Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มีนาคม 2555 TOT ขอความเมตตาจาก กสทช. วอน!!! ยื่นหมูยื่นแมวคืนความถี่ 15 ปี เช่นเดิม แลกกับการที่TOTคืน 2.3GHz จำนวน 34 MHz ให้กสท

TOT ขอความเมตตาจาก กสทช. วอน!!! ยื่นหมูยื่นแมวคืนความถี่ 15 ปี เช่นเดิม แลกกับการที่TOTคืน 2.3GHz จำนวน 34 MHz ให้กสท


ประเด็นหลัก

'เราอยากวอนให้ กสทช.ยื่นหมูยื่นแมว โดยทีโอทีจะขอให้ระยะเวลาคืนความถี่โทรคมนาคมเป็น 15 ปี เช่นเดิม แลกกับการที่ทีโอทีคืนความถี่ 2.3GHz จำนวน 34 MHz ให้กสทช.'

ประธาน บอร์ดทีโอที กล่าวต่อว่า ทีโอทีจะขอใช้คลื่นในช่วง 2300 ถึง 2330 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาใช้ในโครงการนี้ โดยการออกแบบนี้ จะหารือกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ด้วย เพราะโครงข่ายนี้ทีโอทีต้องการจะเปิดให้เอกชนเข้ามาแชร์ใช้ร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนของประเทศ โดยทีโอทีจะพยายามขอความเมตตาจาก กสทช. เพื่อให้ได้สิทธิใช้คลื่นนี้เป็นเวลา 15 ปี
________________________________________________________


บอร์ดทีโอทีเล็งคุย กสทช.คืนคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์

บอร์ด ทีโอที เล็งคุย กสทช. เสนอคืนคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 34 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิมที่ถือครองอยู่ทั้งหมด64 เมกะเฮิรตซ์ ก่อนขอไลเซ่นส์ใหม่ พร้อมรับปาก พ.ค.นี้ จุดพลุ 5,320 สถานี...

เมื่อวันที่ 19 มี.ค. นายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานกรรมการบริหาร หรือ บอร์ด บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ด ว่า ในเฟสแรก การเปิดใช้งานสถานีฐาน 3จี ทีโอที ตั้งเป้าจะติดตั้งและเปิดให้ครบ จำนวน 5,320 สถานีฐาน ภายใน พ.ค. 2555 นั้น จะมี สถานีฐานที่ติดตั้งไม่เสร็จตามกำหนด ประมาณ 400 สถานี เนื่องจากผลกระทบจากอุทกภัยครั้งที่ผ่านมา แต่ยังอยู่ในกรอบที่มติคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ขยายเวลาให้ภายใน 6 เดือน

ส่วน การดำเนินการในระยะที่ 2 ซึ่งจะเป็นการใช้โครงข่ายร่วมระหว่าง 3จี ร่วมกับ แอลทีอี จำนวน 1.5 หมื่นสถานีฐานนั้น กำลังอยู่ระหว่างการออกแบบโครงการเพื่อของบประมาณ แต่คาดการณ์ว่าจะเริ่มโครงการได้ใน พ.ค. นี้ เพื่อให้บริการ 3จี ควบคู่ไปกับการให้บริการแอลทีอี หรือ 4จี ความเร็ว 100 เมกะบิต ซึ่งจะอยู่ในแหล่งชุมชน ซึ่งคลื่นความถี่ที่จะใช้ให้บริการ แอลทีอี นั้น จะไปหารือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ในการขอใบอนุญาต หรือ ไลเซ่นส์ใหม่ โดยทีโอทีจะเสนอคืนคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 34 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิมที่ถือครองอยู่ทั้งหมด 64 เมกะเฮิรตซ์

