Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

26 สิงหาคม 2555 (เปิดประเด็นร้อน) สางปมทุจริต TOT แกล้งโง่ !!! จ่ายแพงเช่าINTERNETข้ามโลก ( ทำไมความเร็วต่ำกว่า TRUE )

(เปิดประเด็นร้อน) สางปมทุจริต TOT แกล้งโง่ !!! จ่ายแพงเช่าINTERNETข้ามโลก ( ทำไมความเร็วต่ำกว่า TRUE )


ประเด็นหลัก

ข้อมูลจากเนคเทคระบุว่า ปัจจุบันทีโอที มีปริมาณความเร็วของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต คือ 4 G กับ 120 G หรือรวม 124 G True Internet อยู่ที่ 31 G กับ 32.9G และอีก 45m. หรือรวม 63.9G กับอีก 45m. หมายความว่าทีโอทีมีขนาดความเร็วอินเตอร์เน็ตต่างประเทศมากกว่าทรูถึง60.1 G หรือหมายความว่าการให้บริการอินเตอร์เน็ตของทีโอทีก็ควรที่จะมีประสิทธิภาพ หรือความเร็วมากกว่าทรูเกิน1เท่าตัว แต่ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ ว่าด้วยการให้บริการอินเตอร์เน็ตระหว่างทรูกับทีโอที หากพิจารณาตามข้อมูลเบื้องต้น ย่อมสรุปว่าอินเตอร์เน็ตต่างประเทศของทีโอทีจะต้องมีความเร็วกว่าทรู แต่ก็ยังต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่นร่วมด้วยอย่างเช่นจำนวนผู้ใช้บริการ อินเตอร์เน็ตของทรูและทีโอทีว่ามีจำนวนมากน้อยต่างกันอย่างไร


ทีโอทีมีลูกค้า เอดีเอสแอล 1.3 ล้านราย ลูกค้า เช่าอินเตอร์เน็ต 1 หมื่นรายทรู มีลูกค้าเอดีเอสแอล 1.3 ล้านราย ลูกค้าเช่าอินเตอร์เน็ต 3 หมื่นราย พิจารณาตามนี้ ทีโอที กับทรู มีผู้ใช้บริการในจำนวนที่ใกล้เคียงกันมาก หมายความว่าการให้บริการอินเตอร์เน็ตของทีโอทีก็ควรที่จะมีประสิทธิภาพหรือ ความเร็วมากกว่าทรู เพราะมีขนาดความเร็วของอินเตอร์เน็ตต่างประเทศมากกว่าทรู แต่ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามนั้นหรือไม่



ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 เป็นต้นมา ทีโอที มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารที่รับผิดชอบในการดูแลและจัดหาวงจรสื่อสารและวงจร ต่อผ่านอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ และผลจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น มีข้อสังเกตว่า ทีโอที ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหา มาเป็นการเชิญชวนผู้ให้บริการเฉพาะราย ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซียเกือบทั้งหมด ประกอบด้วย บริษัท Telecom Malaysia บริษัท Fibercomm บริษัท Global บริษัทFiberrail บริษัท Transit Communications เท่านั้น ซึ่งการเชิญชวนดังกล่าวมีการตั้งข้อสังเกตดังนี้

สำนัก ข่าวที-นิวส์ยังคงเฝ้าตรวจสอบบริษัททีโอที จำกัด มหาชน อย่างใกล้ชิด หลังจากพบความผิดปกติในการบริหารจัดการงบประมาณ การเช่าสัญญาณอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดประมูลวงจรอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศล่าสุดของทีโอทีกับบริษัทจาก มาเลเซีย ที่กำลังถูกตรวจสอบว่า อาจจะเป็นการฮั๊วประมูลขนานใหญ่ เพราะจากการพิจารณาพบว่าหลายบริษัท ทั้งที่เป็นคู่แข่งขันกันแต่กลับมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างน่าแปลกใจ

รายชื่อของบริษัทที่ทำการประมูลวงจรอินเตอร์เน็ตครั้งล่าสุดกับทีโอทีประกอบ ไปด้วยบริษัทสัญชาติมาเลเซียทั้งหมด คือ

