Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

12 กันยายน 2557 คูปองดิจิทัลส่อเค้าเหลว!! เนื่องจากเงื่อนไขเวลากระชั้นชิดเกินไป อีกทั้ง ต้องจัดบรรจุดซองด้วย แต่สำนักงานสลากฯไม่มีเครื่องบรรจุซอง ต้องจัดหาเครื่องบรรจุซองจากภายนอกเพิ่มเติม

ประเด็นหลัก



มีความคืบหน้าการจัดพิมพ์คูปองทีวีดิจิทัล ซึ่ง กสทช.ต้องเริ่มแจกให้ประชาชนในวันที่ 15 ตุลาคม โดยพ.ต.อ.บุญส่ง จันทรีศรี รอง ผอ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยว่า สำนักงานสลากฯส่งหนังสือตอบปฏิเสธกลับไปให้ กสทช.เกี่ยวกับการจัดพิมพ์คูปองทีวีดิจิตอล เนื่องจากเงื่อนไขเวลากระชั้นชิดเกินไป อีกทั้ง ต้องจัดบรรจุดซองด้วย แต่สำนักงานสลากฯไม่มีเครื่องบรรจุซอง ต้องจัดหาเครื่องบรรจุซองจากภายนอกเพิ่มเติม ซึ่งไม่สามารถจัดหาได้ทันที ติดเงื่อนไขระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลางและต้องผ่านขั้นตอนพิจารณาของคณะกรรมการสลากฯอีกด้วย ทำให้ไม่สามารถพิมพ์ได้ทันตามที่กำหนดไว้


______________________________




‘ทีวี3’ดิ้นยื่นเงื่อนไข

หาช่องใหม่ออนแอร์

คูปองดิจิทัลส่อเค้าเหลว

กองสลากฯยันพิมพ์ไม่ทัน

เมื่อวันที่ 10 กันยายน นายสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3เปิดเผยว่า บริษัทได้ยื่นข้อเสนอต่อสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปแล้วว่า ให้ช่อง3 อนาล็อค สามารถออกอากาศได้แบบเรียล ไทม์ พาส ทู (Real time pass thru) หรือการนำสัญญาณการออกอากาศของช่อง3 ไปออกอากาศโดยไม่ได้แก้ไขหรือดัดแปลงสัญญาณแต่อย่างใด ซึ่งที่ผ่านมาทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวีได้ทำหน้าที่เป็นเสาอากาศให้ฟรีทีวีในการรับส่งสัญญาณอนาล็อคไปยังผู้ชม

ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าว กสทช.สามารถนำสัญญาณไปให้ผู้ประกอบการรายใดก็ได้ แต่ต้องมาขออนุญาตช่อง 3 ก่อน เช่นเดียวกับการนำสัญญาณไปออกอากาศในช่องทีวีดิจิทัล ซึ่งกสทช.ก็ต้องขออนุญาตบริษัทที่ทำธุรกิจทีวีดิจิทัลในช่องนั้นๆ ในส่วนของทีวีดิจิทัลทั้ง 3 ช่องในเครือช่อง 3 ก็เช่นกัน หากกสทช.ต้องการให้ช่อง 3 ไปออกอากาศช่องไหน กสทช.ก็ต้องเข้าไปเจรจากับบริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย

“การจะเอาสัญญาณไปใช้ต่อก็ต้องบอกเจ้าของช่องก่อน ถ้า กสทช.อยากให้ช่อง3 ไปออกอากาศในช่อง3ทีวีดิจิทัล ก็ต้องไปเจรจากับบริษัทบีอีซี-มัลติมีเดียเอง ไม่ใช่ให้บริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนท์ ที่ดูแลช่อง 3 อนาล็อค ซึ่งไม่มีใบอนุญาต ขณะนี้อยากให้เริ่มต้นที่เรื่องนี้ก่อน”นายสุรินทร์กล่าว

