายที่ต่อยอดจากบริการโทรศัพท์มือถือหลัก ที่ให้บริการลูกค้าทั่วประเทศบน 3G ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และโครงข่าย 4G LTE ซึ่งเปิดให้บริการในย่านความถี่ 1500 MHZ และ 2.1 GHz โดยปัจจุบัน เอ็นทีที โดโคโม มีลูกค้าใช้บริการรวม 61 ล้านราย คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดราว 48% จากจำนวนประชากรรวมในประเทศ 120 ล้านราย ส่วนบริการ 4G มีลูกค้าใช้งานไม่ต่ำกว่า 10 ล้านรายในตอนนี้


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000033342

_____________________________________________



กสทช.ย้ำ ประเทศไทยต้องประมูล 4จี




การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ หรือใบอนุญาต 3จี กำลังผ่านพ้น

ผู้ชนะการประมูล 3 ราย ได้แก่ บริษัท ไวร์เลส เน็ตเวิร์ค จำกัด บริษัท ดีแทค เนทเวิร์ค จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด จะเปิดให้บริการ 3จี เดือน เม.ย.56 ส่วน 4จี พลอากาศเอก ธเรศ ปุณศรี ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มุ่งมั่นว่า กสทช. จะประมูลใบอนุญาต 4จี แน่นอน โดยขณะนี้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มขยับตัวทดลอง 4จีมากขึ้น

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวถึง 4จีในประเทศไทยว่า จะนำเอาคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 56 ซึ่งนำคลื่นส่งคืนกลับมายัง กสทช.ตามกฎหมาย พร้อมดำเนินการเตรียมพร้อมประมูล 4จี ได้ทันทีภายหลังกระบวนการแล้วเสร็จ ในขณะที่เทคโนโลยี 4จี ในต่างประเทศก็ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ เช่นกัน

สำหรับประเทศไทยหากจะนำเอาคลื่นความถี่ของชาติมาใช้งาน หน่วยงานกำกับดูแล กสทช. ต้องนำมาจัดสรรในรูปแบบประมูลซึ่งแตกต่างจากประเทศญี่ปุ่นที่มีการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโดยไม่ต้องประมูล แต่ใช้วิธีเลือกให้แบบศักยภาพและความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน ซึ่งเมื่อเทียบกับไทยที่ยังมีอุปสรรคอย่างมาก โดยกรณีสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ การบริหารจัดการ รวมกระทั่งกฎหมาย

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ ระบุ ปัจจุบันเทคโนโลยี 4จี เพียงแค่นำการ์ดเสียบก็ขยับเป็น 4จีได้ เทคโนโลยีในอนาคตจะเปิดกว้างมากขึ้น เช่น ไอโฟน 5 สามารถใช้เทคโนโลยี 4จี บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ ทำให้ฉุกคิดว่า ผู้ที่กำกับทิศทางเทคโนโลยีไม่ใช่ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และหน่วยงานกำกับดูแล แต่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์มือถือ

เทคโนโลยีปรับเปลี่ยนตามกาลเวลา แต่สิ่งที่ กสทช. ต้องทำให้ดีที่สุดคือ ควบคุมราคาบริการ ดูแลผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ก่อนจะออกให้บริการ 4จี ในอนาคต.

http://www.dailynews.co.th/technology/191236

_____________________________________



กสทช.ส่อเลื่อนประมูล4G เหตุ“กสท”ยื้อคืนคลื่น มั่นใจลงตัวปลายปี’57




พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวระหว่างเดินทางไปทัศนศึกษา ณ ห้องแสดงเทคโนโลยีของ บริษัท เอ็นทีที โดโคโมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 18 มีนาคม2556ว่า ได้ศึกษาเทคโนโลยี และการเปลี่ยนผ่านไปสู่ 4G (LTE) เพราะประเทศญี่ปุ่นกำลังจะเปิดบริการ 4G ในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)เช่นเดียวกับประเทศไทย

สำหรับ เอ็นทีที โดโคโมะ​ นับเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำของโลกที่กำลังปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นผู้ให้บริการหลากหลายที่ต่อยอดจากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หลัก ที่รองรับลูกค้าทั่วประเทศบน 3G  ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ และโครงข่าย 4G ซึ่งเปิดให้บริการในย่าน 1500 เมกะเฮิรตซ์ และ 2.1 กิกะเฮิรตซ์(GHz) ส่วนในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์จะเปิดบริการในปีนี้  ซึ่งนับเป็นโครงข่ายแรกๆของโลกที่เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์  และยังสร้างความแตกต่างด้วยการพัฒนาระบบช่วยเหลือในการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ง่ายขึ้น

