Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 กุมภาพันธ์ 2558 คำพิพากษาศาลฎีกา ระบุว่า นายจ้างสามารถไล่ลูกจ้างที่ใช้คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารด้วยการแชตหรือเล่นอินเทอร์เน็ตในเวลางานออกจากงานได้ทันที

ประเด็นหลัก


   ล่าสุด คำพิพากษาศาลฎีกา ระบุว่า นายจ้างสามารถไล่ลูกจ้างที่ใช้คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารด้วยการแชตหรือเล่นอินเทอร์เน็ตในเวลางานออกจากงานได้ทันที ทางด้าน สิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจสอบถามสมาชิกนายจ้างกว่า 500 บริษัท ขณะนี้มีลูกจ้างกว่า 30 ราย ลูกเลิกจ้างด้วยสาเหตุดังกล่าว
     
        ยกตัวอย่าง ลูกจ้างรายหนึ่งที่ถูกเลิกจ้างเป็น 'พนักงานทดลองงานด้านบัญชี' มีพฤติกรรม ติดแชต เล่นอินเทอร์เน็ตในเวลาทำงานนานเป็นชั่วโมงๆ บางวันสนใจแต่แชตไม่มีสมาธิทำงาน ส่งผลให้ส่งงานไม่ทันตามกำหนด อย่างไรก็ตาม ก่อนที่นายจ้างจะเลิกจ้างนั้นได้ทำการตัดเตือนด้วยวาจา และออกหนังสือตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ลูกจ้างยังมีพฤติกรรมเช่นเดิมจึงมีคำสั่งให้ออกจากงาน


     การตักเตือนก่อนเลิกจ้างนั้นมี 2 ระดับ 1.การเตือนด้วยวาจา 2. การเตือนเป็นลักษณ์อักษร ซึ่งถ้ายังคงทำผิดซ้ำซากต่อไปกฎหมายจะเปิดโอกาสให้นายจ้างมีสิทธิโดยชอบธรรมในการเลิกจ้าง



_____________________________________________________











อ่านก่อนเจ้านาย.. ไล่ออก 'แชต' ไม่รู้เวลา ตกงานไม่รู้ตัว!




        'ลูกจ้างกว่า 30 ราย โดนไล่ออกเพราะแชตในเวลางาน...' ข้อมูลจริงที่ได้รับการเปิดเผยจากสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย สะท้อนพฤติกรรมติดโซเชียลมีเดียของพนักงานจนส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานขั้นรุนแรง และจำต้องถูกปลดออกจากงานตามระเบียบ!
     
        กลายๆ ว่า พฤติกรรมของชาวสังคมก้มหน้าเริ่มส่งกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานผู้ไร้สำนึก ขาดความรับผิดชอบ คงเป็นไม่แปลกที่จะเสียงานเสียการ เพราะเป็นทาสโซเชียลมีเดียติดโซเชียลงอมแงม ในเวลาทำงานเอาแต่นั่งแชตไลน์, แชตเฟซบุ๊ก ฯลฯ ซึ่งก่อนหน้านี้กลุ่มข้าราชการนำร่องถูกสั่งห้ามใช้คอมพ์ หรือเครื่องมือสื่อสารของราชการเพื่อใช้งานโซเชียลมีเดียในเรื่องส่วนตัว เช่น เล่นเฟซฯ เล่นไลน์ เพราะถูกร้องเรียนว่าไม่เหมาะสม
     
        แม้กฎหมายอาจไม่ระบุชัดว่าการแชตในเวลางานเป็นความผิด แต่เมื่อพฤติกรรมเหล่านี้สร้างความเสียหายต่องาน และสอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติของทางบริษัท ขณะที่มีการตักเตือนแล้วยังกระทำความผิดซ้ำซาก 'นายจ้าง' สามารถบอกเลิกจ้างได้ทันที โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย
     
        อยากโดนไล่ออกต้องแชต
        ล่าสุด คำพิพากษาศาลฎีกา ระบุว่า นายจ้างสามารถไล่ลูกจ้างที่ใช้คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารด้วยการแชตหรือเล่นอินเทอร์เน็ตในเวลางานออกจากงานได้ทันที ทางด้าน สิริวัน ร่มฉัตรทอง เลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการสำรวจสอบถามสมาชิกนายจ้างกว่า 500 บริษัท ขณะนี้มีลูกจ้างกว่า 30 ราย ลูกเลิกจ้างด้วยสาเหตุดังกล่าว
     
        ยกตัวอย่าง ลูกจ้างรายหนึ่งที่ถูกเลิกจ้างเป็น 'พนักงานทดลองงานด้านบัญชี' มีพฤติกรรม ติดแชต เล่นอินเทอร์เน็ตในเวลาทำงานนานเป็นชั่วโมงๆ บางวันสนใจแต่แชตไม่มีสมาธิทำงาน ส่งผลให้ส่งงานไม่ทันตามกำหนด อย่างไรก็ตาม ก่อนที่นายจ้างจะเลิกจ้างนั้นได้ทำการตัดเตือนด้วยวาจา และออกหนังสือตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ลูกจ้างยังมีพฤติกรรมเช่นเดิมจึงมีคำสั่งให้ออกจากงาน
     
