Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

03 มีนาคม 2555 ล้อมกรอบสัญญา CAT TRUE เดิมพันประมูล 3G?? เดินหน้าก็ “คาใจ” ถอยหลังก็วุ่นวาย

ล้อมกรอบสัญญา CAT TRUE เดิมพันประมูล 3G?? เดินหน้าก็ “คาใจ” ถอยหลังก็วุ่นวาย


ประเด็นหลัก

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายปฏิบัติการตั้งข้อสังเกตไว้คือทำไมสัญญา ที่ให้บีเอฟเคทีสร้างเสาและเครือข่ายในนามสิทธิของ กสท เพื่อมาปล่อยให้เรียลมูฟเช่าคาปาซิตี้ต่อนั้น กสท ไปผูกความถี่ 850 MHz กับสัญญา ที่ทำกับ บีเอฟเคที ซึ่งจุดนี้ไม่แน่ใจว่า กสท ได้ประโยชน์สูงสุดหรือไม่ และเมื่อพิจารณาสัญญาที่ทำกับเรียลมูฟ ที่ กสท ต้องให้เช่า 80% ของคาปาซิตี้นั้น ทำให้น่าคิดว่าเหมือนเป็นการที่เรียลมูฟได้สิทธิไปผูกกับความถี่ 850MHz โดยปริยายหรือไม่

แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวว่า เรื่องชุดสัญญาทรู และการสอบสวนที่กำลังจะได้ทิศทางในอีกไม่นานนี้ กลายเป็นประเด็นเปราะบางต่อการเตรียมประมูลใบอนุญาตความถี่ใหม่ 2100 MHz หรือ 3G และ 3G advance โดยปริยาย

เพราะช่วงเวลานั้นทุกอย่างจะเห็น ทิศทางมากขึ้นทั้งเรื่องความชัดเจนที่ กสทช.กำลังปรับแก้ร่างประกาศห้ามต่างด้าวครอบงำกิจการโทรคมนาคม ซึ่งตั้งตารางงานว่าจะเสร็จในเดือนเมษายน ร่างนี้คาดหมายว่าปรับแก้มากหรือน้อยก็ไม่ราบรื่น

_________________________________________________________

ล้อมกรอบสัญญา ทรู-กสท! เดิมพันประมูล 3G?? เดินหน้าก็ “คาใจ” ถอยหลังก็วุ่นวาย

ใน เชิงธุรกิจ ถ้าถามกลุ่มทรูก็คงได้รับการยืนยันว่าสัญญา 6 ฉบับ ที่เดินมาตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมปีที่แล้วนั้น ถูกต้องตามกฎหมายแวดล้อมทั้งหมด มีผลผูกพันคู่สัญญา และสองฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน ซ้ำยังเป็นทางออกในช่วงที่สัมปทานเดิมใกล้หมดอายุ แต่ภาครัฐไม่มีความชัดเจน และการประมูลใบอนุญาต 3G ครั้งก่อนไม่ได้เกิดขึ้น...อย่างที่ตั้งใจ!


ถามคู่แข่ง นักวิชาการ คนในอุตสาหกรรมหลายคน คำตอบก็เป็นไปอีกทางหนึ่ง…


ถึง วันนี้สัญญาอายุ 14 ปีนี้ อยู่ในสถานะที่ไม่นิ่ง เพราะอยู่ในกระบวนการตรวจสอบของหลายหน่วยงาน ไม่เว้นแม้แต่บอร์ดใหม่ กสท ในฐานะคู่สัญญา


ภาวะเครียดของกลุ่มทรูก็เรื่องหนึ่ง...ภาวะกังวล ของคนอื่นกับอนาคตประมูลไลเซนส์ 2100 MHz ที่กำหนดไว้ไตรมาสสามปีนี้...ก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน..อย่างนั้น หรือ!???


