Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 เมษายน 2557 (เกาะติดประมูล4G) ราคาเริ่มต้นเคาะแล้วรวมกัน5.6หมื่นล.โดย ราคา 5,000 บาท ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับคลื่น 1800 และ 9,000 ล้านบาท ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับคลื่น 900


ประเด็นหลัก

    รายงานข่าวจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ผลการศึกษาราคาเริ่มต้นคลื่นความถี่ที่ได้รับจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) เบื้องต้นมีราคา 5,000 บาท ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 9,000 ล้านบาท ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ทั้งนี้ กทค.จะเปิดประมูลคลื่น 1800 จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ หรือ ราคาเริ่มต้นประมูลจะอยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท และเปิดประมูลคลื่น 900 จำนวน 17.5 เมกะเฮิรตซ์ หรือราคาเริ่มต้นประมูลอยู่ที่ 31,500 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ขั้นต่ำที่ กทค.จะได้รับจากการประมูลคลื่นเบื้องต้นทั้ง 2 คลื่นความถี่ มูลค่า 56,500 ล้านบาท


______________________________________


เคาะมูลค่าคลื่น'1800/900'เริ่ม5.6หมื่นล.
  กทค.เผยราคาประมูลคลื่น 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ เริ่มต้นรวม 5.6 หมื่นล้านบาท
    รายงานข่าวจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ผลการศึกษาราคาเริ่มต้นคลื่นความถี่ที่ได้รับจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) เบื้องต้นมีราคา 5,000 บาท ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 9,000 ล้านบาท ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ทั้งนี้ กทค.จะเปิดประมูลคลื่น 1800 จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ หรือ ราคาเริ่มต้นประมูลจะอยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท และเปิดประมูลคลื่น 900 จำนวน 17.5 เมกะเฮิรตซ์ หรือราคาเริ่มต้นประมูลอยู่ที่ 31,500 ล้านบาท ส่งผลให้รายได้ขั้นต่ำที่ กทค.จะได้รับจากการประมูลคลื่นเบื้องต้นทั้ง 2 คลื่นความถี่ มูลค่า 56,500 ล้านบาท
    พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธาน กทค. กล่าวว่า ราคาดังกล่าวเป็นผลการศึกษาเบื้องต้นที่ไอทียูส่งให้ กทค.พิจารณาเมื่อปลายปี 2556 และจะส่งรายละเอียดทั้งหมดให้ภายในสิ้นเดือน เม.ย. เช่นเดียวกับร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูล กทค.จะประกาศภายในสิ้นเดือน เม.ย. โดยคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จะเปิดประมูลเดือน ส.ค. และคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ จะเปิดประมูลในเดือน พ.ย. ขณะที่คลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ยังไม่หมดสัมปทานจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) จะเปิดประมูลในปี 2558
    สำหรับการประมูลครั้งนี้ กทค.จะกำหนดเงื่อนไขการประมูลให้เอื้อกับผู้ประกอบการหน้าใหม่ รวมทั้งเตรียมกำหนดการถือครองคลื่นความถี่โดยรวมต่อผู้ให้บริการ 1 ราย (Overall spectrum cap) และจำกัดสิทธิ์ในการห้ามเข้าประมูลหากถือครองความถี่มากเกินไป เพื่อป้องกันการผูกขาดในตลาด.

http://www.thaipost.net/node/88722

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.