Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร)(เกาะติดประมูล4G) เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค.สารี ระบุ กรณีเลือ่นการประมูล4G AIS GSM 1800 และ TRUEMOVE อยู่ในภาวะขาดทุน รายได้ไม่เพียงพอที่จะหักรายจ่าย หมายความว่าไม่มีเงินเหลือส่งเข้ารัฐ ขณะที่ผู้ให้บริการโครงข่ายอย่าง กสทฯ ก็อาจไม่ได้ค่าเช่า คสช.จึงควรให้ กสทช.ดูแล

ประเด็นหลัก


"กรณีสิ้นสุดสัมปทานให้ ทรูมูฟ และดีพีซี นำเงินรายได้ที่เกิดขึ้นหลังสิ้นสุดสัมปทาน หลังหักค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่จากรายงานของทรูมูฟพบว่า 1 ปีที่ประกอบการอยู่ในภาวะขาดทุน รายได้ไม่เพียงพอที่จะหักรายจ่าย หมายความว่าไม่มีเงินเหลือส่งเข้ารัฐ ขณะที่ผู้ให้บริการโครงข่ายอย่าง กสทฯ ก็อาจไม่ได้ค่าเช่า คสช.จึงควรให้ กสทช.ดูแล"


______________________________




เลื่อนประมูล 4จี รัฐเสียประโยชน์-เอื้อเอกชนต่ออายุสัมปทาน



เครือข่ายผู้บริโภคชี้เลื่อนประมูล 4G รัฐเสียประโยชน์มหาศาล-เอื้อเอกชนต่ออายุสัมปทาน ย้ำการจัดสรรคลื่นด้วยวิธี "ประมูล" ดีที่สุดแล้ว แค่ปรับเงื่อนไข

นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า การชะลอการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz หรือคลื่น 4G ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ส่งผลให้ผู้รับสัมปทานไม่ต้องคืนคลื่นเพื่อนำไปจัดสรรใหม่ แม้จะสิ้นสุดสัมปทานไปแล้ว แต่ยังใช้ความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรสาธารณะได้ฟรี กลายเป็นการขยายระยะเวลาสัมปทาน ขณะที่หน่วยงานรัฐสูญเสียรายได้ทั้งส่วนแบ่งสัมปทานที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) จำกัด เคยจ่ายให้ กสท โทรคมนาคม ปีละ 6,800 ล้านบาท (ข้อมูลปี 2554) หรือค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ผู้ชนะประมูล ต้องจ่ายให้ กสทช. ปีละ 5.75% ของรายได้ (1,300 ล้านบาท) รวมถึงเงินค่าประมูลคลื่น กสทช.ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินราว 1,200 ล้านบาทต่อปี (กรณีจบประมูล ณ ราคาตั้งต้น)

"กรณีสิ้นสุดสัมปทานให้ ทรูมูฟ และดีพีซี นำเงินรายได้ที่เกิดขึ้นหลังสิ้นสุดสัมปทาน หลังหักค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นส่งเป็นรายได้แผ่นดิน แต่จากรายงานของทรูมูฟพบว่า 1 ปีที่ประกอบการอยู่ในภาวะขาดทุน รายได้ไม่เพียงพอที่จะหักรายจ่าย หมายความว่าไม่มีเงินเหลือส่งเข้ารัฐ ขณะที่ผู้ให้บริการโครงข่ายอย่าง กสทฯ ก็อาจไม่ได้ค่าเช่า คสช.จึงควรให้ กสทช.ดูแล"

แม้ตนไม่เห็นด้วยกับการเลื่อนประมูลแต่เมื่อต้องเลื่อนก็ควรใช้โอกาสนี้ปรับปรุงกติกาการประมูลให้รอบคอบขึ้น โดยเฉพาะการคุ้มครองผู้บริโภค เช่นเดียวกับการแก้ พ.ร.บ.กสทช. ที่บางคนพยายามยกเลิกการจัดสรรคลื่นด้วยการประมูล เป็นข้อเสนอที่มุ่งตอบสนองผู้ประกอบการ ทั้งการประมูลเป็นที่ยอมรับโดยสากลว่าทำให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงสุดจำกัดการใช้ดุลพินิจที่เสี่ยงต่อการเอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จึงควรออกแบบวิธีการให้มีการแข่งขันและโปร่งใสมากกว่า


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1406542794

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.