1.บริษัท Telecom Malaysia

2.บริษัท Fibercomm

3.บริษัท Global

4.บริษัทFiberrail

5.บริษัท Transit Communications

จาก การทำหน้าที่ของสำนักข่าวที-นิวส์ในครั้งนี้ ก็เริ่มมีปฏิกิริยาไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น เมื่อมีการแจ้งเข้ามาว่าภายในบริษัททีโอที ไม่สามารถเข้าเวปไซต์ของสำนักข่าวที-นิวส์ได้ คล้ายกับว่าอาจจะมีการบล็อกเวปไซต์เพื่อไม่ให้พนักงานของบริษัทรับทราบ ข้อมูลดังกล่าว ซึ่งแหล่งข่าวภายในทีโอทีได้ส่งมายังสำนักข่าวทีนิวส์ให้ทำการตรวจสอบ












________________________________________________


สางปมทุจริต TOT แกล้งโง่จ่ายแพงเช่าINTERNETข้ามโลก


หลังจากที่สำนักข่าวที-นิวส์ทำการเปิดประเด็นร้อนภายในบริษัททีโอทีจำกัด มหาชน กรณีการจัดเช่าวงจรเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ โดยจากการทำงานในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ทำให้ทีมข่าวสามารล้วงลึกไปถึงการใช้งบประมาณของบริษัททีโอที ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายเครือข่ายกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่ครอบครองผล ประโยชน์อันมหาศาลของทีโอทีได้เลยทีเดียวและเพื่อให้ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เราจะย้อนกลับไปตรวจสอบที่มาของเรื่องนี้กันอีกครั้ง


การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศหรือ Internationnal internet bandwit ผ่านเส้นใยแก้วนำแสง คือวิวัฒนาการของยุคใหม่อย่างแท้จริง ในการให้บริการผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการต่อเชื่อมวงจรอินเตอร์เน็ตออกสู่ต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ให้บริการแต่ละราย ไม่ว่าจะเป็นทีโอที ทีทีแอนด์ที ดีแทค เอไอเอส ทรูและอีกหลายๆเจ้ามีการแข่งดันเพื่อตอบสนองการใช้บริการเข้าสู่อินเตอร์ เน็ตต่างประเทศของลูกค้ากันอย่างหนัก วิธีการพัฒนาถือเป็นรูปแบบตายตัวในการเช่าสัญญาณเชื่อมต่อของบริษัทในต่าง ประเทศ ซึ่งถ้าผู้ให้บริการเจ้าไหนสามารถเพิ่มขนาดความเร็วของข้อมูลได้มากกว่า ก็มีโอกาสสูงที่จะให้บริการอินเตอร์เน็ตต่างประเทศด้วยความเร็วที่มากกว่า แต่การเพิ่มขนาดของความเร็วนั้นก็จะต้องแลกมาด้วยการจ่ายค่าเช่าสัญญาณที่ เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย


ข้อมูลจากเนคเทคระบุว่า ปัจจุบันทีโอที มีปริมาณความเร็วของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต คือ 4 G กับ 120 G หรือรวม 124 G True Internet อยู่ที่ 31 G กับ 32.9G และอีก 45m. หรือรวม 63.9G กับอีก 45m. หมายความว่าทีโอทีมีขนาดความเร็วอินเตอร์เน็ตต่างประเทศมากกว่าทรูถึง60.1 G หรือหมายความว่าการให้บริการอินเตอร์เน็ตของทีโอทีก็ควรที่จะมีประสิทธิภาพ หรือความเร็วมากกว่าทรูเกิน1เท่าตัว แต่ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามนั้นหรือไม่ ว่าด้วยการให้บริการอินเตอร์เน็ตระหว่างทรูกับทีโอที หากพิจารณาตามข้อมูลเบื้องต้น ย่อมสรุปว่าอินเตอร์เน็ตต่างประเทศของทีโอทีจะต้องมีความเร็วกว่าทรู แต่ก็ยังต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่นร่วมด้วยอย่างเช่นจำนวนผู้ใช้บริการ อินเตอร์เน็ตของทรูและทีโอทีว่ามีจำนวนมากน้อยต่างกันอย่างไร


