Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

17 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) สุภิญญา ชี้การลดสาระช่องข่าว จาก75 % เป็น 50 % อาจกระทบสิทธิการรับรู้ข่าวสารอย่างเต็มที่ของประชาชน // ฐากร ย้ำการประมูลครั้งนี้เน้นการครองสิทธิ์ข้ามสื่อตามมาตรา 31 พรบ.กสทช.


ประเด็นหลัก

นายฐากร กล่าวต่อว่า ประเด็นการครองสิทธิ์ข้ามสื่อนั้นเป็นการดำเนินการตามมาตรา 31 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 เพื่อป้องกันการผูกขาดและการครอบงำกิจการในลักษณะที่เป็นการจำกัดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ซึ่งปัจจุบันสื่อมีการผสมผสานกันแล้ว ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการกำกับการดูแลที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สาธารณะ และยืนยันว่าสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลได้อย่างแน่นอน และจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาตอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เห็นชอบความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ และระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่โทรทัศน์ และการคืนความถี่ที่ถือครองอยู่ในปัจจุบัน โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยหรือช่อง 11 จะเสนอแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการทีวีจากระบบอะนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลภายใน 5 ปี จากเดิม 10 ปี ส่วนสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จะเสนอแผนปรับเปลี่ยนทีวีจากระบบอะนาล็อกไปสู่ดิจิตอลภายใน 3 ปี แต่ปัจจุบันคลื่นความถี่ของไทยพีบีเอสจะสิ้นสุดในเดือนเม.ย.2557 ดังนั้นไทยพีบีเอส มีสิทธิ์ที่จะขอใช้คลื่นความถี่ไปจนกว่าการเปลี่ยนผ่านระบบทีวีดิจิตอลจะเสร็จสมบูรณ์ แต่ต้องไม่เกิน 3 ปี



น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า อยากให้สังคมจับตาในประเด็นการกำหนดหลักเกณฑ์เนื้อหา รูปแบบรายการ, การบริหารจัดการ และการหารายได้ และที่สำคัญ ความเป็นอิสระและเป็นกลาง ในส่วนของสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นให้ เช่น ช่องรัฐสภา เนื่องจากส่วนตัวมองว่าประเด็นดังกล่าวถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการปฏิรูปสื่อ นอกจากนั้นแล้วตามโจทย์ที่ กสทช. ต้องตอบให้ได้ อาทิ การจัดสรรคลื่ื่นเพื่อให้เกิดประโยชน์, การแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม และการคุ้มครองผู้บริโภค ขณะนี้หน่วยงานของ กสทช. ยังตอบโจทย์ไม่ได้ทั้งหมด อาทิ การเปิดให้มีการแข่งขันเสรี มีการสร้างเงื่อนไขให้วางเงินก่อนประมูล 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงินสด และไม่อนุญาตให้ธนาคารการันตี ทำให้ถูกมองเป็นการกีดกันผู้เข้าแข่งขันรายเล็กหรือไม่, การลดเนื้อหาข่าวในช่องข่าว จาก75 เปอร์เซ็นต์ เป็น 50 เปอร์เซ็นต์ อาจกระทบสิทธิการรับรู้ข่าวสารอย่างเต็มที่ของประชาชน



















______________________________________





กสทช.เคาะเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอล คาดดีเดย์ ต.ค.-พ.ย.


กสทช. ผ่านเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่อง คาด 2 สัปดาห์ประกาศมีผลบังคับใช้ ส่อแววเลื่อนเปิดประมูลเป็น ต.ค.-พ.ย.นี้ ให้นำข้อสังเกต ครองสิทธิ์ข้ามสื่อ-การจัดทำแผนการใช้คลื่นที่ทับซ้อนกันอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพ ยันสื่อสิ่งพิมพ์มีสิทธิ์ประมูลทีวีดิจิตอล...

