Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กันยายน 2557 TOT.สมหมาย เร่งหายรายได้ให้ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ตู้บุญเติมค่าเช่าเดือนละ 600 บาท/ตู้ (ติดตั้งสื่อโฆษณายังไม่มีความคืบหน้า) อุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย(WiFi) เงินไม่พอ

ประเด็นหลัก

นายสมหมาย สุขสุเมฆ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ภาคขายและบริการนครหลวงที่ 4 สายงานขายและบริการลูกค้านครหลวง บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่าบริการโทรศัพท์สาธารณะมีรายได้ลดลงโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 20% จากการที่ผู้บริโภคปัจจุบันหันมาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างแพร่หลาย โดยปี 2556 มีรายได้ 300 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 270 บาท/เครื่อง/เดือน จากโทรศัพท์สาธารณะที่มีอยู่ทั้งหมด 36,186 เครื่อง (เฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑล) แบ่งเป็นส่วนที่ให้สัมปทานกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จำนวน 26,000 เครื่อง ซึ่งจะหมดสัมปทานปี 2560 และอีกหมื่นเครื่องเป็นส่วนที่ทีโอทีรับผิดชอบเอง

ที่ผ่านมา บริษัทพยายามหารายได้เพิ่มเพื่อชดเชยการลดลงของรายได้จากบริการนี้มาโดยตลอด ล่าสุดมีการหารือเพื่อขยายความร่วมมือกับบริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการตู้เติมเงินออนไลน์ "บุญเติม" เพื่อนำตู้บุญเติมรุ่นใหม่ที่สามารถใช้เป็นโทรศัพท์ได้ด้วยมาติดตั้งเพิ่มจากเดิมมีความร่วมมือกันในรูปแบบการให้เช่าพื้นที่ตู้โทรศัพท์เพื่อติดตั้งตู้เติมเงิน300 แห่ง ในกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยทีโอทีได้ค่าเช่าเดือนละ 600 บาท/ตู้



ส่วนการนำพื้นที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะมาใช้สำหรับติดตั้งสื่อโฆษณาเคยเจรจากับบริษัทแพลน บี มีเดีย จำกัด ซึ่งทำธุรกิจโฆษณาบนตู้โทรศัพท์สาธารณะไว้บ้าง แต่ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด

เช่นกันกับแผนงานของทีโอทีเองที่วางแผนใช้พื้นที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะเป็นจุดติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย(WiFi) และเป็นจุดจำหน่ายรหัสเข้าใช้ WiFi อัตโนมัติผ่านโทรศัพท์สาธารณะด้วย แต่เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนจำนวนหนึ่งจึงต้องรอการจัดสรรงบประมาณก่อน




อย่างไรก็ตาม ในรายงานประจำปี 2556 บมจ.ทีโอทีระบุข้อมูลบริการโทรศัพท์สาธารณะมีทั้งหมด 216,629 เลขหมาย เป็นของทีโอที (นครหลวงและภูมิภาค) 165,629 เลขหมาย, ทรูคอร์ปอเรชั่น (นครหลวง) 26,000 เลขหมาย และทีทีแอนด์ที (ภูมิภาค) 25,000 เลขหมาย (ดูกราฟิกประกอบ)


______________________________




ขาลงฮัลโหลสาธารณะ ทีโอทีเข้มบริหารต้นทุนพลิกแผนประคองรายได้



"ฮัลโหลสาธารณะ" ลมหายใจรวยริน "ทีโอที" ดิ้นหาทางยืดอายุธุรกิจ-เพิ่มรายได้ชดเชย เดินหน้าเจรจา "ฟอร์ท" เปิดทาง "บุญเติม" อัพเกรดตู้เติมเงินมือถือให้ใช้โทรศัพท์ได้ แลกส่วนแบ่งรายได้ พร้อมรัดเข็มขัดคุมรายจ่ายทุกเม็ดทั้งซ่อมแซม และทำความสะอาด หลังรายได้สาละวันเตี้ยลงทุกปี เหลือแค่ 270 บาท/เดือน ทั้งเผยรอจัดสรรงบประมาณซื้ออุปกรณ์กระจายสัญญาณ "ไวไฟ" ติดตั้งในตู้โทรศัพท์สาธารณะ

