23 กรกฎาคม 2556 แหล่งข่าวอ้าง!! กรณีคลื่น 1800 CATอาจใช้ศาลตัดสิน ยืนอายุถึงปี2568โดยใช้มติครม. ( ซึ่งเป็นที่รู้กันดี2G ยังมีลูกค้าจำนวนมากหลายสิบล้านเลขหมาย ไม่ต้องหาลูกค้าใหม่กำไรทั้งนั้น)
ประเด็นหลัก
แหล่งข่าวในวงการโทรคมวิเคราะห์ไว้น่าสนใจว่า ประเด็นสำคัญวันนี้ คือ สิทธิในการใช้ความถี่ 1800 MHz มีความเห็นที่ต่างกัน 2 ฝ่าย ด้านกสทช.ต้องการนำความถี่มาประมูลทันทีหลังพ้นระยะเวลาเยียวยา 1 ปี แต่กสทต้องการสิทธิในการบริหารจัดการจนถึงปี 2568 มีความเป็นไปได้สูงที่ข้อโต้แย้งเรื่องนี้จะไปจบที่ศาลหรือกระบวนการยุติธรรม นั่นหมายถึง ในช่วงที่ใกล้พ้นกำหนด 1 ปีของการเยียวยา หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น และมีการคุ้มครองตามกฎหมาย ผู้ให้บริการในช่วงเยียวยาก็สามารถให้บริการต่อเนื่องตราบเท่าที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินออกมา
ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในอุตสาหกรรมมือถือว่าบริการ 2G ยังมีลูกค้าจำนวนมากหลายสิบล้านเลขหมาย ถึงใช้บริการคงสิทธิเลขหมายย้ายค่าย แต่เชื่อว่าต้องมีลูกค้าไม่น้อยกว่า 20% ที่ไม่ย้ายไปไหนเพราะไม่อยากยุ่งยากเปลี่ยนมือถือใหม่เพื่อมาใช้ 3Gผู้ให้บริการในช่วงนั้นสามารถตักตวงผลกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ เพราะต้นทุนที่จ่ายให้รัฐลดลงไปมาก และไม่จำเป็นต้องขยายโครงข่ายเป็นหมื่นล้านบาท เพราะไม่ต้องหาลูกค้าใหม่เพียงแค่ดูแลลูกค้าเก่าเท่านั้น
ในมุมเอกชนที่เดิมเคยคิดว่าสัมปทานสิ้นสุดก็หมดเวลาให้บริการ โครงสร้างการเงินที่เคยคำนวณไว้ตอนแรก ต้องคาดไม่ถึงว่าจะได้โบนัสแถมมาอีกน้อยๆ 1 ปีในช่วงเยียวยาและอาจจะอีกหลายปีหากเกิดการฟ้องร้องสำหรับทรูมูฟที่ลูกค้ามากถึง 17 ล้านรายก็อาจไม่จำเป็นต้องรีบย้ายลูกค้าออก เพราะมีโบนัสจาก กสทช.แถมให้ อาจมากพอประมูลความถี่ 1800 MHz และเหลือเงินติดกระเป๋าด้วยซ้ำ
คนที่จะตกเป็นเหยื่อของเกมยื้อความถี่ครั้งนี้ อาจจะเป็นค่ายมือถือที่เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าจะประมูลความถี่ 1800 MHz ราวไตรมาส 4 ปี 2557 ได้จริง เพราะในร่างเยียวยาไม่มีสักบรรทัดที่จะมั่นใจได้ว่าจะประมูลเมื่อไหร่ หรือ กสทช.ทั้งที่รู้ว่าสัมปทาน 1800 MHz จะสิ้นสุดลงในวันที่15 ก.ย.นี้ตั้งแต่วันแรกที่นั่งเก้าอี้กสทช.ราวๆ 2 ปีก่อนหน้านี้ แต่ก็ลุกลี้ลุกลนเพิ่งมาแก้ปัญหาช่วงปลายมือ และยังจัดทำร่างประกาศเยียวยาที่ดูเหมือนเยียวยาผู้ประกอบการมากกว่าผู้ใช้บริการ ทั้งๆที่มีทางเลือกมากมายก่อนหน้าแต่ไม่ทำ หรือ บางค่ายมือถือที่ได้ประโยชน์หากลากยาวการประมูลความถี่ 1800 MHz ออกไปให้นานเท่านานเพราะปิดกั้นคู่แข่งเรื่อง 4G LTE หรือ รัฐวิสาหกิจอย่างทีโอทีและกสท ที่ในสายตาแก้วสรร อติโพธิ เห็นว่าเป็นแค่เหลือบทางเศรษฐกิจอาศัยส่วนแบ่งสัมปทานเลี้ยงชีพ หรือ ผู้บริโภค ที่ไม่มีแม้แต่หลักประกันว่าจะได้ประโยชน์อะไรในเกมนี้ ไม่มีแม้กระทั่งคำมั่นว่าควรลดค่าบริการเพราะต้นทุนให้บริการลดลง
______________________________________
'เหยื่อ' เกมชิง 1800 MHz !?!(Cyber Weekend)
25 ก.ค.ที่จะถึงนี้ กสทช.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... หรือ ร่างเยียวยา 1800 MHz เนื่องจากทรูมูฟ และดีพีซี ที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือในย่านความถี่ 1800 MHzหรือเรียกง่ายๆว่าสัมปทาน 2G จะหมดสัญญาในวันที่ 15 ก.ย.56 หรืออีกไม่ถึง 2 เดือน
ขั้นตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นแค่พิธีกรรม ทำให้จบตามกระบวนการเท่านั้น เพราะแต่ละฝ่ายที่มีส่วนได้เสียมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว อย่าง กสทช.โต้โผใหญ่ จะให้บริษัท กสท โทรคมนาคมเจ้าของสัมปทานหรือเอกชนรายเดิมให้บริการต่อในช่วงเยียวยาแล้วแต่ตกลงกันเอง แต่หากตกลงไม่ได้กสทช.มีแนวโน้มสูงที่จะให้เอกชนรายเดิมให้บริการต่อ 1 ปี ด้วยต้นทุนที่ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ค่า USO รวมกันแล้วไม่น่าเกิน 6% บวกกับค่าเช่าโครงข่าย ที่ต้องเช่าจากกสทจำนวนหนึ่ง รวมกันแล้วต่ำกว่าที่เอกชนเคยจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐที่ 30% แน่นอนเด็ดขาด เพราะกสทช.เกรงว่าหากเอกชนจ่ายเท่าเดิมจะเป็นการต่อสัญญาที่ส่อผิดกฎหมาย หลังจากนั้นกสทช.จะนำความถี่ 1800 MHz มาประมูลในราวไตรมาส 4 ปี 2557