ประธานบอร์ดทีโอที กล่าวต่อว่า ทีโอทีจะขอใช้คลื่นในช่วง 2300 ถึง 2330 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาใช้ในโครงการนี้ โดยการออกแบบนี้ จะหารือกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ด้วย เพราะโครงข่ายนี้ทีโอทีต้องการจะเปิดให้เอกชนเข้ามาแชร์ใช้ร่วมกัน เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนของประเทศ โดยทีโอทีจะพยายามขอความเมตตาจาก กสทช. เพื่อให้ได้สิทธิใช้คลื่นนี้เป็นเวลา 15 ปี

นายพันธ์เทพ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ธุรกิจด้านโทรคมนาคมในโลกอยู่ในช่วงจุดที่ไม่มีรายได้จากบริการโทรศัพท์ด้าน เสียง เนื่องจากจ่ายค่าใบอนุญาตสูงมาก จึงต้องมองรายได้จากการลงทุนในเรื่องอื่นๆ เช่น ฟิกซ์ไลน์ ต้องหาแนวทางในการลดต้นทุน ซึ่งจุดที่ว่าภายใน 3 ปีจะตายกันหมดเพราะแข่งขันกัน จึงต้องหันหน้ามาปรึกษากันว่า ทีโอทีจะอยู่ในจุดที่ทำโครงสร้างของประเทศ โดยจะชะลอการลงทุน โครงการลงทุนโครงข่ายอัจฉริยะเพื่ออนาคต หรือเอ็นจีเอ็น จำนวน 1.3 หมื่นล้านไปก่อน เพราะกว่าจะมีรายได้ 2 ปีไปแล้ว ซึ่งไม่ไหว จึงใช้การลงทุน 3จี ร่วมกับแอลทีอี หรือ 4จี ความเร็ว 100 เมกะบิต ซึ่งจะอยู่ในแหล่งชุมชน

ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/content/tech/246631

______________________________________________________

ยุทธศาสตร์ทางรอดยุค 3G/LTE ของทีโอที


ทีโอที วอนกสทช.ขอระยะเวลาคืนความถี่ 15 ปี แลกกับคืนความถี่ 2.3 GHz จำนวน 34 MHz ให้กสทช.พร้อมใบอนุญาตใหม่ให้บริการเชิงพาณิชย์หวังต่อยอดให้บริการ 3G/LTE ด้าน 'เศรษฐพงค์' ประธานกทค.เตรียมปรับปรุงใบอนุญาตการใช้โครงข่ายร่วม (ทาวเวอร์โค) ชี้แนวทางใช้เสาส่งสัญญาณ หรือ เคเบิลใยแก้วร่วมกันเป็นก้าวแรกในการเป็นเน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์ ของทีโอที และการยกเลิกสัญญาสัมปทานก่อนหมดอายุที่ท้ายสุดผลประโยชน์จะตกอยู่กับทุก ฝ่าย

นายพันธุ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานบอร์ดบริษัท ทีโอที กล่าวภายหลังการประชุมบอร์ดว่าทีโอทีได้เจรจากับกสทช. ในประเด็นกรอบเวลาการเรียกคืนความถี่ 2.3 GHz ซึ่งทีโอทีเห็นด้วยกับระยะเวลาที่กสทช.กำหนดออกมาในตอนแรก ตามแผนแม่บทตารางบริหารคลื่นความถี่แห่งชาติในส่วนของโทรคมนาคมซึ่งกำหนด ระยะเรียกคืนความถี่ 15 ปี

'เบื้องต้นทีโอทีเห็นด้วยกับเวลา 15 ปี เนื่องจากหากมีการลดเวลาลงเหลือ 12 ปี หรือ 7 ปี จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในลักษณะ MVNO กับเอกชนอย่างแน่นอน เนื่องจากคาดว่าจะไม่มีเอกชนรายใดที่จะยอมทำสัญญาที่มีระยะเวลาที่สั้นเกิน ไป'

ส่วนประเด็นการคืนความถี่ที่กสทช.เคยออกมาระบุให้ทีโอทีต้องคืนความถี่ 2.3 GH ทั้งหมดนั้น ทีโอทีต้องการคืนเพียงจำนวน 34 MHz จากที่ทีโอทีถือครองอยู่ทั้งหมด 64 MHz เพื่อนำไปให้บริการ LTE โดยจะเป็นการขอใบอนุญาตใหม่ จากกสทช.

