Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 สิงหาคม 2557 ไปรษณีย์ไทย.อานุสรา เปิดใจก่อนพ้นเก้าอี้!! อยากทำที่สุดแต่ทำได้ช้า คือการพัฒนาด้านไอที แต่ด้วยความเป็นองค์กรใหญ่ รูปแบบการทำงานมีข้อจำกัด ทำให้ไม่ได้ดั่งใจ

ประเด็นหลัก



- งานที่ยังไม่ได้ดั่งใจ

3 ปี 8 เดือนที่อยากทำที่สุดแต่ทำได้ช้า คือการพัฒนาด้านไอที เพื่อให้ไปรษณีย์ไทยให้บริการได้ครบวงจรตามที่ตั้งใจไว้ แต่ด้วยความเป็นองค์กรใหญ่ รูปแบบการทำงานมีข้อจำกัด ทำให้ไม่ได้ดั่งใจไปบ้าง ทุกวันนี้ระบบไอทีสำคัญมาก ต้องปรับปรุงให้ทันความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ถ้าไม่ทันจะไปข้างหน้าได้ลำบาก

- ผลตอบแทนไม่จูงใจพนักงาน

เกณฑ์ สคร.ระบุว่า ถ้าพนักงาน 2.2 หมื่นคน จะจ่ายโบนัส 1 เดือน ต้องมีรายได้เท่าใด ต้องมีรายได้เพิ่ม 9% ต้องประเมินผลองค์กรได้เกิน 3 ถ้าจะจ่ายมากกว่านี้ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของ สคร. ว่าต้องมีรายได้กี่เท่า ไปรษณีย์ก็ต้องทำตามเกณฑ์ ไม่ได้ทำแบบที่อื่น ในฐานะซีอีโอต้องบริหารคนกับต้นทุนให้ดีที่สุด

ต้นทุนที่สำคัญของไปรษณีย์คือคนและน้ำมัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ระมัดระวังที่สุด ต้นทุนคนเป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มขึ้นทุกปี ค่าน้ำมันก็ด้วย ทางออกคือเพิ่มรายได้ให้ได้มากที่สุด เมื่อใดหยุดหาเงินค่าใช้จ่ายจะแซงหน้า


______________________________




3 ปี 8 เดือนบนเก้าอี้ซีอีโอ "ไปรษณีย์ไทย" องค์กร 2 หมื่นล้าน



30 ส.ค. 2557 นี้ "อานุสรา จิตต์มิตรภาพ" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จะครบกำหนดเกษียณอายุ ต้องพ้นจากการทำงานในองค์กรที่อยู่มานานถึง 38 ปี ตั้งแต่ยุคที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของ "การสื่อสารแห่งประเทศไทย" ก่อนแยกตัวเป็นบริษัท (เมื่อ 14 ส.ค. 2546 ที่ผ่านมา)

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับซีอีโอหญิงคนแรกขององค์กรแห่งนี้ เกี่ยวกับการทำงานในช่วงที่ผ่านมา และสิ่งที่อยากฝากไว้ให้กับซีอีโอคนต่อไป

- ผลงานที่ผ่านมา

ตลอดเวลาที่อยู่ในตำแหน่งสามารถทำให้องค์กรเติบโตได้ต่อเนื่อง เป็นไปตามภารกิจที่นำเสนอตอนแสดงวิสัยทัศน์ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ไปรษณีย์ไม่ใช่แค่เคาน์เตอร์ไปรษณีย์ ไม่ใช่แค่ส่งจดหมายขายแสตมป์ แต่เป็นซูเปอร์เซอร์วิสเซ็นเตอร์ ตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อให้บริการเกี่ยวกับการให้บริการระดับไมโครทั้งหลาย

ที่เริ่มแล้วคือไมโครอินชัวรันซ์ (ประกันรายย่อย) อนาคตการเชื่อมโยงของดิจิทัลจะทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจใช้เคาน์เตอร์ไปรษณีย์ไทยเป็นเครือข่ายจุดให้บริการลูกค้าได้การเชื่อมโยงข้อมูล การยืนยันตัวตน ทำให้ไปรษณีย์เป็นมากกว่าการขนส่งจดหมาย

การตั้งบริษัท "ไปรษณีย์ ดิสทริบิวชั่น" นำไปต่อยอดให้ไปรษณีย์มีการโตก้าวกระโดดได้ รองรับชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป มีความจำเป็นต้องใช้ไปรษณีย์มากขึ้น กลายเป็นองค์กรที่มีรายได้ถึง 2 หมื่นล้านบาท

ปริมาณงานที่เติบโตทำให้ต้องพัฒนาคุณภาพให้โตไปด้วย แม้วันนี้จะมีข้อบกพร่อง แต่เทียบตามมาตรฐานสากลยังอยู่ในเกณฑ์ เราต้องมองถึงเป้าหมายที่ต้องเป็นองค์กรที่มีเซอร์วิสที่เป็นเลิศ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา แต่เชื่อมั่นว่าด้วยพื้นฐานจิตใจของคนไปรษณีย์ เราจะไปถึงเป้าหมายได้ ถ้ามีเทคโนโลยีที่ดีในการพัฒนาระบบการจัดการและระบบการพัฒนาบุคคลมาช่วย จะทำให้เป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศได้