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการทางธุรกิจระดับชาติ หรือการประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ 24 ช่อง โดยให้นำข้อสังเกตของกรรมการ กสทช. อาทิ การครองสิทธิ์ข้ามสื่อ การจัดทำแผนตาราง (Platform) การใช้คลื่นความถี่ระหว่างคลื่นโทรคมนาคมกับคลื่นวิทยุโทรทัศน์ที่ทับซ้อนกันให้เกิดความชัดเจน และใช้ประโยชน์คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพนำไปประกอบการพิจารณาด้วย จากนั้นจะนำร่างประกาศดังกล่าว ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับต่อไป คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า และจะเข้าสู่การประมูลทีวีดิจิตอลได้ในช่วง ต.ค.-พ.ย.2556

"การพิจารณาร่างประมูลดิจิตอลครั้งนี้ ด้วยมติ 8 ต่อ 3 โดย 3 เสียงขอสงวนความเห็น เพราะมีบางเรื่องเห็นด้วยและบางเรื่องไม่เห็นด้วย ได้แก่ นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ส่วนประเด็นการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ นายสุทธิพล ทวีชัยการ เป็นผู้หยิบมาหารือในที่ประชุม เนื่องจากมีกรรมาธิการหลายคนฝากถามประเด็นดังกล่าว ซึ่งบอร์ดก็ได้ฝากเป็นข้อสังเกตแล้ว แต่ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบ เนื่องจากจะมีการออกประกาศเพื่อกำกับการดูแลอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำร่างดังกล่าว คาดว่าจะมีความชัดเจนก่อนการประมูลทีวีดิจิตอลอย่างแน่นอน"

นายฐากร กล่าวต่อว่า ประเด็นการครองสิทธิ์ข้ามสื่อนั้นเป็นการดำเนินการตามมาตรา 31 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 เพื่อป้องกันการผูกขาดและการครอบงำกิจการในลักษณะที่เป็นการจำกัดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ซึ่งปัจจุบันสื่อมีการผสมผสานกันแล้ว ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการกำกับการดูแลที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สาธารณะ และยืนยันว่าสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอลได้อย่างแน่นอน และจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาตอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เห็นชอบความจำเป็นในการใช้คลื่นความถี่ และระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่โทรทัศน์ และการคืนความถี่ที่ถือครองอยู่ในปัจจุบัน โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยหรือช่อง 11 จะเสนอแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการทีวีจากระบบอะนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลภายใน 5 ปี จากเดิม 10 ปี ส่วนสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จะเสนอแผนปรับเปลี่ยนทีวีจากระบบอะนาล็อกไปสู่ดิจิตอลภายใน 3 ปี แต่ปัจจุบันคลื่นความถี่ของไทยพีบีเอสจะสิ้นสุดในเดือนเม.ย.2557 ดังนั้นไทยพีบีเอส มีสิทธิ์ที่จะขอใช้คลื่นความถี่ไปจนกว่าการเปลี่ยนผ่านระบบทีวีดิจิตอลจะเสร็จสมบูรณ์ แต่ต้องไม่เกิน 3 ปี

สำหรับการประมูลทีวีดิจิตอล 24 ช่อง แบ่งเป็น ประเภทวาไรตี้ทั่วไป ความคมชัดสูง (เอชดี) 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องๆ ละ 1,510 ล้านบาท เคาะครั้งละ 10 ล้านบาท ประเภทวาไรตี้ทั่วไป ความคมชัดมาตรฐานทั่วไป (เอสดี) 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 380 ล้านบาท เคาะครั้งละ 5 ล้านบาท ประเภทข่าวและสาระ 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 220 ล้าน เคาะราคาครั้งละ 2 ล้าน และประเภทเด็ก 3 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูล 140 ล้านบาท เคาะครั้งละ 2 ล้านบาท

นายฐากร กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับการทดลองการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง และร่างประกาศการใช้และเชื่อมต่อโครงข่าย หรือค่าไอซี โดยหลังจากนี้จะนำขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์ กสทช.เพื่อนำไปสู่การรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ในเร็วๆ นี้

