Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 มิถุนายน 2556 DTAC ประกาศรายได้ต่อปี ราว 1 แสนล้านบาท ประกาศ เปิดให้บริการ 3G 2100 กลุ่มแรกคือ กรุงเทพและหัวเมืองใหญ่ก่อน!! ส่วนการลงทุนพม่ามีประชากร 60 ล้านคน มีแค่ 5% เท่านั้นที่มีโทรศัพท์



ประเด็นหลัก



ชี้การแข่งขัน "พม่า" ดุเดือด

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารเทเลนอร์ยังไม่มั่นใจ 100% ว่าจะเป็นผู้ชนะประมูลดังกล่าว เนื่องจากการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างผู้เข้าประมูลที่ล้วนเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่แถวหน้าของโลก เช่น สิงเทล, ฟรานซ์ เทเลคอม, แอร์เทลจากอินเดีย รวมถึงพ่อมดการเงินระดับโลก "จอร์จ โซรอส" ที่จับมือกับค่ายดิจิเซลเข้าประมูลด้วย

นอกจากนี้ พม่ายังเป็นประเทศที่มีปัจจัยท้าทายมาก เพราะว่าเป็นประเทศสุดท้ายในโลกที่ประชากรยังไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้งานแพร่หลาย หรือในจำนวนประชากรราว 60 ล้านคน มีแค่ 5% เท่านั้นที่มีโทรศัพท์ใช้เทียบกับไทยที่มีสัดส่วนการใช้เกิน 100%

ทั้งนี้รัฐบาลพม่ายังตั้งเป้าหมายที่ต้องการมีระบบสื่อสารที่ครบเทียบเท่ากับไทยคือ มีทั้ง 2จี และ 3จี และอาจมองถึง 4จี ให้ได้ภายใน 2-3 ปีหลังจากประมูล ขณะที่ทั้งหมดนี้ไทยใช้เวลาพัฒนามากว่า 15 ปี

"พม่า เป็นประเทศปิดมานาน 40-50 ปี ซึ่งความท้าทายอย่างหนึ่ง ก็คือ มันไม่มีโครงข่ายพื้นฐานอะไรเลย ซิมการ์ดที่ขายกันตอนนี้ราคาแพงมาก หรือราว 5,000 บาท นอกจากนี้มีแค่ 26% ของประชากรเท่านั้นที่มีไฟฟ้าใช้ แต่รัฐบาลพม่าคาดหวังให้ผู้ชนะต้องดำเนินธุรกิจและพัฒนาระบบสื่อสารที่ครบเลย โดยตามเป้าหมายที่วางไว้คือ 60% ของคนพม่าจะต้องมีโทรศัพท์มือถือใช้ภายใน 3 ปี แต่แม้จะเป็นประเทศที่คล้ายไทยคือมีประชากรใกล้เคียงกัน ค่าบริการอาจต้องเริ่มจากราคาถูกมากๆ ก่อน เพราะรายได้ของคนพม่าค่อนข้างต่ำ"

เล็งลงทุนตลาดเกิดใหม่


ส่วนบริการ 3จี ของ ดีแทค ในไทยจะเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนก.ค. นี้ ซึ่งจะเป็นกลุ่มลูกค้าในกรุงเทพฯ เป็นที่แรก และเริ่มขยายบริการไปยังเมืองใหญ่ๆ ตามจังหวัดต่างๆ ภายในปีนี้ ลูกค้าเดิมจะได้รับเอสเอ็มเอสสอบถามความต้องการใช้งาน 3จีใหม่ ซึ่งถ้าต้องการบริษัทจะดำเนินการไมเกรทให้ทันที ส่วนลูกค้าใหม่ก็สามารถซื้อซิมไตรเน็ตเพื่อใช้ 3จีดีแทคได้ทันทีเช่นกัน