ด้านดีพีซีในเครือเอไอเอส เนื่องจากมีลูกค้าค้างในระบบแค่ 8 หมื่นราย ก็พร้อมทำตามเงื่อนไขทุกอย่างรวมทั้งพร้อมจ่ายให้รัฐ 30% เพราะต้องการประมูลความถี่ 1800 MHz ให้เร็วที่สุดเพื่อนำมาให้บริการ 4G LTE ,ทรูมูฟที่มีฐานลูกค้ามากถึง 17 ล้านราย ก็มีความต้องการดูแลลูกค้าต่อ ด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าที่เคยจ่ายในระบบสัมปทาน และพร้อมร่วมประมูลความถี่ 1800 MHZส่วนกสท มีท่าทีแข็งกร้าว เพราะเดินเกมยืมมือกระทรวงไอซีทีและคณะรัฐมนตรีขอใช้ความถี่ต่อจนถึงปี 2568
***กสทอาสาดูแลลูกค้า 1800 MHz
กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสทยืนยันแล้วว่าในช่วงเวลาเยียวยา1ปี ที่กสทช.ออกร่างประกาศฯมานั้น กสท ต้องการนำคลื่นดังกล่าวมาบริหารเองเหมือนเดิม โดย กสท จะใช้วิธีจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาช่วยซึ่งอาจจะจ้างดีพีซีหรือทรูมูฟก็เป็นได้ทั้ง 2ทาง แต่กสทก็ต้องไปทำข้อตกลงเรื่องราคาการว่าจ้างกับเอกชนก่อน พร้อมทั้ง กสท ก็จะเดินหน้าตามแผนเดิมที่เสนอให้กระทรวงไอซีทีในการขอใช้สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ต่อภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน โดยต้องการขออนุญาตใช้ความถี่ 1800 MHz ต่อไปถึงปี 2568
โดยกสท อ้างว่าตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 80 ระบุว่า การประกอบกิจการโทรคมนาคมของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 79 ถ้าหน่วยงานดังกล่าวได้มีการให้อนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาแก่ผู้ใดเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมฯ อยู่แล้วก่อนวันที่กฏหมายนี้ใช้บังคับ ให้ผู้ได้รับอนุญาต ยังคงมีสิทธิประกอบกิจการโทรคมฯตามขอบเขตและสิทธิที่มีอยู่เดิมตามที่ได้รับอนุญาต จนกว่าการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจะสิ้นสุดลง
ในกรณี ทรูมูฟ และดีพีซี เป็นผู้มีสิทธิประกอบกิจการที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 กันยายน 2556 นั้น การดำเนินการใดๆ ที่มีผลเป็นการขยายสิทธิในการประกอบกิจการ ให้แก่ ทรูมูฟ และดีพีซี ไม่สามารถทำได้เพราะขัดแย้ง มาตรา80 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ซึ่งหากทรูมูฟ และดีพีซี ต้องการที่จะให้บริการต่อไปจะต้องขอใบอนุญาตตามมาตรา 7 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544ก่อน
ขณะเดียวกัน มาตรา 84 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุว่า ความในมาตรา 46 ไม่ให้บังคับกับรัฐวิสาหกิจที่นำความถี่ ที่ได้รับจัดสรรไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาตสัมปทาน และให้ผู้ได้รับอนุญาต ประกอบกิจการต่อไปได้เฉพาะช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามการอนุญาต สัมปทาน โดยมาตรา 46 ระบุว่า ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมฯต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นประกอบกิจการแทนไม่ได้ ซึ่งในกรณีที่มีการใช้คลื่นความถี่โดยมอบการบริหารทั้งหมดหรือบางส่วนให้ผู้อื่นบริหารจัดการแทนไม่ได้เพราะเป็นการขัดต่อมาตรา 46