เรียกได้ว่าไม่เกินความคาดหมาย ที่สัญญาระหว่างกลุ่มทรูกับ กสท ที่ลงนามกันเมื่อ 27 มกราคม ปีที่แล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างถูกตรวจสอบจากหลายหน่วยงาน จะดูเข้มข้นขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะเวลาที่ล่วงเลยมา

อีกส่วนคือสัญญาชุดนี้มีประเด็นให้ วิพากษ์ในหลายจุด โดยเฉพาะเรื่องของความถี่ 850 MHz สัญญาการทำบริการ 3G HSPA ในความถี่นี้อายุ14 ปี ประหนึ่งว่าเป็นสัมปทานจำแลงรูปแบบใหม่ เพื่อเลี่ยงการเข้าเงื่อนไขกฎหมายและกระบวนการที่ซับซ้อน ตามที่นักวิชาการหลายคนตั้งฉายาให้...

แม้ว่าเมื่อแยกดูรายสัญญาก็ ไม่ได้ผิดปกติอะไร แต่เมื่อต่อภาพเงื่อนไขทุกสัญญา และดูผลของสัญญาทั้งหมดที่เข้าสู่กลุ่มทรูในฐานะกิจการแม่...ก็น่าสนใจที เดียว


ส่วนสุดท้ายคือสัญญาชุดนี้ลงนามและดำเนินการเจรจาทั้งหมด ภายใต้รัฐบาลที่ผ่านมา เมื่อเปลี่ยนเข้าสู่ขั้วอำนาจใหม่ มีบอร์ดใหม่ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่เรื่องค้างคา จะต้องชัดเจนขึ้น..


หน่วยงาน ที่เข้ามาอยู่ในวงการตรวจสอบทั้งหมด ต่างกรรมต่างวาระและวิธีการในการพิจารณา มีตั้งแต่ คณะกรรมการ กสทช. ที่ตั้งอนุกรรมการชุดใหม่ขึ้นมา รับช่วงจากเรื่องค้างของ กทช.ชุดเก่า, คณะอนุกรรมการของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช., คณะอนุกรรมการชุดตรวจสอบของกระทรวงไอซีที, ศาลปกครองจากการร้องเรียนของดีแทคว่า สัญญาเหล่านี้ดำเนินการโดยไม่ถูกต้องในกระบวนการบริหารตัดสินใจและมติของคณะ กรรมการ กสท ในชุดที่แล้ว

กสท รอวงจรฝ่ายบริหารต่อครบก่อนเริ่ม


กรณี ของ กสท ภายใต้บอร์ดชุดใหม่ กรรมการแต่ละรายก็ได้รับรายละเอียดที่มาที่ไปของสัญญาทั้งหมด เพื่อทำความเข้าใจล่วงหน้ามาระยะหนึ่งแล้ว เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับองค์กรในระยะยาว และอาจมีประเด็นเกี่ยวเนื่องต้องพิจารณาตัดสินใจในอนาคตอันใกล้



กรรมการ บอร์ด กสท คนหนึ่ง เปิดเผยกับ Telecom Journal ว่า แหล่งข่าวจาก กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า ตอนนี้รายละเอียดสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ระหว่าง กสท กับกลุ่มทรู ได้ส่งถึงมือบอร์ดทุกคนแล้ว และเมื่อ กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ ได้เข้ามาทำหน้าที่กรรมการผู้จัดการใหญ่อย่างเป็นทางการในเดือน มี.ค. ที่จะถึงนี้ ก็จะทำให้การขับเคลื่อน กสท โดยเฉพาะฝ่ายบริหารและปฏิบัติการเป็นไปอย่างสมบูรณ์

เพราะฝ่ายบริหาร จะเป็นส่วนงานที่นำเสนอและบรรจุวาระเข้าที่ประชุมบอร์ด หลังจากที่สรุปโครงการเพื่อให้พิจารณา ขณะเดียวกัน ข้อมูลหรือข้อสงสัยทั้งหมด บอร์ดต้องได้รับจากฝ่ายบริหารจัดการด้วย