ทั้งนี้ เหตุที่ล่าช้าส่วนหนึ่งเป็นเพราะปีที่ผ่านมา ดีแทค ทุ่มกับการยกเครื่องโครงข่าย 2จี ให้เป็นโครงข่ายใหม่ทั้งหมด ซึ่งก็จะทำให้ดีแทคมีสัญญาณให้บริการที่มีคุณภาพสูงสุด แต่ขณะเดียวกันบริษัทก็ยังคงอยู่ในกระบวนการลงทุนกับโครงข่าย 3จีควบคู่ไปด้วย

นอกจากนี้ ดีแทค ยังเชื่อว่า นอกจากโครงข่ายจะต้องพร้อมแล้ว การให้บริการ 3จีที่มีคุณภาพจะต้องประกอบด้วยปัจจัยแวดล้อมทั้งตัวเครื่องที่รองรับ 3จี ที่จะต้องมีราคาที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ซึ่งปัจจุบันภาพรวมมือถือในไทยมีเครื่องที่รองรับ 3จี เพียง 26% ของมือถือทั้งหมด


พร้อมลงทุน "4จี" ในไทย

"ปีที่แล้วยอมรับว่า ดีแทค เผชิญกับความท้าทายมาก เพราะเป็นช่วงที่เปลี่ยนเทคโนโลยี 2จี เป็นโครงข่ายใหม่หมด ทำให้การใช้งานติดขัด แต่วันนี้เราพูดได้ 100% ว่าคุณภาพสัญญาณเราดีและทันสมัยที่สุด พร้อมๆ กับการลงทุน 3จีใหม่ที่เราทำตั้งแต่ตัวอุปกรณ์ หรือมือถือไตรเน็ตที่มีคุณภาพ แต่ราคาที่คนเข้าถึงได้ตั้งแต่หลัก 1,000-4,000 บาท ซึ่งทำให้ ดีแทค สามารถแข่งขันในตลาด 3จี ได้อย่างพร้อมที่สุด"

พร้อมกันนี้ บริษัทก็ยังเตรียมตัวสำหรับการลงทุน 4จี เมื่อตลาดไทยพร้อม โดยสนับสนุนสำหรับการนำคลื่น 1800 ไปทำเป็นบริการ 4จี ในอนาคตอันใกล้ ส่วนการประมูลทีวีดิจิทัลที่กำลังจะเกิดขึ้นในไทยนั้น ยังไม่อยู่ในความสนใจของบริษัท

ปัจจุบัน ดีแทค มีรายได้ต่อปีราว 1 แสนล้านบาท แซงหน้าตลาดในมาเลเซียที่มีรายได้ราว 6-7 หมื่นล้านบาท ส่วนตลาดในประเทศแม่ ทำรายได้เป็นอันดับสามของกลุ่ม






















______________________________________




'เทเลนอร์' รุกลงทุนเอเชีย ลุ้นคว้าสื่อสารพม่า 27 มิ.ย.


"เทเลนอร์" เปิดแผนลงทุนเอเชียชูงานใหญ่ชิงระบบสื่อสารพม่า รอลุ้นผล27มิ.ย. เชื่อทุกรายเตรียมตัวดี รับโจทย์หินดันระบบโทรคมเทียบชั้นไทยภายใน3ปี


วันที่ 27 มิ.ย. นี้ จะถึงกำหนดทราบผลประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการระบบสื่อสารในพม่า ซึ่ง "เทเลนอร์" ยักษ์สื่อสารจากบริษัทนอร์เวย์ และถือหุ้นใหญ่ บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ผู้ให้บริการมือถืออันดับ 2 ในไทย เป็นหนึ่งในผู้มีสิทธิชิงดำ

"นายซิคเว่ เบรคเก้" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท เทเลนอร์ เอเชีย ให้สัมภาษณ์พิเศษถึงความพร้อม และทิศทางการลงทุนใน "พม่า" ซึ่งนับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของเทเลนอร์ในการขยายตลาดสื่อสารในภูมิภาคนี้ รวมถึงไทย และประเทศอื่นๆ

