Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 สิงหาคม 2557 สพธอ.สุรางคณา กังวลคือมีผู้ใช้งานจำนวนมากมีพฤติกรรมการใช้งานที่เสี่ยงภัยไซเบอร์ โดย 71.5% "เช็กอิน" ตลอดเวลาทำให้คนอื่นรู้ว่าอยู่ที่ไหน การแชร์รูปถ่ายหรือตั้งค่าการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็น "สาธารณะ" ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ทันทีมีมากถึง 62.3%

ประเด็นหลัก




ผู้อำนวยการ สพธอ.กล่าวอีกว่า สิ่งที่น่ากังวลคือมีผู้ใช้งานจำนวนมากมีพฤติกรรมการใช้งานที่เสี่ยงภัยไซเบอร์ โดย 71.5% "เช็กอิน" ตลอดเวลาทำให้คนอื่นรู้ว่าอยู่ที่ไหน การแชร์รูปถ่ายหรือตั้งค่าการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็น "สาธารณะ" ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ทันทีมีมากถึง 62.3%

นอกจากนี้ 57.5% ยังไม่เปลี่ยนรหัสผ่านทุก 3 เดือน และ 45.8% ให้ข้อมูลส่วนตัวกับเว็บไซต์ที่ใช้บริการ

ทั้งยังพบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่มักละเลยการติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส และการล้างข้อมูลก่อนยุติการใช้สมาร์ทดีไวซ์สพธอ.ยังสำรวจพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ด้วย และพบว่า 38.8% เพิ่งใช้สมาร์ทโฟนซื้อสินค้า/บริการ (เสื้อผ้า เครื่องประดับ เกมออนไลน์ ตั๋วโดยสาร เป็นต้น) โดยมูลค่าการซื้อโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4,000 บาท/ครั้ง และ 60% ชำระค่าสินค้าด้วยการโอนเงินผ่านธนาคาร มี 42.8% จ่ายผ่านบัตรเครดิต และ 16.8% จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส

ขณะที่การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์พบว่ามีเพียง 29.8% ทำธุรกรรมในรอบ 3 เดือน โดยมีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 บาท/ครั้ง

ขณะที่ 54.3% ใช้บริการผ่านหน้าเว็บไซต์ของธนาคาร ที่เหลือเป็นการทำผ่านแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน

"ปีก่อนมูลค่าออนไลน์เพย์เมนต์อยู่ที่ 743 ล้านล้านบาท ทั้งการโอนเงินออนไลน์, ระบบตู้เอทีเอ็ม และการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้น 10% เหมือนกับปีก่อน ๆ ขณะที่มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซปีที่แล้วกำลังคำนวณ แต่น่าจะเติบโตจาก 7.4 แสนล้านบาท

ในปี 2555 ได้ราว ๆ 10% เช่นกันกับปีนี้น่าจะโตได้ 10% เหมือนกัน สิ่งที่ต้องระวังคือถ้าผู้ใช้ยังไม่ใส่ใจกับเรื่องความปลอดภัย แม้ระบบโอนเงินทั้งของธนาคารและออนไลน์เพย์เมนต์จะมีความปลอดภัยสูง แต่ถ้าผู้ใช้งานไม่ระวัง มีโอกาสโดนแฮกพาสเวิร์ด หรือโดนหลอกให้โอนเงินไปที่ผู้ไม่ประสงค์ดีได้ง่าย"


______________________________




สังคมยุค "ก้มหน้า" แชต-แชร์ "7.2 ชม./วัน" เปิดช่องโจรออนไลน์



นับวันอินเทอร์เน็ตยิ่งเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของผู้บริโภคมากขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ

สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. กล่าวว่า ราคาสมาร์ทโฟนที่ถูกลง และบรรดาแอปพลิเคชั่นเกม โซเชียลเน็ตเวิร์ก ล้วนผลักดันให้เกิดการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น เพื่อให้เห็นภาพการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยให้ชัดเจน สพธอ.จึงสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ประจำปี 2557 ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ระหว่างเดือนเม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้ามาให้ข้อมูลจำนวน 16,000 คน

91% ของผู้ให้ข้อมูลใช้อินเทอร์เน็ตมานานกว่า 5 ปี ขณะที่การสำรวจครั้งนี้ได้ปรับตัวแปรด้าน "เพศ" จากเดิมแบ่งแค่ชาย-หญิงเท่านั้น คราวนี้เพิ่มเพศที่สามเข้ามาด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนขึ้น

ในการสำรวจครั้งนี้มีกลุ่มเพศที่สาม คิดเป็น 1.3% ของผู้ทำแบบสอบถามทั้งหมด ขณะที่เพศหญิง 55.6% และเพศชาย 43.1% แต่พบว่ากลุ่มเพศที่สามมีการใช้งานอินเทอร์เน็ต และโซเชียลเน็ตเวิร์กมากที่สุด

ทั้งนี้พบว่า คนไทยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 50.4 ชั่วโมง/สัปดาห์ มากกว่าปีที่ผ่านมาที่ 56% (32.3 ชั่วโมง) โดยเพศที่สามมีการใช้งานเฉลี่ยสูงถึง 62.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพศชายจะใช้อินเทอร์เน็ต 51.8 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพศหญิงใช้ที่ 49 ชั่วโมง/สัปดาห์