มาตรฐานต้องทำให้เห็นและจับต้องได้ มี KPI ชัดเจน ซึ่งจะย้อนไปที่ค่าตอบแทนที่พนักงานจะได้รับฝันที่เป็นจริง ตอนนี้คือเรามีเครื่องบินที่มีชื่อ "ไปรษณีย์ไทย" โดยไม่ได้เสียเงิน แต่เกิดขึ้นได้เพราะความประทับใจระหว่างแอร์เอเชียกับไปรษณีย์ไทย

- พร้อมรับมือ AEC

สถานการณ์ตอนนี้การแข่งขันสูงอยู่แล้ว เราจำเป็นต้องปรับตัว ไม่ว่าจะมี AEC หรือไม่มี ก็ไม่แตกต่าง เพราะการเปิดเสรีด้านการขนส่งเกิดมานานแล้ว พ.ร.บ.ไปรษณีย์ 2477 คุ้มครองไว้เฉพาะการส่งจดหมายและขายแสตมป์ ไม่ได้รวมถึงพัสดุสิ่งของอื่น ๆ เราพยายามปรับตัวมาตลอดเพิ่มระบบไอที หาพันธมิตรหลาย ๆ ด้าน เช่น การสร้างเครือข่ายขนส่ง เพื่อให้บริการได้ครบวงจร

- ทำงานได้ดั่งใจ

ได้สัก 95% ต้องยอมรับว่าเราเป็นองค์กรใหญ่ ขยับได้เท่านี้ถือว่ามีบุญที่ทำได้เพราะคนในองค์กรพื้นฐานจิตใจดี เต็มใจทำงานหนัก อย่างแคมเปญไปรษณียบัตรทายผลบอลโลก วันหยุดก็ลงพื้นที่ แต่ละพื้นที่คิดหาวิธี หากลยุทธ์ เพิ่มยอดขาย การเป็นซีอีโอ สิ่งสำคัญคือคนในองค์กร บางองค์กรซีอีโอเหนื่อยที่จะพาองค์กรที่คนไม่ร่วมใจกัน

- งานที่ยังไม่ได้ดั่งใจ

3 ปี 8 เดือนที่อยากทำที่สุดแต่ทำได้ช้า คือการพัฒนาด้านไอที เพื่อให้ไปรษณีย์ไทยให้บริการได้ครบวงจรตามที่ตั้งใจไว้ แต่ด้วยความเป็นองค์กรใหญ่ รูปแบบการทำงานมีข้อจำกัด ทำให้ไม่ได้ดั่งใจไปบ้าง ทุกวันนี้ระบบไอทีสำคัญมาก ต้องปรับปรุงให้ทันความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ถ้าไม่ทันจะไปข้างหน้าได้ลำบาก

- ผลตอบแทนไม่จูงใจพนักงาน

เกณฑ์ สคร.ระบุว่า ถ้าพนักงาน 2.2 หมื่นคน จะจ่ายโบนัส 1 เดือน ต้องมีรายได้เท่าใด ต้องมีรายได้เพิ่ม 9% ต้องประเมินผลองค์กรได้เกิน 3 ถ้าจะจ่ายมากกว่านี้ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ของ สคร. ว่าต้องมีรายได้กี่เท่า ไปรษณีย์ก็ต้องทำตามเกณฑ์ ไม่ได้ทำแบบที่อื่น ในฐานะซีอีโอต้องบริหารคนกับต้นทุนให้ดีที่สุด

ต้นทุนที่สำคัญของไปรษณีย์คือคนและน้ำมัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ระมัดระวังที่สุด ต้นทุนคนเป็นสิ่งที่ต้องเพิ่มขึ้นทุกปี ค่าน้ำมันก็ด้วย ทางออกคือเพิ่มรายได้ให้ได้มากที่สุด เมื่อใดหยุดหาเงินค่าใช้จ่ายจะแซงหน้า

- ปัญหาร้องเรียนถาโถมช่วงท้าย

ต้องยอมรับว่าเดี๋ยวนี้มีการส่งสิ่งของหลายรูปแบบหลายขนาด มีการส่งสิ่งของแปลก ๆ เข้ามาในระบบมากขึ้น แม้แต่การใช้ไปรษณีย์เป็นช่องทางในการหลอกลวง ทำให้ต้องวางระบบป้องกันให้ดีขึ้น

ต่อไปพนักงานรับฝากที่เคาน์เตอร์ต้องรู้ว่ามีของอะไรเข้ามา การวางระบบกล้องวงจรปิดในพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทุจริต ถือเป็นการลองวิชาในช่วงส่งท้าย

- ฝาก CEO ใหม่

ปริมาณงานที่มากขึ้นทำให้เกิดจุดอ่อนได้ง่าย เป็นการบ้านที่ CEO คนใหม่ต้องมารับช่วงต่อ เมื่อต้องรับตำแหน่งในยุคที่มีการแข่งขันมากขึ้น สิ่งที่เคยเป็นนโยบายด้านอินโนเวชั่นกับสปีด ต้องทำจริงจัง ความสำเร็จขึ้นอยู่กับการปรับตัวที่เร็ว

ถ้าให้เทียบตนเองเป็น CEO คนที่ 3 เข้ามาในยุคที่บริษัทเป็นเหมือนจรวดที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรแล้ว CEO คนถัดไปจะส่งแรงผลักให้จรวดทะยานไปให้สูงขึ้นอีก ซึ่งต้องใช้แรงส่งมากกว่าเดิมมาก ๆ เพื่อให้จรวดทะยานต่อไปได้ ต้องเหนื่อยและต้องเข้มข้นให้มากกว่าเดิม




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1407304832

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.