ทีโอทีมีลูกค้า เอดีเอสแอล 1.3 ล้านราย ลูกค้า เช่าอินเตอร์เน็ต 1 หมื่นรายทรู มีลูกค้าเอดีเอสแอล 1.3 ล้านราย ลูกค้าเช่าอินเตอร์เน็ต 3 หมื่นราย พิจารณาตามนี้ ทีโอที กับทรู มีผู้ใช้บริการในจำนวนที่ใกล้เคียงกันมาก หมายความว่าการให้บริการอินเตอร์เน็ตของทีโอทีก็ควรที่จะมีประสิทธิภาพหรือ ความเร็วมากกว่าทรู เพราะมีขนาดความเร็วของอินเตอร์เน็ตต่างประเทศมากกว่าทรู แต่ข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามนั้นหรือไม่


หลังจากที่สำนักข่าวที-นิวส์ได้ทำการเปิดเผยปริมาณความเร็วของอินเตอร์เน็ต ต่างประเทศระหว่าง ทีโอที กับ ทรู ให้ได้ร่วมกันพิจารณาไปแล้วว่า ทีโอทีนั้น มีขนาดความเร็วอินเตอร์เน็ตมากกว่าทรูถึงกว่า 1 เท่าตัว แต่ประสิทธิภาพของการให้บริการก็อย่างที่หลายๆคนทราบว่าระหว่างทีโอทีกับทรู นั้น ฝ่ายไหนที่ให้บริการความเร็วอินเตอร์เน็ตได้ดีกว่ากัน ข้อมูลจากเนคเทคระบุว่า ปัจจุบันทีโอที มีปริมาณความเร็วของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต คือ 4 G กับ 120 G หรือรวม 124 G True Internet อยู่ที่ 31 G กับ 32.9G และอีก 45 m. หรือรวม 63.9G กับอีก 45 m.


ยิ่งไปกว่านั้นหากพิจารณาข้อมูลพื้นฐาน จำนวนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตของทีโอทีกับทรู ซึ่งมีตัวเลขใกล้เคียงกันที่ 1.3 ล้านราย ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่า โดยหลักการแล้ว อินเตอร์เน็ตของทีโอทีก็จะต้องมีความเร็วมากกว่าทรู ทีโอทีมีลูกค้า เอดีเอสแอล 1.3 ล้านราย ลูกค้าเช่าอินเตอร์เน็ต 1 หมื่นรายทรู มีลูกค้าเอดีเอสแอล 1.3 ล้านราย ลูกค้าเช่าอินเตอร์เน็ต 3 หมื่นราย


อย่างไรก็ตามหากยกตัวอย่างว่าอินเตอร์เน็ตของทีโอทียังมีความล่าช้ากว่า อินเตอร์เน็ตของทรู ในฐานะคู่แข่งขันทางธุรกิจ ทีโอที ก็จะต้องเพิ่มปริมาณอินเตอร์เน็ตให้มีปริมาณมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจะเพิ่มปริมาณความเร็วนี้ ก็จะต้องมีการเปิดประมูลเช่าสัญญาณวงจรอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศมากขึ้นไป เรื่อยๆ ในอดีตที่ผ่านมาได้ทีโอทีได้มีการจัดหาวงจรสื่อต่างประเทศสารและวงจรต่อผ่าน อินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ โดยการเช่ามาตั้งแต่ปีพ.ศ.2549 โดยการเปิดโอกาสให้บริษัทผู้ให้บริการวงจรสื่อสารและวงจรต่อผ่านอินเตอร์ เน็ตเข้ามาแข่งขันเสนอราคาต่อทีโอที เป็นการทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 เป็นต้นมา ทีโอที มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารที่รับผิดชอบในการดูแลและจัดหาวงจรสื่อสารและวงจร ต่อผ่านอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ และผลจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น มีข้อสังเกตว่า ทีโอที ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดหา มาเป็นการเชิญชวนผู้ให้บริการเฉพาะราย ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซียเกือบทั้งหมด ประกอบด้วย บริษัท Telecom Malaysia บริษัท Fibercomm บริษัท Global บริษัทFiberrail บริษัท Transit Communications เท่านั้น ซึ่งการเชิญชวนดังกล่าวมีการตั้งข้อสังเกตดังนี้


