Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 ธันวาคม 2555 กิจการดาวเทียมสื่อสารต้องแข่งขันโดยเสรี ++ วัตถุที่ลอยอยู่บนฟ้าเกินกว่า 100 กิโลเมตร จึงอยู่นอกเหนือเขตอธิปไตยของไทย

ประเด็นหลัก

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอาจไม่สามารถพัฒนาให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด หากผู้ประกอบการให้บริการโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมของไทย ยังมีอยู่เพียง “เจ้าเดียว” ได้แก่ “บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)”


ที่มาของการผูกขาดดังกล่าว มีจุดเริ่มต้นที่ไม่น่าแปลกใจเท่าไร เพราะเกิดขึ้นสมัยที่หน่วยงานของรัฐยังนิยมให้เอกชนดำเนินกิจการต่างๆ ภายใต้ “ระบบสัมปทาน” โดยบริษัทไทยคมฯ ได้รับสัมปทานอายุ 30 ปีจากกระทรวงคมนาคม (ปัจจุบันโอนมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ถึง พ.ศ.2564 โดยสัญญาสัมปทานดังกล่าวมีเงื่อนไขที่คุ้มครองไม่ให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาแข่งขันกับบริษัทไทยคมฯ พร้อมกำหนดให้การสื่อสารผ่านดาวเทียมภายในประเทศจะต้องใช้วงจรดาวเทียมของผู้ได้รับสัมปทานเท่านั้น



อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนมาสู่ “ระบบใบอนุญาต” ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (หรือ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ) ตั้งแต่ฉบับปี พ.ศ.2543 มาจนถึงฉบับปี พ.ศ.2553 พร้อมกับการถือกำเนิดถึงของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในปี พ.ศ.2554 ความหวังที่จะเห็นการแข่งขันมากขึ้นในกิจการดาวเทียมสื่อสารก็ถูกจุดประกายขึ้น


แต่แทนที่กิจการดาวเทียม ซึ่งตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ระบุชัดเจนว่าเป็น “กิจการโทรคมนาคม” จะเป็นเวทีที่เปิดกว้างเพื่อให้ผู้ประกอบการรายต่างๆ เข้ามาแข่งขัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ผ่านวิธีการ “ประมูลใบอนุญาต” ที่มีความโปร่งใส ตามมาตรา 45 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ซึ่งเขียนเอาไว้ว่า ผู้ใดประสงค์จะใช้ “คลื่นความถี่” เพื่อ “กิจการโทรคมนาคม” ต้องได้รับใบอนุญาต ซึ่งต้องดำเนินการโดยวิธีการ “ประมูล” ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขที่ กสทช.ประกาศกำหนด



บริษัทไทยคมฯ กลับได้รับใบอนุญาตโดยไม่ต้องประมูล หลังจาก กสทช. ตีความข้อกฎหมายว่า “ผู้ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม (Satellite Network Operator)” เป็นกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่


นอกจากนี้ กระบวนการให้ใบอนุญาตกับบริษัทไทยคมฯ ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ยังมีความเร่งรัดผิดปกติ



ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2554 บริษัทไทยคมฯ ได้ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม สำหรับให้บริการดาวเทียมสื่อสารที่วงโคจร 120 องศาตะวันออก ต่อสำนักงาน กสทช. จากนั้น กทค. ก็มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลกิจการบริการดาวเทียมสื่อสาร (หรือคณะอนุกรรมการฯ) ขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ ในวันที่ 28 มี.ค. 2555


และในวันที่ 26 มิถุนายน 2555 ที่ประชุม กทค. ได้อนุมัติให้บริษัทไทยคมได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม โดยอ้างแนวทางการพิจารณาอนุญาตตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ ซึ่งหนึ่งในเหตุผลของ “เสียงข้างมาก” ของคณะอนุกรรมการฯ ที่สนับสนุนว่ากิจการดังกล่าวไม่เข้าเกณฑ์มาตรา 45 คือ ดาวเทียมเป็นวัตถุที่ลอยอยู่บนฟ้าเกินกว่า 100 กิโลเมตร จึงอยู่นอกเหนือเขตอธิปไตยของไทย และเป็นหน้าที่ของ ITU ในการกำกับดูแล




















