07 มิถุนายน 2557 ไปรษณีย์ไทย เข้ม!! ากล่องไม่มีการเสียหายอะไร แต่พอส่งไปถึงที่หมายแล้วเกิดการบุบหรือฉีกขาด ขอให้ผู้รับอย่าเพิ่งเปิด ขอให้นำกล่องมาที่ทำการไปรษณีย์ในพื้นที่เพื่อเปิดพร้อมกัน
ประเด็นหลัก
มานพ ศรวิบูลย์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการนครหลวง กล่าวถึงกรณีไม่รับส่งพัสดุที่เขียนคำหยาบคายไว้ที่กล่อง ได้ทำความเข้าใจกับพนักงานและกำชับไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้อีก ส่วนกรณีที่มีการประทับตรายางแล้วให้ผู้ส่งลงชื่อยืนยันว่าจะส่ง และยอมรับหากสินค้าจะเสียหายนั้น ทางบริษัทยืนยันว่ามีการประทับตราเช่นนั้นจริง แต่จะใช้ต่อเมื่อพัสดุที่นำมาส่งอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สภาพไม่เรียบร้อยเท่านั้น
"พัสดุบางส่วนห่อหุ้มไม่เรียบร้อย หรือไม่ห่อในแบบที่เรากำหนด เช่น ผูกเชือกไม่แน่น กล่องมีการฉีกขาด ถ้านำส่งไปแล้วของเสียหาย เราก็จะเป็นฝ่ายผิด ดังนั้น เพื่อความสบายใจทั้งสองฝ่ายจึงให้ทางผู้ส่งยืนยันว่าจะส่งและยอมรับ หากมีการเสียหายเกิดขึ้น ทั้งนี้ ถ้ากล่องไม่มีการเสียหายอะไร แต่พอส่งไปถึงที่หมายแล้วเกิดการบุบหรือฉีกขาด ขอให้ผู้รับอย่าเพิ่งเปิด ขอให้นำกล่องมาที่ทำการไปรษณีย์ในพื้นที่เพื่อเปิดพร้อมกัน ซึ่งปกติแล้วพัสดุที่มีลักษณะดังกล่าวจะไม่มีการส่งออกไป แต่ไปรษณีย์ปลายทางจะแจ้งให้ผู้รับมาเปิดกล่องด้วยกันที่ไปรษณีย์ท้องที่"
แต่ยืนยันหากผู้ใช้บริการปฏิบัติตามคำแนะนำในการห่อหุ้มสิ่งของที่จะส่งให้แข็งแรง โอกาสที่สิ่งของจะเสียหายระหว่างขนส่งจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก
______________________________________
เข้มทุกกระเบียด "คน-ระบบ" ไปรษณีย์ไทย เร่งกู้วิกฤตศรัทธา
เจอมรสุมหนักจากสารพัดข่าวและกระแสบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทั้งคลิปพนักงานโยนถุงไปรษณียภัณฑ์โครม ๆ ทั้งภาพแปะประกาศไม่รับส่งพัสดุหากมีข้อความหยาบคาย (ที่ลูกค้าเขียนไว้เพราะไม่พอใจการให้บริการก่อนนี้) ล่าสุดยังทำห่อสลากกินแบ่งรัฐบาลหายระหว่างขนส่งอีกกว่า 4 หมื่นฉบับ สะเทือนถึงวงการเสี่ยงโชคทั้งประเทศ แถมยังกระทบถึงความเชื่อมั่นของลูกค้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ สุดท้าย "ไปรษณีย์ไทย" ต้องระดมรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 3 สายงาน "การตลาด-ปฏิบัติการนครหลวง-ปฏิบัติการภูมิภาค" เปิดเวทีเคลียร์ให้ชัดทุกประเด็น
กาหลง ทรัพย์สอาด รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานปฏิบัติการภูมิภาค บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัดชี้แจงว่า บริษัทต้องขออภัยกับเหตุการณ์และความไม่ประทับใจในการให้บริการ แต่บริษัทก็ไม่ได้นิ่งนอนใจจะปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งแต่ละวันไปรษณีย์มีพัสดุด่วนพิเศษ (EMS) ในระบบถึง 2 แสนชิ้น ตกปีละกว่า 100 ล้านชิ้น แต่ละปีเพิ่มขึ้น 15% จากธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