นายซิคเว่ กล่าวว่า ไม่เกินสัปดาห์นี้บริษัทจะรู้ผลประมูลใบอนุญาตประกอบการกิจการระบบสื่อสารในพม่าที่บริษัทเป็น 1 ในอีก 11 บริษัทสื่อสารที่เข้ารอบสุดท้ายจากผู้สนใจเข้าประมูลทั้งหมดรอบแรก 92 บริษัททั่วโลก

ชี้การแข่งขัน "พม่า" ดุเดือด

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารเทเลนอร์ยังไม่มั่นใจ 100% ว่าจะเป็นผู้ชนะประมูลดังกล่าว เนื่องจากการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่างผู้เข้าประมูลที่ล้วนเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่แถวหน้าของโลก เช่น สิงเทล, ฟรานซ์ เทเลคอม, แอร์เทลจากอินเดีย รวมถึงพ่อมดการเงินระดับโลก "จอร์จ โซรอส" ที่จับมือกับค่ายดิจิเซลเข้าประมูลด้วย

นอกจากนี้ พม่ายังเป็นประเทศที่มีปัจจัยท้าทายมาก เพราะว่าเป็นประเทศสุดท้ายในโลกที่ประชากรยังไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้งานแพร่หลาย หรือในจำนวนประชากรราว 60 ล้านคน มีแค่ 5% เท่านั้นที่มีโทรศัพท์ใช้เทียบกับไทยที่มีสัดส่วนการใช้เกิน 100%

ทั้งนี้รัฐบาลพม่ายังตั้งเป้าหมายที่ต้องการมีระบบสื่อสารที่ครบเทียบเท่ากับไทยคือ มีทั้ง 2จี และ 3จี และอาจมองถึง 4จี ให้ได้ภายใน 2-3 ปีหลังจากประมูล ขณะที่ทั้งหมดนี้ไทยใช้เวลาพัฒนามากว่า 15 ปี

"พม่า เป็นประเทศปิดมานาน 40-50 ปี ซึ่งความท้าทายอย่างหนึ่ง ก็คือ มันไม่มีโครงข่ายพื้นฐานอะไรเลย ซิมการ์ดที่ขายกันตอนนี้ราคาแพงมาก หรือราว 5,000 บาท นอกจากนี้มีแค่ 26% ของประชากรเท่านั้นที่มีไฟฟ้าใช้ แต่รัฐบาลพม่าคาดหวังให้ผู้ชนะต้องดำเนินธุรกิจและพัฒนาระบบสื่อสารที่ครบเลย โดยตามเป้าหมายที่วางไว้คือ 60% ของคนพม่าจะต้องมีโทรศัพท์มือถือใช้ภายใน 3 ปี แต่แม้จะเป็นประเทศที่คล้ายไทยคือมีประชากรใกล้เคียงกัน ค่าบริการอาจต้องเริ่มจากราคาถูกมากๆ ก่อน เพราะรายได้ของคนพม่าค่อนข้างต่ำ"

เล็งลงทุนตลาดเกิดใหม่

อย่างไรก็ตาม ตามแผนการลงทุนนอกจากพม่า เทเลนอร์ก็ยังสนใจที่จะลงทุนในตลาดอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูง เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย รวมถึงเวียดนาม

นายซิคเว่ กล่าวว่า ตลาดโทรคมทั่วโลกที่ยังเติบโตอยู่ คือ เอเชียและแอฟริกาทำให้ทิศทางการลงทุนพุ่งเป้าในภูมิภาคดังกล่าวเป็นหลัก และคาดว่ารายได้จากภูมิภาคนี้จะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 5-10% ขณะที่ไทยซึ่งเป็นตลาดสำคัญหลังจากมี 3จีใช้งานอย่างเต็มรูปแบบก็น่าจะช่วยผลักดันรายได้ให้ดีแทคได้สูงขึ้นอีกหรือราว 8-10%