หากคิดเป็น "วัน" จะพบว่าคนไทยโดยเฉลี่ยใช้อินเทอร์เน็ต 7.2 ชั่วโมง/วัน หรือเกือบ 1 ใน 3 เพิ่มจากปีก่อนที่ใช้เวลาราว 4.6 ชั่วโมง/วัน และ 77% ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน โดยใช้ 6.6 ชั่วโมง/วัน รองลงมาเป็นการใช้งานผ่านเดสก์ทอป 69%, โน้ตบุ๊ก 49%, แท็บเลต 31% และสมาร์ททีวี 8%

"คอมพิวเตอร์เดสก์ทอปยังมีการใช้เป็นหลักในช่วงเวลาทำงาน แต่นอกนั้นจะใช้ผ่านสมาร์ทโฟน จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นผู้คนอยู่ในสภาวะก้มหน้าเพื่อมองหน้าจอ หรือเรียกว่าสังคมก้มหน้าก็คงไม่แปลกนัก ซึ่งการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนมักเพื่อใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ก 78.2% รองลงมาเป็นการอ่านอีบุ๊กกับค้นหาข้อมูล 57% แต่ถ้าใช้บนเดสก์ทอปจะเป็นการใช้เพื่อรับส่งอีเมล์และค้นหาข้อมูลเป็นหลัก"

โซเชียลเน็ตเวิร์กอย่าง"เฟซบุ๊ก"ยังได้รับความนิยมถึง 93% ตามด้วย "ไลน์" ที่ยอดใช้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 50% โดยกลุ่มเพศที่สามเป็นกลุ่มที่ใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุด แซงหน้าเพศอื่น ๆ ทั้งเพื่อใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ก อ่านอีบุ๊ก และซื้อของออนไลน์ มีเพียงการเล่นเกมออนไลน์เท่านั้นที่เพศหญิงใช้งานมากกว่าเพศอื่น

ผู้อำนวยการ สพธอ.กล่าวอีกว่า สิ่งที่น่ากังวลคือมีผู้ใช้งานจำนวนมากมีพฤติกรรมการใช้งานที่เสี่ยงภัยไซเบอร์ โดย 71.5% "เช็กอิน" ตลอดเวลาทำให้คนอื่นรู้ว่าอยู่ที่ไหน การแชร์รูปถ่ายหรือตั้งค่าการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็น "สาธารณะ" ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ทันทีมีมากถึง 62.3%

นอกจากนี้ 57.5% ยังไม่เปลี่ยนรหัสผ่านทุก 3 เดือน และ 45.8% ให้ข้อมูลส่วนตัวกับเว็บไซต์ที่ใช้บริการ

ทั้งยังพบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่มักละเลยการติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส และการล้างข้อมูลก่อนยุติการใช้สมาร์ทดีไวซ์สพธอ.ยังสำรวจพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ด้วย และพบว่า 38.8% เพิ่งใช้สมาร์ทโฟนซื้อสินค้า/บริการ (เสื้อผ้า เครื่องประดับ เกมออนไลน์ ตั๋วโดยสาร เป็นต้น) โดยมูลค่าการซื้อโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4,000 บาท/ครั้ง และ 60% ชำระค่าสินค้าด้วยการโอนเงินผ่านธนาคาร มี 42.8% จ่ายผ่านบัตรเครดิต และ 16.8% จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส

ขณะที่การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์พบว่ามีเพียง 29.8% ทำธุรกรรมในรอบ 3 เดือน โดยมีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 บาท/ครั้ง

ขณะที่ 54.3% ใช้บริการผ่านหน้าเว็บไซต์ของธนาคาร ที่เหลือเป็นการทำผ่านแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน

"ปีก่อนมูลค่าออนไลน์เพย์เมนต์อยู่ที่ 743 ล้านล้านบาท ทั้งการโอนเงินออนไลน์, ระบบตู้เอทีเอ็ม และการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ ปีนี้น่าจะเพิ่มขึ้น 10% เหมือนกับปีก่อน ๆ ขณะที่มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซปีที่แล้วกำลังคำนวณ แต่น่าจะเติบโตจาก 7.4 แสนล้านบาท

ในปี 2555 ได้ราว ๆ 10% เช่นกันกับปีนี้น่าจะโตได้ 10% เหมือนกัน สิ่งที่ต้องระวังคือถ้าผู้ใช้ยังไม่ใส่ใจกับเรื่องความปลอดภัย แม้ระบบโอนเงินทั้งของธนาคารและออนไลน์เพย์เมนต์จะมีความปลอดภัยสูง แต่ถ้าผู้ใช้งานไม่ระวัง มีโอกาสโดนแฮกพาสเวิร์ด หรือโดนหลอกให้โอนเงินไปที่ผู้ไม่ประสงค์ดีได้ง่าย"

ผู้อำนวยการ สพธอ.ย้ำว่า เป็นเรื่องที่ต้องเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงเรื่องดังกล่าว โดยถือเป็นหนึ่งในพันธกิจของ สพธอ.โดยปีนี้ได้เตรียมงบประมาณไว้ราว 400 ล้านบาท เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูล รวมถึงป้องกันผู้บริโภคผ่าน

ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (Thai CERT) ที่จะเข้ามาช่วยอุดช่องว่างปัญหาของระบบไอทีที่แทรกซึมอยู่ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1408344308

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.