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า กสท ต้องได้บริหารคลื่นความถี่ต่อภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานพร้อมทั้งยังเป็นการนำข้อกฏหมายมาปิดทางคู่สัญญาอย่าง ทรูมูฟ และดีพีซีที่ต้องการดูแลลูกค้าเองเช่นเดียวกัน ว่าในเมื่อหมดสัญญาก็ต้องหมดสิทธิที่จะใช้คลื่นความถี่ตามไปด้วยเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ในช่วงหลังพ้นระยะเยียวยา 1 ปี กสทยังระบุขออนุญาตใช้งานความถี่ต่อไป แบ่งเป็นความถี่ จำนวน 12.5 MHz ของทรูมูฟ จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2568 ส่วนความถี่จำนวน 12.5 MHz ของดีพีซีจะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2559 รวมถึงความถี่จำนวน 25 MHz ของดีแทค ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน และจะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 ซึ่ง กสท จะขอใช้งานต่อไปจนถึงปี 2568 โดยอ้างมาตรา 82, 83 และ 84 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในบทเฉพาะกาลที่บัญญัติเกี่ยวกับเหตุแห่งความจำเป็น และสิทธิในการบริหารต่อไป ซึ่งยืนยันว่าในรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลเขียนไว้ชัดเจน เกี่ยวกับการให้บริหารต่อไปได้หลังหมดสัมปทาน
***'แก้วสรร' ย้ำไม่ได้ต่อสัมปทาน
แก้วสรร อติโพธิ ประธานคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ออกมาระบุชัดเจนว่า กสทช. มีหน้าที่ตามกฏหมายที่ต้องดำเนินการใช้มาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่เหลืออยู่หลังสัมปทานคลื่น 1800 MHz สิ้นสุดลง ซึ่งการออกร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือสัญญาให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... นั้นอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553และมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544
ส่วนสุดท้ายใครจะมีหน้าที่ดูแลลูกค้าต่อไปนั้นร่างเยียวยา 1800 MHz ระบุเอาไว้ว่า ให้เอกชนกับรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ร่วมกันแล้วไปเจรจาตกลงกันเองว่าจะใช้โครงสร้างใดในการให้บริการ เช่น ให้เอกชนเช่าใช้โครงข่ายหรือจะโอนลูกค้ามาให้รัฐวิสาหกิจเข้าเป็นคู่สัญญาแทน ส่วนเอกชนก็เป็นผู้รับเหมารับงานบริการและการตลาดไปทำอีกส่วนหนึ่งโดย กสทช.จะไม่เข้าไปกำหนดว่าจะต้องเป็นรูปแบบใดซึ่งจะต้องสรุปรูปแบบการให้บริการหลังจากประชาพิจารณ์แล้ว 60 วัน
'ขอย้ำว่าไม่ได้เป็นการต่ออายุสัมปทาน และไม่ใช่เป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ตามมาตรา 45 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯแต่เป็นการกำกับดูแลเพื่อไม่ให้ผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบจากกรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทานเท่านั้น'
พร้อมทั้งยังชี้แจงในประเด็นค่าธรรมเนียมภายหลังหมดสัญญาสัมปทานว่าร่างประกาศฯ ดังกล่าว ระบุว่าผู้ที่มีหน้าที่ดูแลลูกค้าต่อไปอีก1ปีจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาต2% ,ค่ากองทุนพัฒนาโทรคมนาคมให้ทั่วถึง(USO) 3.75% และค่าคลื่นความถี่แทนที่จะต้องจ่ายอัตรา 30% ตามสัญญาสัมปทานเดิม
'พอกันทีกับคำว่าสัมปทานควรจะหายไปจากโลกได้แล้ว อย่ามาเอาอัตรา 30% ตามสัญญาสัมปทานเดิมมาเทียบกับค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บใหม่ในครั้งนี้เลย โดยเฉพาะรัฐควรเลิกสักทีการเป็นเห็บของเศรษฐกิจที่คอยรับค่าต๋งจากบริษัทเอกชนไปวันๆ'
*** ดีพีซีหนุนกสทช.พร้อมจ่าย 30% เท่าเดิม
สมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหารอินทัช บริษัทแม่ของเอไอเอสและดีพีซี ให้ความเห็นก่อนหน้านี้ว่าไม่ว่าจะให้ กสท เป็นผู้ให้บริการแล้วมาจ้างดีพีซีดูแลลูกค้า หรือท้ายสุดจะให้ดีพีซีเป็นผู้ให้บริการ ดีพีซีก็พร้อมที่จะจ่ายส่วนแบ่งให้รัฐอย่างน้อย 30% ของรายได้เช่นเดิม
'เราไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมเอกชนจะไม่สมควรจ่าย 30% เท่าเดิมให้รัฐ แต่รัฐในที่นี้ไม่ได้หมายถึง กสท แต่คือประเทศชาติ'
