Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 กรกฎาคม 2556 TOT อนุมัติ 2 โครงการใหญ่40,000ลบ.ทำ3G-4G-เคเบิล (แต่ยังไม่ทราบที่แหล่งเงินที่ชัด) พร้อมเซ็นi-mobileความจุใหม่40% จากปริมาณความจุโครงข่ายรออัยการสอบสัญญา(ส่วน365ไม่มีความคืบหน้า)


ประเด็นหลัก





ที่ประชุมยังอนุมัติ 2 โครงการใหญ่รวมมูลค่าเกือบ 40,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. โครงการอินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลใยแก้ว (FTTx) มูลค่า 32,550 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2559 และ 2. โครงการเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ มูลค่า 5,979 ล้านบาท โดยโครงการ FTTx นั้นจะเป็นการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วเพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตจำนวน 2 ล้านเลขหมาย และรองรับการเติบโตของ 3G และ 4G ในอนาคต ส่วนเคเบิลใต้น้ำจะลงทุนที่ จ.สตูล และสงขลา ซึ่งเป็นการขยายจุดเชื่อมต่อออกไปเชื่อมกับสถานีเคเบิลใต้น้ำของนานาชาติที่มีอยู่ คือระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนอินโดนีเซีย-สิงคโปร์ ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนฟิลิปปินส์-สิงคโปร์ ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนมาเลเซีย-สิงคโปร์-ไทย และระบบเคเบิลใต้น้ำเอเชียอาคเนย์-ตะวันออกกลาง-ยุโรปตะวันตก
   




นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบให้ บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด (มหาชน) ทำการตลาดโครงการ 3 จี ทั่วประเทศ ในสัดส่วน 46% จากทั้งหมด 2.88 ล้านเลขหมาย ซึ่งขณะนี้ได้ส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบก่อนอนุมัติการร่วมเอ็มวีเอ็นโออย่างเป็นทางการ ขณะที่ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด ที่ขอร่วมทำตลาดเอ็มวีเอ็นโอกับทีโอที จำนวน 20% นั้น ขณะนี้การเจรจาไม่มีความคืบหน้าอะไร ซึ่งทีโอที จะไม่บังคับ และเข้าใจว่าจะเปลี่ยนใจไปร่วมเอ็มวีเอ็นโอกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แทน


โดยขั้นตอนต่อจากนี้ทีโอทีจะนำทั้ง 2 โครงการดังกล่าวเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป รวมทั้งจะพิจารณาว่าทีโอทีจะหาแหล่งเงินกู้เพื่อลงทุนทั้ง 2 โครงการใหญ่จากที่ไหนด้วยเช่นเดียวกัน
   
       “ทีโอทีมองว่าทั้ง 2 โครงการดังกล่าวถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ของทีโอทีเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับส่วนแบ่งรายได้สัมปทานที่จะหายไปในปี 2557 ซึ่งจะทำให้รายได้หลักของทีโอทีมากกว่า 60% หายไปทันที”









______________________________________





บอร์ดทีโอทีไฟเขียวเซ็นสัญญา MVNO สามารถ


       ค้างเติ่งมาเป็นปี กว่าบอร์ดทีโอทีจะอนุมัติสัญญา MVNO สามารถ ไอ-โมบาย รอแค่อัยการสูงสุดตรวจสัญญาก่อนเซ็น คาดให้บริการเป็นทางการในเดือน ส.ค. พร้อมโครงข่ายเฟสแรก 5,320 สถานีฐานติดตั้งแล้วเสร็จ พร้อมอนุมัติ 2 โครงการเกือบ 4 หมื่นล้านบาท ชงไอซีทีเสนอ ครม.ท่ามกลางข้อสงสัยจะหาเงินจากไหน เพราะทุกวันนี้รายได้จาก 3G ยังไม่พอจ่ายดอกเบี้ยด้วยซ้ำ
     
       นายอุดม พัวสกุล ประธานบอร์ด บริษัท ทีโอที กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดทีโอทีเมื่อวันที่ 24 ก.ค. มีมติเห็นชอบในสัญญาให้บริการ MVNO ในการทำตลาดโครงการ 3G ทั่วประเทศของทีโอทีของบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย ซึ่งได้ขอทำการตลาดไว้จำนวน 2.88 ล้านเลขหมาย หรือ 40% จากปริมาณความจุโครงข่ายทั้งหมดของทีโอทีที่มีจำนวน 7.2 ล้านเลขหมาย ภายใต้เงื่อนไขประกันรายได้ขั้นต่ำ 2 ปีซึ่งมีการปรับเปลี่ยนใหม่จากสัญญาเดิม โดยแบ่งเป็นปีที่ 1 เพิ่มจากเดิม 156 ล้านบาทเป็น 201 ล้านบาท และปีที่ 2 เพิ่มจาก 476 ล้านบาทเป็น 593 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้รอเพียงอัยการสูงสุดตรวจสอบสัญญาดังกล่าวก่อนแล้วจึงจะมีการเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการต่อไป
     
       ทั้งนี้ ล่าสุดการติดตั้งสถานีฐาน 3G เฟส 1 ได้รับรายงานว่าจะติดตั้งครบ 5,320 แห่งภายในเดือน ส.ค.นี้ และจะเริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการภายในเดือนเดียวกันแน่นอน ในขณะที่ตอนนี้ติดตั้งไปแล้วจำนวน 4,900 สถานีฐาน
     
