Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 กุมภาพันธ์ 2556 TOT4G เปลื่ยนวัน (ทดลอง) จาก 24 เป็น 22 กพ. ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 42 mbps


ประเด็นหลัก



##ทีโอที 3G&4G(ทดลอง)มาแน่ 22กพ.นี้

จากข้อมูลก่อนหน้าและข่าวที่ได้นำเสนอระหว่างประธานบอร์ดฯ ทีโอทีและรมว.ไอซีที กล่าวถึงการเปิดให้บริการคลื่นความถี่ในรูปแบบ 3G ทีโอที พร้อมกับทดลอง 4G ทีโอที ในบางพื้นที่ เนื่องจากหากมีการแถลงข่าวเปิดตัวในวันที่ 24 กพ.เป็นวันหยุด จึงเปลี่ยนวันเปิดบริการเป็น 22 กพ. ที่จะถึงนี้แทน สำหรับความเร็วในการใช้ข้อมูล(ดาต้า) สูงสุดอยู่ที่ 42 mbps **ขึ้นกับพื้นที่รับสัญญาณ ตัวเครื่อง และปัจจัยแวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้อง

"ในฐานะผู้บริโภคคนหนึ่ง สิ่งที่ทีโอทีทำจะสร้างความพอใจให้ลูกค้า" รมว.ไอซี กล่าวย้ำถึงแนวทางปฎิบัติตลอดปี 2556



ข่าวที่เกี่ยวข้อง

31 ธันวาคม 2555 TOT พร้อมบริการ 3G คู่ 4G กุมภาพันธ์นี้แน่นอน // ปัญหาจบ!! CAT พร้อมให้บริการ3Gโดย TRUE H เป็นเพียง MVNO

http://somagawn.blogspot.com/2012/12/31-2555-tot-3g-4g-cat-3g-true-h-mvno.html


16 มกราคม 2556 24 กุมภาพันธ์ TOTเปิดทดลองการให้บริการ 4G ทั้วกทม.//ยอมรับ3Gติดตั้งไม่ทั้น//เรื่องเชื่อมค่าปรับICที่ต้องจ่ายDTACขอคิดก่อน

http://somagawn.blogspot.com/2013/01/16-2556-24-tot-4g-3gicdtac.html





________________________________________



เคลียร์ใจก.ไอซีที "นโยบายงานผสานบรอดแบนด์และการมาของ 3G, 4G" ปี 2556


ภายหลังยกชาโต เดอ เขาใหญ่ ให้นักข่าวสายไอที-ไอซีที พูดคุยและฟังความสำเร็จที่ผ่านมาของหน่วยงานภายใต้สังกัดที่เป็นดาวเด่นก.ไอซีที คือ "3องค์การมหาชน" โดยจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปี 2556 พัฒนาธุรกรรมไอที วางระบบเครือข่ายเชื่อมโยงอิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ของทุกกระทรวงเพื่อสามารถให้การบริการประชาชน เข้าถึงข้อมูลติดต่อภาครัฐง่ายดายขึ้นไม่ว่าจะเป็นระดับจังหวัด อำเภอ หรือขยายไปสู่ตำบลต่างๆ ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ


ภาพโดย : adslthailand.com

รมว.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที
ให้รายละเอียดสรุปแผนงานเดินหน้าเป้าหมายปี 2556 ตามแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ นโยบาย "สมาร์ท ไทยแลนด์" เพื่อให้เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดภายในปี 2558

"เริ่มต้นจากที่รัฐบาลชุดนี้เข้ามาบริหารการเข้าถึงเทคโนโลยีของประชาชนมีเพียงแค่ 12% เท่านั้น แต่จากการสำรวจล่าสุด เพิ่มขึ้น 37% จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสูงขึ้น แต่ราคากลับต่ำลง โดยการจัดการคลื่นแม้แต่ 2.1 GHz ยังเสมือนการจัดการสมบัติของประชาชน การนำคลื่นคืนกลับมายังเพื่อนำมาให้บริการต่อไป"