“ตอน นี้เรียกได้ว่าสถานการณ์ยังไม่นิ่ง ซึ่งไม่เป็นผลดีในการทำธุรกิจระยะยาวของ กสท ดังนั้น เราต้องทำให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว ว่าจะเดินหน้าต่อหรือจะถอยหลัง”

เขากล่าวว่า กรรมการบอร์ดไม่มีตั้งธงล่วงหน้า แต่จะเดินไปตามหลักการที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากสุด โดยเฉพาะประเด็นด้านกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

อย่าง ไรก็ตาม มีประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายปฏิบัติการตั้งข้อสังเกตไว้คือทำไมสัญญา ที่ให้บีเอฟเคทีสร้างเสาและเครือข่ายในนามสิทธิของ กสท เพื่อมาปล่อยให้เรียลมูฟเช่าคาปาซิตี้ต่อนั้น กสท ไปผูกความถี่ 850 MHz กับสัญญา ที่ทำกับ บีเอฟเคที ซึ่งจุดนี้ไม่แน่ใจว่า กสท ได้ประโยชน์สูงสุดหรือไม่ และเมื่อพิจารณาสัญญาที่ทำกับเรียลมูฟ ที่ กสท ต้องให้เช่า 80% ของคาปาซิตี้นั้น ทำให้น่าคิดว่าเหมือนเป็นการที่เรียลมูฟได้สิทธิไปผูกกับความถี่ 850MHz โดยปริยายหรือไม่

เทอดศักดิ์ เหมือนแก้ว กรรมการบอร์ด กสท กล่าวว่า กรรมการบอร์ดแต่ละคนได้รับเอกสารรายละเอียดสรุปสัญญาการให้บริการโทรศัพท์ มือถือรูปแบบใหม่ระหว่าง กสท กับกลุ่มทรู มาระยะหนึ่งแล้ว โดยสัญญาทั้งหมดมีความสำคัญกับ กสท ในอนาคต และเป็นสัญญาที่ผูกพันระยะยาว ในฐานะที่เป็นบอร์ดชุดใหม่ จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียดของสัญญาอย่างถ่องแท้ทั้งหมด

บอร์ดจำเป็นต้องเข้าใจหลักการ เหตุผล ที่มาที่ไปของสัญญาอย่างละเอียด เพราะมีหลายสัญญาและเกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักในอนาคตของ กสท

เทอดดศักดิ์ ยืนยันว่า บอร์ดยังไม่มีการบรรจุเรื่องนี้เป็นวาระเพื่อพิจารณาของบอร์ดแต่อย่างใดตอนนี้'

อนุกรรมการชุดไอซีที ยื่นเอกสารถึงมืออนุดิษฐ์

ด้าน คณะทำงานไอซีทีชุด พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ได้สรุปการพิจารณาสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ระหว่างกลุ่ม ทรูกับ กสท มาระยะหนึ่งแล้ว และจะถึงมือ รมว.ไอซีทีตัดสินใจในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์

พ.ต.อ.สุชาติ ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ ระหว่างกลุ่มทรูกับ กสท โทรคมนาคม ของกระทรวงไอซีที กล่าวว่า คณะทำงานได้สรุปความเห็นทั้งหมด และรวบรวมรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว แต่มีการเรียบเรียงข้อความใหม่ให้ต่อเนื่อง และมีข้อมูลสนับสนุนอย่างชัดเจน เพื่อง่ายต่อการพิจารณาตัดสินใจ เพื่อให้ รมว.ไอซีทีตัดสินชี้ขาด เนื่องจากเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง

โดยคณะทำงานพิจารณา จากกระบวนการในการตัดสินใจทำสัญญาตั้งแต่ต้น พิจารณาระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องขององค์กร ข้อกฎหมายต่างๆ ซึ่งพบว่าในภาพรวมแล้วสัญญานี้มีปัญหาในหลายจุด