ปัจจุบัน เอ็นทีที โดโคโมะ มีลูกค้าใช้บริการรวม 61 ล้านราย คิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาด  ราว 48% จากจำนวนประชากรรวมในประเทศ 120 ล้านราย ส่วนบริการ 4Gมีลูกค้าใช้งานไม่ต่ำกว่า 10 ล้านราย

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวถึงความคืบหน้าในการเตรียมการรองรับการเปิดให้บริการ4G ในอนาคตว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กทค. ในวันที่ 20 มีนาคม 2556นี้ จะมีการเสนอตั้ง คณะกรรมการจัดการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะเป็นคณะทำงานสำหรับจัดการประมูลคลื่นความถี่ 4G (LTE) โดยคณะทำงานฯชุดนี้ จะมีลักษณะคล้ายกลับคณะทำงานจัดการประมูลคลื่นความถี่ 3G 2.1 กิกะเฮิรตซ์ โดยจะมีการจัดทำแผนการประมูล วิธีการประมูล ราคาคลื่นความถี่ทั้ง 20 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 4 ชุดคลื่นความถี่ จำนวนชุดละ 5 เมกะเฮิรตซ์ว่าจะมีราคาเท่าไร โดยแผนการประมูล 4G นี้เดิมคาดว่าจะเกิดขึ้นในตุลาคม2556ปี 2556 แต่ต้องเลื่อนไปปลายปีหน้า เพราะติดปัญหาด้านกฎหมาย และยอมรับว่าติดปัญหาการเรียกคืนคลื่นจากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)

"เราจะพยายามทำให้ดีที่สุด ซึ่งในการประชุมบอร์ดกทค.วันที่ 20 มีนาคม 2556นี้ หากอนุมัติตั้งคณะทำงานแล้วเสร็จ เราก็จะเดินหน้าเตรียมการประมูลทันที ซึ่งการเตรียมการจะทำควบคู่ไปกับการร่างแผนการเยียวยาลูกค้าที่อยู่ในระบบ 2G  และการหาข้อสรุปในประเด็นกฎหมายด้วย"  พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว

ปัจจุบันคลื่น1800 กสท ได้ให้สัมปทานกับ บริษัททรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) และสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน2556 มีผู้ใช้บริการค้างอยู่ในระบบราว 18 ล้านราย โดย กสทช.มีเยียวยาลูกค้า คาดว่าจะยกร่างแผนเยียวได้เสร็จภายใน 3 เดือน หรือราวเดือนมิถุนายน2556นี้ ส่วนทาง กสท ผู้เป็นเจ้าของสัญญาสัมปทานก็ต้องส่งแผน และมาตรการเยียวลูกค้า และดูแลลูกค้าในระบบด้วยเช่นกัน

ขณะที่นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกสทช. ด้านกฎหมายในกิจการโทรคมนาคม  กล่าวว่า กสทช.จะขอความร่วมมือในการขอคืนคลื่น  แต่ถ้าหากไม่ให้ความร่วมมือก็จำเป็นต้องใช้ทุกมาตรการเพื่อบังคับใช้กฎหมายให้เด็ดขาด ทั้งมาตรการทางปกครอง มาตรการทางแพ่ง และอาญา ซึ่งกรณีที่มีการฝ่าฝืนใช้คลื่นความถี่โดยไม่ได้รับอนุญาต  ทั้งๆที่ได้มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วว่าหมดสิทธิ์ใช้ และหากไปสนับสนุนให้มีการลงทุน หรือหาลูกค้าเพิ่ม ก็เท่ากับว่ามีเจตนาจะกระทำผิดกฎหมายอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงขอเตือนว่าผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวจะต้องรับความเสี่ยงต่อบทกำหนดโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 10 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในส่วนบทบาทของ กสทช.เอง ก็ต้องดำเนินการมิฉะนั้นจะถูกข้อหาฐานปฎิบัติหน้าที่ไม่ชอบ หรือ ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ไปด้วย

http://www.naewna.com/business/45442


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.