โดยในปี 2556 นี้ การให้บริการภาครัฐ การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง อาทิ ฟรีไวไฟ 4 หมื่นจุด ตามด้วยข่าวดีต้นปีที่ผ่านมา กสทช อนุมัติ 950 ลบ.เป็นงบเพิ่มเติมให้บริการฟรีไวไฟขยายไปยัง 77 จังหวัด จำนวน 1 แสน 5 หมื่นจุด

ทั้งหมดตัวเลขที่เกิดเพิ่มขึ้นมา เป็นการใช้งานอยู่บนโครงข่ายทั้งเอกชนและรัฐวิสาหกิจ อัตราการใช้งานสูงขึ้นเรื่อยๆ และอัตราครอบคลุมทำให้เกิดการกระตุ้นใช้งานไอซีที ส่วนการควบรวมศูนย์ข้อมูลภาครัฐ จากศูนย์ข้อมูลภาครัฐที่มีมากถึง 23 แห่ง นโยบาย e-government ยังช่วยลดงบ บริหารจัดการที่ไม่ต้องลงทุนมาก มีระบบเจ้าหน้าทึ่ อุปกรณ์ ตลอดเวลา

"สำคัญอย่างมากในปีนี้ ระบบความปลอดภัยศูนย์ข้อมูลในโลกไซเบอร์ตามกฎของ ITU รวมทั้ง 10 ประเทศอาเซียนได้ร่วมหารือกำหนด บังคับใช้กฏหมาย อาชญากรรมคอมพิวเตอร์บางครั้งเหตุเกิดในประเทศไทยแต่ผู้ก่อเหตุเกิดในต่างประเทศ ก.ไอซีที ร่วมหารือมาตราการบังคับใช้ร่วมกัน"

การบูรณาการข้อมูล กำหนดมาตรฐานร่วมกัน หรือ TH e-Gif ประเทศไทยมีแนวทางมานานแต่ไม่ได้ใช้นำมาใช้อย่างจริงจังให้เกิดประโยชน์ทางรูปธรรม จึงต้องมาบริหารจัดการฐานข้อมูล ก.ไอซีทีได้รับมอบหมายให้นำข้อมูลมาทำเชิงซ้อนกำหนดกรอบใช้กับผู้บริหารในการตัดสินใจ อาทิ เช่น ข้อมูลภัยพิบัติ ประเมินด้านน้ำในแบบ single command

ก.ไอซีที ยังมีโครงการร่วม 4 กระทรวงที่สำคัญ ในการบูรณาการข้อมูลบนบัตรประชาชน "smart farmer" นำร่องเกษตรโซนนิ่ง ไปตลอดจนการตรวจสอบจำนำข้าวที่หลายคนยังมีความเคลือแคลงสงสัย เพื่อให้ตรวจสอบการทำงานได้ชัดจนยิ่งขึ้น

e-Service ยังได้ร่วมมือกับกพร. กระตุ้น กำหนดให้หน่วยงานรัฐให้ความสำคัญในบริการ "1หน่วยงาน1บริการภาครัฐ" โครงการที่สำเร็จไปแล้ว คือ e-certification ทำร่วมกับก.พาณิชย์ เป็นการลดทรัพยากร ลดรายจ่ายภาครัฐ ประหยัดกระดาษอย่างเดียวถึง 200 กว่าล้านบาท เหล่านี้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมการพัฒนา

"National single window วันนี้เดินหน้าไปในระดับพึงพอใตก่อนเปิด AEC เชื่อม 36 หน่วยงานภาครัฐ บริหารนำเข้า ส่งออก สั้น กระชับประหยัด ให้ธุรกิจมากขึ้น เรื่องไอซีทีเป็นพลวัตร จึงมีความจำเป็นต่อผู้บริหาร ผู้ประกอบการ ประชาชน ที่ต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและชาญฉลาด กรอบใหญ่ของสมาร์ทไทยแลนด์ 2556"

## ทุกโครงการเงินแผ่นดิน แต่ภายใต้พรบ.งบประมาณ

Master plan ของเก่าวางงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไว้ที่ 3แสนล้านบาท ในยุคของเรากำหนดระยะเวลาไม่ต่ำกว่า15 ปี วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท จากเดิมเป็นทั้งค่าเช่าเอกชน รัฐวิสาหกิจ