1.เป็นการจำกัดการแข่งขันและมีความเป็นไปได้อย่างสูงที่ ทีโอที จะต้องจ่ายค่าเช่าวงจรในราคาที่สูงกว่าปกติและสูงกว่าราคาตลาดเป็นอย่างมาก

2.บริษัท เทเลคอมมาเลเซีย บริษัท Fibercomm บริษัทFiberrail เป็นบริษัทที่มีการจัดตั้งบริษัท อยู่ในข่ายของ "ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน" ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2535 ดังนี้

-บริษัทTelecom Malaysia ถือหุ้น Fibercomm จำนวน 51%

-บริษัทTelecom Malaysia ถือหุ้น Fiberrail จำนวน54%

ในทางธุรกิจการเช่าวงจรอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศของทีโอทีจะต้องใช้งบ ประมาณให้คุ้มค่าที่สุดกับประสิทธิภาพของการให้บริการที่ได้รับ โดยเฉพาะเรื่องราคา ซึ่งโดยทั่วไป ทีโอทีก็จะต้องพยายามเช่าสัญญาณวงจรอินเตอร์เน็ตให้มีราคาถูกที่สุดและดีที่ สุด


ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า การประมูล หมายถึง การเสนอซื้อเสนอขายสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ที่เข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด ตามความหมายของคำว่าประมูลดังกล่าว ทีโอทีก็จะต้องเปิดให้มีการแข่งขันให้มากที่สุด เพื่อให้บริษัทที่เข้ายื่นประมูลแต่ละรายทำการแข่งขันเสนอราคาให้ต่ำที่สุด แต่ถ้าหากว่า ทีโอทีเปิดประมูลแล้ว แต่บริษัทที่เสนอตัวเข้าแข่งขันเป็นบริษัทที่อยู่ในเครือเดียวกัน ก็จะทำให้ทีโอทีเสียเปรียบทันที เพราะบริษัทเหล่านี้ก็จะรู้ราคาการประมูลของกันเป็นอย่างดี จึงทำให้ทีโอทีอาจจะต้องจ่ายเงินเช่าสัญญาณวงจรอินเตอร์เน็ตแพงกว่าที่ควรจะ เป็น ซึ่งในข้อมูลของกลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจของทีโอที ที่นำไปยื่นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ ก็ปรากฎรายชื่อของบริษัทที่ทำการประมูลวงจรอินเตอร์เน็ตครั้งล่าสุดกับทีโอ ทีประกอบไปด้วย

1.บริษัท Telecom Malaysia

2.บริษัท Fibercomm

3.บริษัท Global

4.บริษัทFiberrail

5.บริษัท Transit Communications


ทั้ง 5 บริษัทนอกจากจะเป็นบริษัทสัญชาติมาเลเซียทั้งหมดแล้ว ขณะที่บริษัท บริษัท เทเลคอมมาเลเซีย บริษัท Fibercomm บริษัทFiberrail ก็เป็นบริษัทที่มีการจัดตั้งบริษัท อยู่ในข่ายของ "ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน" ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2535 ดังนี้

-บริษัทTelecom Malaysia ถือหุ้น Fibercomm จำนวน 51%

-บริษัทTelecom Malaysia ถือหุ้น Fiberrail จำนวน54%

เป็นไปได้อย่างไรที่ทีโอทีจะทำการเปิดประมูลเพื่อให้บริษัทตกไปอยู่ในความ เสี่ยงถึงขนาดนั้น แต่ในท้ายที่สุดเมื่อมีการเปิดประมูลขึ้น ผลที่ลงเอยก็คือ ตัวเลขการประมูลที่ผิดปกติจริงๆ ตามต่อในตอนต่อไป


T NEWS
http://www.tnews.co.th/html/read_headnews.php?hilight_id=3074

____________________________________________


สางปมทุจริต TOT แกล้งโง่จ่ายแพงเช่าINTERNETข้ามโลก (ตอนที่ 2)


สำนักข่าวที-นิวส์ยังคงเฝ้าตรวจสอบบริษัททีโอที จำกัด มหาชน อย่างใกล้ชิด หลังจากพบความผิดปกติในการบริหารจัดการงบประมาณ การเช่าสัญญาณอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปิดประมูลวงจรอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศล่าสุดของทีโอทีกับบริษัทจาก มาเลเซีย ที่กำลังถูกตรวจสอบว่า อาจจะเป็นการฮั๊วประมูลขนานใหญ่ เพราะจากการพิจารณาพบว่าหลายบริษัท ทั้งที่เป็นคู่แข่งขันกันแต่กลับมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างน่าแปลกใจ