นายสมหมาย สุขสุเมฆ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ภาคขายและบริการนครหลวงที่ 4 สายงานขายและบริการลูกค้านครหลวง บมจ.ทีโอที เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่าบริการโทรศัพท์สาธารณะมีรายได้ลดลงโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 20% จากการที่ผู้บริโภคปัจจุบันหันมาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างแพร่หลาย โดยปี 2556 มีรายได้ 300 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 270 บาท/เครื่อง/เดือน จากโทรศัพท์สาธารณะที่มีอยู่ทั้งหมด 36,186 เครื่อง (เฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑล) แบ่งเป็นส่วนที่ให้สัมปทานกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จำนวน 26,000 เครื่อง ซึ่งจะหมดสัมปทานปี 2560 และอีกหมื่นเครื่องเป็นส่วนที่ทีโอทีรับผิดชอบเอง

ที่ผ่านมา บริษัทพยายามหารายได้เพิ่มเพื่อชดเชยการลดลงของรายได้จากบริการนี้มาโดยตลอด ล่าสุดมีการหารือเพื่อขยายความร่วมมือกับบริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการตู้เติมเงินออนไลน์ "บุญเติม" เพื่อนำตู้บุญเติมรุ่นใหม่ที่สามารถใช้เป็นโทรศัพท์ได้ด้วยมาติดตั้งเพิ่มจากเดิมมีความร่วมมือกันในรูปแบบการให้เช่าพื้นที่ตู้โทรศัพท์เพื่อติดตั้งตู้เติมเงิน300 แห่ง ในกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยทีโอทีได้ค่าเช่าเดือนละ 600 บาท/ตู้

"ถ้านำตู้บุญเติมที่ใช้โทรศัพท์ได้ด้วยมาติดตั้ง เราจะได้ส่วนแบ่งรายได้จากค่า โทร.นอกเหนือจากค่าเช่าที่ตั้งตู้รายเดือนด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากัน รวมถึงการหาพื้นที่ที่เหมาะสม เพราะบุญเติมจะเน้นเฉพาะพื้นที่ที่สามารถสร้างรายได้ได้ โดยเล็งพื้นที่บริเวณปริมณฑลไว้ คาดว่าน่าจะมีความคืบหน้าออกมาให้เห็นได้ไม่เกินสิ้นปีนี้"

ส่วนการนำพื้นที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะมาใช้สำหรับติดตั้งสื่อโฆษณาเคยเจรจากับบริษัทแพลน บี มีเดีย จำกัด ซึ่งทำธุรกิจโฆษณาบนตู้โทรศัพท์สาธารณะไว้บ้าง แต่ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด

เช่นกันกับแผนงานของทีโอทีเองที่วางแผนใช้พื้นที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะเป็นจุดติดตั้งอุปกรณ์กระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย(WiFi) และเป็นจุดจำหน่ายรหัสเข้าใช้ WiFi อัตโนมัติผ่านโทรศัพท์สาธารณะด้วย แต่เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนจำนวนหนึ่งจึงต้องรอการจัดสรรงบประมาณก่อน

"ในอดีตการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะของทีโอทีเป็นการให้สัมปทานบริษัทเอกชนดำเนินการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะในกรุงเทพฯและปริมณฑล มีทั้งหมด 10 บริษัท 14 สัญญา ปัจจุบันหมดสัญญาไปหมดแล้ว เหลือเพียงทรูเท่านั้นที่ยังมีความร่วมมืออยู่ ที่ผ่านมาเมื่อหมดสัญญาจะมีการถอนเครื่องและตู้โทรศัพท์ออกไป ส่วนที่เคยมีปัญหากับทางกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับตู้โทรศัพท์สาธารณะเถื่อนได้มีการรื้อถอนไปหมดแล้ว" นายสมหมายกล่าวและว่า