ด้าน นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ขณะนี้คณะอนุกรรมการส่งเสริมแข่งขัน อยู่ระหว่างการออกประกาศการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ ว่าจะมีรายละเอียดลักษณะใดของการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ เช่น เจ้าของสื่อสิ่งพิมพ์มีสิทธิ์เป็นเจ้าของสื่อโทรทัศน์ แต่ไม่สิทธิ์เป็นเจ้าของสื่อวิทยุ หรือเป็นเจ้าของสิทธิ์สิ่งพิมพ์และวิทยุ แต่ไม่มีสิทธิ์ในกิจการโทรทัศน์ เป็นต้น ในลักษณะการเป็นเจ้าของกิจการสื่อเพียง 2 ใน 3 เท่านั้น ซึ่งจะเน้นการกำกับดูแลสำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น ส่วนรายละเอียดว่ารายใหญ่มีส่วนแบ่งการตลาดเท่าใดนั้น ก็ยังไม่ได้กำหนดแต่คาดว่าอยู่ในระดับมีส่วนแบ่งการตลาดไม่เกิน 40% สำหรับประกาศการถือหุ้นไขว้นั้น ก็ต้องดำเนินการเช่นกัน โดยคาดว่าทั้ง 2 ประกาศจะมีความชัดเจนใน 1-2 เดือนข้างหน้า ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จก่อนการประมูลทีวีดิจิตอล

"การออกร่างประกาศการห้ามครองสิทธิ์ข้ามสื่อ และการห้ามถือหุ้นไขว้นั้น เป็นไปตามกฎหมายมาตรา 31 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 เพื่อป้องกันการครอบงำในกิจการ เนื่องจากกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ มีผลต่อความคิดของประชาชน และสามารถชักจูงประชาชนได้ ฉะนั้นจึงต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด" นายธวัชชัย กล่าว.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/357765

___________________________________



กสทช.เตรียมออกร่างประกาศ ครองสิทธิ์ข้ามสื่อ


กสทช. เคาะร่างประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่อง ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา ลุยออกร่างประกาศกำกับ “ครองสิทธิ์ข้ามสื่อ ” ป้องกันผูกขาดหนังสือพิมพ์ ทำทีวีดิจิทัล เกินสัดส่วน
วันนี้(17ก.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.เปิดเผยว่าที่ประชุมเห็นชอบนำร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์  สำหรับการประมูลทีวีดิจิทัลในกลุ่มช่องธุรกิจ 24 ช่อง หรือ (หลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิทัล) นำไปลงประกาศราชกิจจานุเบกษา แตมีข้อสังเกตเรื่องการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ จึงเพิ่มร่างประกาศที่จะใช้กำกับดูแลการครองสิทธิ์ข้ามสื่อ ที่กำหนดสื่อหนังสือพิมพ์ห้ามถือครองทีวีดิจิทัล โดยดูสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อป้องกันการผูกขาดของสื่อมวลชน  โดยอ้างอิงจาก ม.31 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งคาดว่า จะสรุปร่างดังกล่าวให้บอร์ดกสทช.พิจารณา  คาดว่า จะเสร็จภายในปลายเดือนต.ค.56 ก่อนที่จะมีการประมูลทีวีดิจิทัลประมาณเดือนต.ค.- พ.ย.56


นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้นำร่าง กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ.... ไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) กำหนดเนื้อหารายการต้องห้าม อาทิ เนื้อหาล้มล้างการปกครองในระบบประชาธิปไตย เนื้อหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ เนื้อหาที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และ เนื้อหาที่เข้าลักษณะลามกอนาจารหรือความเสื่อมทรามทางจิตใจ หรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง


นายฐากร กล่าวว่า กสทช.ยังเห็นชอบให้ทั้ง 3 หน่วยงานเสนอแผนปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบกิจการโทรทัศน์ โดยช่อง 5 และช่อง 11 เสนอขอคืนคลื่นอนาล็อกภายในระยะเวลา 5 ปี เพื่อทำโทรทัศน์ดิจิทัล บริการสาธารณะประเภทที่ 2 สำหรับความมั่นคงและความปลอดภัย  และบริการสาธารณะประเภทที่ 3 สำหรับความมั่นคงรัฐบาลและประชาชน และรัฐสภาและประชาชน  ส่วนช่องไทยพีบีเอส มีระยะเวลาครองคลื่นเกือบ 2 ปี ซึ่งไทยพีบีเอสทำสัญญาต่อได้แต่ต้องไม่เกิน 5 ปี และต่ออายุสัญญาได้ครั้งละ 1 ปี

http://www.dailynews.co.th/technology/219760


_______________________________________



ห่วงทีวีดิจิทัลไร้คุณภาพ จี้กสทช.คุม

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

องค์กรประชาชนห่วงทีวีดิจิทัลไม่มีคุณภาพ จี้กสทช.ออกหลักเกณฑ์ควบคุม "สุภิญญา-นักวิชาการ" หนุนออกหลักเกณฑ์คุมสาระสื่อรัฐ


คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา จัดเสวนา เรื่อง ประโยชน์สาธารณะจากการจัดสรรคลื่นความถี่ในกิจการทีวีดิจิทัล เพื่อรับฟังความเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และทำรายงานเสนอที่ประชุมวุฒิสภารวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนักวิชาการและตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเสวนาโดย น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า อยากให้สังคมจับตาในประเด็นการกำหนดหลักเกณฑ์เนื้อหา รูปแบบรายการ, การบริหารจัดการ และการหารายได้ และที่สำคัญ ความเป็นอิสระและเป็นกลาง ในส่วนของสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับการจัดสรรคลื่นให้ เช่น ช่องรัฐสภา เนื่องจากส่วนตัวมองว่าประเด็นดังกล่าวถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการปฏิรูปสื่อ นอกจากนั้นแล้วตามโจทย์ที่ กสทช. ต้องตอบให้ได้ อาทิ การจัดสรรคลื่ื่นเพื่อให้เกิดประโยชน์, การแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม และการคุ้มครองผู้บริโภค ขณะนี้หน่วยงานของ กสทช. ยังตอบโจทย์ไม่ได้ทั้งหมด อาทิ การเปิดให้มีการแข่งขันเสรี มีการสร้างเงื่อนไขให้วางเงินก่อนประมูล 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงินสด และไม่อนุญาตให้ธนาคารการันตี ทำให้ถูกมองเป็นการกีดกันผู้เข้าแข่งขันรายเล็กหรือไม่, การลดเนื้อหาข่าวในช่องข่าว จาก75 เปอร์เซ็นต์ เป็น 50 เปอร์เซ็นต์ อาจกระทบสิทธิการรับรู้ข่าวสารอย่างเต็มที่ของประชาชน

"ในวันที่ 17 ก.ค. กสทช. ชุดใหญ่จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาร่างประกาศการกำหนดหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัล ขอให้สังคมช่วยจับตาโดยเฉพาะการกำหนดหลักเกณฑ์ที่สำคัญ ทั้งนี้ส่วนตัวมองว่าการดำเนินการของ กสทช. ในเรื่องนี้ และการปฏิรูปสื่อช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อมีภาวะล้มเหลว" น.ส.สุภิญญา กล่าว

ด้าน ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอร์นิเตอร์ ฐานะคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณา ศึกษา ติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิและเสรีภาพ ในคณะกมธ.สิทธิมนุษยชนฯ กล่าวว่า จากโครงสร้างของกรรมการ กสทช. ที่ส่วนใหญ่เป็นอดีตนายทหาร จากการทำงานที่ผ่านมาพบว่าทหารไม่ได้ปฏิรูปสื่ออย่างแท้จริง นอกจากนั้นแล้วในกระบวนการประมูลทีวีดิจิทัลขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน

"ไม่เคยคิดว่า การปฎิรูปสื่อรอบนี้จะทำให้เกิดช่อง11 คูณ 12 แม้จะมีคุณสุภิญญาเข้าไปทำหน้าที่แต่ก็เอาไม่อยู่ และไม่เคยคิดว่ากระทรวง ทบวง กรม จะเข้ามาเป็นสื่อสารมวลชนเสียเอง ถ้าอนาคตกระทรวงสาธารณสุขที่ให้บริการด้านสาธารณสุขกับประชาชนจะตัดงบส่วนดังกล่าวเพื่อมาทำงานด้านสื่อสารมวลชนหรือไม่" ดร.เอื้อจิต กล่าว


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130716/517722/%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E
0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0
%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%
B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-
%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%B8%84%
E0%B8%B8%E0%B8%A1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.