Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 ตุลาคม 2555 (เกาะติดประมูล3G) กสทช.โต้!ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้เดือดร้อนใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต (คนไทยพลาด3Gครั้งนี้เสียหายปีละ 76,650 ลบ.)


ประเด็นหลัก

นายสุทธิพล ยังชี้ให้ศาลเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้เดือดร้อนเสียหายตามความหมายของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ เพราะไม่ใช่ผู้เข้าร่วมประมูล รวมถึงมีความไม่สุจริต เนื่องจากเป็นผู้มีความรู้ทางโทรคมนาคมและเชี่ยวชาญทางกฎหมาย  โดยเคยฟ้องคดีเกี่ยวกับโทรคมนาคมต่อศาลปกครองมาแล้ว  ซึ่งเมื่อรู้ทั้งกฎหมายและเทคนิคแล้ว  ยังจะมาบังคับให้ กสทช. ทำผิดกฎหมาย  จึงถือเป็นการใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต

"ที่บอกกับศาลแบบนี้ไม่ใช่เพื่อปรักปรำ  โกรธแค้นผู้ร้อง หรือโยงว่าผู้ร้องมีผลประโยชน์กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการประมูลรายใด  แต่ต้องการชี้ว่าเป็นการร้องที่ไม่มีมูลเหตุตามกฎหมาย  ใครจะฟ้องร้องอะไรควรศึกษากฎหมายให้รอบคอบ  เพราะอาจมีผลเสียหายต่อส่วนรวม  และยากจะชี้ว่าใครจะต้องมารับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น  ซึ่งเชื่อว่ายังจะมีการร้องแบบนี้อีกหลายกรณี  เหมือนที่เคนบอกไปก่อนหน้านี้แล้วว่า มีขบวนการจ้องล้มการประมูล  แต่ไม่ทันไรก็มีการฟ้อง 2, 3 คดีแล้ว  และเชื่อว่าจะมีคดีที่ 4  ตามมา จึงอยากทำให้คดีนี้เป็นตัวอย่างเพราะเราไม่ต้องการปล่อยให้ขบวนการเหล่านี้มาทำลายประเทศ"นายสุทธิพล กล่าว

นายสุทธิพล เปิดเผยตัวเลขความเสียหายที่ได้แจ้งต่อศาล  หากมีการชะลอการประมูลครั้งนี้ออกไปว่า  จากตัวเลขในบทความทางวิชาการที่นักวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เคยศึกษาถึงผลเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย  จากการประมูล 3 จีที่ล่าช้ามาแล้ว 2 ปี  เป็นตัวเลข  153,900  ล้านบาท เฉลี่ยที่วันละ 210 ล้านบาท


ทั้งนี้ การฟ้องร้องดังกล่าว เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ไว้ และคิดว่าเป็นโอกาสที่ดี เพราะจะได้ชี้แจงให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ ซึ่ง กสทช. พร้อม 100% ที่จะชี้แจงเกี่ยวกับการประมูล 3 จีทั้งหมด ฉะนั้น หากศาลไม่มีคำสั่งใดๆ มายัง กสทช. ก็ยังมีความมั่นใจว่าการประมูล 3 จี จะเดินหน้าต่อไปและเปิดประมูลตามวัน-เวลาที่กำหนดคือ วันที่ 16 ต.ค.นี้อย่างแน่นอน ส่วนประเด็นที่มีการกล่าวอ้างว่ามีบริษัทขาดคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการประมูลนั้น ขอยืนยันว่า กสทช.ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดทุกขั้นตอนและตามกฎหมายแล้ว ดังนั้น ก็ขอยืนยันว่าทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย


ทั้งนี้ การฟ้องร้องดังกล่าว เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ไว้ และคิดว่าเป็นโอกาสที่ดี เพราะจะได้ชี้แจงให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ ซึ่ง กสทช. พร้อม 100% ที่จะชี้แจงเกี่ยวกับการประมูล 3 จีทั้งหมด ฉะนั้น หากศาลไม่มีคำสั่งใดๆ มายัง กสทช. ก็ยังมีความมั่นใจว่าการประมูล 3 จี จะเดินหน้าต่อไปและเปิดประมูลตามวัน-เวลาที่กำหนดคือ วันที่ 16 ต.ค.นี้อย่างแน่นอน ส่วนประเด็นที่มีการกล่าวอ้างว่ามีบริษัทขาดคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการประมูลนั้น ขอยืนยันว่า กสทช.ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดทุกขั้นตอนและตามกฎหมายแล้ว ดังนั้น ก็ขอยืนยันว่าทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย












