Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 มิถุนายน 2557 TRUEVISIONS ระบุ การที่ คสช.และกสทช. ออกประกาศ TV ดาวเทียมต้องเป็นบอกรับสมาชิก ผู้ประกอบการช่องดาวเทียมต้อง โฆษณาได้ชั่วโมงละไม่เกิน 6 นาที


ประเด็นหลัก

พร้อมกับยกตัวอย่างกรณี ทรูวิชั่นส์ ว่า ไม่ได้นำช่องที่มีปัญหาขึ้นมาออกอากาศเลย เท่ากับเป็นการจัดระเบียบเพื่อให้เข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง ซึ่งทั้งเจ้าของโครงข่ายและเจ้าของรายการต้องช่วยกันคัดกรองเนื้อหาที่เหมาะสม หากผิดกฎหมายก็ต้องรับผิดชอบร่วมกันด้วย

"ต่อไปหมดยุคแล้วที่จะโฆษณาดึงดูดลูกค้าว่ากล่องดาวเทียมนี้จะดูทีวีได้เยอะช่อง เพราะยิ่งเจ้าของโครงข่ายเจ้าของแพลตฟอร์มทีวีมีช่องเยอะ ๆ ยิ่งมีภาระในการมอนิเตอร์ช่องในระบบตนเอง"

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในข้อกำหนดของการเป็น "เพย์ทีวี" คือ โฆษณาได้ชั่วโมงละไม่เกิน 6 นาที


______________________________________


กสทช.จัดระเบียบธุรกิจ ปิดฉาก "วิทยุ-ทีวีดาวเทียม" นอกลู่



นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งปิดสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชน ปราศจากการบิดเบือนอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งขยายตัว ส่งผลต่อการนำความสงบสุขกลับคืนสู่สังคม

ล่าสุด "กสทช." ได้รายงานสถานะการออกอากาศของสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยว่า ช่องรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก (ฟรีทีวี 6 ช่องเดิม) ออกอากาศได้ตามปกติ เช่นกันกับช่องรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล 23 ช่อง เว้น VOICE TV อยู่ระหว่างการพิจารณาของ คสช.ว่าจะให้กลับมาออกอากาศได้เมื่อไร

สำหรับช่องรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมออกอากาศได้ตามปกติแล้ว 387 ช่อง จาก 538 ช่องรายการ อยู่ระหว่างพิจารณาเนื้อหา อาทิ โฆษณาไม่เหมาะสม ชวนเชื่อ หรือเนื้อหาไม่เหมาะสม 98 ช่องรายการ มีที่ยังไม่แจ้งความประสงค์เพื่อออกอากาศแบบบอกรับสมาชิก 50 กว่าช่อง ส่วนรายการโทรทัศน์เคเบิลแบบบอกรับสมาชิก 211 ช่องรายการ ออกอากาศได้ตามปกติ เช่นกันกับ IPTV 24 ช่อง

จากประกาศ คสช. ฉบับที่ 27 ( 24 พ.ค. 2557) ระบุว่า อนุญาตให้ "เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมแบบบอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี)" กลับมาออกอากาศได้ปกติ ทำให้บรรดาช่องรายการที่อยากกลับมาออกอากาศอีกครั้งต้องแจ้งความประสงค์ เพื่อขอใบอนุญาติแบบบอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี)

จัดระเบียบโฆษณา-คุมเนื้อหา

ในมุมของผู้กำกับดูแล พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) ยอมรับว่า ถือเป็นโอกาสในการจัดระเบียบทีวี-วิทยุ ซึ่งมีปัญหาเรื้อรังสะสมมานานตั้งแต่ยุคที่ยังไม่มี กสทช. ทั้งปัญหาวิทยุชุมชนเถื่อน, การส่งสัญญาณออกอากาศรบกวนวิทยุการบินหรือกวนกันเอง รวมถึงการออกอากาศเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย, ทีวีการเมือง ไปจนถึงโฆษณาขายยาหลอกลวงผู้บริโภค

"เฉพาะช่องรายการทีวีดาวเทียมเหลืออีกราว 100 ช่อง ที่มีปัญหาเรื่องโฆษณาที่ผิดกฎหมาย จึงใช้โอกาสนี้ส่งข้อมูลให้คณะอนุกรรมการด้านคุ้มครองผู้บริโภคและด้านการกำกับเนื้อหาตรวจสอบ ก่อนตัดสินว่าจะออกใบอนุญาตให้หรือไม่ ในฟากเจ้าของโครงข่ายทีวีทั้งเคเบิลและทีวีดาวเทียม จำนวน 11 โครงข่าย (ระดับชาติ) เมื่อแสดงตนเป็นโครงข่ายแบบบอกรับสมาชิกแล้วก็ต้องนำเฉพาะช่องรายการทีวีที่เป็นแบบบอกรับสมาชิกมาออกอากาศเท่านั้น"