________________________________




กิจการดาวเทียมสื่อสารต้องแข่งขันโดยเสรี


คณะทำงานติดตาม กสทช. เขียนบทความเสนอแนกให้กิจการดาวเทียมสื่อสารควรแข่งขันโดยเสรี เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ


“เทคโนโลยีดาวเทียม” มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบการสื่อสารในประเทศไทย ทั้งโทรทัศน์และวิทยุผ่านดาวเทียม อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง รวมถึงกิจการทางทหารและของรัฐมากมาย ซึ่งจะสร้างประโยชน์มหาศาล ทั้งกับภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และผู้บริโภค



อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอาจไม่สามารถพัฒนาให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด หากผู้ประกอบการให้บริการโครงข่ายสื่อสารผ่านดาวเทียมของไทย ยังมีอยู่เพียง “เจ้าเดียว” ได้แก่ “บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน)”


ที่มาของการผูกขาดดังกล่าว มีจุดเริ่มต้นที่ไม่น่าแปลกใจเท่าไร เพราะเกิดขึ้นสมัยที่หน่วยงานของรัฐยังนิยมให้เอกชนดำเนินกิจการต่างๆ ภายใต้ “ระบบสัมปทาน” โดยบริษัทไทยคมฯ ได้รับสัมปทานอายุ 30 ปีจากกระทรวงคมนาคม (ปัจจุบันโอนมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ถึง พ.ศ.2564 โดยสัญญาสัมปทานดังกล่าวมีเงื่อนไขที่คุ้มครองไม่ให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาแข่งขันกับบริษัทไทยคมฯ พร้อมกำหนดให้การสื่อสารผ่านดาวเทียมภายในประเทศจะต้องใช้วงจรดาวเทียมของผู้ได้รับสัมปทานเท่านั้น



อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเปลี่ยนมาสู่ “ระบบใบอนุญาต” ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (หรือ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ) ตั้งแต่ฉบับปี พ.ศ.2543 มาจนถึงฉบับปี พ.ศ.2553 พร้อมกับการถือกำเนิดถึงของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในปี พ.ศ.2554 ความหวังที่จะเห็นการแข่งขันมากขึ้นในกิจการดาวเทียมสื่อสารก็ถูกจุดประกายขึ้น


แต่แทนที่กิจการดาวเทียม ซึ่งตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ระบุชัดเจนว่าเป็น “กิจการโทรคมนาคม” จะเป็นเวทีที่เปิดกว้างเพื่อให้ผู้ประกอบการรายต่างๆ เข้ามาแข่งขัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ผ่านวิธีการ “ประมูลใบอนุญาต” ที่มีความโปร่งใส ตามมาตรา 45 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ.2553 ซึ่งเขียนเอาไว้ว่า ผู้ใดประสงค์จะใช้ “คลื่นความถี่” เพื่อ “กิจการโทรคมนาคม” ต้องได้รับใบอนุญาต ซึ่งต้องดำเนินการโดยวิธีการ “ประมูล” ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และเงื่อนไขที่ กสทช.ประกาศกำหนด



บริษัทไทยคมฯ กลับได้รับใบอนุญาตโดยไม่ต้องประมูล หลังจาก กสทช. ตีความข้อกฎหมายว่า “ผู้ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม (Satellite Network Operator)” เป็นกิจการที่ไม่ใช้คลื่นความถี่


นอกจากนี้ กระบวนการให้ใบอนุญาตกับบริษัทไทยคมฯ ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ยังมีความเร่งรัดผิดปกติ



ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2554 บริษัทไทยคมฯ ได้ยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม สำหรับให้บริการดาวเทียมสื่อสารที่วงโคจร 120 องศาตะวันออก ต่อสำนักงาน กสทช. จากนั้น กทค. ก็มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการอนุญาตและกำกับดูแลกิจการบริการดาวเทียมสื่อสาร (หรือคณะอนุกรรมการฯ) ขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ ในวันที่ 28 มี.ค. 2555