        ทีมข่าว Astv ผู้จัดการ Live ต่อสายตรงไปยัง วรานนท์ ปีติวรรณ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน อธิบายหลักการ สอบถามถึงรายละเอียดระเบียบเกี่ยวกับ กรณีลูกจ้างแชตในเวลางานที่มีความผิดถึงขั้นไล่จากงาน
     
        “ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนว่ากรณีนี้เป็นการลงโทษ เป็นมาตรการทางวินัยที่นายจ้างทำต่อลูกจ้าง มาตรการการลงโทษนายจ้างต้องลงโทษตามแนวทางที่กฎหมายวางเอาไว้ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางบริษัทกำหนด หลักเกณฑ์ของการลงโทษต้องสอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งกฎหมายมีมาตั้งแต่ปี 2541 และทางบริษัทต่างๆ เอง มีสิทธิกำหนดแนวทางในการลงโทษหนักเบาก็ว่ากันไป
     
        “เกิดคำถามว่าการแชต ถือว่าเป็นการประทำผิดได้ไหม? ต้องตอบว่าในกฎหมายไม่ได้ระบุหรอกครับ ว่าแชตมันผิดหรือแชตมันถูก เพราะกฎมายจะบอกกว้างๆ แต่การเขียนระเบียบข้อบังคับอาจจะบอกลักษณะงานมีความซีเรียสต้องตั้งอกตั้งใจในการทำงาน เช่น พนักงานบัญชี อาจจะกำหนดว่าห้ามใช้โซเชียลมีเดีย หรือพนักงานต้องตั้งอกตั้งใจทำงาน อาจจะไม่เขียนห้ามแชตโดยสิ้นเชิง แต่บางเคสหากนายจ้างเห็นลูกจ้างคนไหนทำงานแล้วไม่ให้ความสำคัญกับงาน เล่นแชตมากจนเกินไป มีผลกระทบต่อการทำงาน งานมีความเสียหายได้ และมันก็ไปพ้องกับระเบียบข้อบังคับของทางบริษัท ก็จะเริ่มเข้าข่ายการลงโทษแล้ว” วรานนท์ อธิบายฐานความผิดที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างโดยชอบธรรม
     
        ผิดซ้ำผิดซาก พิจารณาตัวเอง
        รศ.ดร.วรวิทย์เจริญเลิศ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิพากษ์ว่าในเวลาปฏิบัติงานลูกจ้างไม่สมควรเล่นอินเทอร์เน็ตหรือแชตอยู่แล้ว ซึ่งระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเลิกจ้างที่เป็นผลพวงจากพฤติกรรมติดแชตนั้นเป็นแนวทางที่ดี แต่สิ่งสำคัญคือ นายจ้าง สหภาพแรงงาน กระทรวงแรงงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ต้องทำการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลให้ลูกจ้างรับทราบโดยทั่วกันเสียก่อน ความที่เทคโนโลยีมาเร็วมากและบางคนอาจไม่ทราบว่าพฤติกรรมของตนนั้นเป็นปัญหา
     
        ที่สำคัญทางนายจ้างก็ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าเป็นพฤติกรรมที่ร้ายแรงสมควรเลิกจ้างจริงหรือไม่ อาจตักเตือนเป็นลำดับ ต้องให้เป็นธรรมกับลูกจ้างไม่ใช่ว่าไม่พอใจพฤติกรรมก็บอกเลิกจ้างได้ตามใจ ซึ่งตรงนี้กฎหมายให้ความคุ้มครองลูกจ้างอยู่ แน่นอนว่า หากลูกจ้างรู้สึกถูกเลิกจ้างโดยไม่ชอบธรรมสามารถฟ้องร้องต่อศาลขอความเป็นธรรมต่อไป
     


        ชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวถึงสถานการณ์กรณีนายจ้างสามารถปลดลูกจ้างหากพบว่าแชตในเวลางาน
     
        “โดยมากแล้วคนที่จะแชตจะเป็นพนักงานในออฟฟิศ แต่พนักงานสายการผลิตไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว โดยหลักการนายจ้างเขาจ้างเราไปทำงาน อุปกรณ์สำนักงานคอมพิวเตอร์ที่เขามีให้เอาไว้ใช้ทำงานไม่ใช้เล่นโซเชียลมีเดียใช้เรื่องส่วนตัว หรือใช้มือถือส่วนตัวแชต ตรงนี้ก็มีปัญหาเพราะคุณไปใช้เวลางานทำเรื่องส่วนตัว เป็นการละทิ้งหน้าที่”
     
        เขามองว่า “แชต ถ้าเป็นเรื่องของงานของบริษัทไม่เป็นปัญหาหรอก แต่ถ้าเผื่อแชตส่วนตัวแชตเป็นชั่วโมงๆ เนี่ย ตรงนี้จะมีปัญหาได้ เราต้องถามว่าคำว่าแชตมันร้ายแรงแค่ไหน ต้องดูประเด็นตรงนั้น ไม่ใช่ว่าใครแชตแล้วไปปลดออกเลยมันไม่ใช่ครับ
     
