Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 กรกฎาคม 2556 บล.กสิกรไทย ชี้ การที่ TRUE พยายามกล่อม CAT ขอคืนเสาในรูปแบบกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 70,000 ล้านบาท (ทำTRUEลดดอกเบี้ยจ่ายปีละ 3,000 ล้านบาท)


ประเด็นหลัก




ด้านนักวิเคราะห์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า ถ้าทรูออกกองทุนฯได้จริง จะทำให้พื้นฐานของทรูดีขึ้นทันที คาดว่าจะขายได้เงินประมาณ 70,000-100,000 ล้านบาท หากนำเงินไปใช้หนี้ 50% ที่มีอยู่กว่า 90,000 ล้านบาท จะลดดอกเบี้ยจ่ายได้ปีละ 3,000 ล้านบาท จากที่ต้องจ่ายปีละ 6,000 ล้านบาท นอกจากนี้ทรูยังได้ประโยชน์จากการเช่าสินทรัพย์กลับมาทำธุรกิจทำให้ค่าเช่าที่ต้องจ่ายต่ำกว่าค่าเสื่อมราคาที่ทุกวันนี้สูงถึงปีละ 18,000 ล้านบาท อันจะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นทันที


ส่วนทรัพย์สินที่เป็นสิทธิรายได้ประกอบด้วย สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้การให้เช่าอุปกรณ์ 3G HSPA จำนวน 13,500 สถานีฐาน และสิทธิให้เช่าทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมไม่เกิน 100 เสา โดยขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างขออนุมัติจัดตั้งกองทุนฯ กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มี บลจ.ไทยพาณิชย์เป็นผู้จัดการกองทุน และมีบริษัท เจวีเอส จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ทั้งนี้ ภายหลัง ก.ล.ต.อนุมัติให้จัดตั้งกองทุน บริษัทฯมีแผนที่จะจองซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนประมาณ 33.33% ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด


______________________________________





"ทรู"ตั้งกองทุนรวม 7 หมื่นล้าน! ผนวกสินทรัพย์-โครงข่าย3จีให้นักลงทุนฮุบ
หน้าหลัก » เศรษฐกิจ


บอร์ดทรูไฟเขียวผุดกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 70,000 ล้านบาท ตามรอยบีทีเอส พร้อมทั้งขายหุ้นบริษัทย่อย 8 แห่ง ได้เงิน 5.39 พันล้านบาท นำเงินใช้หนี้และเป็นเงินทุนหมุนเวียน

ผู้สื่อข่าวรายงานวานนี้ (23 ก.ค.) นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการ และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมายบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า คณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 19 ก.ค. อนุมัติการขายทรัพย์สินและรายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เพื่อจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน มูลค่าโครงการไม่น้อยกว่า 70,000 ล้านบาท โดยทรัพย์สินที่จะจำหน่ายเข้ากองทุนคือ 1.เสาโทรคมนาคม 13,000 เสา 2.โครงข่ายใยแก้วนำแสง อุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณ 45,000 คอร์กิโลเมตร และ 9,000 ลิงค์ 3.โครงข่ายบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด 1.2 ล้านพอร์ต

ส่วนทรัพย์สินที่เป็นสิทธิรายได้ประกอบด้วย สิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้การให้เช่าอุปกรณ์ 3G HSPA จำนวน 13,500 สถานีฐาน และสิทธิให้เช่าทรัพย์สินเสาโทรคมนาคมไม่เกิน 100 เสา โดยขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างขออนุมัติจัดตั้งกองทุนฯ กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มี บลจ.ไทยพาณิชย์เป็นผู้จัดการกองทุน และมีบริษัท เจวีเอส จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ทั้งนี้ ภายหลัง ก.ล.ต.อนุมัติให้จัดตั้งกองทุน บริษัทฯมีแผนที่จะจองซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนประมาณ 33.33% ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมด

นอกจากนี้ คณะกรรมการมีมติให้บริษัทขายหุ้นในบริษัทย่อยที่มิใช่ธุรกิจหลักของบริษัทจำนวน 8 บริษัท ออกไป ทำให้บริษัทได้รับผลตอบแทนคิดเป็นเงินรวม 5,754.20 ล้านบาท เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างทางธุรกิจให้มีความชัดเจนและรองรับการจัดโครงสร้างของกลุ่มบริษัทในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทฯ มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่เป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯ สำหรับผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวไปชำระหนี้สินบางส่วน ซึ่งจะช่วยปรับโครงสร้างเงินทุนของบริษัทให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุนขยายธุรกิจต่อไปในอนาคตได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข่าวดังกล่าวทำให้ราคาหุ้นทรู TRUE ปรับตัวร้อนแรงในทันทีที่เปิดตลาด โดยขึ้นไปสูงสุดที่ 9.40 บาท ก่อนปิดที่ 9.35 บาท บวก 0.60 บาท ท่ามกลางมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 3,025 ล้านบาท บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า การออกกองทุนฯถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญเชิงโครงสร้างทางการเงินของทรู ซึ่งประเมินเบื้องต้น คาดอัตราส่วนหนี้สินจากสถาบันการเงินต่อทุน จะลดลงจาก 7.6 เท่าเหลือเพียง 2.0 เท่า

ด้านนักวิเคราะห์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า ถ้าทรูออกกองทุนฯได้จริง จะทำให้พื้นฐานของทรูดีขึ้นทันที คาดว่าจะขายได้เงินประมาณ 70,000-100,000 ล้านบาท หากนำเงินไปใช้หนี้ 50% ที่มีอยู่กว่า 90,000 ล้านบาท จะลดดอกเบี้ยจ่ายได้ปีละ 3,000 ล้านบาท จากที่ต้องจ่ายปีละ 6,000 ล้านบาท นอกจากนี้ทรูยังได้ประโยชน์จากการเช่าสินทรัพย์กลับมาทำธุรกิจทำให้ค่าเช่าที่ต้องจ่ายต่ำกว่าค่าเสื่อมราคาที่ทุกวันนี้สูงถึงปีละ 18,000 ล้านบาท อันจะทำให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงขึ้นทันที

นายนพปฎล เดชอุดม หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้านการเงิน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า คาดว่าภายในปีนี้ กระบวนการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานของทรูน่าจะเสร็จสิ้นลงได้ โดยหลังจากบอร์ดให้การอนุมัติในหลักการแล้ว ก็จะเริ่มดำเนินการก่อตั้งกองทุนเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย “การจัดกองทุนโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของทรูในครั้งนี้ ถือเป็นกองทุนแรกของประเทศไทยที่นำโครงข่ายโทรคมนาคมมาเพื่อใช้ในการระดมทุน ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดตั้งมาก่อนหน้านี้แล้วหลายประเทศทั่วโลก ล่าสุดในฮ่องกงโดยกลุ่มบริษัทโทรคมนาคมของมหาเศรษฐี นายลีกาชิง ก็ประสบความสำเร็จด้วยดี”.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
http://m.thairath.co.th/content/eco/358970

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.