ถึงแม้บริการโทรศัพท์สาธารณะจะมีผู้ใช้บริการน้อยลงมาก หรือบางแห่งแทบไม่มีคนใช้บริการ แต่ตู้โทรศัพท์สาธารณะยังเป็นบริการสาธารณะที่มีความจำเป็นต่อคนทั่วไป เนื่องจากในสถานที่บางแห่งไม่อนุญาตให้ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือในยามฉุกเฉินจึงยังต้องมีบริการโทรศัพท์สาธารณะ เช่น ในสถานศึกษา, โรงเรียน เป็นต้น

"พื้นที่ในห้างสรรพสินค้ายังจำเป็นต้องมีเครื่องโทรศัพท์สาธารณะ เมื่อเร็ว ๆ ได้มีการขอติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะประมาณ 30 เครื่อง ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวสต์เกต (บางใหญ่) เพื่อให้บริการประชาชนที่มาใช้บริการในห้าง หรือบริเวณย่านชุมชนแถวสมุทรปราการ พระประแดง ก็เป็นพื้นที่ที่มีการใช้โทรศัพท์สาธารณะมาก ทั้งจากกลุ่มผู้ใช้แรงงานและผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น"

นายสมหมายกล่าวต่อว่า นอกจากความพยายามในการหารายได้เพิ่มเติมแล้วทีโอทียังต้องบริหารต้นทุนในการบริการโทรศัพท์สาธารณะให้เหมาะสมด้วยเพราะโดยปกติจะมีต้นทุนหลักที่สำคัญ เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ซึ่งในการติดตั้งในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน หากเป็นการติดตั้งบนพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร อาทิ ตามทางเท้าสาธารณะไม่เสียค่าเช่าที่ แต่ถ้าติดตั้งบนพื้นที่ของเอกชน อาทิ หน้าร้านสะดวกซื้อ ต้องเสียค่าเช่าเดือนละ 200 บาท หรือแบ่งส่วนรายได้จากค่าโทรศัพท์ที่ติดตั้ง 10-20% เป็นค่าเช่าแล้วแต่การเจรจากับเจ้าของสถานที่ ส่วนการดูแลเรื่องความสะอาดในบางพื้นที่ทีโอทีดูแลเอง แต่บางพื้นที่ยังมีสัญญาเก่าให้กรุงเทพมหานครดูแลความสะอาดให้ในราคาตู้ละ 35 บาท/เดือน

"ต่อไปเมื่อหมดสัญญาทำความสะอาดกับทางกรุงเทพฯ ทีโอทีจะเข้าไปดำเนินการเองทั้งหมด เพื่อประหยัดงบประมาณ เช่นเดียวกับการซ่อมบำรุงที่จะเข้าไปดำเนินการเมื่อได้รับแจ้ง เนื่องจากได้โยกพนักงานในส่วนของงานดูแลตู้โทรศัพท์สาธารณะให้ไปปฏิบัติงานอื่นแล้ว อาทิ การติดตั้งอินเทอร์เน็ต, ติดตั้งโทรศัพท์บ้าน ซึ่งในส่วนการซ่อมแซม หากมีอุปกรณ์ชำรุดหรือเสียหายจะใช้อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนของเครื่องที่ถอนการติดตั้งไปแล้วมาซ่อมแซม เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการสั่งซื้ออุปกรณ์ใหม่"



อย่างไรก็ตาม ในรายงานประจำปี 2556 บมจ.ทีโอทีระบุข้อมูลบริการโทรศัพท์สาธารณะมีทั้งหมด 216,629 เลขหมาย เป็นของทีโอที (นครหลวงและภูมิภาค) 165,629 เลขหมาย, ทรูคอร์ปอเรชั่น (นครหลวง) 26,000 เลขหมาย และทีทีแอนด์ที (ภูมิภาค) 25,000 เลขหมาย (ดูกราฟิกประกอบ)

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1410150369

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.