นอกจากนี้ส่วนตัวยังรู้สึกไม่เห็นด้วยกับท่าทีของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ที่พยายามนำเรื่อง กสท ขอใช้ความถี่ 1800 MHz ต่อไปเข้าที่ประชุม ครม.เพื่อให้ความเห็นชอบ เพราะเห็นว่าควรเคารพกฎกติกาในเรื่องการนำความถี่มาจัดสรรด้วยวิธีการประมูล ตามกฎหมายที่กำหนดไว้มากกว่ายื้อเรื่องเวลา เนื่องจาก กสทช.ก็กำลังดำเนินการออกประกาศเพื่อผ่อนปรนในเรื่องระยะเวลาการโอนย้าย ลูกค้า 1800 MHz ออกจากระบบ รวมทั้ง กสทช.ยังให้คนที่ประมูลความถี่ 1800 MHz ได้ต้องดูแลลูกค้าต่อไปด้วย
'สิ่งที่ผมเป็นกังวลหลังหมดระยะเวลาเยียวยา 1 ปีคือ ความเห็นที่แตกต่างในเรื่องการถือครองความถี่ ในขณะที่ กสท ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงไอซีทีคิดว่าตัวเองมีอำนาจตามกฎหมายที่จะใช้ ความถี่ต่อ กับ กสทช.มีกฎหมายให้อำนาจจัดสรรความถี่ด้วยการประมูล เมื่อความเห็นไม่ตรงกันคงต้องมีการฟ้องศาลปกครอง ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นกระบวนการทุกอย่างต้องหยุดหมด รวมทั้งการประมูลความถี่ 1800 MHz ด้วย'
แหล่งข่าวในวงการโทรคมวิเคราะห์ไว้น่าสนใจว่า ประเด็นสำคัญวันนี้ คือ สิทธิในการใช้ความถี่ 1800 MHz มีความเห็นที่ต่างกัน 2 ฝ่าย ด้านกสทช.ต้องการนำความถี่มาประมูลทันทีหลังพ้นระยะเวลาเยียวยา 1 ปี แต่กสทต้องการสิทธิในการบริหารจัดการจนถึงปี 2568 มีความเป็นไปได้สูงที่ข้อโต้แย้งเรื่องนี้จะไปจบที่ศาลหรือกระบวนการยุติธรรม นั่นหมายถึง ในช่วงที่ใกล้พ้นกำหนด 1 ปีของการเยียวยา หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น และมีการคุ้มครองตามกฎหมาย ผู้ให้บริการในช่วงเยียวยาก็สามารถให้บริการต่อเนื่องตราบเท่าที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินออกมา
ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในอุตสาหกรรมมือถือว่าบริการ 2G ยังมีลูกค้าจำนวนมากหลายสิบล้านเลขหมาย ถึงใช้บริการคงสิทธิเลขหมายย้ายค่าย แต่เชื่อว่าต้องมีลูกค้าไม่น้อยกว่า 20% ที่ไม่ย้ายไปไหนเพราะไม่อยากยุ่งยากเปลี่ยนมือถือใหม่เพื่อมาใช้ 3Gผู้ให้บริการในช่วงนั้นสามารถตักตวงผลกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ เพราะต้นทุนที่จ่ายให้รัฐลดลงไปมาก และไม่จำเป็นต้องขยายโครงข่ายเป็นหมื่นล้านบาท เพราะไม่ต้องหาลูกค้าใหม่เพียงแค่ดูแลลูกค้าเก่าเท่านั้น
ในมุมเอกชนที่เดิมเคยคิดว่าสัมปทานสิ้นสุดก็หมดเวลาให้บริการ โครงสร้างการเงินที่เคยคำนวณไว้ตอนแรก ต้องคาดไม่ถึงว่าจะได้โบนัสแถมมาอีกน้อยๆ 1 ปีในช่วงเยียวยาและอาจจะอีกหลายปีหากเกิดการฟ้องร้องสำหรับทรูมูฟที่ลูกค้ามากถึง 17 ล้านรายก็อาจไม่จำเป็นต้องรีบย้ายลูกค้าออก เพราะมีโบนัสจาก กสทช.แถมให้ อาจมากพอประมูลความถี่ 1800 MHz และเหลือเงินติดกระเป๋าด้วยซ้ำ
คนที่จะตกเป็นเหยื่อของเกมยื้อความถี่ครั้งนี้ อาจจะเป็นค่ายมือถือที่เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าจะประมูลความถี่ 1800 MHz ราวไตรมาส 4 ปี 2557 ได้จริง เพราะในร่างเยียวยาไม่มีสักบรรทัดที่จะมั่นใจได้ว่าจะประมูลเมื่อไหร่ หรือ กสทช.ทั้งที่รู้ว่าสัมปทาน 1800 MHz จะสิ้นสุดลงในวันที่15 ก.ย.นี้ตั้งแต่วันแรกที่นั่งเก้าอี้กสทช.ราวๆ 2 ปีก่อนหน้านี้ แต่ก็ลุกลี้ลุกลนเพิ่งมาแก้ปัญหาช่วงปลายมือ และยังจัดทำร่างประกาศเยียวยาที่ดูเหมือนเยียวยาผู้ประกอบการมากกว่าผู้ใช้บริการ ทั้งๆที่มีทางเลือกมากมายก่อนหน้าแต่ไม่ทำ หรือ บางค่ายมือถือที่ได้ประโยชน์หากลากยาวการประมูลความถี่ 1800 MHz ออกไปให้นานเท่านานเพราะปิดกั้นคู่แข่งเรื่อง 4G LTE หรือ รัฐวิสาหกิจอย่างทีโอทีและกสท ที่ในสายตาแก้วสรร อติโพธิ เห็นว่าเป็นแค่เหลือบทางเศรษฐกิจอาศัยส่วนแบ่งสัมปทานเลี้ยงชีพ หรือ ผู้บริโภค ที่ไม่มีแม้แต่หลักประกันว่าจะได้ประโยชน์อะไรในเกมนี้ ไม่มีแม้กระทั่งคำมั่นว่าควรลดค่าบริการเพราะต้นทุนให้บริการลดลง
แต่ในเมื่อเป็นร่างประกาศฯที่จำเป็นต้องปฎิบัติเหมือนกันหมดไม่ใช่เฉพาะแค่ทรูมูฟกับดีพีซี แต่เอไอเอสที่ฐานลูกค้ามากกว่า 30 ล้านรายในย่านความถี่ 900 MHzย่อมได้อานิสงส์ไปด้วย ใครจะคาดไปถึงว่าอดีตคตส.ที่ไล่ล่าล้างระบอบทักษิณ สุดท้ายก็ทำเรื่องเอื้อประโยชน์เอไอเอสจนได้
