Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 มกราคม 2558 แหล่งข่าว GMM ใกล้ชิดนายไพบูลย์ระบุเมื่อคุณถกลเกียรติเป็นทั้งผู้บริหารและผู้ถือหุ้น การตัดสินใจต่าง ๆ จะเร็วขึ้น ขณะที่ความเป็นเจ้าของทำให้มั่นใจได้ถึงความทุ่มเท การตัดสินใจที่ผ่านการไตร่ตรองแล้วว่าต้องเป็นแนวทางที่ดีที่สุด

ประเด็นหลัก


แหล่งข่าวใกล้ชิด นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป็นการตัดสินใจร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเป็นโมเดลการบริหารที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี

"เมื่อคุณถกลเกียรติเป็นทั้งผู้บริหารและผู้ถือหุ้น การตัดสินใจต่าง ๆ จะเร็วขึ้น ขณะที่ความเป็นเจ้าของทำให้มั่นใจได้ถึงความทุ่มเท การตัดสินใจที่ผ่านการไตร่ตรองแล้วว่าต้องเป็นแนวทางที่ดีที่สุด"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในบรรดาผู้บริหารทั้งหมดต้องถือว่า "บอย-ถกลเกียรติ" เข้าใจและรับรู้ความเป็นไปทีวีดิจิทัลของแกรมมี่ทั้ง 2 ช่องดีที่สุด เพราะเป็นคีย์แมนที่ร่วมวางแผนธุรกิจ กำหนดคอนเซ็ปต์ และวางยุทธศาสตร์มาตั้งแต่ต้น ก่อนจะมีการประมูลไลเซนส์เมื่อปลายปี 2556

การมีผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามายังเป็นการแบ่งเบาภาระการลงทุนของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่อีกด้วย


_____________________________________________________














"บอย-ถกลเกียรติ" พลิกบท โดดถือหุ้น GMM ONE


ถือเป็นหนึ่งในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่น่าสนใจไม่น้อย หลังจากประกาศตัวชัดตั้งแต่ปลายปีก่อน จะเปิดเกมรบบนสมรภูมิทีวีดิจิทัลเต็มสูบ เพื่อแจ้งเกิดให้ได้ !!!

ความเคลื่อนไหวล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2557 มีมติให้ขายหุ้นสามัญของบริษัท จีเอ็มเอ็ม วัน ทีวี เทรดดิ้งจำกัด หรือ GMM ONE ให้ นายถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดิจิทัลทีวี บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) 2,000 หุ้น โดยที่นายถกลเกียรติจะขายหุ้นคืนบริษัทจำนวน 1 หุ้น

ที่ประชุมยังสละสิทธิซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 4,408,000 หุ้น จาก 5,000,000 หุ้น และเปิดโอกาสให้กลุ่มนายถกลเกียรติ เป็นผู้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนนี้แทน

ทั้งหมดนี้ส่งผลให้กลุ่มนายถกลเกียรติถือหุ้น GMM ONE ในสัดส่วน 49% โดยที่บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ยังถือหุ้นในสัดส่วน 51%

ส่วนนี้จะดำเนินการภายหลังที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2558 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เห็นชอบด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 โดยไม่นับส่วนผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

ไม่เพียงเท่านั้น คณะกรรมบริษัทยังเห็นชอบให้ขายเงินลงทุนในบริษัท แอ็กซ์ สตูดิโอ จำกัด (ACTS) ซึ่งบริษัทถืออยู่ในสัดส่วน 62.5% ให้กับ GMM ONE อีกด้วย

เท่ากับว่าจากนี้ไป "ช่อง ONE" จะเดินหน้าตามแผนที่วางไว้ได้คล่องตัวขึ้น ทั้งการพัฒนาเนื้อหารายการ และแผนการลงทุนต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันบนสมรภูมิทีวีดิจิทัล ตามที่ "ถกลเกียรติ" ประกาศไว้ก่อนหน้านี้จะต้องมีรายได้ 1,000 ล้านบาท และคืนทุนภายใน 5 ปี จากบทบาทผู้บริหารกลายเป็นผู้ถือหุ้นลำดับที่ 2 ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง ขณะที่ช่อง "จีเอ็มเอ็ม แชนเนล" ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ

แหล่งข่าวใกล้ชิด นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป็นการตัดสินใจร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย เพราะเป็นโมเดลการบริหารที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี

"เมื่อคุณถกลเกียรติเป็นทั้งผู้บริหารและผู้ถือหุ้น การตัดสินใจต่าง ๆ จะเร็วขึ้น ขณะที่ความเป็นเจ้าของทำให้มั่นใจได้ถึงความทุ่มเท การตัดสินใจที่ผ่านการไตร่ตรองแล้วว่าต้องเป็นแนวทางที่ดีที่สุด"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในบรรดาผู้บริหารทั้งหมดต้องถือว่า "บอย-ถกลเกียรติ" เข้าใจและรับรู้ความเป็นไปทีวีดิจิทัลของแกรมมี่ทั้ง 2 ช่องดีที่สุด เพราะเป็นคีย์แมนที่ร่วมวางแผนธุรกิจ กำหนดคอนเซ็ปต์ และวางยุทธศาสตร์มาตั้งแต่ต้น ก่อนจะมีการประมูลไลเซนส์เมื่อปลายปี 2556

การมีผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามายังเป็นการแบ่งเบาภาระการลงทุนของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่อีกด้วย

ส่วน "สายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจสื่อ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด อธิบายว่า การเข้ามาถือหุ้นของกลุ่มนายถกลเกียรติ ไม่มีผลต่อการบริหารธุรกิจในภาพรวมของแกรมมี่

แต่น่าจะมีผลต่อการบริหาร "ช่อง ONE" เนื่องจาก "ถกลเกียรติ" มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้ว ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ต้องรอการประชุมผู้ถือหุ้นอีกครั้ง

ก่อนหน้านี้ "ถกลเกียรติ" กล่าวไว้ว่า "ธุรกิจทีวีแข่งขันกันที่คอนเทนต์รายการ และรายการดี ๆ จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง ทำให้ทิศทางปีนี้ทุกช่องคงแข่งกันเติมคอนเทนต์แม่เหล็กออกมาอย่างต่อเนื่อง"

ซึ่งตามแผนที่วางไว้ปีนี้ เฉพาะช่อง ONE จะใช้งบฯลงทุน 3,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2,000 ล้านบาท พัฒนาและผลิตคอนเทนต์รายการ ทั้งละคร ซิทคอม และเกมโชว์ต่าง ๆ ที่เหลืออีก 1,000 ล้านบาทสำหรับการลงทุนอุปกรณ์ และค่าไลเซนส์

นอกจากนี้ เตรียมงบฯอีกส่วนสำหรับสร้างสตูดิโอ บริเวณด้านหลังตึกจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพื่อรองรับการขยายตัว และเพิ่มความคล่องตัวให้แก่ช่อง ONE ในอนาคต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเข้ามาถือหุ้นใน "จีเอ็มเอ็ม วัน" ของกลุ่มนายถกลเกียรติที่เกิดขึ้น ถือเป็นก้าวย่างสำคัญ หลังจากยักษ์ใหญ่รายนี้ได้วางเป้าหมาย เทน้ำหนักไปที่ธุรกิจทีวี โดยเฉพาะทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือ ช่อง ONE และจีเอ็มเอ็ม แชนเนล

แม้แผนที่วางไว้ก่อนหน้านี้สำหรับการลงทุนธุรกิจโทรทัศน์บอกรับสมาชิก (เพย์ทีวี) ทำให้แกรมมี่ต้องสะดุด ประสบกับการขาดทุนต่อเนื่อง แต่เป้าหมายใหม่อย่าง "ทีวีดิจิทัล" ที่มีเดิมพันด้วยเม็ดเงินโฆษณามหาศาล กลายเป็นขุมทรัพย์ใหม่ที่แกรมมี่พร้อมทุ่มสุดตัว



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1421301770

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.