แหล่งข่าวในกระทรวง ไอซีที กล่าวว่า ข้อผิดปกติของการทำสัญญาชุดนี้บางเรื่องคือ ไม่สอดคล้องในหลักบริหารตัดสินใจ เช่น คณะกรรมการอนุมัติให้ไปดำเนินการอย่างหนึ่ง แต่ฝ่ายบริหารจัดการไปดำเนินการอีกเรื่องหนึ่ง หรือการลงนามสัญญาเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการนำเสนอวาระเข้าที่ประชุมบอร์ดอีก ครั้งเพื่อรับรู้ว่าจะมีการทำสัญญากันแล้วที่ไหน อย่างไร

แต่ฝ่าย บริหารอ้างว่าบอร์ดให้กรอบกว้างๆ มาแล้วว่าทำสัญญาได้เมื่อมีกระบวนการตรวจสอบทางข้อกฎหมายครบถ้วนคืออัยการ แต่ในทางปฏิบัติทั่วไปของวิสาหกิจก็ควรนำเสนอบอร์ดรับทราบอีกครั้ง

อย่าง ไรก็ตาม สัญญาชุดนี้ลงนามอย่างรีบเร่งเช้าตรู่ในวันนั้น โดยคู่สัญญาทรูอ้างว่า เพราะกำหนดการสรุปเงื่อนไขคือในสิ้นเดือนมกราคม ดังนั้น เมื่อเป็นวันปลายเดือนและติดช่วงวันหยุด จะเกี่ยวข้องงานเอกสารทางการเงินจำนวนมาก จึงต้องใช้เวลาเพื่อโอนเงินกว่า 6,000 ล้านบาท ให้เสร็จสิ้นทั้งหมดทันตามเวลา

กรรมาธิการฯ วุฒิย้ำอีกครั้ง ชี้สัญญาผิด กม.

คณะ กรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาลของวุฒิสภา ที่มี รสนา โตสิตระกูล เป็นประธาน ได้สรุปผลการตรวจสอบว่า สัญญาระหว่าง กลุ่มทรู กับ กสท มิชอบด้วยกฎหมาย คือ การทำสัญญาขัดมาตรา 45 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการวิทยุโทรคมนาคม พ.ศ.2553

เพราะ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) บริษัทในเครือกลุ่มทรู ที่เป็นผู้สร้างและจัดหาและอุปกรณ์โทรคมนาคม และยังเป็นผู้ให้เช่าโครงข่ายโทรคมนาคม ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 อีกทั้ง บีเอฟเคที ยังเป็นผู้มีอำนาจควบคุมการใช้คลื่นความถี่โดยตรง ขณะที่ กสท เป็นเพียงผู้เข้าร่วมปฏิบัติงานด้วยเท่านั้น


โดยยังเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอบสวนเอาผิดแก่ผู้ร่วมกระทำความผิดทุกคนที่อนุมัติให้ กสท เข้าทำสัญญากับกลุ่มทรูทั้งหมด


แหล่ง ข่าวกล่าวว่า สำหรับสัญญาระหว่างกลุ่มทรูกับ กสท ดังกล่าว จัดทำขึ้นในสมัยรัฐบาล ประชาธิปัตย์ ที่มี จุติ ไกรฤกษ์ เป็น รมว.ไอซีที ประเด็นที่ยังต้องสอบสวนให้ได้ความกระจ่างคือ จุติ มีนโยบายไม่ให้ กสท ซื้อฮัทช์ ในราคาเกิน 4,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าเหมือนการซื้อเศษเหล็ก เมื่อ กสท ซื้อฮัทช์ไม่ได้ ก็เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มทรูซื้อฮัทช์แทนด้วยเงินประมาณ 6,200 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับที่ กสท เสนอซื้อ

แหล่งข่าวในวงการโทร คมนาคมกล่าวว่า เรื่องชุดสัญญาทรู และการสอบสวนที่กำลังจะได้ทิศทางในอีกไม่นานนี้ กลายเป็นประเด็นเปราะบางต่อการเตรียมประมูลใบอนุญาตความถี่ใหม่ 2100 MHz หรือ 3G และ 3G advance โดยปริยาย

เพราะช่วงเวลานั้นทุกอย่างจะเห็น ทิศทางมากขึ้นทั้งเรื่องความชัดเจนที่ กสทช.กำลังปรับแก้ร่างประกาศห้ามต่างด้าวครอบงำกิจการโทรคมนาคม ซึ่งตั้งตารางงานว่าจะเสร็จในเดือนเมษายน ร่างนี้คาดหมายว่าปรับแก้มากหรือน้อยก็ไม่ราบรื่น

เนื่องจากร่างเดิม ที่เกิดขึ้นปลายรัฐบาลที่แล้ว ระบุเกณฑ์ที่ดูทั้งสัดส่วนหุ้น และอำนาจบริหารผ่านกลุ่มผู้บริหารระดับสูงในบริษัทเอกชนที่เป็นเส้นทางอำนาจ จัดการของผู้ถือหุ้นต่างชาติด้วย จึงเป็นเหมือนตัวสกัดการเข้าร่วมประมูล 3G ของดีแทค โดยตรง และเอไอเอสโดยอ้อม

หากมีการแก้มากหรือโอนอ่อนลง ก็อาจมีคนหรือนอมินียื่นร้องว่าร่างที่แก้ใหม่ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ชอบด้วย เอื้อต่างด้าวครอบงำทรัพยากรความถี่ชาติ กระทบความมั่นคง แต่หากไม่แก้และยืนกรานเข้มข้นแบบเก่า ผู้ถือหุ้นต่างชาติที่ล้วนทรงอิทธิพล เพราะถือหุ้นโดยรัฐบาลทั้งฝั่งนอร์เวย์ของดีแทค และฝั่งสิงคโปร์ของเอไอเอส คงไม่ยืนนิ่งๆ แล้วดูปัญหานี้

แรงกระเพื่อมที่คาดการณ์ได้ไม่ยากนี้ ทำให้หลายคนเชื่อว่าเรื่องไม่ราบรื่นและอุปสรรคจะเกิดขึ้นก่อนการประมูลความ ถี่ 2100MHz แน่นอนที่สุด
คงเหมือนอย่างที่ วิเชียร เมฆตระการ ซีอีโอเอไอเอส กล่าวถึงความรู้สึกส่วนตัวว่า เรื่องไม่ปกติก็เกิดขึ้นในประเทศนี้ได้เสมอ และเป็นไปได้ว่าจะมีการเตะตัดขากันเพื่อผลในเรื่องผลประโยชน์


“สิ่งที่เราต้องทำที่สุดคือ ใครยื่นขามาเราก็โดดข้ามไป” เขากล่าวสั้นๆ


....นอก จากนี้หลังแผนแม่บท 3 แผนของ กสทช.ผ่านประชาพิจารณ์ และเตรียมประกาศใช้ ก็เปิดโอกาสให้คนไม่เห็นด้วยสามารถยื่นร้องทางกฎหมายได้ด้วย นั่นหมายถึงแผนเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการพร้อมเปิดประมูลความถี่ใหม่ หรือแม้แต่การดำเนินการทั้งหมดทั้งในฟากโทรคมนาคมและกระจายเสียง


...... นี่ยังไม่รวมถึงเรื่องที่ว่ามีฮอตไลน์สายหนึ่งจากอดีตบิ๊กทหารกองทัพและ รัฐมนตรีกลาโหม ถึงกรรมการ กสทช.คนหนึ่ง เพื่อฝากฝังให้ช่วยเอ็นดู ดูแลบริษัทโทรคมนาคมบริษัทหนึ่งไว้ด้วย....ขณะที่ กรรมการ กสทช. ก็ยืนยันอย่างหนักแน่น ว่า เรื่องดังกล่าวนั้น ไร้สาระ หากเป็นไปตามข่าวลือดังกล่าว กสทช. จะมีเกียรติภูมิใดหลงเหลือ ให้ปฏิบัติหน้าที่สมกับที่ได้รับความไว้วางใจได้อีก !!!!!


Telecom Journal
http://www.tjinnovation.com/Section.php?cat=14&id=1460


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.