Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 มิถุนายน 2556 อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เอาจริงติดระบบ ระบบจีพีเอส ที่ติดตั้งในรถบรรทุกที่ใช้ขนส่งกากอุตสาหกรรม ป้องกันไปทิ้งในพื้นที่ต่างๆ



ประเด็นหลัก

ทั้งนี้ในปัจจุบันแม้ว่า กรอ.จะใช้ระบบจีพีเอส หรือระบบนำทางจากสัญญาณดาวเทียม ที่ติดตั้งในรถบรรทุกที่ใช้ขนส่งกากอุตสาหกรรม ในการตรวจสอบการขนถ่ายกากอุตสาหกรรม แต่ก็ยังพบว่าการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมที่ขนถ่ายออกมาจากโรงงานไปทิ้งในพื้นที่ต่างๆ โดยไม่นำส่งเข้าไปยังบริษัทกำจัดกากอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง


______________________________________





คุมรถบรรทุกกากอันตราย กรอ.นำคลื่นความถี่วิทยุตามติด 24 ช่ั่วโมง


กรอ.ตั้งเป้านำระบบคลื่นความถี่วิทยุของท่าเรือฮ่องกง มาใช้กับระบบขนถ่ายกากอุตสาหกรรมจากโรงงาน ไปยังบริษัทกำจัดกากอุตสาหกรรม ป้องกันการลักลอบนำไปทิ้งกลางทาง เพราะระบบคลื่นวิทยุสามารถแจ้งข้อมูลมายัง กรอ.ได้ตลอด 24 ชั่วโมง  หากผู้ขนส่งมีเจตนาลักลอบทิ้งกากกลางทาง  ต่างจากระบบจีพีเอส ที่ตรวจสอบได้เพียงการขนส่งจากต้นทางไปยังปลายทางเท่านั้น

นายณัฐพล ณัฐฏสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยระหว่างการนำสื่อมวลชนไปดูงาน เรื่อง เทคโนโลยีระบบระบุลักษณะของวัตถุของสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ที่จะมีการขนถ่ายผ่านท่าเรือฮ่องกง ด้วยระบบคลื่นความถี่วิทยุ (RFID) ณ ศูนย์วิจัยระบบขนส่งแห่งชาติ ณ เขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง ว่า กรอ.จะนำหลักการทำงานดังกล่าว มาประยุกต์ใช้กับระบบการกำจัดกากอุตสาหกรรม ของประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเข้มข้นในการขนถ่ายกากอุตสาหกรรมจากโรงงานไปยังบริษัทที่รับบริการกำจัดกากอุตสาหกรรมและฝังกลบให้มากขึ้น

ทั้งนี้ในปัจจุบันแม้ว่า กรอ.จะใช้ระบบจีพีเอส หรือระบบนำทางจากสัญญาณดาวเทียม ที่ติดตั้งในรถบรรทุกที่ใช้ขนส่งกากอุตสาหกรรม ในการตรวจสอบการขนถ่ายกากอุตสาหกรรม แต่ก็ยังพบว่าการลักลอบนำกากอุตสาหกรรมที่ขนถ่ายออกมาจากโรงงานไปทิ้งในพื้นที่ต่างๆ โดยไม่นำส่งเข้าไปยังบริษัทกำจัดกากอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

นายณัฐพล กล่าวว่า เทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ (RFID) มีวิธีการทำงานคือ เมื่อมีการนำสินค้าบรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นฝ่ายศุลกากรจะทำการปิดตู้คอนเทนเนอร์ แล้วก็จะติดตั้งรหัส E-Lock (อี-ล็อก) ที่จะมีการป้อนข้อมูลต่างๆ ไว้ในรหัสอี-ล็อก อาทิ ประเภทของสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์, ปลายทางในการขนส่งสินค้า, ผู้ผลิตสินค้า, ผู้รับสินค้า รวมทั้งจะมีรหัสลับไว้สำหรับปลดล็อกประตูตู้คอนเทนเนอร์ พร้อมทั้งยังมีระบบจีพีเอส คอยติดตามตู้คอนเทนเนอร์อีกขั้นตอนหนึ่ง เพื่อให้สามารถตรวจสอบเส้นทางของตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าว ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางของการส่งสินค้า