ด้านน.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)กล่าวว่า กรณีที่ช่อง 3 ยื่นข้อเสนอมาเพื่อออกอากาศในระบบเรียล ไทม์ พาส ทรู ถ้าออกในช่องทีวีดิจิทัลของตัวเองสามารถทำได้ โดยเฉพาะช่อง3HD เนื่องจากช่องดังกล่าวเป็นช่องวาไรตี้ในระบบความคมชัดสูง ซึ่งหากช่อง3 นำช่อง3 อนาล็อคมาออกอากาศในช่อง 3HD หมายเลข33 ก็จะทำให้สัญญาณการออกอากาศเหมือนกับช่อง7ในตอนนี้ ซึ่งออกอากาศคู่ขนาน(ไซมัลคาสท์) ระหว่างอนาล็อคและทีวีดิจิทัลควบคู่กันไป

อย่างไรก็ดี เรื่องที่ช่อง 3 จะขอให้ กสทช.หาช่องสัญญาณทีวีดิจิทัลให้ใหม่ เพื่อนำช่องอนาล็อคมาออกอากาศนั้น ไม่สามารถดำเนินการได้ โดยเฉพาะการขอสิทธิ์ออกอากาศในช่องสาธารณะ เนื่องจากช่อง 3 อนาล็อคเป็นช่องธุรกิจ ขณะเดียวกันหากช่อง 3 ต้องการนำสัญญาณมาออกอากาศในทีวีดิจิทัลช่องธุรกิจอื่นๆ ไม่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะผู้ประกอบการรายอื่นคงไม่ยอม ยกเว้นออกกาศในทีวีดิจิทัลของช่อง 3 ซึ่งหากช่อง 3 ต้องการให้ กสทช.เข้าไปเจรจาก็ยินดี

“ทางออกที่ดีของช่อง 3 มีอยู่ 2 แนวทางหลักคือ 1.ยอมออกคู่ขนานเดินตามช่อง 7 เพื่อแก้ปัญหาเรื่องจุกจิกที่เกิดขึ้นขณะนี้ ถ้ามีข้อสงสัยเรื่องดำเนินการ กสทช.ยินดีเป็นตัวกลางเชิญช่อง 7 เข้ามาร่วมหารือแนวทางดังกล่าว เพราะตอนนี้ช่องทีวีดิจิทัลที่เหมาะกับช่อง 3 อนาล็อคมากที่สุดในตอนนี้คือ ช่อง 3 HD หมายเลข 33 แต่ถ้าช่อง 3 ไม่อยากออกอากาศคู่ขนานก็ควรเลือกแนวทางที่ 2 คือ การขอใบอนุญาตการออกอากาศแบบบอกรับสมาชิกในเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม ซึ่งทางเลือกดังกล่าวช่อง 3 จะยอมรับเวลาโฆษณา 6 นาทีได้หรือไม่ คงต้องขึ้นอยู่การการพิจารณาของช่อง 3 ว่าจะเลือกทางออกแบบไหน” น.ส.สุภิญญากล่าว

วันเดียวกัน ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) มีการประชุมผู้ประกอบการโครงข่ายโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก (เคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม) เพื่อชี้แจงผู้ใช้บริการกรณีระงับการนำช่องรายการที่สิ้นสุดการให้บริการเป็นการทั่วไป (ฟรีทีวี) หรือช่อง 3 อนาล็อก มาออกอากาศในโครงข่ายของตนเอง หลังได้รับหนังสือคำสั่งทางปกครอง ภายใน 15 วัน

โดยนายมานพ โตการค้า ประธานชมรมผู้ประกอบการโครงข่ายโทรทัศน์ดาวเทียม กล่าวว่า ผู้ประกอบการโครงข่ายดาวเทียมทุกราย พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งทางปกครองตามมติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ที่ให้ยุติแพร่ภาพทีวีอนาล็อก หรือ ช่อง 3 อนาล็อก หลังจากได้รับหนังสือคำสั่ง จากสำนักงาน กสทช. อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้ ต้องการให้ กสท.พิจารณายืดเวลาการบังคับใช้คำสั่งภายใน 30 วัน เพื่อประชาสัมพันธ์แนวทางปฏิบัติตามคำสั่งห้ามแพร่ภาพช่อง 3 กับลูกค้า เนื่องจากเป็นคำสั่งที่กระทบกับผู้ใช้บริการผ่านโครงข่ายเคเบิลและดาวเทียม 15 ล้านครัวเรือนจำนวน 40-45 ล้านคน อีกทั้ง ต้องใช้เวลาทำระบบซอฟต์แวร์ OTA อัพเดทช่องรายการใหม่ ด้วยการนำช่อง 3 อนาล็อก ออกจากโครงข่าย