พร้อมกับยกตัวอย่างกรณี ทรูวิชั่นส์ ว่า ไม่ได้นำช่องที่มีปัญหาขึ้นมาออกอากาศเลย เท่ากับเป็นการจัดระเบียบเพื่อให้เข้าสู่ระบบที่ถูกต้อง ซึ่งทั้งเจ้าของโครงข่ายและเจ้าของรายการต้องช่วยกันคัดกรองเนื้อหาที่เหมาะสม หากผิดกฎหมายก็ต้องรับผิดชอบร่วมกันด้วย

"ต่อไปหมดยุคแล้วที่จะโฆษณาดึงดูดลูกค้าว่ากล่องดาวเทียมนี้จะดูทีวีได้เยอะช่อง เพราะยิ่งเจ้าของโครงข่ายเจ้าของแพลตฟอร์มทีวีมีช่องเยอะ ๆ ยิ่งมีภาระในการมอนิเตอร์ช่องในระบบตนเอง"

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในข้อกำหนดของการเป็น "เพย์ทีวี" คือ โฆษณาได้ชั่วโมงละไม่เกิน 6 นาที

ขณะที่ ปรีย์มน ปิ่นสกุล ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กล่าวว่า เปลี่ยนช่องทีวีดาวเทียมทั้ง 10 ช่อง เป็นเพย์ทีวีแล้วทำให้มีข้อจำกัดเรื่องเวลาโฆษณาที่ห้ามเกิน 6 นาทีต่อชั่วโมง จึงต้องเจรจากับเอเยนซี่โฆษณาที่ซื้อแพ็กเกจโฆษณาไว้ล่วงหน้าให้เข้าใจข้อจำกัดนี้ ถ้าในรายการที่เรตติ้งดี แต่โฆษณาได้น้อยลง อาจต้องเพิ่มอัตราค่าโฆษณาต่อนาทีให้สูงขึ้น รวมถึงแจ้งให้ กสทช.ช่วยผ่อนผันด้วย เพราะหลายบริษัทขายเวลาโฆษณาล่วงหน้าไปถึง 6 เดือนแล้ว

ฟากรายการโทรทัศน์ดูจะมีทางออก แต่ฝั่ง "วิทยุชุมชน" ยังอลหม่าน เพราะทั้งหมดยังไม่ได้รับการอนุญาตให้ออกอากาศ

ปิดฉากวิทยุเถื่อน

สำหรับวิทยุชุมชน พ.อ.นที ระบุว่า กำลังพิจารณาการวางกรอบแนวทางอนุญาตให้กลับมาออกอากาศได้อีกครั้ง เพื่อเสนอให้ คสช.พิจารณา โดยในเบื้องต้นจะอนุญาตให้เฉพาะกลุ่มที่เคยได้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการจาก กสทช. ราว 5,000 สถานี และกลุ่มที่ได้ยื่นขอรับใบอนุญาตแล้วแต่อยู่ระหว่างการพิจารณาอีกราว 1,000 สถานี ส่วนผู้ที่ไม่เคยยื่นขอรับใบอนุญาตมาก่อนจะไม่ได้กลับมาออกอากาศอีก

"จะมีมาตรการเพิ่มก่อนให้กลับมาออกอากาศได้ อาทิ ไม่ให้มีผู้ใดเป็นเจ้าของสถานีวิทยุมากเกินไป หรือการตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณ เสาส่ง เสาอากาศ ให้ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่ผู้ประกอบการจำนวนมากไม่ปฏิบัติตาม ส่วนเรื่องขยายเวลาเปิดให้ยื่นขอรับใบอนุญาตเพิ่มคงไม่มีอีกแล้ว เพราะทุกวันนี้จำนวนสถานีวิทยุมากเกินไป"

ด้านผู้ประกอบการวิทยุธุรกิจท้องถิ่น เจริญ ถิ่นเกาะแก้ว นายกสมาคมผู้ประกอบการวิชาชีพวิทยุท้องถิ่นไทย กล่าวว่า ขณะนี้ผู้รับใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงทางธุรกิจระดับท้องถิ่นกว่า 3,000 สถานี กำลังเดือดร้อน เพราะไม่รู้ว่าจะกลับมาออกอากาศได้อีกเมื่อใด แต่ยังต้องรับภาระหนี้สินและภาระในการดูแลลูกจ้าง รวมทุกสถานีเกือบ 10,000 คน จึงอยากให้ กสทช.ประสานกับ คสช. เพื่อให้กลับมาออกอากาศได้ โดยให้ปิดเฉพาะผู้ที่ไม่มีใบอนุญาต ส่วนกลุ่มที่ได้ใบอนุญาตควรมีช่วงเวลาทุเลา เช่น ให้เปิดสถานีได้ช่วง 06.00-18.00 น. หรือมีมาตรการกำกับเพิ่มเติม หากไม่ปฏิบัติตามก็ให้ปิดสถานี

แข่งออกโปรเก่าแลกใหม่

ด้าน วิชิต เอื้ออารีวรกุล ประธานบริษัท เจริญยิ่ง (8888) จำกัด ผู้ให้บริการเคเบิลทีวี กล่าวว่า มาตรการที่ กสทช.ให้เจ้าของโครงข่ายและช่องรายการรับผิดชอบร่วมกันหากมีเนื้อหาไม่เหมาะสมถือเป็นการรีเซตใหม่ของ กสทช. ที่น่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเนื้อหาไม่เหมาะสม อย่างการละเมิดลิขสิทธิ์ โฆษณาหลอกลวงได้ แต่ผู้บริโภคกลุ่มที่ยังใช้กล่องทีวีดาวเทียมรุ่นเก่าที่ไม่ได้มีการเข้ารหัส CA (ซื้อก่อนปี 2553) จะดูได้แต่ 6 ช่องทีวีแอนะล็อกเดิมกับ 24 ช่องทีวีดิจิทัลเท่านั้น หากจะดูทีวีดาวเทียมที่กลายเป็นเพย์ทีวีแล้วต้องซื้อกล่องใหม่ กลายเป็นโอกาสให้กับคนขายกล่องทีวีดาวเทียม

วรสิทธิ์ ลีลาบูรณพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ โฮลดิ้ง จำกัด ผู้ให้บริการจานดาวเทียม PSI เปิดเผยว่า ลูกค้า PSI ที่ยังใช้กล่องที่ไม่มี CA น่าจะมีราว 3-4 แสนราย จากทั้งหมด 16 ล้านราย ถ้าประเมินทั้งตลาดน่าจะมีกล่องรุ่นเก่าอยู่ราว 1.5 ล้านรายที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนเป็น "เพย์ทีวี" บริษัทจึงออกโปรโมชั่น "กล่องเก่าแลกกล่องใหม่" ให้ลูกค้านำกล่องรุ่นเก่าทุกยี่ห้อมาแลกซื้อกล่อง PSI รุ่น OK X ในราคา 399 บาท ถึง 18 มิ.ย.นี้ เพื่อช่วยเยียวยาปัญหาให้ผู้บริโภค

"ต่อไปกล่องดาวเทียมยิ่งมีช่องรายการมาก ๆ ยิ่งมอนิเตอร์เนื้อหาไม่ไหว อย่าง PSI เดิมมี 200 กว่าช่องก็จะเหลือแค่ 125 ช่อง เป็นช่องคุณภาพที่มีเรตติ้งสูง และดูฟรีเหมือนเดิม ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาในการดึงดูดผู้บริโภค เพราะจากผลสำรวจของ PSI 4 ปีที่ผ่านมาพบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคดูทีวีไม่เกิน 8-10 ช่องเท่านั้น"

ด้าน ปราโมทย์ บุญนำสุข ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ผู้ให้บริการจานดาวเทียมจานเหลือง "DTV" เปิดเผยว่า ช่องรายการดีทีวี 85 ช่อง เปลี่ยนเป็นเพย์ทีวีทั้งหมด ส่วนลูกค้าที่มีอยู่ 2 ล้านรายใช้กล่อง CA อยู่แล้ว แต่การอาจมีปัญหาในการอัพเกรดระบบเพื่อจัดเรียงช่องใหม่ (OTA) ตามกฎของ กสทช. บ้าง

"ลูกค้าขออัพเกรดกล่องได้ที่ร้านแมงป่องแซทเทลไลท์ ที่มีสาขาทั่วประเทศ และต้นเดือนหน้าจะมีโปรโมชั่นลดราคากล่องดาวเทียม DTV เพื่อให้รับชมรายการความละเอียดสูง (HD) ได้

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1402375633

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.