ทั้งนี้ระบบอี-ล็อกยังจะเข้ามาช่วยดูแลในเรื่องที่ว่า หากมีบุคคลใดแอบมาลักลอบเปิดตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ระบบอี-ล็อกก็จะส่งสัญญาณมายังหน่วยศุลกากรที่ฮ่องกงว่า ตู้คอนเทนเนอร์ถูกลักลอบเปิดระหว่างการขนส่ง ทำให้สามารถตรวจสอบสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ทันที

นายณัฐพล กล่าวว่า กรอ.จะประสานงานกับผู้บริหารท่าเรือฮ่องกง เพื่อผลักดันให้ กรอ.สามารถนำระบบดังกล่าวมาใช้กับระบบขนถ่ายกากอุตสาหกรรมของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ กรอ.ตรวจสอบได้ทันทีว่า รถบรรทุกกากอุตสาหกรรมคันใด เมื่อไปรับมอบกากอุตสาหกรรมจากโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว ไม่ยอมนำไปส่งมอบให้บริษัทกำจัดกากอุตสาหกรรม แต่มีเจตนานำไปลักลอบทิ้งในพื้นที่ต่างๆ ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ของ  กรอ.ทราบข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง ว่า มีการลักลอบเปิดถังเก็บกากอุตสาหกรรมในรถบรรทุกกากอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะไปเปิดในสถานที่แห่งใด หรือในเวลาใด

เนื่องจาก เมื่อรหัสอี-ล็อกถูกทำลาย หรือถูกแตะต้องไม่ว่ากรณีใดๆ ก็จะส่งสัญญาณผ่านคลื่นความถี่วิทยุ (RFID) มายังศูนย์บริหารและควบคุมกากอุตสาหกรรมของ กรอ. ซึ่งจะทำให้การเข้าไปตรวจสอบ หรือแจ้งความให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่นั้นๆ เข้าไปดำเนินการจับกุมได้ในทันที ต่างจากระบบจีพีเอสที่ กรอ.ใช้อยู่ในขณะนี้ เพราะจีพีเอส ทำได้เพียงตรวจสอบว่า รถบรรทุกกากอุตสาหกรรม วิ่งออกนอกเส้นทางจากจุดต้นทาง-ปลายทางหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า ระหว่างที่มีการขนส่งกากอุตสาหกรรมจะถูกลักลอบทิ้งระหว่างทางหรือไม่

ทั้งนี้ในปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรม 10,000 แห่ง ที่ต้องส่งมอบกากอุตสาหกรรมอันตราย เข้าไปรับการกำจัดที่บริษัทรับกำจัดกากอุตสาหกรรม ที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการจาก กรอ. โดยมีกากอุตสาหกรรมอันตรายที่ต้องส่งไปกำจัด 20 ประเภท และมีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกากอุตสาหกรรมอันตราย ยื่นเรื่องผ่าน กรอ. เพื่อขอขนถ่ายกากอุตสาหกรรมจากโรงงานไปรับการกำจัดปีละ 2.45 ล้านตัน แต่ปรากฏว่า มีการขนถ่ายกากอุตสาหกรรม เข้าไปสู่ระบบกำจัดเพียงปีละ 1 ล้านตันเท่านั้น

“ทำให้เห็นได้ว่า ยังมีการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม แม้ว่าจะใช้ระบบจีพีเอส คอยตรวจสอบรถบรรทุกกากอุตสาหกรรม แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ในการแก้ไขปัญหาลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม สำหรับจัดการกับผู้ที่จงใจกระทำผิดในเรื่องนี้ แต่หากมีการนำระบบคลื่นความถี่วิทยุ (RFID) มาใช้งาน ก็มั่นใจว่าจะช่วยควบคุมการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ให้เกิดความเข้มข้นในการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เพิ่มมากขึ้น”.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
http://m.thairath.co.th/content/eco/353273

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.