__________________________________________

'สุทธิพล'แจงมีกระบวนการจ้องล้มประมูล 3G

"สุทธิพล"แจงศาลปกครอง ผู้ฟ้องล้มประมูล3G ไม่ใช่ผู้เสียหาย อัดใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต ชี้มีขบวนการจ้องล้มประมูล ชี้ล่าช้าเสียหายวันละ210ล้าน

ภายหลังการไต่สวนฉุกเฉิน กรณีที่นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระ ยื่นฟ้องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ขอให้มีคำพิพากษาสั่งให้ กสทช. ยุติการจัดสรรความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ นานกว่า  2 ชั่วโมง  ศาลได้สั่งพักการไต่สวน

นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกสทช. ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า ได้ชี้แจงต่อศาลถึงความถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมาย  ว่าหาก กสทช. ทำตามที่ผู้ร้องต้องการจะกลายเป็นการทำผิดขั้นตอนตามกฎหมายเสียเอง เนื่องจากการกำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงของค่าบริการล่วงหน้า จะคำนวณได้เมื่อทราบผู้ชนะประมูล  เพราะขึ้นกับต้นทุนของการประมูลและการลงทุน  ทั้งนี้มีกำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าการกำหนดอัตราดังกล่าวต้องเป็นธรรมระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ  และการออกประกาศดังกล่าวยังต้องผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะด้วย

นายสุทธิพล ยังชี้ให้ศาลเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้เดือดร้อนเสียหายตามความหมายของพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ เพราะไม่ใช่ผู้เข้าร่วมประมูล รวมถึงมีความไม่สุจริต เนื่องจากเป็นผู้มีความรู้ทางโทรคมนาคมและเชี่ยวชาญทางกฎหมาย  โดยเคยฟ้องคดีเกี่ยวกับโทรคมนาคมต่อศาลปกครองมาแล้ว  ซึ่งเมื่อรู้ทั้งกฎหมายและเทคนิคแล้ว  ยังจะมาบังคับให้ กสทช. ทำผิดกฎหมาย  จึงถือเป็นการใช้สิทธิ์โดยไม่สุจริต

"ที่บอกกับศาลแบบนี้ไม่ใช่เพื่อปรักปรำ  โกรธแค้นผู้ร้อง หรือโยงว่าผู้ร้องมีผลประโยชน์กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการประมูลรายใด  แต่ต้องการชี้ว่าเป็นการร้องที่ไม่มีมูลเหตุตามกฎหมาย  ใครจะฟ้องร้องอะไรควรศึกษากฎหมายให้รอบคอบ  เพราะอาจมีผลเสียหายต่อส่วนรวม  และยากจะชี้ว่าใครจะต้องมารับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น  ซึ่งเชื่อว่ายังจะมีการร้องแบบนี้อีกหลายกรณี  เหมือนที่เคนบอกไปก่อนหน้านี้แล้วว่า มีขบวนการจ้องล้มการประมูล  แต่ไม่ทันไรก็มีการฟ้อง 2, 3 คดีแล้ว  และเชื่อว่าจะมีคดีที่ 4  ตามมา จึงอยากทำให้คดีนี้เป็นตัวอย่างเพราะเราไม่ต้องการปล่อยให้ขบวนการเหล่านี้มาทำลายประเทศ"นายสุทธิพล กล่าว

นายสุทธิพล เปิดเผยตัวเลขความเสียหายที่ได้แจ้งต่อศาล  หากมีการชะลอการประมูลครั้งนี้ออกไปว่า  จากตัวเลขในบทความทางวิชาการที่นักวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เคยศึกษาถึงผลเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย  จากการประมูล 3 จีที่ล่าช้ามาแล้ว 2 ปี  เป็นตัวเลข  153,900  ล้านบาท เฉลี่ยที่วันละ 210 ล้านบาท

"ถ้าต้องชะลอการประมูลออกไป  ลำพังขั้นตอนการจัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ  และขั้นตอนเตรียมการประมูลหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ซึ่งต้องเริ่มทำใหม่หมดก็เป็นเวลาประมาณ 8 เดือน  คิดเป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 51,300 ล้านบาท  ซึ่งต้องไปบวกกับเวลาที่ต้องรอคดียุติในชั้นศาลอีกวันละ  210 ล้านบาท ที่คนไทยประเทศไทยต้องรับความเสียหายเหล่านี้ไป" นายสุทธิพล กล่าว

กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20121011/473
696/%CA%D8%B7%B8%D4%BE%C5%E1%A8%A7%C1%D5%A1%
C3%D0%BA%C7%B9%A1%D2%C3%A8%E9%CD%A7%C5%E9%
C1%BB%C3%D0%C1%D9%C5-3G.html

______________________________________



กสทช.ลั่นประมูล3G ยังเดินหน้าต่อได้ รอลุ้นศาลปกครอง "รับคำฟ้อง-ไม่ฟ้อง"และคุ้มครองฉุกเฉินหรือไม่"

ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจรายงานจากศาลปกครอง วันนี้ (11ต.ค.) เกี่ยวกับผลการไต่สวนฉุกเฉินของศาลปกครองกลางเพื่อพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราวการประมูลใบอนุญาตบริการ 3G คลื่น 2.1GHz หลังจากนายอานุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระได้ยื่นฟ้องว่า ศาลได้ตั้งองค์คณะเพื่อพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ รับคำฟ้องหรือไม่ และจะมีการคุ้มครองฉุกเฉินหรือไม่ โดยเร็วที่สุด


โดยนายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช. ด้านกฎหมาย กล่าวว่า วันนี้ศาลได้ข้อมูล พยาน หลักฐาน เพียงพอสำหรับการวินิจฉัยแล้วและจะนำไปพิจารณากับองค์คณะผู้พิพากษาต่อไปว่าจะรับฟ้องหรือไม่ และจะออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ โดยศาลไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลา แต่บอกว่าจะเร่งดำเนินการให้เสร็จโดยเร็วที่สุด จากนั้นจะส่งคำสั่งศาลให้คู่ความทั้งสองฝ่าย ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่า ศาลทราบกรอบระยะเวลาว่า จะจัดประมูลในวันที่ 16 ตุลาคม 2555 นี้เป็นอย่างดี

"ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทางกสทช. จะเดินหน้าจัดการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ทซ์ตามปกติ ซึ่งถือเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย"

นอกจากนี้ นายสุทธิพลยังให้ข้อมูลว่า แม้ศาลรับฟ้องก็ไม่ได้หมายความว่ากระบวนการจัดการประมูลที่กสทช. จัดทำมาก่อนหน้านี้จะเสียไป เพราะหากรับฟ้องแต่ไม่ได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทางกสทช. ก็สามารถดำเนินการประมูลต่อได้และไม่จำเป็นต้องเลื่อนการประมูล

อย่างไรก็ตามหากคำตัดสินเป็นคุณกับผู้ฟ้อง ทางกสทช.ก็จะต้องดำเนินการยื่นอุทธรณ์ต่อไป

"เรากราบเรียนศาลไปว่าผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงเพราะไม่ได้เป็นผู้เข้าร่วมการประมูลอีกทั้งหากเกิดการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ทซ์ เขาจะกลายเป็นผู้บริโภคและเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ การฟ้องของเขาจึงเป็นการฟ้องเพราะใช้ดุลพินิจ ส่วนเรื่องการให้กำหนดราคาขั้นสูงกฎหมายก็กำหนดว่าอัตราค่าบริการจะต้องเป็นธรรมระหว่างผู้ใช้บริการและผู้บริโภคซึ่งตอนนี้ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ให้บริการจึงยังไม่สามารถกำหนดราคาขั้นสูงได้ หากดำเนินการก่อนจะเป็นเรื่องผิดกฎหมาย" นายสุทธิพลกล่าว

นายสุทธิพลกล่าวถึงมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากไม่สามารถจัดงานประมูลให้บริการ3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ทซ์ ในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ว่า 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่กทช. ไม่สามารถจัดการประมูลให้บริการ 3G 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ทซ์ได้เมื่อปี 2553 ที่ผ่านมา ผลวิจัยจากสถาบันทั้งในและนอกประเทศระบุว่า ประเทศเราเสียหายไปแล้วคิดเป็นมูลค่าประมาณ 150,000 ล้านบาท หากการประมูลครั้งนี้เลื่อนออกไปอีกคงต้องดูว่า กระบวนการศาลใช้เวลานานเท่าไหร่ ถ้าศาลใช้เวลาพิจารณาคดีเป็นเวลา 1 ปี ก็คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 76,950 ล้านบาท หลังจากมีคำสั่งศาลทางกสทช. จะต้องปรับปรุงประกาศ รับฟังความเห็นสาธารณะ และส่งราชกิจจานุเบกษารวมประมาณ 3 เดือน ใช้เวลาดำเนินตามขั้นตอนอีก 5 เดือน รวมทั้งหมด 8 เดือน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 51,300 ล้านบาท