“ผู้ประกอบการโครงข่าย ไม่ต้องการให้เกิดจอดำ แต่ต้องทำตามคำสั่ง กสท. จึงต้องการให้ทั้งกสท.และช่อง 3 เจรจาหาทางออก เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับผู้ชมทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการโครงข่ายเคเบิลและดาวเทียม ได้หารือกับช่อง 3 แล้วสองครั้ง โดยช่อง 3 ยืนยันดำเนินการถูกต้องตามสิทธิการบริหารช่อง 3 อนาล็อกถึงปี 2563”นายมานพระบุ

เช่นเดียวกับ นายณัฏฐชัย อักษรดิษฐ์ นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นทั่วประเทศ 300 ราย พร้อมปฏิบัติตามคำสั่ง กสท. ห้ามแพร่ภาพช่อง 3 อนาล็อก โดยต้องการให้กสท. กำกับดูแลการยุติออกอากาศช่อง 3 เหมือนกันทุกโครงข่าย ทั้งผู้ประกอบการเพย์ทีวีระดับชาติและท้องถิ่น เพื่อไม่ทำให้เกิดการแข่งขันไม่เป็นธรรม

ขณะที่น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. และกรรมการ กสท.กล่าวถึงการรับฟังความเห็นในเวทีประชุมโครงข่ายเคเบิลและดาวเทียมว่า ผู้ประกอบการทุกราย พร้อมปฏิบัติตามมติ กสท. ห้ามเผยแพร่ ช่อง 3 อนาล็อก ซึ่ง กสทช.ส่งหนังสือคำสั่งทางปกครอง ไปยังโครงข่ายเคเบิลและดาวเทียมแล้ว โดยต้องปฎิบัติตามภายใน 15 วัน ทั้งนี้ จะให้สำนักงาน กสทช. จัดทำข้อความแจ้งเตือนผู้ชมในแต่ละโครงข่ายรับรู้ข้อมูลล่วงหน้า ก่อนยุติออกอากาศช่อง 3 อนาล็อก พร้อมสำรองคอลล์ เซ็นเตอร์ กสทช. 1200 เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ชมผ่านโครงข่าย

สำหรับแนวทางที่ผู้ประกอบการโครงข่ายฯเสนอให้ยืดระยะเวลาปฎิบัติตามคำสั่งเป็น 30 วันนั้น น.ส.สุภิญญากล่าวว่า คงไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ถ้าในแนวทางปฏิบัติมีปัญหาด้านเทคนิคที่ไม่สามารถดำเนินการได้ทันตามกำหนด 15 วัน โครงข่ายฯต้องแจ้งสาเหตุให้กสทช.ทราบ เพื่อพิจารณาอีกครั้ง



มีความคืบหน้าการจัดพิมพ์คูปองทีวีดิจิทัล ซึ่ง กสทช.ต้องเริ่มแจกให้ประชาชนในวันที่ 15 ตุลาคม โดยพ.ต.อ.บุญส่ง จันทรีศรี รอง ผอ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเผยว่า สำนักงานสลากฯส่งหนังสือตอบปฏิเสธกลับไปให้ กสทช.เกี่ยวกับการจัดพิมพ์คูปองทีวีดิจิตอล เนื่องจากเงื่อนไขเวลากระชั้นชิดเกินไป อีกทั้ง ต้องจัดบรรจุดซองด้วย แต่สำนักงานสลากฯไม่มีเครื่องบรรจุซอง ต้องจัดหาเครื่องบรรจุซองจากภายนอกเพิ่มเติม ซึ่งไม่สามารถจัดหาได้ทันที ติดเงื่อนไขระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลางและต้องผ่านขั้นตอนพิจารณาของคณะกรรมการสลากฯอีกด้วย ทำให้ไม่สามารถพิมพ์ได้ทันตามที่กำหนดไว้

http://www.naewna.com/business/121059

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.