"จากปริมาณที่ส่งแต่ละวัน โอกาสที่จะหลุดรอดสายตาก็มีสูง และต้องส่งกันหลายต่อ เช่น จากภาคใต้ไปภาคเหนือต้องใช้ถึง 5 ต่อ ของจึงอาจมีการเสียหายได้ แต่บริษัทก็ใส่ใจระมัดระวังให้ได้มากที่สุด จากนี้ไปจะมีการส่งผ่านเครื่องบินมากขึ้น เพราะนอกจากประหยัดเวลายังลดโอกาสพัสดุเสียหายอีกด้วย"
อย่างกรณีการขนส่งสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ทางไปรษณีย์ไทยเป็นผู้รับดำเนินการมากว่า 30 ปีแล้ว ก็เกิดข้อผิดพลาดขึ้นเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ระหว่างการขนห่อสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ศูนย์ไปรษณีย์อยุธยา ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ พร้อมกับเจรจากับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลว่าต้องชดใช้อย่างไร
"เส้นทางระหว่างศูนย์ไปรษณีย์กับที่หมายห่างเพียง 4 กม. แต่ระหว่างทางกระบะท้ายรถเปิดออกแล้วมีลอตเตอรี่หายไป 1 ห่อ (1 ห่อมี 2 ซอง รวม 43,200 ใบ) จากทั้งหมด 16 ห่อ มูลค่าตามหน้าสลากรวมเป็นเงิน 1.7 ล้านบาท ซึ่งได้แจ้งความกับตำรวจและอายัดลอตเตอรี่ที่หายไปแล้ว พร้อมประกาศให้รางวัลคนที่นำคืนอีกซองละ 1 หมื่นบาท"
สุชาดา พุทธรักษา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดกล่าวเสริมว่า ปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้การดูแลอาจไม่ทั่วถึง เพราะการทำงานเกือบทั้งหมดของไปรษณีย์ไทย ล้วนต้องใช้ "คน" เป็นกำลังขับเคลื่อน ทำให้เกิดความผิดพลาดที่บางครั้งก็ควบคุมไม่ได้ แต่จากนี้ไปจะต้องเข้มงวดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำรอย เพื่อกอบกู้ความเชื่อมั่นที่บริษัทเคยมีให้กลับมาเหมือนเดิม
ขั้นตอนแรกคือ ให้พนักงานจริงจังกับการใช้คู่มือให้บริการที่บริษัทได้วางเป็นมาตรฐาน สำหรับการให้บริการตั้งแต่วิธีทำงานจนถึงมารยาทต่าง ๆ โดยเฉพาะพนักงานหน้าเคาน์เตอร์บริการลูกค้า และพนักงานนำส่งไปรษณียภัณฑ์
ขณะที่ลักษณะของไปรษณียภัณฑ์ในปัจจุบันที่เดิมเป็นซองจดหมาย แต่ปัจจุบันกลายเป็นกล่องพัสดุหลากหลายขนาด และมีกระทั่งสินค้าขนาดใหญ่อย่างมอเตอร์ไซค์ หรือประตูไม้บานใหญ่ ทำให้การดูแลความปลอดภัยในระหว่างขนส่งทำได้ยากขึ้น บริษัทจึงจะเปลี่ยนรถนำส่งที่มีอยู่ 1,000 คัน ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อนำส่งสินค้าได้หลากหลายขนาด และมี Roll Pallet (กรงใส่สินค้าที่มีล้อ) เพื่อขนส่งขึ้นรถได้สะดวกขึ้น จากเดิมที่เน้นใช้รถจักรยานยนต์ แต่ในจุดที่ยังจำเป็นต้องใช้มอเตอร์ไซค์จะเปลี่ยนรูปแบบกระเป๋าบรรจุ ไปรษณียภัณฑ์ที่จะป้องกันการตกหล่นระหว่างทางและบรรจุของได้มากขึ้น