       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังอนุมัติ 2 โครงการใหญ่รวมมูลค่าเกือบ 40,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1. โครงการอินเทอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลใยแก้ว (FTTx) มูลค่า 32,550 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2557-2559 และ 2. โครงการเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ มูลค่า 5,979 ล้านบาท โดยโครงการ FTTx นั้นจะเป็นการขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วเพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตจำนวน 2 ล้านเลขหมาย และรองรับการเติบโตของ 3G และ 4G ในอนาคต ส่วนเคเบิลใต้น้ำจะลงทุนที่ จ.สตูล และสงขลา ซึ่งเป็นการขยายจุดเชื่อมต่อออกไปเชื่อมกับสถานีเคเบิลใต้น้ำของนานาชาติที่มีอยู่ คือระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนอินโดนีเซีย-สิงคโปร์ ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนฟิลิปปินส์-สิงคโปร์ ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนมาเลเซีย-สิงคโปร์-ไทย และระบบเคเบิลใต้น้ำเอเชียอาคเนย์-ตะวันออกกลาง-ยุโรปตะวันตก
     
       โดยขั้นตอนต่อจากนี้ทีโอทีจะนำทั้ง 2 โครงการดังกล่าวเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป รวมทั้งจะพิจารณาว่าทีโอทีจะหาแหล่งเงินกู้เพื่อลงทุนทั้ง 2 โครงการใหญ่จากที่ไหนด้วยเช่นเดียวกัน
     
       “ทีโอทีมองว่าทั้ง 2 โครงการดังกล่าวถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ของทีโอทีเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับส่วนแบ่งรายได้สัมปทานที่จะหายไปในปี 2557 ซึ่งจะทำให้รายได้หลักของทีโอทีมากกว่า 60% หายไปทันที”

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000091010


____________________________________________________


“บอร์ดทีโอที”ไฟเขียว 2 โครงการยักษ์เฉียด 4 หมื่นล้านบาท





ที่ประชุมบอร์ดทีโอที เห็นชอบลงทุน 2 โครงการ เกือบ 4 หมื่นล้านบาท คาดไตรมาส 4 เริ่มดำเนินการได้ ส่วนโครงข่าย 3 จี ติดตั้งเสร็จแล้วกว่า 4,900 สถานี


วันนี้ (24 ก.ค.) ที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นายอุดม พัวสกุล ประธานกรรมการบริหาร(ประธานบอร์ด)  บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติ 2 โครงการ รวมมูลค่าเกือบ 4 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย โครงการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟเบอร์ (เอฟทีทีเอกซ์) มูลค่า 32,550 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 3 ปี ตั้งแต่ 2557-2559 และ โครงการเคเบิลใยแก้วใต้น้ำระหว่างประเทศเพื่อรองรับอินเตอร์เน็ตมูลค่า 5,979.14 ล้านบาท


สำหรับ โครงการ เอฟทีทีเอกซ์ จะเป็นการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ต 2  ล้านเลขหมาย เพื่อรองรับการใช้งานทั้งเสียง ข้อมูล และอินเทอร์เน็ต ตามการเติบโตของ 3 จี และ 4 จี ถือเป็นโครงการต่อเนื่อง จากระยะแรกที่ได้ดำเนินการไป 4.2 แสนเลขหมาย ส่วนโครงการเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ จะรองรับอินเทอร์เน็ต 2 ด้าน คือ ด้านตะวันตกกับอ่าวไทย โดยจะลงทุนที่ จ.สตูลและสงขลา ซึ่งเป็นการขยายจุดเชื่อมต่อออกไปเชื่อมกับสถานีเคเบิลใต้น้ำของนานาชาติที่มีอยู่ คือ ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนอินโดนีเซีย-สิงคโปร์ ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนฟิลิปปินส์-สิงคโปร์ ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนมาเลเซีย-สิงคโปร์-ไทย และระบบเคเบิลใต้น้ำเอเชียอาคเนย์-ตะวันออกกลาง-ยุโรปตะวันตก


 “ภายในสัปดาห์นี้จะเสนอทั้ง 2 โครงการส่งให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) พิจารณา ตามขั้นตอนการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่ต้องเสนอแผนต่อกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ ทั้งนี้ คาดว่าไตรมาส 4/56 แผนดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้ โดยขณะนี้ ให้ฝ่ายการเงินศึกษาว่าจะใช้เงินกู้และเงินของทีโอทีทั้ง 2 โครงการในสัดส่วนเท่าไหร่” นายอุดม กล่าว


นอกจากนี้ บอร์ดยังเห็นชอบให้ บริษัท สามารถ ไอโมบาย จำกัด (มหาชน) ทำการตลาดโครงการ 3 จี ทั่วประเทศ ในสัดส่วน 46% จากทั้งหมด 2.88 ล้านเลขหมาย ซึ่งขณะนี้ได้ส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบก่อนอนุมัติการร่วมเอ็มวีเอ็นโออย่างเป็นทางการ ขณะที่ บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด ที่ขอร่วมทำตลาดเอ็มวีเอ็นโอกับทีโอที จำนวน 20% นั้น ขณะนี้การเจรจาไม่มีความคืบหน้าอะไร ซึ่งทีโอที จะไม่บังคับ และเข้าใจว่าจะเปลี่ยนใจไปร่วมเอ็มวีเอ็นโอกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แทน


ส่วนความคืบหน้าในการติดตั้งโครงข่ายเพื่อให้บริการ 3 จี ทั่วประเทศ จำนวน 5,320 สถานี มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งติดตั้งสถานีให้เสร็จสมบูรณ์ โดยขณะนี้ติดตั้งแล้วเสร็จแล้วกว่า 4,900 สถานี และจะเริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการได้ในเดือน ส.ค.นี้


http://www.dailynews.co.th/technology/221375

________________________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.