20 พฤษภาคม 2556 TOT ประกาศลงทุน 3G เฟส 2 ธันวาคมนี้แน่นอน!! คาดอาจใช้วิธี CAT TREU หรือ หาพันธมิตรลงทุนให้ทั้งหมด (ซูมิโตโมและซอฟต์แบงค์สนใจ) (จี้คืนเสา AIS ด่วน)
ประเด็นหลัก
นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่าบริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น จากประเทศญี่ปุ่นสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนโครงการโทรศัพท์มือถือ 3G เฟส 2 ของทีโอที ในลักษณะให้ซูมิโตโมเข้ามาพร้อมกับไฟแนนซ์ และอุปกรณ์ต่างๆในการทำโครงการ 3G เฟส2 ทั้งหมดขณะที่ทีโอทีจะนำเอาทรัพย์สินที่มีอยู่อาทิ ความถี่ 2.1 GHz ที่มีมูลค่าอย่างน้อย 1.5 หมื่นล้านบาท โดยประเมินเทียบเคียงกับราคาประมูลความถี่ของกสทช. และโครงข่าย 3G เฟสแรก จำนวน 5,320 สถานีฐาน หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท รวมแล้ว 3 หมื่นล้านบาท แปลงเป็นทุนด้านทีโอที ในขณะที่ซูมิโตโม ก็ต้องลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เท่าๆกัน เพื่อดำเนินการโครงการ 3G เฟส 2 แล้วแบ่งรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน ซึ่งเป็นโมเดลเดียวกับที่บริษัท ซอฟต์แบงค์ โมบาย คอร์ปอร์เรชั่น เคยแสดงความสนใจก่อนหน้านี้
โดยรูปแบบการร่วมลงทุนดังกล่าวเป็น 1 ใน 4 รูปแบบทั้งหมดที่ฝ่ายบริหารมีแนวคิดประกอบด้วย 1.การเปิดประมูลทั่วไป เหมือนโครงการ 3G เฟสแรก แต่ต้องมีการเปลี่ยนเงื่อนไขในการประมูลบางเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะการหาสถานที่ติดตั้งสถานีฐาน โดยทีโอทีจะต้องหาสถานที่ติดตั้งเองและต้องไม่มีการใช้สถานีฐานร่วมหรือโคไซต์เด็ดขาด เพราะที่ผ่านมาความล่าช้าในการติดตั้งโครงข่าย 3G เฟสแรกมาจากปัญหาเรื่องสถานที่ติดตั้งสถานีฐาน
‘ถ้าเปิดประมูลทั่วไป เรื่องไฟแนนซ์ 3G เฟส 2 ส่วนตัวไม่น่าเป็นห่วง เพราะมีการคุยนอกรอบกับธนาคารที่ปล่อยกู้เฟสแรกแล้วว่าพร้อมปล่อยกู้เฟส 2 ต่อ’
2.ใช้วิธีการรีพีทออเดอร์ หรือ ขยายสัญญาเดิมให้กับบริษัทที่ประมูลได้ในเฟสแรก ซึ่งรูปแบบนี้อาจดำเนินการได้ยาก เพราะหากเฟสแรกติดตั้งเสร็จได้เร็วกว่ากำหนดก็อาจใช้เป็นเหตุผลขยายสัญญาต่อไปได้ แต่ในเมื่อติดตั้งล่าช้าทีโอทีก็ตอบสังคมลำบากว่าทำไมต้องรีพีทให้รายเก่าติดตั้งในเฟสต่อมา 3.รูปแบบเดียวกับที่บริษัท กสท โทรคมนาคม ทำสัญญากับกลุ่มทรู ที่ให้บริษัท บีเอฟเคที สร้างโครงข่ายมาให้กสทเช่าแล้วกสทขายส่งบริการให้บริษัท เรียลมูฟ ทำการตลาดอีกทอดหนึ่ง ซึ่งต้องดูว่ามีพาร์ทเนอร์รายใดสนใจที่จะมาทำธุรกิจกับทีโอทีในลักษณะเช่นนี้บ้าง
‘รูปแบบที่ 3 นี้ ต้องมีคำสั่งระดับนโยบาย ฝ่ายบริหารไม่สามารถดำเนินการได้โดยพลการ’
ส่วนรูปแบบที่ 4.เป็นการหาพันธมิตรทางธุรกิจ มาลงทุนให้ทั้งหมด ในสัดส่วนเท่าๆกับที่ทีโอทีตีมูลค่าความถี่ 2.1 GHz และโครงข่าย 3G เฟสแรก 5,320 สถานีฐาน หรือรวมประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งทีโอทีได้มีการหารือกับซูมิโตโมและมีความคืบหน้าระดับหนึ่งแล้ว
"หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงภายในเดือนธ.ค.2556 นี้คาดว่าจะได้เซ็นสัญญา3G เฟส2 แน่"