'เราอยากวอนให้ กสทช.ยื่นหมูยื่นแมว โดยทีโอทีจะขอให้ระยะเวลาคืนความถี่โทรคมนาคมเป็น 15 ปี เช่นเดิม แลกกับการที่ทีโอทีคืนความถี่ 2.3GHz จำนวน 34 MHz ให้กสทช.'

ทั้งนี้ทีโอทีต้องการใช้ความถี่ 2.3 GHz เพื่อใหับริการโครงการ 3G เฟสที่ 2 ควบคู่ไปกับเทคโนโลยี 4G หรือ LTE โดยในเฟสที่ 2 จะเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าใช้โครงข่ายเพื่อให้บริการร่วมกันเพื่อลดการลงทุน ที่ซ้ำซ้อนลง

นายพันธุ์เทพ กล่าวถึงความคืบหน้า 3G ว่าทีโอทีเตรียมลงทุนในเฟสที่ 2 จำนวนประมาณ 15,000 สถานีฐานซึ่งจะเป็นการใช้โครงข่ายร่วมระหว่าง 3G กับ LTE ซึ่งจะได้ความเร็วถึง 100 Mbps โดยในตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการออกแบบโครงการเพื่อของบประมาณแต่คาดว่าจะ เริ่มโครงการได้ใน พ.ค.นี้

'ในเฟส 2 จะดำเนินการต่อทันทีหลังเฟส 1 เสร็จในเดือน พ.ค. นี้จำนวน 5,320 สถานีฐาน โดยตอนนี้ขาดเพียง 400 สถานีฐานเท่านั้นที่ยังติดตั้งไม่เสร็จตามกำหนด เนื่องจากผลกระทบจากอุทกภัยที่ผ่านมา แต่ยังอยู่ในกรอบที่มติคณะรัฐมนตรีขยายเวลาให้ภายใน 6 เดือน'

นอกจากนี้ทีโอทีมีแผนจะชะลอเรื่องการลงทุนโครงการ Next Generation Network (NGN) มูลค่า 13,000 ล้านบาทไปก่อนเพราะกว่าจะมีรายได้จากธุรกิจดังกล่าวจะต้องรอไปอีก 2 ปี ดังนั้นจึงต้องหันมาลงทุน 3G ร่วมกับ LTE หรือ 4G แทน


พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

ด้านพ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับนายพันธ์เทพ จำรัสโรมรัน ประธานบอร์ดทีโอที ใน 2 ประเด็นคือการคืนความถี่ 2.3 GHz กับ การใช้เสาส่งสัญญาณร่วม (tower dual-location) โดยทีโอทียินดีคืนความถี่ย่าน 2.3 GHz จำนวน 34 MHz ให้กสทช. เพื่อให้กสทช.ออกไลเซ่นส์ ให้บริการเชิงพาณิชย์ทีโอที เนื่องจากเดิมความถี่ย่าน 2.3 GHz ทีโอทีให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบท

'2.3 GHz เหมาะที่จะนำมาให้บริการสื่อสารข้อมูลจำนวนมากๆ ร่วมกับโครงข่าย 3G'

ส่วนการใช้เสาส่งสัญญาณร่วมนั้น กสทช.กำลังดำเนินการปรับปรุงใบอนุญาตให้มีความสะดวกคล่องตัวในทางปฏิบัติมาก ขึ้น เนื่องจากแนวทางนี้ โอเปอเรเตอร์ทุกรายเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อน โดยเฉพาะการประมูล 3G ความถี่ 2.1 GHz ที่จะเกิดขึ้นในไตรมาส 3 ปีนี้

ASTV ผู้จัดการ
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9550000035415


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.