รายชื่อของบริษัทที่ทำการประมูลวงจรอินเตอร์เน็ตครั้งล่าสุดกับทีโอทีประกอบ ไปด้วยบริษัทสัญชาติมาเลเซียทั้งหมด คือ

1.บริษัท Telecom Malaysia

2.บริษัท Fibercomm

3.บริษัท Global

4.บริษัทFiberrail

5.บริษัท Transit Communications

ทั้ง 5 บริษัทนอกจากจะเป็นบริษัทสัญชาติมาเลเซียทั้งหมดแล้ว ขณะที่บริษัท บริษัท Telecom Malaysia บริษัท Fibercomm บริษัทFiberrail ก็เป็นบริษัทที่มีการจัดตั้งบริษัท อยู่ในข่ายของ "ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน" ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2535 ดังนี้

-บริษัทTelecom Malaysia ถือหุ้น Fibercomm จำนวน 51%

-บริษัทTelecom Malaysia ถือหุ้น Fiberrail จำนวน54%

ท้ายที่สุดเมื่อการประมูลเสร็จสิ้นลงปรากฎว่าบริษัทที่ชนะการประมูลก็คือ Telecom Malaysia ซึ่งย้ำว่าเป็นบริษัทที่มีหุ้นอยู่กับบริษัทที่เข้าแข่งขันประมูลด้วยกัน และผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ทีโอทีต้องจ่ายค่าเช่าสัญญาณอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศขนาด 5 G ให้กับ Telecom Malaysia ด้วยราคา 375,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 11,250,000 บาท
ราคา375,000 เหรียญสหรัฐ จะถือว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาจากเรื่องร้องเรียนของบริษัทอื่นๆ ที่พลาดการเข้าแข่งขันประมูลไปอย่างน่าสงสัย ทั้งๆที่ บริษัทเหล่านั้นเสนอราคาถูกว่า Telecom Malaysia เกือบ 1 เท่าตัว

บริษัทBrunei International Gateway มีหนังสือเรียนประธานกรรมการบมจ.ทีโอที ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 ถึงการเสนอราคาและการเช่าวงจรอินเตอร์เน็ตระหว่างทีโอทีกับบริษัทจาก มาเลเซีย โดยระบุว่าหากทีโอทีเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากประเทศไทย ไปฮ่องกง ผ่านมาเลเซีย ขนาด 5 G โดยใช้บริการของ Brunei International Gateway จะมีราคาแค่เพียง 190,000 เหรียญสหรัฐ หรือถูกกว่า Telecom Malaysia ถึง 185,000 เหรียญสหรัฐ หรือ 5,550,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีบริษัท Maxis Broadband ทำหนังสือเรียนประธานกรรมการบมจ.ทีโอที ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2555 ในลักษณะเดียวกันโดยระบุถึงราคาการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากประเทศไทย ไปฮ่องกง ผ่านมาเลเซีย ขนาด 5 G อยู่ที่ ราคา195,000 เหรียญสหรัฐ หรือถูกกว่า Telecom Malaysia ถึง 180,000 เหรียญสหรัฐ หรือ 5,400,000 บาท

จากความน่าสงสัยเรื่องการฮั้วประมูลมาสู่ตัวเลขการประมูลที่มากกว่า ราคาตามท้องตลาดกว่าเท่าตัว จึงกลายเป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยที่ค่อยๆ ถูกคลี่ปมออกมา ว่าภายในบริษัททีโอทีอาจจะมีขบวนการทุจริตคอรัปชั่นขนานใหญ่เกิดขึ้นหรือไม่

ว่าด้วยข้อสงสัยที่ว่านี้ เป้าจึงถูกโฟกัสไปที่คณะผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางบริษัททีโอทีได้มีการแต่งตั้งให้เข้ามารับผิดชอบเกี่ยวกับการประมูล โครงการดังกล่าวดังนี้

คำสั่งบริษัททีโอทีเรื่องการแต่งจั้งคณะกรรมการศึกษาการพัฒนาโครงข่ายภายใน ประเทศเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างประเทศ โดยมีคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งดังนี้

1.นายสุรศักดิ์ เรีองเครือ ประธานคณะกรรมการ

2.นายวาสุกรี กล้าไพรี

3.นายธนา ธรรมวิหาร

4.น.อ.รศ.ประสงค์ ประณีตพลกรัง

5.นายสุรพันธ์ เมฆนาวิน

6.นายธนวัฒน์ อัมพุนันท์

ในเอกสารข้อที่ 2.2.1 ได้ระบุถึงการทำหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้เอาไว้อย่างชัดเจนเกี่ยว กับการประมูลเช่าโครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศว่า กำกับดูแล และพิจารณาให้ความเห็นชอบ คัดเลือกอุปกรณ์ต่างๆ ก่อนนำมาใช้ในงานโครงข่าย ของทีโอที เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายกับโครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่าง ประเทศ ให้สามารถใช้งานได้โดยเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุดกับทีโอที คำว่าการทำงานเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับทีโอทีนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับราคาประมูลอันเป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัยว่าทำไมถึงแพงกว่า ราคาตลาดถึงกว่า 1 เท่าตัว ก็ดูจะเป็นการพิสูจน์ประสิทธิภาพการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้ได้เป็นอย่างดี ใช่หรือไม่ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะได้ทำความรู้จักคณะกรรมการชุดนี้ให้ ดียิ่งขึ้น

นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ อายุ 50 ปี

ตำแหน่งในงานปัจจุบัน รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์

การศึกษา

- เศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์ (การคลัง)

- M.COM (Economics), University of johannesburg (RAU), Johannesburg, South Africa

- CSEP (Senior Executive Program), Columbia Business School, Columbia University, New York, USA

- หลักสูตร วปอ. 2554 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

นาวาอากาศเอกรองศาสตราจารย์ ดร.ประสงค์ ปราณีตพลกรัง

การศึกษา

- วท.บ. (เกียรตินิยม) วิศวกรรมไฟฟ้า โรงเรียนนายเรืออากาศ

- M.S. (Computer Engineering), FloridaInstitute of Technology, USA.


- M.S. (Electrical Engineering), Florida Institute of Technology, USA.

- Ph.D (Computer Engineering) , FloridaInstitute of Technology USA.

นายธนา ธรรมวิหาร อายุ 47 ปี

ตำแหน่งในงานปัจจุบัน ทนายความ , ที่ปรึกษากฏหมาย

การศึกษา

- ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

- นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายสุรพันธ์ เมฆนาวิน อายุ 45 ปี

ตำแหน่งในงานปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท กูรูสแควร์ จำกัด

การศึกษา

- วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว

- วิศวกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว

นายวาสุกรี กล้าไพรี อายุ 63 ปี

การศึกษา

- วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตอุตสาหการโรงงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายธนวัฒน์ อัมพุนันทน์ อายุ 41 ปี

ตำแหน่งในงานปัจจุบัน อาจารย์ประจำหลักสูตร โครงการพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

การศึกษา

- วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (โยธา) มหาวิทยาลัยรังสิต

- การจัดการภาครัฐและเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

- รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยลงกรณ์

และจากการทำหน้าที่ของสำนักข่าวที-นิวส์ในครั้งนี้ ก็เริ่มมีปฏิกิริยาไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น เมื่อมีการแจ้งเข้ามาว่าภายในบริษัททีโอที ไม่สามารถเข้าเวปไซต์ของสำนักข่าวที-นิวส์ได้ คล้ายกับว่าอาจจะมีการบล็อกเวปไซต์เพื่อไม่ให้พนักงานของบริษัทรับทราบ ข้อมูลดังกล่าว ซึ่งแหล่งข่าวภายในทีโอทีได้ส่งมายังสำนักข่าวทีนิวส์ให้ทำการตรวจสอบ ว่ากรณีที่เกิดขึ้นอาจจะมีคามเกี่ยวโยงกับการแฉข้อมูลการประมูลโครงข่าย อินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศของทีโอทีหรือไม่

T NEWS
http://www.tnews.co.th/html/read_headnews.php?hilight_id=3078

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.