"ไอซีทีไม่ได้ขัดข้องว่าควรตั้งงบไว้ที่ไหน แต่กระบวนการจัดการต้องมีประสิทธิภาพ การลงทุนต้องตอบโจทย์ได้ สามารถทำให้ประเทศจ่ายเงินน้อยลงถึง 40% ทั้งนี้ งบทุกงบไม่ใช่จะได้รับการอนุมัติเสมอไปทุกโครงการ"

## 950 ล้านบาท ปีนี้อนุมัติแผน "ฟรีไวไฟ"

ตามวัตถประสงค์ของกสทช. เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบรอดแบนด์ คือ 1. โครงสร้างพื้นฐานเน้นพื้นที่สาธารณะ หลักๆคือ สถานที่ราชการ สถานที่ท่องเที่ยว สถาบันการศึกษา เป้าหมายไม่ต่ำกว่า 2 แสนจุด ทีโอทีและแคทเป็นผู้รับหน้าที่ติดตั้ง บรอดแบนด์ไร้สาย อาทิ การนำคลื่น 2.3 GHz มาจัดการตามนโยบาย "Smart Network" เพื่อทำ LTE (4G)

"ประเทศไทยยามนี้ไปใช้บรอดแบนนอกถึง 30% แคทและทีโอทีจึงควรลงทุนเพิ่มเน็ตเวิร์คขยายโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติคายอยเข้าถึงทุกครัวเรือน ทุกตำบล สำหรับ CDMA ที่ยังเป็นปัญหาย้ายโอนลูกค้าเก่าอยู่ ต้องดูความเดือดร้อนผู้ใช้บริการคือประชาชนไม่ให้สะดุด เป็นหน้าที่โอเปอเรเตอร์ หรือผู้ให้บริการดำเนินการ แคทกับทรูเจรจากันเรียบร้อยแล้ว แต่ยังค้างอยู่กับดีแทค หากเจรจารอบใหม่ชัดเจนเรื่องทรัพย์สินในสัญญาสัมปทานก็จะเดินหน้าต่อไปได้"

ในส่วนการจัดการคลื่นความถี่ 1800 MHz แต่ถ้าหากกสทช.จะเด็ดขาดทันทีเมื่อวันสัมปทานหมดต้องมาคิดจะทำอย่างไรกับผู้บริโภค กสทช. ควรสามารถมาอธิบายความเพราะรัฐบาลมีหน้าที่ดูแล ส่วนหน่วยงานรับผิดชอบต้องคุยกันเสียก่อน การที่สื่อบางแห่งเข้าใจผิดว่ามีความขัดแย้งกรณีเก่า CDMA และสัญญาแคทกับทรู รมว.ไอซีที บอกชัดเจนเป็นเพียงประเด็นในการพูดคุยแนวทางที่ความเห็นคนละแบบเท่านั้น กสท เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับต้องรับเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จไป ก.ไอซีที ไม่ได้สั่งการใดใดให้ทำการ "ปิดบริการทันที"

##ทีโอที 3G&4G(ทดลอง)มาแน่ 22กพ.นี้

จากข้อมูลก่อนหน้าและข่าวที่ได้นำเสนอระหว่างประธานบอร์ดฯ ทีโอทีและรมว.ไอซีที กล่าวถึงการเปิดให้บริการคลื่นความถี่ในรูปแบบ 3G ทีโอที พร้อมกับทดลอง 4G ทีโอที ในบางพื้นที่ เนื่องจากหากมีการแถลงข่าวเปิดตัวในวันที่ 24 กพ.เป็นวันหยุด จึงเปลี่ยนวันเปิดบริการเป็น 22 กพ. ที่จะถึงนี้แทน สำหรับความเร็วในการใช้ข้อมูล(ดาต้า) สูงสุดอยู่ที่ 42 mbps **ขึ้นกับพื้นที่รับสัญญาณ ตัวเครื่อง และปัจจัยแวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้อง

"ในฐานะผู้บริโภคคนหนึ่ง สิ่งที่ทีโอทีทำจะสร้างความพอใจให้ลูกค้า" รมว.ไอซี กล่าวย้ำถึงแนวทางปฎิบัติตลอดปี 2556


http://www.adslthailand.com/board/showthread.php?t=61924

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.