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000088171
แหล่งข่าวในวงการโทรคมวิเคราะห์ไว้น่าสนใจว่า ประเด็นสำคัญวันนี้ คือ สิทธิในการใช้ความถี่ 1800 MHz มีความเห็นที่ต่างกัน 2 ฝ่าย ด้านกสทช.ต้องการนำความถี่มาประมูลทันทีหลังพ้นระยะเวลาเยียวยา 1 ปี แต่กสทต้องการสิทธิในการบริหารจัดการจนถึงปี 2568 มีความเป็นไปได้สูงที่ข้อโต้แย้งเรื่องนี้จะไปจบที่ศาลหรือกระบวนการยุติธรรม นั่นหมายถึง ในช่วงที่ใกล้พ้นกำหนด 1 ปีของการเยียวยา หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น และมีการคุ้มครองตามกฎหมาย ผู้ให้บริการในช่วงเยียวยาก็สามารถให้บริการต่อเนื่องตราบเท่าที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินออกมา
ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในอุตสาหกรรมมือถือว่าบริการ 2G ยังมีลูกค้าจำนวนมากหลายสิบล้านเลขหมาย ถึงใช้บริการคงสิทธิเลขหมายย้ายค่าย แต่เชื่อว่าต้องมีลูกค้าไม่น้อยกว่า 20% ที่ไม่ย้ายไปไหนเพราะไม่อยากยุ่งยากเปลี่ยนมือถือใหม่เพื่อมาใช้ 3Gผู้ให้บริการในช่วงนั้นสามารถตักตวงผลกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ เพราะต้นทุนที่จ่ายให้รัฐลดลงไปมาก และไม่จำเป็นต้องขยายโครงข่ายเป็นหมื่นล้านบาท เพราะไม่ต้องหาลูกค้าใหม่เพียงแค่ดูแลลูกค้าเก่าเท่านั้น
ในมุมเอกชนที่เดิมเคยคิดว่าสัมปทานสิ้นสุดก็หมดเวลาให้บริการ โครงสร้างการเงินที่เคยคำนวณไว้ตอนแรก ต้องคาดไม่ถึงว่าจะได้โบนัสแถมมาอีกน้อยๆ 1 ปีในช่วงเยียวยาและอาจจะอีกหลายปีหากเกิดการฟ้องร้องสำหรับทรูมูฟที่ลูกค้ามากถึง 17 ล้านรายก็อาจไม่จำเป็นต้องรีบย้ายลูกค้าออก เพราะมีโบนัสจาก กสทช.แถมให้ อาจมากพอประมูลความถี่ 1800 MHz และเหลือเงินติดกระเป๋าด้วยซ้ำ
คนที่จะตกเป็นเหยื่อของเกมยื้อความถี่ครั้งนี้ อาจจะเป็นค่ายมือถือที่เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าจะประมูลความถี่ 1800 MHz ราวไตรมาส 4 ปี 2557 ได้จริง เพราะในร่างเยียวยาไม่มีสักบรรทัดที่จะมั่นใจได้ว่าจะประมูลเมื่อไหร่ หรือ กสทช.ทั้งที่รู้ว่าสัมปทาน 1800 MHz จะสิ้นสุดลงในวันที่15 ก.ย.นี้ตั้งแต่วันแรกที่นั่งเก้าอี้กสทช.ราวๆ 2 ปีก่อนหน้านี้ แต่ก็ลุกลี้ลุกลนเพิ่งมาแก้ปัญหาช่วงปลายมือ และยังจัดทำร่างประกาศเยียวยาที่ดูเหมือนเยียวยาผู้ประกอบการมากกว่าผู้ใช้บริการ ทั้งๆที่มีทางเลือกมากมายก่อนหน้าแต่ไม่ทำ หรือ บางค่ายมือถือที่ได้ประโยชน์หากลากยาวการประมูลความถี่ 1800 MHz ออกไปให้นานเท่านานเพราะปิดกั้นคู่แข่งเรื่อง 4G LTE หรือ รัฐวิสาหกิจอย่างทีโอทีและกสท ที่ในสายตาแก้วสรร อติโพธิ เห็นว่าเป็นแค่เหลือบทางเศรษฐกิจอาศัยส่วนแบ่งสัมปทานเลี้ยงชีพ หรือ ผู้บริโภค ที่ไม่มีแม้แต่หลักประกันว่าจะได้ประโยชน์อะไรในเกมนี้ ไม่มีแม้กระทั่งคำมั่นว่าควรลดค่าบริการเพราะต้นทุนให้บริการลดลง
______________________________________
'เหยื่อ' เกมชิง 1800 MHz !?!(Cyber Weekend)
25 ก.ค.ที่จะถึงนี้ กสทช.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างประกาศ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือสัญญาให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... หรือ ร่างเยียวยา 1800 MHz เนื่องจากทรูมูฟ และดีพีซี ที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือในย่านความถี่ 1800 MHzหรือเรียกง่ายๆว่าสัมปทาน 2G จะหมดสัญญาในวันที่ 15 ก.ย.56 หรืออีกไม่ถึง 2 เดือน
ขั้นตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นแค่พิธีกรรม ทำให้จบตามกระบวนการเท่านั้น เพราะแต่ละฝ่ายที่มีส่วนได้เสียมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว อย่าง กสทช.โต้โผใหญ่ จะให้บริษัท กสท โทรคมนาคมเจ้าของสัมปทานหรือเอกชนรายเดิมให้บริการต่อในช่วงเยียวยาแล้วแต่ตกลงกันเอง แต่หากตกลงไม่ได้กสทช.มีแนวโน้มสูงที่จะให้เอกชนรายเดิมให้บริการต่อ 1 ปี ด้วยต้นทุนที่ประกอบด้วยค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ค่า USO รวมกันแล้วไม่น่าเกิน 6% บวกกับค่าเช่าโครงข่าย ที่ต้องเช่าจากกสทจำนวนหนึ่ง รวมกันแล้วต่ำกว่าที่เอกชนเคยจ่ายค่าสัมปทานให้รัฐที่ 30% แน่นอนเด็ดขาด เพราะกสทช.เกรงว่าหากเอกชนจ่ายเท่าเดิมจะเป็นการต่อสัญญาที่ส่อผิดกฎหมาย หลังจากนั้นกสทช.จะนำความถี่ 1800 MHz มาประมูลในราวไตรมาส 4 ปี 2557