ส่วนบริการ 3จี ของ ดีแทค ในไทยจะเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนก.ค. นี้ ซึ่งจะเป็นกลุ่มลูกค้าในกรุงเทพฯ เป็นที่แรก และเริ่มขยายบริการไปยังเมืองใหญ่ๆ ตามจังหวัดต่างๆ ภายในปีนี้ ลูกค้าเดิมจะได้รับเอสเอ็มเอสสอบถามความต้องการใช้งาน 3จีใหม่ ซึ่งถ้าต้องการบริษัทจะดำเนินการไมเกรทให้ทันที ส่วนลูกค้าใหม่ก็สามารถซื้อซิมไตรเน็ตเพื่อใช้ 3จีดีแทคได้ทันทีเช่นกัน

ทั้งนี้ เหตุที่ล่าช้าส่วนหนึ่งเป็นเพราะปีที่ผ่านมา ดีแทค ทุ่มกับการยกเครื่องโครงข่าย 2จี ให้เป็นโครงข่ายใหม่ทั้งหมด ซึ่งก็จะทำให้ดีแทคมีสัญญาณให้บริการที่มีคุณภาพสูงสุด แต่ขณะเดียวกันบริษัทก็ยังคงอยู่ในกระบวนการลงทุนกับโครงข่าย 3จีควบคู่ไปด้วย

นอกจากนี้ ดีแทค ยังเชื่อว่า นอกจากโครงข่ายจะต้องพร้อมแล้ว การให้บริการ 3จีที่มีคุณภาพจะต้องประกอบด้วยปัจจัยแวดล้อมทั้งตัวเครื่องที่รองรับ 3จี ที่จะต้องมีราคาที่คนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ ซึ่งปัจจุบันภาพรวมมือถือในไทยมีเครื่องที่รองรับ 3จี เพียง 26% ของมือถือทั้งหมด

ทั้งยังต้องมีบริการรวมถึงแอพพลิเคชั่นที่ทำให้การใช้งาน 3จี ดูน่าตื่นเต้นและน่าใช้งานมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแทคกำลังเร่งผลักดัน

พร้อมลงทุน "4จี" ในไทย

"ปีที่แล้วยอมรับว่า ดีแทค เผชิญกับความท้าทายมาก เพราะเป็นช่วงที่เปลี่ยนเทคโนโลยี 2จี เป็นโครงข่ายใหม่หมด ทำให้การใช้งานติดขัด แต่วันนี้เราพูดได้ 100% ว่าคุณภาพสัญญาณเราดีและทันสมัยที่สุด พร้อมๆ กับการลงทุน 3จีใหม่ที่เราทำตั้งแต่ตัวอุปกรณ์ หรือมือถือไตรเน็ตที่มีคุณภาพ แต่ราคาที่คนเข้าถึงได้ตั้งแต่หลัก 1,000-4,000 บาท ซึ่งทำให้ ดีแทค สามารถแข่งขันในตลาด 3จี ได้อย่างพร้อมที่สุด"

พร้อมกันนี้ บริษัทก็ยังเตรียมตัวสำหรับการลงทุน 4จี เมื่อตลาดไทยพร้อม โดยสนับสนุนสำหรับการนำคลื่น 1800 ไปทำเป็นบริการ 4จี ในอนาคตอันใกล้ ส่วนการประมูลทีวีดิจิทัลที่กำลังจะเกิดขึ้นในไทยนั้น ยังไม่อยู่ในความสนใจของบริษัท

ปัจจุบัน ดีแทค มีรายได้ต่อปีราว 1 แสนล้านบาท แซงหน้าตลาดในมาเลเซียที่มีรายได้ราว 6-7 หมื่นล้านบาท ส่วนตลาดในประเทศแม่ ทำรายได้เป็นอันดับสามของกลุ่ม

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130625/513344/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B
8%A5%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-
%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%
B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2-
%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B
8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A1
%E0%B9%88%E0%B8%B2-27-%E0%B8%A1%E0%B8%B4.%E0%B8%A2..html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.