และในวันที่ 26 มิถุนายน 2555 ที่ประชุม กทค. ได้อนุมัติให้บริษัทไทยคมได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม โดยอ้างแนวทางการพิจารณาอนุญาตตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ ซึ่งหนึ่งในเหตุผลของ “เสียงข้างมาก” ของคณะอนุกรรมการฯ ที่สนับสนุนว่ากิจการดังกล่าวไม่เข้าเกณฑ์มาตรา 45 คือ ดาวเทียมเป็นวัตถุที่ลอยอยู่บนฟ้าเกินกว่า 100 กิโลเมตร จึงอยู่นอกเหนือเขตอธิปไตยของไทย และเป็นหน้าที่ของ ITU ในการกำกับดูแล



ทว่าหากยึดตามเหตุผลดังกล่าว จะทำให้ไม่มีประเทศใดสามารถบังคับใช้กฎหมายในประเทศนั้นๆ กับ “ดาวเทียม” ดวงใดได้เลย ทั้งๆ ที่ตามข้อเท็จจริง ประเทศไทยได้รับจัดสรรตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมจาก ITU จึงถือเป็นอำนาจอธิปไตยของไทยที่จะจัดการกับวงโคจรดังกล่าว ภายใต้ข้อตกลงร่วมระหว่างประเทศ


นอกจากนี้ การตีความว่า “ผู้ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม” เป็นกิจการที่ไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ ก็จะเกิดข้อสงสัยตามว่า หากให้ผู้ให้บริการสถานีดาวเทียมภาคพื้นดินซึ่งถือว่าเป็น “ผู้ให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Service Provider)” เป็นผู้ประมูลคลื่นความถี่แทน ทั้งที่ดาวเทียมแต่ละดวงใช้คลื่นความถี่ที่ไม่เหมือนกัน อาทิ C-Band Ku-Band Ka-Band X-Band ฯลฯ ก็หมายความว่า ทุกรายต้องประมูลคลื่นทุกชนิดเพื่อให้บริการผ่านช่องสัญญาณดาวเทียมที่ใช้คลื่นแตกต่างกันทั้งหมด



ไม่เพียงการตีความข้อกฎหมายเท่านั้นที่ดูเหมือนจะเป็นปัญหา แม้แต่กระบวนการออกใบอนุญาตก็ยังผิดปกติ เพราะที่ประชุม กทค. ออกใบอนุญาตให้กับบริษัทไทยคมโดยที่ “หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ใบอนุญาตกิจการโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม” ยังอยู่ในขั้นตอนการร่างเท่านั้น


นอกจากนี้ ในการพิจารณาขั้นตอนต่างๆ ก็ดูเหมือนว่าอาจมีการ “ตั้งธง” ในการกำหนดให้ผู้ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมไม่จำเป็นต้องประมูลคลื่นความถี่ตามมาตรา 45 โดยเห็นได้จากการที่ทีมเลขานุการสำนักงาน กสทช. ทำข้อเสนอสนับสนุนจุดยืนดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ โดยไม่ได้มีการเสนอเหตุผลหรือมีหลักฐานสนับสนุนใดๆ ในเอกสารมาด้วย ทั้งที่เป็น “ประเด็นสำคัญ” ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย



ที่สำคัญเงื่อนไขของ กทค. ในการให้ใบอนุญาตกับบริษัทไทยคมฯ ยังอาจสร้างเงื่อนไขให้ตลาดผู้ให้บริการดาวเทียมของไทย “ไร้การแข่งขัน” ต่อไป เพราะระบุว่าบริษัทไทยคมฯ สามารถขอต่ออายุใบอนุญาตที่มีอายุ 20 ปี ไปอีกได้แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี พร้อมเปิดให้เอกชนรายนี้ สามารถยื่นเอกสารของสิทธิใช้งานวงโคจรเพิ่มเติม ทั้งๆ ที่วงโคจรซึ่งไทยได้รับจัดสรรจาก ITU มีอยู่อย่างจำกัด

                                                                                                                                       

                                                                                                                                                                            คณะทำงานติดตาม กสทช. (NBTC Watch)


เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/technology/175040

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.