อย่างไรก็ตาม ทีโอทีต้องรอผลการศึกษาโครงการ 3G เฟส 2 จากบริษัทที่ปรึกษา คือบริษัท ซี แอนด์ ซี อินเตอร์เนชั่นแนล เวนเจอร์ จำกัด (ซีซีไอวี) ที่กำลังศึกษารูปแบบการติดตั้งโครงข่ายเฟสที่ 2 เพื่อให้ได้จำนวนสถานีฐาน รูปแบบ และพื้นที่ติดตั้งที่เหมาะสม รวมถึงวงเงินลงทุนที่ต้องใช้ทั้งหมด ก่อนนำมาประกอบการตัดสินใจเลือกรูปแบบการดำเนินการโครงการ
‘ความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่ารูปแบบที่ 3 กับ 4 ทีโอทีจะได้ประโยชน์มากที่สุด แต่ทั้ง 2 รูปแบบ จำเป็นต้องได้ไฟเขียวจากระดับนโยบายถึงจะดำเนินการได้ แต่ถึงแม้จะเลือกวิธีไหนก็ตาม โครงการ 3G เฟส 2 ต้องติดตั้งอย่างรวดเร็ว ให้เท่ากับหรือหากทำได้ต้องเร็วกว่าเอกชน โดยหลังจากสรุปรูปแบบวิธีจัดการโครงการ ทีโอทีจะประสานงานกับส่วนราชการเพื่อหาสถานที่ติดตั้งไซต์ทันที’
‘ทาวเวอร์โคจะต้องเสร็จก่อนการเปิด 3G เฟส 2 เพราะทีโอทีจะต้องนำเสาเอไอเอสมาปรับปรุงในการทำ 3G แต่ตอนนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับเอกชนเรื่องของผลประโยชน์ ส่วนในหลักการตอนนี้หาข้อสรุปร่วมกันแล้วว่าเอกชนพร้อมที่จะคืนเสาให้กับทีโอที แล้ว 13,000 แห่ง จากทั้งหมดมากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ’
______________________________________
‘ซูมิโตโม’สน 3G เฟส 2 เสนอทีโอทีลงทุนร่วม
"ซูมิโตโม" จากญี่ปุ่นสนใจลงทุนโครงการ 3G เฟส 2 โดยทีโอทีแปลงมูลค่าความถี่ 2.1 GHz กับโครงข่าย 3G เฟสแรกรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาทเป็นทุนแล้วให้ซูมิโตโมใส่เงินและอุปกรณ์เท่าๆกันแล้วแบ่งผลประโยชน์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 รูปแบบดำเนินการโครงการ 3G เฟส 2 ‘ยงยุทธ’ ยันถ้าไม่พลิกโผคาด ธ.ค. เซ็นสัญญาได้
นายยงยุทธ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที กล่าวว่าบริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น จากประเทศญี่ปุ่นสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนโครงการโทรศัพท์มือถือ 3G เฟส 2 ของทีโอที ในลักษณะให้ซูมิโตโมเข้ามาพร้อมกับไฟแนนซ์ และอุปกรณ์ต่างๆในการทำโครงการ 3G เฟส2 ทั้งหมดขณะที่ทีโอทีจะนำเอาทรัพย์สินที่มีอยู่อาทิ ความถี่ 2.1 GHz ที่มีมูลค่าอย่างน้อย 1.5 หมื่นล้านบาท โดยประเมินเทียบเคียงกับราคาประมูลความถี่ของกสทช. และโครงข่าย 3G เฟสแรก จำนวน 5,320 สถานีฐาน หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท รวมแล้ว 3 หมื่นล้านบาท แปลงเป็นทุนด้านทีโอที ในขณะที่ซูมิโตโม ก็ต้องลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท เท่าๆกัน เพื่อดำเนินการโครงการ 3G เฟส 2 แล้วแบ่งรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน ซึ่งเป็นโมเดลเดียวกับที่บริษัท ซอฟต์แบงค์ โมบาย คอร์ปอร์เรชั่น เคยแสดงความสนใจก่อนหน้านี้
โดยรูปแบบการร่วมลงทุนดังกล่าวเป็น 1 ใน 4 รูปแบบทั้งหมดที่ฝ่ายบริหารมีแนวคิดประกอบด้วย 1.การเปิดประมูลทั่วไป เหมือนโครงการ 3G เฟสแรก แต่ต้องมีการเปลี่ยนเงื่อนไขในการประมูลบางเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะการหาสถานที่ติดตั้งสถานีฐาน โดยทีโอทีจะต้องหาสถานที่ติดตั้งเองและต้องไม่มีการใช้สถานีฐานร่วมหรือโคไซต์เด็ดขาด เพราะที่ผ่านมาความล่าช้าในการติดตั้งโครงข่าย 3G เฟสแรกมาจากปัญหาเรื่องสถานที่ติดตั้งสถานีฐาน
‘ถ้าเปิดประมูลทั่วไป เรื่องไฟแนนซ์ 3G เฟส 2 ส่วนตัวไม่น่าเป็นห่วง เพราะมีการคุยนอกรอบกับธนาคารที่ปล่อยกู้เฟสแรกแล้วว่าพร้อมปล่อยกู้เฟส 2 ต่อ’
2.ใช้วิธีการรีพีทออเดอร์ หรือ ขยายสัญญาเดิมให้กับบริษัทที่ประมูลได้ในเฟสแรก ซึ่งรูปแบบนี้อาจดำเนินการได้ยาก เพราะหากเฟสแรกติดตั้งเสร็จได้เร็วกว่ากำหนดก็อาจใช้เป็นเหตุผลขยายสัญญาต่อไปได้ แต่ในเมื่อติดตั้งล่าช้าทีโอทีก็ตอบสังคมลำบากว่าทำไมต้องรีพีทให้รายเก่าติดตั้งในเฟสต่อมา 3.รูปแบบเดียวกับที่บริษัท กสท โทรคมนาคม ทำสัญญากับกลุ่มทรู ที่ให้บริษัท บีเอฟเคที สร้างโครงข่ายมาให้กสทเช่าแล้วกสทขายส่งบริการให้บริษัท เรียลมูฟ ทำการตลาดอีกทอดหนึ่ง ซึ่งต้องดูว่ามีพาร์ทเนอร์รายใดสนใจที่จะมาทำธุรกิจกับทีโอทีในลักษณะเช่นนี้บ้าง
‘รูปแบบที่ 3 นี้ ต้องมีคำสั่งระดับนโยบาย ฝ่ายบริหารไม่สามารถดำเนินการได้โดยพลการ’
ส่วนรูปแบบที่ 4.เป็นการหาพันธมิตรทางธุรกิจ มาลงทุนให้ทั้งหมด ในสัดส่วนเท่าๆกับที่ทีโอทีตีมูลค่าความถี่ 2.1 GHz และโครงข่าย 3G เฟสแรก 5,320 สถานีฐาน หรือรวมประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งทีโอทีได้มีการหารือกับซูมิโตโมและมีความคืบหน้าระดับหนึ่งแล้ว
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
"หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงภายในเดือนธ.ค.2556 นี้คาดว่าจะได้เซ็นสัญญา3G เฟส2 แน่"
อย่างไรก็ตาม ทีโอทีต้องรอผลการศึกษาโครงการ 3G เฟส 2 จากบริษัทที่ปรึกษา คือบริษัท ซี แอนด์ ซี อินเตอร์เนชั่นแนล เวนเจอร์ จำกัด (ซีซีไอวี) ที่กำลังศึกษารูปแบบการติดตั้งโครงข่ายเฟสที่ 2 เพื่อให้ได้จำนวนสถานีฐาน รูปแบบ และพื้นที่ติดตั้งที่เหมาะสม รวมถึงวงเงินลงทุนที่ต้องใช้ทั้งหมด ก่อนนำมาประกอบการตัดสินใจเลือกรูปแบบการดำเนินการโครงการ
‘ความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่ารูปแบบที่ 3 กับ 4 ทีโอทีจะได้ประโยชน์มากที่สุด แต่ทั้ง 2 รูปแบบ จำเป็นต้องได้ไฟเขียวจากระดับนโยบายถึงจะดำเนินการได้ แต่ถึงแม้จะเลือกวิธีไหนก็ตาม โครงการ 3G เฟส 2 ต้องติดตั้งอย่างรวดเร็ว ให้เท่ากับหรือหากทำได้ต้องเร็วกว่าเอกชน โดยหลังจากสรุปรูปแบบวิธีจัดการโครงการ ทีโอทีจะประสานงานกับส่วนราชการเพื่อหาสถานที่ติดตั้งไซต์ทันที’
สำหรับขั้นตอนของโครงการ 3G เฟส 2 หลังจากฝ่ายบริหารสรุปรูปแบบวิธีดำเนินการโครงการแล้วต้องนำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง3G และเข้าบอร์ดทีโอที จากนั้นส่งเรื่องไปยังกระทรวงไอซีที และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ต่อไป
‘ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเมือง หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงภายในเดือนธ.ค.2556 นี้คาดว่าจะได้เซ็นสัญญา3G เฟส2 แน่ แต่ทั้งนี้ต้องรอผ่านกระบวนการทั้งหมดก่อนซึ่งจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน’
ขณะที่ 3G เฟส1 ขณะนี้ติดตั้งไปแล้ว 4,200 สถานีฐาน โดยคาดว่าภายในเดือนส.ค.2556 นี้จะติดตั้งครบ 5,320 สถานีฐาน ซึ่งสาเหตุที่ล่าช้าเนื่องจากติดปัญหาเรื่องการติดตั้งภายในอาคาร ส่วนความคืบหน้าการเซ็นสัญญาให้เอกชนเช่าใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการ หรือ MVNO ซึ่งตอนนี้มีเพียงรายเดียวที่เป็นทางการคือ บริษัท สามารถ ไอ-โมบายนั้น ในตอนนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน MVNO ชุดใหม่ โดยได้มีการประชุมคณะทำงานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาและหากรายละเอียด MVNO ลงตัวจะนำข้อสรุปดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการ 3G หลังจากนั้นเสนอเข้าบอร์ดทีโอทีภายในเดือนมิ.ย. และหากบอร์ดเห็นชอบก็สามารถเซ็นสัญญาทันที และในเดือนก.ค.จะขับเคลื่อน MVNO ได้อย่างเต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ปัญหาที่มีการถกกันในที่ประชุมคณะทำงาน MVNO ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การเซ็นสัญญาล่าช้านั้นคือประเด็นการปรับเปลี่ยนสัดส่วนเรื่องผลประโยชน์โดยปรับเป็นเอกชนได้ 55% หลังหักค่าการตลาด และภาษีแล้วจะเหลือ 38% ในขณะที่ทีโอทีจะได้ผลประโยชน์ 45% สูงกว่าเอกชน จากเดิมที่เอกชนได้ 60% หลังหักค่าการตลาดผ่านช่องทางจำหน่าย 10% และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เท่ากับเอกชนจะได้รับส่วนแบ่ง 43% ขณะที่ทีโอทีได้ 40% เท่านั้น
รวมไปถึงประเด็นรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อที่ได้เพียง 140 บาทซึ่งที่ประชุมมองว่าน้อยเกินไป และประเด็นการเช่าใช้ความจุโครงข่าย(คาปาซีตี้) 40% ด้วย
‘ความล่าช้าที่เกิดขึ้น เพราะมีความเห็นมากมาย ในขณะที่ไม่มีโซลูชั่นทางออก ประเภทอย่างนี้ก็น้อยไป อย่างนั้นก็ไม่ได้ แต่ไม่บอกว่าที่ถูกต้องทำอย่างไร ทำให้ทุกอย่างค้างคาไม่เสร็จสักที จนผมต้องมาเป็นประธานคณะทำงาน MVNO เอง’
นายยงยุทธ กล่าวถึงความคืบหน้าการตั้งบริษัท ทาวเวอร์โค โดยจะให้บริษัทเอซีที โมบาย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกทีโอที เป็นบริษัทกลางในการทำธุรกิจดังกล่าวนั้น ล่าสุดมีความเป็นไปได้ว่าจะไม่ใช้โมเดลดังกล่าวแล้ว เนื่องจากเอซีที ถือเป็นบริษัทลูกทีโอที ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบรายอื่นๆที่จะเข้ามาเช่าทาวเวอร์โคไม่กล้าที่จะเข้ามาทำธุรกิจด้วย ดังนั้นทีโอทีจะต้องเร่งหาบริษัทที่ 3 ที่เป็นกลางเข้ามาลงทุนในการทำธุรกิจทาวเวอร์โคต่อไป
‘ทาวเวอร์โคจะต้องเสร็จก่อนการเปิด 3G เฟส 2 เพราะทีโอทีจะต้องนำเสาเอไอเอสมาปรับปรุงในการทำ 3G แต่ตอนนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับเอกชนเรื่องของผลประโยชน์ ส่วนในหลักการตอนนี้หาข้อสรุปร่วมกันแล้วว่าเอกชนพร้อมที่จะคืนเสาให้กับทีโอที แล้ว 13,000 แห่ง จากทั้งหมดมากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ’
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000060168
ไม่มีความคิดเห็น: