Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 กรกฎาคม 2555 ( ต้องสู้กับ ทหาร กรมประชา MCOT. แหล่งหากิน ) เตรียมเปิดเวทีประชาพิจารณ์ 2 ร่าง +++ รื้อ +++ คลื่นจัดระเบียบ"วิทยุ-ทีวี"

( ต้องสู้กับ ทหาร กรมประชา MCOT. แหล่งหากิน ) เตรียมเปิดเวทีประชาพิจารณ์ 2 ร่าง +++ รื้อ +++ คลื่นจัดระเบียบ"วิทยุ-ทีวี"


ประเด็นหลัก

ด้านนายฐากร ตันฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า การออกร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญา นั้น เป็นภารกิจตามมาตรา 82 พ.ร.บ. กสทช. ที่กำหนดให้ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหน่วยงานรัฐหรือบุคคลใดที่ได้รับจัดสรร คลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการ ณ วันที่ พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้มีหน้าที่แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญานั้นต่อ กสทช. เพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายพร้อมเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

สำหรับ หลักเกณฑ์การตรวจสอบจะพิจารณาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย อาทิ การอนุญาตหรือแก้ไขเพิ่มเติมสัมปทาน สัญญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ หน่วยงานที่อนุญาตมีอำนาจหน้าที่โดยชอบในการอนุญาตหรือไม่ คลื่นความถี่ที่ใช้ประกอบกิจการได้รับการจัดสรรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่สำคัญคือ การดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตไม่เข้าลักษณะเป็นการมอบการบริหารจัดการทั้ง หมดหรือบางส่วนหรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนตาม มาตรา 43 พ.ร.บ. กสทช.ด้วย

แหล่งข่าวระดับสูงจาก กสทช. เปิดเผยว่า สัมปทานและสัญญาที่เข้าข่ายต้องมีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายจะรวมทั้ง วิทยุและกิจการโทรทัศน์ แต่ถ้าตีความมาตรา 82 อย่างเคร่งครัด สัญญาที่ต้องตรวจสอบในปัจจุบันมีแต่กิจการโทรทัศน์ ได้แก่ สัมปทานสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3, บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับสัมปทานจากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สี

________________________________________________


รื้อคลื่นจัดระเบียบ"วิทยุ-ทีวี" กสทช.เร่งสรุปเงื่อนไขไลเซนส์



"กสทช." เตรียมเปิดเวทีประชาพิจารณ์ 2 ร่าง จัดระเบียบคลื่น "วิทยุ-โทรทัศน์" ตีคู่ตรวจสอบสัมปทาน "ช่อง 3-ช่อง 7-ทรูวิชั่นส์" ดึงมหา"ลัยศึกษาข้อมูล "ทีวีดิจิทัล" คาดได้ข้อสรุป ส.ค.นี้ ลุ้นบอร์ด กทค.เคาะเงื่อนไขใบอนุญาตในสัปดาห์หน้า


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระบวนการเปลี่ยนผ่านระบบแพร่ภาพโทรทัศน์จากแอนะล็อกสู่ดิจิทัลอยู่ระหว่าง การออกร่างประกาศที่สำคัญหลายฉบับ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่าน อาทิ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องกำหนดลักษณะและประเภทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่จะกำหนด ประเภทใบอนุญาตประกอบกิจการด้านบรอดแคสต์ ซึ่ง กสทช.เห็นชอบในร่างที่ได้ปรับปรุงแก้ไขหลังเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ แล้ว พร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้เร็ว ๆ นี้

และ ในเดือนสิงหาคมนี้จะเปิดเวทีรับฟังความเห็นสาธารณะ 2 ร่างสำคัญในการจัดระเบียบคลื่น ได้แก่ ร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการแจ้งรายละเอียดการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่ และเหตุแห่งความจำเป็นในการถือครองคลื่น และร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาตสัมปทานหรือ สัญญาในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

ทั้งนี้ การประชุมบอร์ด กสท.สัปดาห์หน้า (9-13 กรกฎาคม) จะพิจารณาร่างประกาศเรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการ ด้านบรอดแคสต์แต่ละประเภท ทั้งกิจการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์, กิจการประเภทช่องรายการ, กิจการประเภทให้บริการโครงข่าย และกิจการให้บริการแบบประยุกต์ ซึ่งกิจการประเภทช่องรายการ แบ่งเป็นส่วนที่ต้องขอรับการจัดสรรคลื่น แยกเป็นบริการสาธารณะ และธุรกิจกับส่วนที่ไม่ต้องขอรับการจัดสรรคลื่น

"กสทช.ยังไม่ได้ ตัดสินใจราคาตั้งต้นประมูลใบอนุญาต ตัวเลข 400 ล้านบาท เป็นเพียงการยกตัวอย่างให้ฟังบนเวทีสัมมนา การประมูลใบอนุญาตยังอีกยาว เพราะต้องออกประกาศสำคัญอีกหลายฉบับ และต้องทำแผนการเปลี่ยนผ่านกว่าจะชัดเจนน่าจะปลายปี ซึ่งการจัดประมูลจะเฉพาะความถี่ช่องรายการด้านธุรกิจเท่านั้น"

นอก จากนี้ ยังมอบหมายให้คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสุโขทัยธรรมาธิราชศึกษาว่า ประเทศไทยควรมีช่องรายการระบบดิจิทัลกี่ช่อง เพื่อนำมากำหนดช่องฟรีทีวีที่ใช้คลื่นความถี่ คาดว่าเดือนสิงหาคมนี้จะได้ข้อสรุป ส่วนการเริ่มทดลองออกอากาศระบบดิจิทัลยังไม่มีผู้ประกอบการฟรีทีวีรายใดยื่น เรื่องขอมา จึงยังไม่สามารถเริ่มดำเนินการทดลองได้ตามที่วางแผนไว้ แต่การออกใบอนุญาตประกอบกิจการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก และใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะจะเริ่มได้ในสิ้นปีนี้

องค์การ กระจายเสียง และแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือไทยพีบีเอส เป็นรายแรกที่ได้รับใบอนุญาตประเภทบริการสาธารณะ โดยมีความพร้อมในการเป็นผู้รับใบอนุญาตให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก เนื่องจาก เป็นเจ้าของเสาส่งสัญญาณ UHF กว่า 50 ต้น ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศรองรับการติดตั้งอุปกรณ์ระบบดิจิทัลได้ทันที ขณะที่มาตรฐาน DVB-T2 ที่ กสทช.ประกาศให้เป็นมาตรฐานระบบโทรทัศน์ดิจิทัลภาคพื้นดินของประเทศไทยสำหรับ ฟรีทีวีจะทำให้ประเทศไทยมีช่องฟรีทีวีอย่างน้อย 50 ช่อง

ด้านนายฐากร ตันฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า การออกร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญา นั้น เป็นภารกิจตามมาตรา 82 พ.ร.บ. กสทช. ที่กำหนดให้ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจหน่วยงานรัฐหรือบุคคลใดที่ได้รับจัดสรร คลื่นความถี่หรือใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการ ณ วันที่ พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้มีหน้าที่แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญานั้นต่อ กสทช. เพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายพร้อมเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

สำหรับ หลักเกณฑ์การตรวจสอบจะพิจารณาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย อาทิ การอนุญาตหรือแก้ไขเพิ่มเติมสัมปทาน สัญญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ หน่วยงานที่อนุญาตมีอำนาจหน้าที่โดยชอบในการอนุญาตหรือไม่ คลื่นความถี่ที่ใช้ประกอบกิจการได้รับการจัดสรรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่สำคัญคือ การดำเนินการตามที่ได้รับอนุญาตไม่เข้าลักษณะเป็นการมอบการบริหารจัดการทั้ง หมดหรือบางส่วนหรือยินยอมให้บุคคลอื่นเป็นผู้มีอำนาจประกอบกิจการแทนตาม มาตรา 43 พ.ร.บ. กสทช.ด้วย

แหล่งข่าวระดับสูงจาก กสทช. เปิดเผยว่า สัมปทานและสัญญาที่เข้าข่ายต้องมีการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายจะรวมทั้ง วิทยุและกิจการโทรทัศน์ แต่ถ้าตีความมาตรา 82 อย่างเคร่งครัด สัญญาที่ต้องตรวจสอบในปัจจุบันมีแต่กิจการโทรทัศน์ ได้แก่ สัมปทานสถานีโทรทัศน์ ช่อง 3, บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับสัมปทานจากบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 สี

ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1341466877&grpid=10&catid=00

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.