ด้านดีพีซีในเครือเอไอเอส เนื่องจากมีลูกค้าค้างในระบบแค่ 8 หมื่นราย ก็พร้อมทำตามเงื่อนไขทุกอย่างรวมทั้งพร้อมจ่ายให้รัฐ 30% เพราะต้องการประมูลความถี่ 1800 MHz ให้เร็วที่สุดเพื่อนำมาให้บริการ 4G LTE ,ทรูมูฟที่มีฐานลูกค้ามากถึง 17 ล้านราย ก็มีความต้องการดูแลลูกค้าต่อ ด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าที่เคยจ่ายในระบบสัมปทาน และพร้อมร่วมประมูลความถี่ 1800 MHZส่วนกสท มีท่าทีแข็งกร้าว เพราะเดินเกมยืมมือกระทรวงไอซีทีและคณะรัฐมนตรีขอใช้ความถี่ต่อจนถึงปี 2568
***กสทอาสาดูแลลูกค้า 1800 MHz
กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสทยืนยันแล้วว่าในช่วงเวลาเยียวยา1ปี ที่กสทช.ออกร่างประกาศฯมานั้น กสท ต้องการนำคลื่นดังกล่าวมาบริหารเองเหมือนเดิม โดย กสท จะใช้วิธีจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาช่วยซึ่งอาจจะจ้างดีพีซีหรือทรูมูฟก็เป็นได้ทั้ง 2ทาง แต่กสทก็ต้องไปทำข้อตกลงเรื่องราคาการว่าจ้างกับเอกชนก่อน พร้อมทั้ง กสท ก็จะเดินหน้าตามแผนเดิมที่เสนอให้กระทรวงไอซีทีในการขอใช้สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ต่อภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน โดยต้องการขออนุญาตใช้ความถี่ 1800 MHz ต่อไปถึงปี 2568
โดยกสท อ้างว่าตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 80 ระบุว่า การประกอบกิจการโทรคมนาคมของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 79 ถ้าหน่วยงานดังกล่าวได้มีการให้อนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาแก่ผู้ใดเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมฯ อยู่แล้วก่อนวันที่กฏหมายนี้ใช้บังคับ ให้ผู้ได้รับอนุญาต ยังคงมีสิทธิประกอบกิจการโทรคมฯตามขอบเขตและสิทธิที่มีอยู่เดิมตามที่ได้รับอนุญาต จนกว่าการอนุญาต สัมปทานหรือสัญญาจะสิ้นสุดลง
ในกรณี ทรูมูฟ และดีพีซี เป็นผู้มีสิทธิประกอบกิจการที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 กันยายน 2556 นั้น การดำเนินการใดๆ ที่มีผลเป็นการขยายสิทธิในการประกอบกิจการ ให้แก่ ทรูมูฟ และดีพีซี ไม่สามารถทำได้เพราะขัดแย้ง มาตรา80 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ซึ่งหากทรูมูฟ และดีพีซี ต้องการที่จะให้บริการต่อไปจะต้องขอใบอนุญาตตามมาตรา 7 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544ก่อน
ขณะเดียวกัน มาตรา 84 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุว่า ความในมาตรา 46 ไม่ให้บังคับกับรัฐวิสาหกิจที่นำความถี่ ที่ได้รับจัดสรรไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาตสัมปทาน และให้ผู้ได้รับอนุญาต ประกอบกิจการต่อไปได้เฉพาะช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ตามการอนุญาต สัมปทาน โดยมาตรา 46 ระบุว่า ใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมฯต้องประกอบกิจการด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นประกอบกิจการแทนไม่ได้ ซึ่งในกรณีที่มีการใช้คลื่นความถี่โดยมอบการบริหารทั้งหมดหรือบางส่วนให้ผู้อื่นบริหารจัดการแทนไม่ได้เพราะเป็นการขัดต่อมาตรา 46