        “เราต้องตีความหมายว่าการแชตนั้นมันร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง จะจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ถ้าไม่ร้ายแรงมันต้องมีการตักเตือนด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษรก็ว่ากันไป ต้องมีการตักเตือนกันก่อน มีโทษทางวินัย แต่ถ้าไปถึงบอกว่า..ปลดออกเลิกจ้างมันไม่ใช่ ต้องดูโทษทางวินัยว่าหนักหรือไม่หนัก มีเขียนไว้ในกฎหมายแรงงานเราต้องไปดูว่าร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง”
     
        หนึ่งในคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยคนเดิม กล่าวทิ้งท้าย “อันไหนถูกก็ว่ากันไปตามถูก อันไหนผิดก็ว่ากันไปตามผิด ลูกจ้างเองคุณต้องมีความรับผิดชอบมีวินัย การที่คุณไปโกงเวลางานเขาเราก็ไม่เห็นด้วย เพราะว่ามันเป็นความรับผิดชอบของคนงาน ต้องมีจรรยาบรรณ ทางนายจ้างก็อยากให้มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนลงโทษ อยากให้มีการสอบถาม ตักเตือน ทั้ง 2 ฝ่าย ต้องมีความรับผิดชอบ มีเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมปัญหามันก็จะไม่เกิด”
     
        โดนข้อหาติดแชต ต้องทำอย่างไร
        วรานนท์ รองอธิบดีฯ ให้คำแนะนำกลุ่มลูกจ้างเกี่ยวกับระเบียบใหม่ที่นายจ้างนำมาพิจารณาเลิกจ้าง
     
        “มาตราการทางวินัยไม่ใช่ว่าเลิกจ้างโดยทันที กฎหมายจะแยกว่า ถ้าเป็นเรื่องรุนแรง เช่น เป็นความผิดร้ายแรงเกิดความเสียหายร้ายแรง กระทำความผิดอาญากับนายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างเสียหาย อย่างนี้โทษรุนแรงออกทันทีแต่บางพฤติกรรมกระทำในสถานประกอบการที่แตกต่างกันความรุนแรงก็ไม่เท่ากัน เช่น บริษัทห้ามพนักงานสูบบุหรี่ในเวลางาน ถ้าเป็นบริษัททั่วไปอาจจะผิดแต่ไม่แรงพอถึงไล่ออก แต่ถ้าเป็นโรงกลั่นน้ำมันโทษรุนแรงทันที กลายๆ ว่าภายใต้พฤติกรรมกระทำความผิดอาจจะเป็นความผิดรุนแรงหรือไม่รุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบงาน
     
        “กฎหมายจะบอกว่าถ้าเป็นความผิดที่รุนแรงสอดคล้องกับระเบียบของสถานประกอบการสามารถเลิกจ้างได้ทันที”
     
        อย่างไรก็ตาม กรณีการเลิกจ้างตามที่เป็นข่าวในฐานความผิดแชตระหว่างปฏิบัติงานนั้นเป็นเรื่องที่นายจ้างสามารถตักเตือนได้ก่อนตัดสินใจว่าจะเลิกจ้างหรือไม่
     
        “ในกรณีที่เป็นข่าว เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย บริษัทดำเนินการลงโทษเริ่มต้นตั้งแต่การเตือน เมื่อเตือนแล้วยังคงกระทำความผิดซ้ำคำเตือนอีก อย่างนี้ถือว่าผิดซ้ำซาก นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้”
     
        อีกมุมหนึ่ง เกิดความสงสัยว่าระเบียบตรงนี้กลับกลายเป็นช่องทางรังแกลูกจ้างหรือเปล่า วรานนท์ อธิบาย
     
        “มีคนถามว่าถ้าอย่างนั้น ดูเหมือนลูกจ้างโดนรังแกหรือเปล่า? ต้องมองอย่างเป็นกลางครับ กรณีลูกจ้างเป็นคนตั้งใจทำงานไม่มีเจตนาจะฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของทางบริษัท คนเราเมื่อโดนเตือนควรจะกระทำผิดซ้ำอีกหรือเปล่า? ไม่ควรครับ ถ้ายังทำกระทำความผิดซ้ำอีก บริษัทสามารถลงโทษได้”
     
        การตักเตือนก่อนเลิกจ้างนั้นมี 2 ระดับ 1.การเตือนด้วยวาจา 2. การเตือนเป็นลักษณ์อักษร ซึ่งถ้ายังคงทำผิดซ้ำซากต่อไปกฎหมายจะเปิดโอกาสให้นายจ้างมีสิทธิโดยชอบธรรมในการเลิกจ้าง
     
        กรณีลูกจ้างโดนกระทำ ถ้าเขาเห็นว่าไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิที่จะขอความเป็นธรรมได้จาก 2 ทาง 1.ใช้อำนาจทางตุลาการ นำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงาน 2.กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ซึ่งทางกรมฯ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 60 วัน
     
        ….....................
        ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live​

http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000017078

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.