ด้านนายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม กล่าวถึงผลการไต่สวนฉุกเฉินของศาลปกครองในวันนี้ว่า สรุปว่าศาลได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนและจะประชุมพิจารณาเป็นคณะกันอีกครั้ง ขึ้นอยู่กับว่าจะรับฟ้องหรือไม่ ส่วนตัวมีความเห็นว่า กสทช. บอกแค่ว่าการให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิ๊กกะเฮิร์ทซ์ดีกว่าแต่ไม่ค่อยอธิบายให้ประชาชนทราบ บอกแต่วิธีประมูล หากกสทช. ต้องเลื่อนการประมูลไปสัก 1-2 เดือน แต่ทำให้คนไทยได้ประโยชน์มากกว่านี้จะคุ้มค่ามากกว่าหรือเปล่า

ส่วนเรื่องการแก้ไขรายละเอียดการประมูล ในภาคผนวกของกฎเกณฑ์การประมูลก็เขียนว่ากสทช. สามารถแก้ไขได้ และน่าจะทำได้ง่ายดาย แล้วเสร็จก่อนวันที่ 16 ตุลาคมนี้แน่นอน ส่วนตัวไม่เข้าใจว่า ทำไมกสทช. ไม่เขียนเป็นหลักประกันให้ประชาชนไปเลย นอกจากนี้การออกกฎเกณฑ์


ประชาชาติธุรกิจ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1349954402&grpid=&catid=06&subcatid=0600

___________________________________


กสทช.ไม่หวั่นแม้ถูกฟ้อง พร้อมแจงทุุกประเด็น

"กสทช." ไม่หวั่นแม้ทุกฟ้องล้มประมูล 3 จี ยันพร้อมชี้แจงทุกประเด็น เผยก่อนประมูลไร้กังวล แต่หวั่นหลังประมูลมีผู้ยื่นฟ้องเพิ่มแน่ เหตุมีความชัดเจนของผลประมูล โดยเฉพาะรายได้ เนื่องจากต่างมุมมอง...

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช. ได้รับทราบจากกรณีที่มีการยื่นฟ้องศาลปกครองเมื่อช่วงสายของวันนี้ (10 ต.ค.) เพื่อขอให้ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับการประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือ 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 9 ใบอนุญาต ราคาเริ่มต้นการประมูล 4,500 ล้านบาทต่อใบ เป็นการชั่วคราว จนกว่า กสทช.จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูล 3 จี ที่ชัดเจน

ทั้งนี้ การฟ้องร้องดังกล่าว เป็นไปตามที่ได้คาดการณ์ไว้ และคิดว่าเป็นโอกาสที่ดี เพราะจะได้ชี้แจงให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ ซึ่ง กสทช. พร้อม 100% ที่จะชี้แจงเกี่ยวกับการประมูล 3 จีทั้งหมด ฉะนั้น หากศาลไม่มีคำสั่งใดๆ มายัง กสทช. ก็ยังมีความมั่นใจว่าการประมูล 3 จี จะเดินหน้าต่อไปและเปิดประมูลตามวัน-เวลาที่กำหนดคือ วันที่ 16 ต.ค.นี้อย่างแน่นอน ส่วนประเด็นที่มีการกล่าวอ้างว่ามีบริษัทขาดคุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการประมูลนั้น ขอยืนยันว่า กสทช.ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดทุกขั้นตอนและตามกฎหมายแล้ว ดังนั้น ก็ขอยืนยันว่าทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย

"ก่อนการประมูลไม่มีความกังวล เพราะพร้อมชี้แจงทุกประเด็น แต่มีกังวัลหลังประมูลมากกว่า เพราะเมื่อความชัดเจนของการประมูลแล้ว โดยเฉพาะรายได้จากการประมูล หลายคนอาจมองว่า กสทช.ไม่รักษาผลประโยชน์ประเทศชาติ ขณะที่ กสทช.ก็ยืนยันว่าได้ทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์อย่างเต็มที่แล้ว และในเดือน พ.ย.นี้ จะมีคณะกรรมการติดตามประเมินผลงานของ กสทช. (ซุปเปอร์บอร์ด กสทช.) ที่อยู่ระหว่างการคัดเลือกของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ก็คงเข้ามาทำงาน ซึ่งจะทำให้การตรวจสอบ กสทช. เข้มข้นมากยิ่งขึ้น"