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า กสท ต้องได้บริหารคลื่นความถี่ต่อภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานพร้อมทั้งยังเป็นการนำข้อกฏหมายมาปิดทางคู่สัญญาอย่าง ทรูมูฟ และดีพีซีที่ต้องการดูแลลูกค้าเองเช่นเดียวกัน ว่าในเมื่อหมดสัญญาก็ต้องหมดสิทธิที่จะใช้คลื่นความถี่ตามไปด้วยเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ในช่วงหลังพ้นระยะเยียวยา 1 ปี กสทยังระบุขออนุญาตใช้งานความถี่ต่อไป แบ่งเป็นความถี่ จำนวน 12.5 MHz ของทรูมูฟ จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2568 ส่วนความถี่จำนวน 12.5 MHz ของดีพีซีจะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2559 รวมถึงความถี่จำนวน 25 MHz ของดีแทค ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน และจะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 ซึ่ง กสท จะขอใช้งานต่อไปจนถึงปี 2568 โดยอ้างมาตรา 82, 83 และ 84 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในบทเฉพาะกาลที่บัญญัติเกี่ยวกับเหตุแห่งความจำเป็น และสิทธิในการบริหารต่อไป ซึ่งยืนยันว่าในรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลเขียนไว้ชัดเจน เกี่ยวกับการให้บริหารต่อไปได้หลังหมดสัมปทาน
***'แก้วสรร' ย้ำไม่ได้ต่อสัมปทาน
แก้วสรร อติโพธิ ประธานคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ออกมาระบุชัดเจนว่า กสทช. มีหน้าที่ตามกฏหมายที่ต้องดำเนินการใช้มาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคที่เหลืออยู่หลังสัมปทานคลื่น 1800 MHz สิ้นสุดลง ซึ่งการออกร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตหรือสัญญาให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... นั้นอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553และมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544
ส่วนสุดท้ายใครจะมีหน้าที่ดูแลลูกค้าต่อไปนั้นร่างเยียวยา 1800 MHz ระบุเอาไว้ว่า ให้เอกชนกับรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ร่วมกันแล้วไปเจรจาตกลงกันเองว่าจะใช้โครงสร้างใดในการให้บริการ เช่น ให้เอกชนเช่าใช้โครงข่ายหรือจะโอนลูกค้ามาให้รัฐวิสาหกิจเข้าเป็นคู่สัญญาแทน ส่วนเอกชนก็เป็นผู้รับเหมารับงานบริการและการตลาดไปทำอีกส่วนหนึ่งโดย กสทช.จะไม่เข้าไปกำหนดว่าจะต้องเป็นรูปแบบใดซึ่งจะต้องสรุปรูปแบบการให้บริการหลังจากประชาพิจารณ์แล้ว 60 วัน
'ขอย้ำว่าไม่ได้เป็นการต่ออายุสัมปทาน และไม่ใช่เป็นการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ ตามมาตรา 45 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯแต่เป็นการกำกับดูแลเพื่อไม่ให้ผู้ใช้บริการได้รับผลกระทบจากกรณีสิ้นสุดสัญญาสัมปทานเท่านั้น'
พร้อมทั้งยังชี้แจงในประเด็นค่าธรรมเนียมภายหลังหมดสัญญาสัมปทานว่าร่างประกาศฯ ดังกล่าว ระบุว่าผู้ที่มีหน้าที่ดูแลลูกค้าต่อไปอีก1ปีจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาต2% ,ค่ากองทุนพัฒนาโทรคมนาคมให้ทั่วถึง(USO) 3.75% และค่าคลื่นความถี่แทนที่จะต้องจ่ายอัตรา 30% ตามสัญญาสัมปทานเดิม
'พอกันทีกับคำว่าสัมปทานควรจะหายไปจากโลกได้แล้ว อย่ามาเอาอัตรา 30% ตามสัญญาสัมปทานเดิมมาเทียบกับค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บใหม่ในครั้งนี้เลย โดยเฉพาะรัฐควรเลิกสักทีการเป็นเห็บของเศรษฐกิจที่คอยรับค่าต๋งจากบริษัทเอกชนไปวันๆ'
*** ดีพีซีหนุนกสทช.พร้อมจ่าย 30% เท่าเดิม
สมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหารอินทัช บริษัทแม่ของเอไอเอสและดีพีซี ให้ความเห็นก่อนหน้านี้ว่าไม่ว่าจะให้ กสท เป็นผู้ให้บริการแล้วมาจ้างดีพีซีดูแลลูกค้า หรือท้ายสุดจะให้ดีพีซีเป็นผู้ให้บริการ ดีพีซีก็พร้อมที่จะจ่ายส่วนแบ่งให้รัฐอย่างน้อย 30% ของรายได้เช่นเดิม
'เราไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมเอกชนจะไม่สมควรจ่าย 30% เท่าเดิมให้รัฐ แต่รัฐในที่นี้ไม่ได้หมายถึง กสท แต่คือประเทศชาติ'
