Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 มีนาคม 2556 ข่าวค่ำ!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 22/03/2556 By So Magawn ( โส มกร )

ข่าวค่ำ!! TECHTVTHAILAND โทรคมนาคมและการสือสาร 3 ข่าวเด่น ประจำวันที่ 22/03/2556 By So Magawn ( โส มกร )


1.... อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจี้!! AIS ไม่ทำตามกฏ ค่าบริการไม่เกิน 0.99 บาทต่อนาที(โดยเฉพาะPROคุยสะใจ) // เสนอกสทช.ออกPROเบสิคแพ็คเกจคุมPROมือถือมั่ว

2.... (เกาะติดประมูลDigital TV) ThaiPBSได้2ช่องหลังยอมแลกคลื่น UHF //เรียงช่องใหม่ ออกอากาศDigital ช่อง1-3 คือ (ฟรีTVช่องเดิม 5-NBT-ThaiPBS) ที่เหลือ ตามความสำคัญใบอนุญาติ
3.... ไทยคมมั่นใจชีแจง ไทยคม7 จ่ายแค่ใบอบุญาติ ไม่ได้จ่ายค่าสป.แล้ว!! (ดวงเก่าจ่ายค่าสป.) ชี้ได้ใบอนุญาติถูกม.แล้ว

ไทยคมมั่นใจชีแจง ไทยคม7 จ่ายแค่ใบอบุญาติ ไม่ได้จ่ายค่าสป.แล้ว!! (ดวงเก่าจ่ายค่าสป.) ชี้ได้ใบอนุญาติถูกม.แล้ว

ประเด็นหลัก



**แต่ถูกมองผูกขาด
วันนี้ กสทช.ให้ใบอนุญาตใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องให้ ไทยคม ถ้าบริษัทนั้น ๆ มีคุณสมบัติที่ตรงตามที่ทาง กสทช.และกระทรวงไอซีทีกำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.โทรคมนาคม ว่าด้วยเรื่องดาวเทียม ก็สามารถขอใบอนุญาตได้ เรื่องการผูกขาดมีประมาณช่วงแรกที่ก่อสร้างดาวเทียมเมื่อ 8 ปีที่แล้วในการยิงดาวเทียมดวงแรก หลังจากนั้นทางกระทรวงไม่มีข้อผูกพัน และ ได้มอบหมายให้ กสท เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างแต่ กสท บอกว่าทำไม่ได้
*** ค่าสัมปทาน
บริษัทต้องจ่ายค่าสัมปทานให้กับกระทรวงไอซีที ถึงปี 2564 แต่ดวงเทียมไทยคมดวงที่ 7 บริษัทต้องจ่ายเป็นค่าใบอนุญาต ขณะที่ดวงที่ 4-5 และ 6 ต้องจ่ายค่าสัมปทานจนถึงปี 2564 ขณะที่ดาวเทียมไทยคม 6 จะทำการยิงดาวเทียมไตรมาสที่ 3 ซึ่งอายุดาวเทียมมีระยะเวลา 19 ปี แต่มีสัมปทานเหลืออยู่เพียง 9 ปีครึ่งเท่านั้น ขณะนี้ก่อสร้างไปแล้ว 80%
วัตถุประสงค์ของ ไทยคม ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อให้ดาวเทียมเป็นโครงสร้างหลักโทรคมนาคม แล้วเป็นธุรกิจที่สามารถส่งออกได้ ไทยคม มีธุรกิจต่างประเทศมากกว่าในประเทศด้วยซ้ำ ในโลกนี้ไม่มีใครจ่ายค่าสัมปทาน และ ใบอนุญาต บางประเทศที่ได้รับการสนับสนุนภาครัฐ 100% ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทาน ไม่ต้องจ่ายภาษี เพราะรายได้ทั้งหมดอยู่นอกประเทศ ซึ่งตอนนี้ก็เป็นการเปิดแล้ว เพราะฉะนั้นเราจะสนับสนุน ไทยคม หรือ สนับสนุนต่างชาติ เพราะ ไทยคม ต้องจ่ายค่าสัมปทาน และ ภาษี แต่ต่างชาติเข้ามาไม่เสียอะไรเลย
"ไทยคม ไม่ได้รับการสนับสนุน แต่กลับถูกพวกเรากันเองในประเทศบอกว่าเอื้อประโยชน์ เราต้องไปสู้กับต่างชาติ ต้องรับภาระในเรื่องของค่าสัมปทาน และ ภาษีที่ต้องจ่ายให้กับภาครัฐ"
** ความคืบหน้าสร้างไทยคม 7
ขณะนี้บริษัทได้ทำการลากดาวเทียมมาอยู่ที่ตำแหน่ง 120 องศาตะวันออกทำร่วมกับเอเชียแซท โดยใช้งานคนละครึ่ง ดาวเทียมดวงนี้เราได้สิทธิ์จำนวน 14 ทรานสพอนเดอร์จากเดิมดาวเทียมดวงก่อนมีเพียง 12 ทรานสพอนเดอร์เท่านั้น ตลอดระยะเวลา 15 ปี ต้องจ่ายค่าบริหารจัดการจำนวน 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
"ธุรกิจดาวเทียม ไม่ใช่มีเงิน และ ทำได้ แต่ต้องอยากทำ การยิงดาวทียมลูกหนึ่งจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 12 ปี ถ้าทำธุรกิจไม่ดี อย่าง กรณีของ ไอพีสตาร์ ตลอดระยะเวลา 5-6 ปีแรกขายไม่ได้เลย กว่าจะขายได้ถึง 50% ต้องอาศัยพันธมิตรทางธุรกิจเช่นเดียวกัน"

สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=175331%3A2013-03-22-04-17-53&catid=123%3A2009-02-08-11-44-33&Itemid=491

_________________________________________


(เกาะติดประมูลDigital TV) ThaiPBSได้2ช่องหลังยอมแลกคลื่น UHF //เรียงช่องใหม่ ออกอากาศDigital ช่อง1-3 คือ (ฟรีTVช่องเดิม 5-NBT-ThaiPBS) ที่เหลือ ตามความสำคัญใบอนุญาติ

ประเด็นหลัก





พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ที่ประชุม กสท.เห็นชอบกำหนดช่องรายการทีวีดิจิตอลสำหรับการบริการสาธารณะ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ช่อง 1-3 อนุญาตให้ช่อง 5, 11 และไทยพีบีเอส ทำการออกอากาศคู่ขนานไปกับการออกอากาศแบบอนาล็อกเดิม โดยยังไม่ต้องทำเงื่อนไขของช่องทีวีดิจิตอลใหม่ มีระยะเวลาเท่ากับสิทธิในการใช้คลื่นความถี่เดิม

สำหรับช่อง 4-12 ทีวีดิจิตอลช่องใหม่ ได้กำหนดรายละเอียดวัตถุประสงค์การให้บริการโทรทัศน์ประเภททีวีสาธารณะ ประกอบด้วย

ช่อง 4 อนุญาตให้ไทยพีบีเอสให้บริการประเภทรายการเด็ก เยาวชนและครอบครัว เพราะได้ลงนามร่วมกับ กสทช.ในการคืนคลื่นความถี่ระบบ UHF ให้ กสทช.นำไปจัดสรรใหม่,


ช่อง 5 ให้บริการทีวีสาธาณะประเภทที่ 1 สำหรับการออกอากาศในการส่งเสริมความรู้ การศึกษา วิทยาศาสตร์,

ช่อง 6 เป็นช่องทีวีสาธารณะประเภทที่ 1 เป็นรายการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม การเกษตร และการส่งเสริมอาชีพ

ช่อง 7 เป็นทีวีสาธารณะประเภทที่ 1 เน้นรายการสุขภาพอนามัย กีฬา หรือการส่งเสริมคุณภาพชีวิต,

ช่อง 8 เป็นทีวีสาธารณะประเภทที่ 2 เน้นรายการเพื่อความมั่นคงของรัฐ,

ช่อง 9 ทีวีสาธารณะประเภทที่ 2 เน้นรายการเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ,

ช่อง 10 ทีวีสาธารณะประเภทที่ 3 ออกอากาศรายการข้อมูลข่าวสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างรัฐบาลกับประชาชน และรัฐสภากับประชาชน

ช่อง 11 ทีวีสาธารณะประเภทที่ 3 ออกอากาศด้านข้อมูลข่าวสาร ส่งเสริม สนับสนุนเผยแพร่ให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข,

ช่อง 12 ทีวีสาธารณะประเภทที่ 3 เป็นรายการเสนอข้อมูลข่าวสารแก่คนพิการ คนด้อยโอกาส รวมถึงเด็ก เยาวชน หรือกลุ่มที่สนใจกิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะ

การออกอากาศของช่อง ททบ.5, ช่อง 11 และไทยพีบีเอส เมื่อออกอากาศควบคู่กับช่องเดิมในปัจจุบัน จึงไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ที่กำหนด แต่ช่อง 4-12 ต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของแต่ละช่องที่กำหนดไว้ด้วยระบบดิจิตอล โดยเปิดโอกาสให้โฆษณาได้ สำหรับทีวีสาธารณะประเภทที่ 1, 3 ต้องโฆษณาในเชิงภาพลักษณ์เพื่อซีเอสอาร์ ประมาณ 12 นาที สำหรับทีวีสาธารณะประเภทที่ 2 จะกำหนดรายละเอียดอีกครั้งเร็วๆ นี้ นอกจากนี้ กสท.ยังกำหนดให้ใบอนุญาตทีวีสาธารณะครั้งแรกมีอายุ 4 ปี เพื่อเป็นการทดลองนำร่องในการออกอากาศ คาดว่าจะออกใบอนุญาตได้ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้

บอร์ด กสท.เคาะช่องรายการทีวีสาธารณะ ไทยพีบีเอสคว้า 2 ช่องแลกยุติอนาล็อกเร็วขึ้นเป็นภายใน 3 ปี และคืนคลื่นความถี่ UHF ทั้งหมดให้ กสทช.นำไปจัดสรรใหม่ ที่จะทำให้สามารถมีช่อง HD เพิ่มขึ้นได้ พร้อมคลอดคำนิยามทีวีดิจิตอล 24 ช่อง...


สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364203211&grpid=03&catid=03
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1364203853&grpid&catid=06&subcatid=0603
http://www.thairath.co.th/content/tech/334765



_________________________________________


อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจี้!! AIS ไม่ทำตามกฏ ค่าบริการไม่เกิน 0.99 บาทต่อนาที(โดยเฉพาะPROคุยสะใจ) // เสนอกสทช.ออกPROเบสิคแพ็คเกจคุมPROมือถือมั่ว

ประเด็นหลัก


นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า แพคเก็จ "คุยสะใจ" ของเอไอเอส ที่คิดค่าบริการขั้นต่ำรายเดือน 350 บาท โทรทุกเครือข่ายได้ 360 นาที ทั้งๆ ที่แพคเก็จก่อนหน้านี้มีขั้นต่ำอยู่ที่เดือนละ 200 บาท ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานต่อผู้บริโภคแล้ว รวมถึงการคิดค่าบริการของแพ็คเกจนี้คิดเป็นรูปแบบเหมาจ่ายคือ จ่าย 2.75 บาท คุยได้ 3 นาที ซึ่งเมื่อเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 0.92 บาท ไม่เกินประกาศกำหนด และหากโทรเกินกว่านั้นจะคิดนาทีละ 0.50 บาท ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ถ้าผู้บริโภคใช้งานเพียง 1 นาที หรือไม่เกิน 3 นาที ก็จะต้องจ่าย 2.75 บาททันที ทำให้ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ที่สำคัญหากผู้บริโภคต้องการเปลี่ยนมาใช้แพ็คเกจขั้นต่ำตัวใหม่ ยังต้องเสียงค่าธรรมเนียม 10 - 30 บาทด้วย ซึ่งเป็นค่าบริการที่ไม่ควรคิด


"บางบริษัทยังมีการคิดค่าบริการเกิน 99 สตางค์อยู่ โดยอ้างว่าเป็นการเรียกเก็บตามแพ็คเกจเก่าที่ยังไม่หมดอายุการใช้งาน และถ้าผู้บริโภคต้องการจะเปลี่ยนก็ต้องเสียเงิน ซึ่งมันไม่ถูกต้อง และแม้จะมีแพ็คขั้นต่ำให้ลูกค้าเลือก มันก็ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เพราะราคายังสูงเกินความจำเป็นที่ต้องใช้ ดังนั้นค่ายมือถือต่างๆ ควรกำหนดเป็นแพ็คเกจที่คิดตามจริงมากกว่า ผ่านอัตราบริการนาทีละ 99 สตางค์ ไม่ใช่ยัดเยียดให้ผู้บริโภคแบบนี้"


ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมว่า การคิดค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงเพื่อให้เป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่องอัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งบังคับใช้เฉพาะบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาด ๒ รายคือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็ดเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) นั้น พบว่า ผู้บริโภคยังประสบปัญหาในการใช้บริการดังต่อไปนี้คือ



“จนถึงขณะนี้เกือบครบ ๙๐ วันของการบังคับใช้ประกาศอัตราขั้นสูงแล้ว บริษัทยังไม่มีการดำเนินการปรับลดอัตราค่าบริการเสียงให้กับผู้บริโภคแบบอัตโนมัติ แต่อ้างรายการส่งเสริมการขายเดิม ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนประกาศ กสทช. ทั้งยังเอาเปรียบโดยหากผู้ใช้บริการต้องการใช้รายการส่งเสริมการขายที่เป็นไปตามกฎหมายจะต้องเสียเงินค่าเปลี่ยนโปรโมชั่นเองทั้งที่บริษัทไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย นอกจากนี้บริษัทยังได้ออกรายการส่งเสริมการขายใหม่ที่ดูเหมือนจะเป็นไปตามกฎหมายแต่รายการส่งเสริมการขายดังกล่าวก็มีราคาสูงและเกินกว่าความจำเป็นของผู้บริโภคในการใช้บริการ เช่น กรณีที่ผู้ร้องใช้โทรศัพท์โทรไม่ถึง ๒๐๐ นาที แต่ถูกบังคับด้วยโปรโมชั่น เหมาจ่าย ๓๕๐ บาท โดยได้ ๓๖๐ นาที เท่ากับต้องจ่ายนาทีละ ๑.๗๕ บาท แม้บริษัทจะไม่ได้ทำผิดกฎหมายแต่ผู้ร้องต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อเดือนมากขึ้นจากเทคนิคของบริษัท “ดร.ไพบูลย์กล่าว

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคมกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่ต้องพิจารณานอกจาก สำนักงาน กสทช. ควรต้องเร่งดำเนินการบังคับใช้ประกาศฉบับนี้ให้เป็นจริงแล้ว ควรมีการกำหนดเงื่อนไขการคิดค่าบริการแบบ Basic package หรือการมีโปรหลัก โดยให้ผู้บริโภคได้เลือกจากพฤติกรรมที่สอดคล้องกับการใช้งานของตน ไม่มีสิทธิพิเศษเพิ่ม แต่ค่าบริการเรียกเก็บตามประกาศอัตราขั้นสูงฯ หรือเรียกเก็บตามที่ได้มีการใช้บริการจริง ขณะที่โปรโมชั่น หรือรายการส่งเสริมการขายคือสิ่งที่ผู้บริโภคสามารถเลือกเพื่อไปเสริมการใช้งานทั่วไปของตน และส่วนใหญ่จะมีการกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิไม่นาน เช่น ๓๐ วัน หรือ ๑๒ รอบบิล ขณะที่โปรหลักจะไม่มีการกำหนดระยะเวลา

“กสทช. ควรกำหนดนิยามของคำว่า รายการส่งเสริมการขาย และกำหนดเงื่อนไขการคิดค่าบริการให้ชัดเจน เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอัตราค่าบริการ ไม่ควรนำเรื่อง Basic package มาปนกันมั่วกับส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่าย เพราะจะทำให้บริษัทสามารถหลีกเลี่ยงกฎหมายได้ กสทช. จึงต้องเข้าไปกำกับให้มีโปรหลัก และให้มีอัตราค่าบริการของ โปรหลักต่างๆไม่เกิน ๙๙ สตางค์ต่อนาที ส่วนรายการส่งเสริมการขายแบบเหมาจ่าย ก็ต้องหมายถึงโปรเสริมซึ่งผู้บริโภคมีโอกาสเลือกได้ว่าจะจ่ายเพิ่มหรือไม่ ถ้าผู้บริโภคเลือกไม่จ่ายเพิ่ม ค่าบริการทุกนาทีของเขาก็จะต้องไม่เกิน ๙๙ สตางค์โดยผลของกฎหมาย” ดร.ไพบูลย์กล่าว\


สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=175778%3A2013-03-25-09-41-22&catid=176%3A2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130325/496930/%CD%B9%D8%CF%A4%D8%E9%C1
%A4%C3%CD%A7%BC%D9%E9%BA%C3%D4%E2%C0%A4%A8%D5%E9%A1%CA%B7%AA.%A4%D8%C199%CA%B5..html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.