Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 กันยายน 55 ยกเลิก!! CAT โดนบาง โครงการ INTERNET ผ่านระบบ FTTx 6000 ลบ. // CEO คนใหม่ แก้สัญญาใหม่ เช่ารวม 3.4พันล้านบาท

ยกเลิก!! CAT โดนบาง โครงการ INTERNET ผ่านระบบ FTTx 6000 ลบ. // CEO คนใหม่ แก้สัญญาใหม่ เช่ารวม 3.4พันล้านบาท
ประเด็นหลัก

สำหรับ โครงการเอฟทีทีเอ็กซ์  เกิดขึ้นเพื่อให้ กสท มีโครงข่ายเข้าถึงผู้ใช้บริการโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นตามบ้าน หรือ ตามอาคาร โดยสามารถรองรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ บริการด้านมัลติมีเดีย และการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ มีระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2555

อย่างไรก็ตาม ได้มีส่วนที่ดำเนินการไปแล้ว คือ ให้บริการกับนิคมอุตสาหกรรมใน 10 จังหวัด แต่ตรวจสอบพบว่าสัญญาไม่ถูกต้องในสมัยที่ นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ เนื่องจากโครงการดังกล่าวไม่ได้ผ่านมติ ครม. และพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ส่งผลให้ กสท ต้องสูญเสียรายได้จากค่าเช่าปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท


ด้าน นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่าการเจรจากับคู่สัญญาที่ดำเนินการโครงการ FTTX มีความคืบหน้ามาก โดยได้เจรจากับคู่สัญญาทั้งหมด 10 สัญญา และมีข้อตกลงร่วมกันว่า กสท จะทำสัญญาใหม่ ในลักษณะเช่าซื้อ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจะต้องโอนอุปกรณ์ทั้งหมดให้ กสท และขอปรับอัตราค่าเช่า โดยจะจ่ายค่าเช่าในอัตรา 50% หรือตามที่มีการใช้งานจริง ซึ่งคู่สัญญาเอกชนก็ยินยอมแล้ว ฉะนั้นจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอให้ที่ประชุมบอร์ดให้พิจารณาอนุมัติก่อน



สำหรับ สัญญาเดิมเป็นแบบอัตราเหมาจ่ายเป็น 100% แต่ในทางปฏิบัติ กสท อาจใช้งานเพียง 20-40% เท่านั้น และสัญญาเดิมยังระบุว่าหากพื้นที่ใดที่ กสท ใช้งานเกิน 50% ก็จะปรับอัตราค่าบริการเพิ่มขึ้นให้ตามความเหมาะสมและตกลงกัน





_______________________________________


ไอซีทีเลิก'เอฟทีทีเอ็กซ์' 6 พันล้าน จ่อชะลอ'3จี เฟส2'ทีโอที

รมว.ไอซีที สั่งเลิกโครงการเอฟทีทีเอ็กซ์ 6 พันล้านบาท หลังพิจารณาแล้วไม่เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่จ่อล้ม 3จี ทีโอที หากไม่คืบ...

น.อ.อนุ ดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ขณะนี้ กระทรวงไอซีทีพิจารณาไม่อนุมัติโครงการที่ไม่ก่อให้เกิดกำไรในเชิงธุรกิจและ การให้บริการของหน่วยงานในกำกับดูแล บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) อาทิ โครงการอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟเบอร์ หรือ เอฟทีทีเอ็กซ์ ของ กสท มูลค่า 6 พันล้านบาท

รมว.ไอซีที กล่าวต่อว่า หากกระทรวงฯ พิจารณาอนุมัติให้ กสท เดินหน้าโครงการนี้ ก็ไม่ได้ช่วยให้ กสท มีรายได้ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ก่อนหน้าเคยให้ กสท ไปทบทวนรายละเอียดของโครงการแล้วว่า มีความจำเป็นอย่างไรที่โครงการนี้ต้องเกิดขึ้น แต่ กสท ไม่สามารถตอบรายละเอียดที่ชัดเจนได้ ไอซีที จึงไม่จำเป็นต้องผลักดันให้เกิดขึ้น

สำหรับ โครงการเอฟทีทีเอ็กซ์  เกิดขึ้นเพื่อให้ กสท มีโครงข่ายเข้าถึงผู้ใช้บริการโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นตามบ้าน หรือ ตามอาคาร โดยสามารถรองรับการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือ บรอดแบนด์ บริการด้านมัลติมีเดีย และการรับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ มีระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2553-2555

อย่างไรก็ตาม ได้มีส่วนที่ดำเนินการไปแล้ว คือ ให้บริการกับนิคมอุตสาหกรรมใน 10 จังหวัด แต่ตรวจสอบพบว่าสัญญาไม่ถูกต้องในสมัยที่ นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ เนื่องจากโครงการดังกล่าวไม่ได้ผ่านมติ ครม. และพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ส่งผลให้ กสท ต้องสูญเสียรายได้จากค่าเช่าปีละไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท

น.อ.อนุ ดิษฐ์ กล่าวอีกว่า นอกจากโครงการของ กสท แล้ว ยังมีโครงการ 3จี เฟส 2 จำนวน 1.5 หมื่นสถานีที่ทีโอทีต้องเสนอให้ไอซีทีพิจารณา โดยก่อนที่จะอนุมัติ ไอซีทีจะดูผลตอบแทนด้านรายได้จากโครงการ 3จี เฟสแรกจำนวน 5,320 สถานี ของทีโอทีที่จะเปิดให้บริการเดือน ต.ค.นี้ หากเฟสแรกไม่ประสบความสำเร็จ มีความเป็นไปได้สูงที่เฟส 2 จะต้องถูกชะลอออกไปก่อน

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/289977

__________________________________



กสท’ชงบอร์ดตัดสิน12กย.แก้สัญญาโครงข่ายเคเบิล FTTX มูลค่าเช่ารวม 3.4พันล้านบาท


น.ท.สม พงษ์ โพธิ์เกษม กรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) กสท ในวันที่ 12 กันยายนนี้จะมีการพิจารณารายละเอียดการเช่าใช้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำ แสง และอุปกรณ์เอฟทีทีเอ็กซ์ (FTTX) หลังล่าช้ามานาน

ด้านนายกิตติ ศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท กล่าวว่าการเจรจากับคู่สัญญาที่ดำเนินการโครงการ FTTX มีความคืบหน้ามาก โดยได้เจรจากับคู่สัญญาทั้งหมด 10 สัญญา และมีข้อตกลงร่วมกันว่า กสท จะทำสัญญาใหม่ ในลักษณะเช่าซื้อ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจะต้องโอนอุปกรณ์ทั้งหมดให้ กสท และขอปรับอัตราค่าเช่า โดยจะจ่ายค่าเช่าในอัตรา 50% หรือตามที่มีการใช้งานจริง ซึ่งคู่สัญญาเอกชนก็ยินยอมแล้ว ฉะนั้นจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอให้ที่ประชุมบอร์ดให้พิจารณาอนุมัติก่อน



สำหรับ สัญญาเดิมเป็นแบบอัตราเหมาจ่ายเป็น 100% แต่ในทางปฏิบัติ กสท อาจใช้งานเพียง 20-40% เท่านั้น และสัญญาเดิมยังระบุว่าหากพื้นที่ใดที่ กสท ใช้งานเกิน 50% ก็จะปรับอัตราค่าบริการเพิ่มขึ้นให้ตามความเหมาะสมและตกลงกัน

นาย กิตติศักดิ์กล่าวว่า หากที่ประชุมบอร์ด กสทให้ความเห็นชอบ ก็จะนำเรื่องเสนอกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอให้พิจารณาและนำเรื่องเสนอต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.)เพื่ออนุมัติตามขั้นตอนต่อไป และเมื่อครม.อนุมัติทาง กสท ก็จะเรียกคู่สัญญามาทำสัญญาใหม่กับ กสท อีกครั้ง เมื่อทำตามขั้นตอนที่ครบถ้วนแล้ว เชื่อว่าจะสามารถชำระเงินให้เอกชนตามสัญญาได้ ทั้งนี้หากไม่ชำระเงินให้เอกชนตามสัญญา กสทก็อาจถูกเอกชนฟ้องร้องอีกได้

สำหรับ โครงการเอฟทีทีเอ็กซ์ ที่เคยลงนามในสัญญาเมื่อปี 2553 เป็นสัญญาระยะเวลา 1-3 ปี มีทั้งสิ้น 8 สัญญาให้บริการใน 10 พื้นที่ คิดเป็นมูลค่าการเช่ารวม 3,495 ล้านบาทแบ่งเป็นพื้นที่ จ.ชลบุรี ให้เช่าโดยคอนซอเตียมเอ็มเอสทีคิดเป็นค่าเช่าเดือนละ 18.44 ล้านบาท จ.ระยอง โดยบริษัท เอ.แอล.ที.อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น ค่าเช่าเดือนละ 14.44 ล้านบาท จ.นครราชสีมา โดยบริษัท ไซแมท เทคโนโลยี ค่าเช่าเดือนละ 8.2 ล้านบาท จ.เชียงใหม่ ไซแมท เทคโนโลยี ค่าเช่าเดือนละ 6.9 ล้านบาท ขอนแก่น โดยบริษัท อินเนอร์เทค คอร์ปอเรชั่น ค่าเช่าเดือนละ 6.9 ล้านบาท และภูเก็ต สุราษฎร์ธานี สงขลา โดยบริษัท อินเนอร์เทค คอร์ปอเรชั่น ค่าเช่าเฉลี่ยนเดือนละ 4-7 ล้านบาท

แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1485499

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.