นายฐากร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เพื่อนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ต่อไป และยังเห็นชอบร่างประกาศ กสทช. ที่เกี่ยวกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ ได้แก่ แผนการเปลี่ยนระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล, มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล, มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล, แผนความถี่วิทยุสำหรับกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล โดยจะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้มีการพิจารณาเรื่องการกำหนดจรรยาบรรณของ กสทช. โดยที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดทำร่างประกาศจรรยาบรรณ กสทช.ฉบับใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมแนวทางปฏิบัติ คำนึงถึงธรรมาภิบาล และความโปร่งใสขององค์กรบนมาตรฐานเดียวกันด้วย รวมถึงระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณของ กสทช. ก็ได้ปรับเปลี่ยนให้มีการใช้จ่ายอย่างรัดกุม รวมถึงการรักษาระยะห่างกับผู้รับใบอนุญาตเกี่ยวกับเรื่องการรับของขวัญต่างๆ ด้วย สำหรับงบประมาณการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อศึกษาดูงานนั้น กสทช. 11 คน จะมีงบเดินทางต่างประเทศปีละ 30 ล้านบาท.

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/297592


___________________________________



กสทช.เผยชะลอประมูล 3G 1 ปี ศก.เสียหาย 7.6 หมื่นลบ.


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น

นายอนุภาพ ถิรลาภ ขณะเดินทางมารับฟังผลไต่สวนฉุกเฉิน
กสทช.ยันหากไม่มีประมูล 3G ในเวลา 1 ปีจะทำให้เสียหาย 7.6 หมื่นล้านบาท ขณะที่ศาลยังไม่มีคำสั่งว่าจะรับฟ้องหรือคุ้มครองชั่วคราวเพื่อชะลอการประมูลออกไปหรือไม่
     
      นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยภายหลังไปให้คำชี้แจงต่อศาลปกครองกลางคดีที่นายอนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระได้ยื่นฟ้องกสทช.ให้ระงับการประมูล 3G ย่านความถี่ 2.1GHz เมื่อวันที่ 10 ต.ค.นี้ ว่าหากการประมูล 3G ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในวันที่ 16 ต.ค.นี้หรือหากมีการชะลอออกไปอีกจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยใน 8 เดือนจะเสียหายไป 51,300 ล้านบาท และใน 1 ปีจะเสียหาย 76,650 ล้านบาท
     
      ทั้งนี้ตัวเลขความเสียหายดังกล่าวที่ได้แจ้งต่อศาลหากมีการชะลอการประมูลครั้งนี้ออกไป เป็นตัวเลขจากบทความทางวิชาการที่นักวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เคยศึกษาถึงผลเสียหายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จากการประมูล 3G ที่ล่าช้ามาแล้ว 2 ปีซึ่งมีตัวเลขความเสียหายถึง 153,900 ล้านบาท หรือเฉลี่ยที่วันละ 210 ล้านบาท อีกทั้งยังได้ชี้แจงศาลไปว่านายอนุภาพไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง ดังนั้นหากกสทช.ปฎิบัติตามผู้ร้องจะเป็นการบังคับให้กสทช.ทำผิดกฏหมาย เช่น การให้กำหนดอัตราขั้นสูงล่วงหน้า เป็นต้น
     
      ทั้งนี้ศาลปกครองกลางจะนำเอาข้อไต่สวนทั้งหมดเข้าองค์คณะเพื่อพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ 1.จะรับฟ้องหรือไม่ 2.จะสั่งคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่ ซึ่งศาลยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาแต่อย่างใด เพียงแต่จะรีบดำเนินการให้เร็วที่สุด
     
      อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่กสทช.ที่เข้าไปรับฟังการไต่สวน ได้ระบุว่าหนึ่งในคำถามที่องค์คณะตุลาการศาลปกครองกลางถามในการไต่สวนคือ 'ถ้าไม่มี 3G จะเป็นอะไรมั้ย' ซึ่งเป็นคำถามเดียวกับเมื่อ 2 ปีที่แล้วในครั้งที่กสท ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองช่วงที่มีการจัดประมูล 3G โดยกทช.


ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000125012

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.