Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 ตุลาคม 2555 (เกาะติประมูล3G) อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแนะจับตาประมูล 3G หวั่นฮั้ว ดูเพื่อนบ้านไป 4G

ประเด็นหลัก


นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า เพราะในทางกลับกัน ที่หลายประเทศ เคยมีการประมูลพวกคลื่นความถี่ แล้วถ้าปรากฏว่า มีการให้ราคากันสูงมาก อาจจะแข่งขันกันมาก สุดท้ายปรากฏว่า ในหลายกรณีผู้ประกอบการก็ไปไม่รอดเหมือนกัน เพราะว่าจ่ายราคาสูงเกินไป สิ่งที่สำคัญคือ หากการประมูลเรียบร้อยดี เป็นไปตามที่ประชาชนคาดหวัง และสมมติว่า ราคาประมูลออกมา ไม่สูงหมายถึงว่า ต้นทุนของคนที่ได้คลื่นเหล่านี้ไปทำ คือไม่สูง ถ้ารัฐไม่ได้เงินมาก รัฐก็ต้องดูแลรับผิดชอบว่า ประชาชนผู้บริโภคต้องได้ประโยชน์เต็มๆ เพราะบางครั้งที่รัฐอยากได้เงินเยอะๆ แต่พอรัฐได้เงินมากๆ มันไปเป็นต้นทุนที่สูง ก็ผลักมาให้ประชาชน ทีนี้ถ้าได้เงินน้อย กสทช. ต้องทำสัญญาต่างๆ เพื่อกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจน แล้วก็กำกับดูแลว่า คนที่ได้ประโยชน์จากการที่ถ้าราคามันต่ำคือ ผู้บริโภค ไม่ใช่ไปเข้ากระเป๋าเป็นกำไร ของเฉพาะผู้ประกอบการที่มาประมูล จุดสำคัญต้องดูว่า ผลตรงนี้ และเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการภายหลังจะสอดคล้องอย่างไรและบริการประชาชนผู้บริโภคอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด


_________________________________________

'มาร์ค' ให้จับตาประมูล3จี กสทช.ต้องตรวจสอบได้

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แนะจับตาประมูล 3 จี หวั่นฮั้ว จี้ กสทช.คุมบริการให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด ชี้ช่องตรวจสอบ กสทช.ได้ย้ำให้อยู่ในกติกา หนุนทำ 3 จี ดูเพื่อนบ้านไป 4 จีแล้ว...

เมื่อวันที่ 16 ต.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการฟ้าวันใหม่ ทางบลู สกาย แชลแนล เกี่ยวกับการประมูล 3 จีว่า ตนไม่ได้ติดตามลึกลงในรายละเอียดมากนักในเรื่องเงื่อนไขการประมูล แต่พอทราบจากข่าวสารต่าง ๆ เพราะว่าประชาชนคนไทยรอคอยเรื่องของ 3 จี อยู่มาพอสมควร แม้ศาลจะไม่มีการไต่สวนฉุกเฉินเพื่อระงับการประมูล แต่ก็ควรให้ความสำคัญกับประเด็นของผู้ร้องด้วยว่า สิ่งที่เขาร้องไปนั้นก็เพื่อที่จะคุ้มครองประโยชน์ของส่วนรวม และประโยชน์ของประเทศ คือต้องระมัดระวังในการตีมูลค่าของคลื่น ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และหลายฝ่ายเกรงว่า ถ้าไม่มีการแข่งขันกันมากก็อาจเกิดการฮั้วได้ ถ้าฮั้วกัน รัฐเองจะเสียประโยชน์ จากรายได้ที่ควรจะได้ จึงต้องจับตาดูว่าการกำหนดกติกามันแข่งขันกันเองพอหรือไม่ และราคาประมูลที่ออกมานั้นเป็นอย่างไร


นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า เพราะในทางกลับกัน ที่หลายประเทศ เคยมีการประมูลพวกคลื่นความถี่ แล้วถ้าปรากฏว่า มีการให้ราคากันสูงมาก อาจจะแข่งขันกันมาก สุดท้ายปรากฏว่า ในหลายกรณีผู้ประกอบการก็ไปไม่รอดเหมือนกัน เพราะว่าจ่ายราคาสูงเกินไป สิ่งที่สำคัญคือ หากการประมูลเรียบร้อยดี เป็นไปตามที่ประชาชนคาดหวัง และสมมติว่า ราคาประมูลออกมา ไม่สูงหมายถึงว่า ต้นทุนของคนที่ได้คลื่นเหล่านี้ไปทำ คือไม่สูง ถ้ารัฐไม่ได้เงินมาก รัฐก็ต้องดูแลรับผิดชอบว่า ประชาชนผู้บริโภคต้องได้ประโยชน์เต็มๆ เพราะบางครั้งที่รัฐอยากได้เงินเยอะๆ แต่พอรัฐได้เงินมากๆ มันไปเป็นต้นทุนที่สูง ก็ผลักมาให้ประชาชน ทีนี้ถ้าได้เงินน้อย กสทช. ต้องทำสัญญาต่างๆ เพื่อกำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจน แล้วก็กำกับดูแลว่า คนที่ได้ประโยชน์จากการที่ถ้าราคามันต่ำคือ ผู้บริโภค ไม่ใช่ไปเข้ากระเป๋าเป็นกำไร ของเฉพาะผู้ประกอบการที่มาประมูล จุดสำคัญต้องดูว่า ผลตรงนี้ และเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการภายหลังจะสอดคล้องอย่างไรและบริการประชาชนผู้บริโภคอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

“เราได้ตั้งองค์กร กสทช. ขึ้นมาเพราะเราถือว่า ตรงนี้จะต้องมีองค์กรที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่ในเรื่องของการที่จะกำกับดูแลการแข่งขัน ซึ่งเราต้องการจะแยก 1. ฝ่ายนโยบายออกจากฝ่ายกำกับดูแล แล้วก็แยกออกมาจากผู้ประกอบการด้วย แล้วก็วิธีที่จะทำให้มันมีความเหมาะสมในแง่ของระบบการกำกับดูแลก็คือเขาก็ ต้องมีระยะห่างออกมาจากรัฐ ด้วยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย เขาก็จะกำหนดไว้ชัดว่า การกำกับดูแลนั้นเพื่อประโยชน์อะไรอย่างไ ร จึงเป็นอำนาจของ กสทช.จริงๆ และคิดว่า ที่ทำกันอย่างนี้มาก็เพราะว่า สังคมไม่ไว้ใจนักการเมือง โดยเฉพาะถ้าผลประโยชน์มหาศาลอย่างนี้ ไม่ไว้ใจนักการเมืองแน่นอน แต่ว่าเมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า คำว่า อิสระของ กสทช. คงไม่ได้หมายความว่าตรวจสอบอะไรไม่ได้ เพราะกลไกการตรวจสอบต่างๆ ก็สามารถที่จะใช้ในการตรวจสอบได้เช่นเดียวกัน เหมือนกับที่คนไปใช้สิทธิ์ในเรื่องศาลปกครอง และติดตามตรวจสอบดูเรื่องการกำกับดูแล กติกาการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นต่อไป” นายอภิสิทธิ์ กล่าว


เมื่อถามว่า การประมูลเพื่อให้ได้ใบอนุญาตนั้น เป็นความพยายามที่จะดึงกำไรพิเศษกลับคืนมาสู่ภาครัฐให้มากที่สุด ส่วนการที่ผู้ประกอบการจะกำหนดราคาถูกหรือแพงหลังจากนั้น เป็นเรื่องของสภาพตลาดตอนนั้น ต่อให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะได้ใบอนุญาตไปฟรี แต่ถ้าไปประกอบกิจการแล้ว กสทช.ก็ต้องทำหน้าที่ตรวจสอบ กำกับดูแลการให้บริการต่อใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถูกต้อง พอประมูลเสร็จสิ้นแล้ว สภาพการแข่งขันก็จะเป็นตัวกำหนดอยู่ในเรื่องของค่าบริการ เรื่องคุณภาพการบริการอะไรต่างๆ เพราะประชาชนคาดหวัง 1. ความรวดเร็วของการสื่อสาร จากภาพนิ่งจะเป็นภาพเคลื่อนไหว มีการตอบโต้กันไปมา เราเพิ่มศักยภาพของเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ที่อาศัยเครือข่ายนี้ เพราะที่อื่นเขาก็จะไป 4 จี กันแล้วต้องคิดต่อไปในอนาคตเหมือนกัน.


ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/pol/298972

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.