นอกจากนี้ส่วนตัวยังรู้สึกไม่เห็นด้วยกับท่าทีของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ไอซีที ที่พยายามนำเรื่อง กสท ขอใช้ความถี่ 1800 MHz ต่อไปเข้าที่ประชุม ครม.เพื่อให้ความเห็นชอบ เพราะเห็นว่าควรเคารพกฎกติกาในเรื่องการนำความถี่มาจัดสรรด้วยวิธีการประมูล ตามกฎหมายที่กำหนดไว้มากกว่ายื้อเรื่องเวลา เนื่องจาก กสทช.ก็กำลังดำเนินการออกประกาศเพื่อผ่อนปรนในเรื่องระยะเวลาการโอนย้าย ลูกค้า 1800 MHz ออกจากระบบ รวมทั้ง กสทช.ยังให้คนที่ประมูลความถี่ 1800 MHz ได้ต้องดูแลลูกค้าต่อไปด้วย
'สิ่งที่ผมเป็นกังวลหลังหมดระยะเวลาเยียวยา 1 ปีคือ ความเห็นที่แตกต่างในเรื่องการถือครองความถี่ ในขณะที่ กสท ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงไอซีทีคิดว่าตัวเองมีอำนาจตามกฎหมายที่จะใช้ ความถี่ต่อ กับ กสทช.มีกฎหมายให้อำนาจจัดสรรความถี่ด้วยการประมูล เมื่อความเห็นไม่ตรงกันคงต้องมีการฟ้องศาลปกครอง ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นกระบวนการทุกอย่างต้องหยุดหมด รวมทั้งการประมูลความถี่ 1800 MHz ด้วย'
แหล่งข่าวในวงการโทรคมวิเคราะห์ไว้น่าสนใจว่า ประเด็นสำคัญวันนี้ คือ สิทธิในการใช้ความถี่ 1800 MHz มีความเห็นที่ต่างกัน 2 ฝ่าย ด้านกสทช.ต้องการนำความถี่มาประมูลทันทีหลังพ้นระยะเวลาเยียวยา 1 ปี แต่กสทต้องการสิทธิในการบริหารจัดการจนถึงปี 2568 มีความเป็นไปได้สูงที่ข้อโต้แย้งเรื่องนี้จะไปจบที่ศาลหรือกระบวนการยุติธรรม นั่นหมายถึง ในช่วงที่ใกล้พ้นกำหนด 1 ปีของการเยียวยา หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น และมีการคุ้มครองตามกฎหมาย ผู้ให้บริการในช่วงเยียวยาก็สามารถให้บริการต่อเนื่องตราบเท่าที่ศาลยังไม่ได้ตัดสินออกมา
ซึ่งเป็นที่รู้กันดีในอุตสาหกรรมมือถือว่าบริการ 2G ยังมีลูกค้าจำนวนมากหลายสิบล้านเลขหมาย ถึงใช้บริการคงสิทธิเลขหมายย้ายค่าย แต่เชื่อว่าต้องมีลูกค้าไม่น้อยกว่า 20% ที่ไม่ย้ายไปไหนเพราะไม่อยากยุ่งยากเปลี่ยนมือถือใหม่เพื่อมาใช้ 3Gผู้ให้บริการในช่วงนั้นสามารถตักตวงผลกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ เพราะต้นทุนที่จ่ายให้รัฐลดลงไปมาก และไม่จำเป็นต้องขยายโครงข่ายเป็นหมื่นล้านบาท เพราะไม่ต้องหาลูกค้าใหม่เพียงแค่ดูแลลูกค้าเก่าเท่านั้น
ในมุมเอกชนที่เดิมเคยคิดว่าสัมปทานสิ้นสุดก็หมดเวลาให้บริการ โครงสร้างการเงินที่เคยคำนวณไว้ตอนแรก ต้องคาดไม่ถึงว่าจะได้โบนัสแถมมาอีกน้อยๆ 1 ปีในช่วงเยียวยาและอาจจะอีกหลายปีหากเกิดการฟ้องร้องสำหรับทรูมูฟที่ลูกค้ามากถึง 17 ล้านรายก็อาจไม่จำเป็นต้องรีบย้ายลูกค้าออก เพราะมีโบนัสจาก กสทช.แถมให้ อาจมากพอประมูลความถี่ 1800 MHz และเหลือเงินติดกระเป๋าด้วยซ้ำ
คนที่จะตกเป็นเหยื่อของเกมยื้อความถี่ครั้งนี้ อาจจะเป็นค่ายมือถือที่เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าจะประมูลความถี่ 1800 MHz ราวไตรมาส 4 ปี 2557 ได้จริง เพราะในร่างเยียวยาไม่มีสักบรรทัดที่จะมั่นใจได้ว่าจะประมูลเมื่อไหร่ หรือ กสทช.ทั้งที่รู้ว่าสัมปทาน 1800 MHz จะสิ้นสุดลงในวันที่15 ก.ย.นี้ตั้งแต่วันแรกที่นั่งเก้าอี้กสทช.ราวๆ 2 ปีก่อนหน้านี้ แต่ก็ลุกลี้ลุกลนเพิ่งมาแก้ปัญหาช่วงปลายมือ และยังจัดทำร่างประกาศเยียวยาที่ดูเหมือนเยียวยาผู้ประกอบการมากกว่าผู้ใช้บริการ ทั้งๆที่มีทางเลือกมากมายก่อนหน้าแต่ไม่ทำ หรือ บางค่ายมือถือที่ได้ประโยชน์หากลากยาวการประมูลความถี่ 1800 MHz ออกไปให้นานเท่านานเพราะปิดกั้นคู่แข่งเรื่อง 4G LTE หรือ รัฐวิสาหกิจอย่างทีโอทีและกสท ที่ในสายตาแก้วสรร อติโพธิ เห็นว่าเป็นแค่เหลือบทางเศรษฐกิจอาศัยส่วนแบ่งสัมปทานเลี้ยงชีพ หรือ ผู้บริโภค ที่ไม่มีแม้แต่หลักประกันว่าจะได้ประโยชน์อะไรในเกมนี้ ไม่มีแม้กระทั่งคำมั่นว่าควรลดค่าบริการเพราะต้นทุนให้บริการลดลง
แต่ในเมื่อเป็นร่างประกาศฯที่จำเป็นต้องปฎิบัติเหมือนกันหมดไม่ใช่เฉพาะแค่ทรูมูฟกับดีพีซี แต่เอไอเอสที่ฐานลูกค้ามากกว่า 30 ล้านรายในย่านความถี่ 900 MHzย่อมได้อานิสงส์ไปด้วย ใครจะคาดไปถึงว่าอดีตคตส.ที่ไล่ล่าล้างระบอบทักษิณ สุดท้ายก็ทำเรื่องเอื้อประโยชน์เอไอเอสจนได้
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000088171
ไม่มีความคิดเห็น: