Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 มิถุนายน 2556 ไอทียู จี้ กสทช. ต้องนำคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ทำโมบายบรอดแบนด์ (4G) ขู่ระหว่างรอยต่อประเทศสัญญาณกวนแน่++ // กสทช. ชี้ 4G คลื่น 1800 2300 ยังเหลือพอ



ประเด็นหลัก



เนื่องจากทิศทางโทรคมนาคมมีมูลค่ามหาศาลมากขึ้นเรื่อย ในขณะที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมยังมีคลื่นเหลือพอ อาทิ คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ หรือคลื่น 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ที่นำไปใช้ในกิจการโทรคมนาคม โดยไม่จำเป็นต้องคืนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ แม้แนวโน้มไอ   ทียู จะมาก่อนที่ประเทศไทยจะออกแผนแม่บทก็ตาม

สำหรับคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ในขณะนี้แถบประเทศเอเชีย แปซิฟิก คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย โดยเฉพาะเพื่อนบ้านมาเลเซีย เตรียมนำคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์     ทำโมบาย บรอดแบนด์ ซึ่งหากประเทศไทยนำไปทำทีวี จะก่อให้เกิดคลื่นรบกวนกัน เนื่องจากกำลังส่งของทีวีมีแรงสูงจะไปรบกวนสัญญาณมือถือ โดยผลกระทบอาจจะอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศเป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับปัญหาคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ในขณะนี้อาจจะยังไม่ส่งผล   กระทบมากนัก และการให้ใบอนุญาตทีวีดิจิทัลยังสามารถเดินหน้าไป แต่หากเมื่อวันนั้นมาถึงประเทศเพื่อนบ้านและเทรนด์โลกปรับเปลี่ยนไปตามมาตรฐานไอทียู ประเทศไทยจะทำเช่นไร

ทางออกคือ การร่วมมือกันเพื่อไม่ให้กระทบต่อเพื่อนบ้าน และที่สำคัญระบบเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลเป็นความหวังของคนไทยเหมือนเทคโนโลยี 3 จี.


______________________________________





คลื่น700เมกะเฮิรตซ์ส่อเค้ายุ่งไอทียูจ้องทำโมบายบรอดแบนด์


เป็นเรื่องที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต้องคิดหนัก เมื่อกระแสวงการอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ประกอบ  กับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู มีแนวโน้มขยายทำอินเทอร์เน็ตบนมือถือ หรือ โมบาย บรอดแบนด์ โดยใช้คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคม (กสท.) นำมาทำทีวีดิจิทัลจำนวน 48 ช่อง

ดังนั้น กสทช.จึงตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาระหว่าง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และ กสท. เพื่อหาแนวทางออกแก้ไขปัญหาคลื่นความถี่ทับซ้อนกัน  ในขณะเมื่อช่วงเดือนธ.ค. 2555 กสท.ได้ออกประกาศแผนคลื่นความถี่ทีวีดิจิทัล โดยกำหนดคลื่นช่วง 510-790 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับกิจการโทรทัศน์เป็นหลัก ตามมาตรฐานไอทียู ส่วนคลื่นความถี่ 698-806 เมกะเฮิรตซ์ นำมาใช้กิจการโทรคมนาคม

คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ที่ประเทศไทยจะนำมาทำทีวีดิจิทัล เริ่มจะมีความสั่นคลอน หากยังไม่มีความชัดเจน แม้พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช.และประธาน กทค. เปิดเผยว่าไอทียู ยังไม่ออกประกาศอย่างเป็นทางการ แต่จะมีการประชุมหารืออย่างเป็นทางการในปี 2558 อีกครั้ง ประกอบกับประเทศไทยยังใช้ตามสิทธิสัญญาสัมปทานอีก 5-10 ปี แต่การที่คณะอนุกรรมการศึกษาโรดแม็พ ศึกษาผลกระทบว่า เป็นการเตรียมตัวไว้เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลเท่านั้น

ด้าน น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.และ กสท.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค ก่อนหน้านี้ได้คาดการณ์ว่า แนวโน้มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจะเริ่มขยายวงกว้างดึงคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ไปทำโมบาย         บรอดแบนด์ สิ่งที่ กสทช.ต้องพร้อมใจแก้ไขทางเทคนิค ทางออกดีที่สุด แต่ขอให้ไม่ใช่มือมืดธุรกิจ

เนื่องจากทิศทางโทรคมนาคมมีมูลค่ามหาศาลมากขึ้นเรื่อย ในขณะที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมยังมีคลื่นเหลือพอ อาทิ คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ หรือคลื่น 2.3 กิกะเฮิรตซ์ ที่นำไปใช้ในกิจการโทรคมนาคม โดยไม่จำเป็นต้องคืนคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ แม้แนวโน้มไอ     ทียู จะมาก่อนที่ประเทศไทยจะออกแผนแม่บทก็ตาม

สำหรับคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ในขณะนี้แถบประเทศเอเชีย แปซิฟิก คือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย โดยเฉพาะเพื่อนบ้านมาเลเซีย เตรียมนำคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์     ทำโมบาย บรอดแบนด์ ซึ่งหากประเทศไทยนำไปทำทีวี จะก่อให้เกิดคลื่นรบกวนกัน เนื่องจากกำลังส่งของทีวีมีแรงสูงจะไปรบกวนสัญญาณมือถือ โดยผลกระทบอาจจะอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศเป็นไปได้
 
อย่างไรก็ตาม สำหรับปัญหาคลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ในขณะนี้อาจจะยังไม่ส่งผล   กระทบมากนัก และการให้ใบอนุญาตทีวีดิจิทัลยังสามารถเดินหน้าไป แต่หากเมื่อวันนั้นมาถึงประเทศเพื่อนบ้านและเทรนด์โลกปรับเปลี่ยนไปตามมาตรฐานไอทียู ประเทศไทยจะทำเช่นไร

ทางออกคือ การร่วมมือกันเพื่อไม่ให้กระทบต่อเพื่อนบ้าน และที่สำคัญระบบเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลเป็นความหวังของคนไทยเหมือนเทคโนโลยี 3 จี.

สุรัสวดี สิทธิยศ
http://www.dailynews.co.th/technology/209230

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.