มานพ ศรวิบูลย์ศักดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานปฏิบัติการนครหลวง กล่าวถึงกรณีไม่รับส่งพัสดุที่เขียนคำหยาบคายไว้ที่กล่อง ได้ทำความเข้าใจกับพนักงานและกำชับไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้อีก ส่วนกรณีที่มีการประทับตรายางแล้วให้ผู้ส่งลงชื่อยืนยันว่าจะส่ง และยอมรับหากสินค้าจะเสียหายนั้น ทางบริษัทยืนยันว่ามีการประทับตราเช่นนั้นจริง แต่จะใช้ต่อเมื่อพัสดุที่นำมาส่งอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สภาพไม่เรียบร้อยเท่านั้น
"พัสดุบางส่วนห่อหุ้มไม่เรียบร้อย หรือไม่ห่อในแบบที่เรากำหนด เช่น ผูกเชือกไม่แน่น กล่องมีการฉีกขาด ถ้านำส่งไปแล้วของเสียหาย เราก็จะเป็นฝ่ายผิด ดังนั้น เพื่อความสบายใจทั้งสองฝ่ายจึงให้ทางผู้ส่งยืนยันว่าจะส่งและยอมรับ หากมีการเสียหายเกิดขึ้น ทั้งนี้ ถ้ากล่องไม่มีการเสียหายอะไร แต่พอส่งไปถึงที่หมายแล้วเกิดการบุบหรือฉีกขาด ขอให้ผู้รับอย่าเพิ่งเปิด ขอให้นำกล่องมาที่ทำการไปรษณีย์ในพื้นที่เพื่อเปิดพร้อมกัน ซึ่งปกติแล้วพัสดุที่มีลักษณะดังกล่าวจะไม่มีการส่งออกไป แต่ไปรษณีย์ปลายทางจะแจ้งให้ผู้รับมาเปิดกล่องด้วยกันที่ไปรษณีย์ท้องที่"
แต่ยืนยันหากผู้ใช้บริการปฏิบัติตามคำแนะนำในการห่อหุ้มสิ่งของที่จะส่งให้แข็งแรง โอกาสที่สิ่งของจะเสียหายระหว่างขนส่งจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก
สำหรับการชดใช้ในกรณีที่พัสดุเสียหาย สำหรับพัสดุธรรมดา จำกัดวงเงินไว้ที่ 1,000 บาท พัสดุด่วนพิเศษ (EMS) 2,000 บาท และ 3,000 บาท สำหรับพัสดุที่ส่งแบบโลจิสโพสต์ แต่ถ้ามีการลงทะเบียนรับประกันการส่งสินค้า ค่าชดเชยจะเพิ่มเป็น 5 พันบาท, 2 หมื่นบาท และ 2 แสนบาทตามลำดับ
และเพื่อกู้วิกฤตศรัทธา "ไปรษณีย์ไทย" ปีนี้ตั้งเป้าลดความเสียหายจากการส่งทุกรูปแบบลง 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แม้ที่ผ่านมาอัตราความเสียหายเมื่อเทียบกับปริมาณของที่ส่งจะลดลงทุกปีอยู่แล้ว โดยอัตราการนำจ่ายจากยอดส่งทั้งหมดในปี 2555 อยู่ที่ 87% ขณะที่ปี 2556 อยู่ที่ 90% แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการนำจ่ายที่ดีขึ้น
ส่วนปัญหาการร้องเรียนในปี 2556 ที่มีการร้องเรียน 56,179 ครั้งจากยอดการส่งไปรษณียภัณฑ์ทั้งหมดมากกว่า 2 พันล้านชิ้น แม้จะมากขึ้นกว่า 36,868 ครั้งในปี 2555 แต่ปริมาณไปรษณียภัณฑ์ในปีดังกล่าวมีไม่ถึง 2 พันล้านชิ้น โดยเมื่อแยกประเภทปัญหาเรื่องร้องเรียนในปี 2556 พบว่า อันดับ 1 คือ การนำจ่ายล่าช้า 4% รองลงมาคือ ไปรษณียภัณฑ์สูญหาย 3% และเสียหาย 0.84% ขณะที่ค่าชดเชยที่บริษัทต้องจ่ายให้กับลูกค้าอยู่ที่ปีละราว 2 ล้านบาท
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1404606039
ไม่มีความคิดเห็น: